“ยาไซทิซีน” เป็นยาเม็ดสำหรับเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพดีและผลข้างเคียงต่ำ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง หลังจากใช้เวลาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 อีกทั้งยาดังกล่าวยังได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และสามารถเบิกจ่ายได้ผ่านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ลดข้อจำกัดจากการใช้ยานำเข้าที่มีราคาสูง บทความนี้จะพาไปดูกันว่ายา zytizine คือยาอะไร ทำไมจึงช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ และมีวิธีใช้อย่างไร?

ไซทิซีนคืออะไร?

ไซทิซีน ยาเลิกบุหรี่ สกัดมาจากเมล็ดจามจุรีสีทอง หรือ Zytizine/Cytisine มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของคนเลิกบุหรี่ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่หงุดหงิด ถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปตะวันออกมานานกว่า 60 ปี โดยได้รับการยอมรับว่าเป็นยาเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพดี ปลอดภัย อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังให้การรับรองและสนับสนุนให้รัฐบาลในแต่ละประเทศจัดหายาชนิดนี้ไว้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาเลิกบุหรี่ที่มีราคาย่อมเยาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้การพาคนใกล้ชิดเข้ารับการบำบัดการติดบุหรี่เป็นไปได้อย่างเหมาะสมและทั่วถึง เนื่องจากต้นทุนการผลิตไซทิซีน ราคาถูกกว่ายาเลิกบุหรี่ชนิดอื่น โดยเฉพาะยา Varenicline ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ หรือฝันร้าย  

ไซทิซีนทำงานอย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาเลิกบุหรี่ไซทิซีนจะถูกดูดซึมสู่กระแสเลือดภายใน 15 นาที และออกฤทธิ์ต่อสมอง โดยไปจับกับตัวรับที่มีบทบาทสำคัญต่อการเสพติดนิโคติน และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ในสมอง นอกจากนี้ยังช่วยให้นิโคตินจับกับตัวรับนี้ได้น้อยลง จึงส่งผลให้ความอยากสูบบุหรี่ลดลงไปด้วย

การเลียนแบบนิโคตินในสมอง

เมื่อสูบบุหรี่ นิโคตินจะเข้าไปจับกับตัวรับ ทำให้เกิดการปล่อยโดพามีนออกมาเยอะและเร็ว ผู้สูบจึงรู้สึกดีมาก พอผลของโดพามีนหมดไปก็อยากสูบอีกเพื่อให้ได้ความรู้สึกเดิม จนนำไปสู่การเสพติดนิโคตินในที่สุด ซึ่งการทำงานของไซทิซีนก็มีลักษณะคล้ายกัน คือไปจับกับตัวรับ แต่จะทำให้เกิดการหลั่งโดพามีนในระดับปานกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป และลดลงอย่างช้าๆ จึงทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะติดได้  

การลดอาการถอนนิโคติน

ยา zytizine แก้อะไร? ยาไซทิซีนมีสรรพคุณช่วยลดอาการถอนนิโคติน ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ โดยเฉพาะคนที่ติดบุหรี่มานาน การเลิกบุหรี่แบบหักดิบจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย เครียด ฉุนเฉียว โมโหง่าย ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ แต่ยาไซทิซีนจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ที่กำลังเลิกบุหรี่รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์คงที่ และมีความอยากนิโคตินลดลง 

การช่วยควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่

การที่ตัวยาไปแย่งนิโคตินในการจับกับตัวรับ ทำให้โอกาสที่นิโคตินจะจับและไปกระตุ้นตัวรับมีน้อยลง หรืออาจไม่มีเลย ทำให้ Reward Effect หรือความรู้สึกพึงพอใจจากการสูบบุหรี่ลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าการสูบบุหรี่ไม่สนุก ไม่มีรสชาติ หรือไม่ทำให้มีความสุขเหมือนเคย จึงช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ง่าย และเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่สำเร็จมากขึ้น

ไซทิซีนช่วยให้เลิกบุหรี่ได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน?

ไซทิซีน ไม่ใช่ยาใหม่ แต่เป็นยาที่มีการใช้งานมานานในผู้ที่ติดบุหรี่กว่า 20 ล้านคนทั่วโลก จึงมีการศึกษาและวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ เช่น การทดลองหนึ่งที่เผยแพร่ใน Journal of Thoracic Oncology ได้แบ่งผู้ที่ติดบุหรี่จำนวน 869 คน เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับยาไซทิซีนร่วมกับการให้คำปรึกษา และกลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาเพียงอย่างเดียว เมื่อติดตามผลหลัง 12 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาไซทิซีนมีอัตราการเลิกบุหรี่สูงกว่าเกือบ 25 %

สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่นี่: Cytisine Therapy Improved Smoking Cessation in the Randomized Screening and Multiple Intervention on Lung Epidemics Lung Cancer Screening Trial

ในขณะที่ผลการวิเคราะห์การทดลองจำนวน 14 ชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ Sciencedirect พบว่ายาไซทิซีนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับยา Varenicline แต่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า และยังมีประสิทธิภาพดีกว่าการเลิกบุหรี่แบบไม่ใช้ยา หรือการใช้นิโคตินทดแทน 

สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่นี่: Cytisine for smoking cessation: A systematic review and meta-analysis

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ไซทิซีน

การเลิกบุหรี่มีหลายวิธี ไม่ว่าจะเลิกด้วยตัวเอง ฝังเข็ม หรือใช้ตัวช่วยเลิกบุหรี่ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะนิโคติน แต่สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จัดและสูบมานาน การใช้ยาเป็นวิธีเลิกบุหรี่ได้ผลดีที่สุด และมีโอกาสสำเร็จมากกว่าวิธีอื่น เนื่องจากสามารถบรรเทาอาการถอนนิโคติน และลดความอยากบุหรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการใช้ยาไซทิซีนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของการใช้ไซทิซีน

ข้อเสียของการใช้ไซทิซีน

วิธีการใช้ไซทิซีนเพื่อเลิกบุหรี่

ไซทิซีนในรูปแบบยาเม็ดมีขนาด 1.5 มิลลิกรัม / เม็ด ผู้ใช้ต้องกำหนดวันหยุดสูบ และเริ่มรับประทานยาควบคู่ไปกับการลดปริมาณการสูบใน 4 วันแรก ก่อนจะหยุดบุหรี่ในวันที่ 5 และทานยานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนครบทั้ง 25 วัน โดยสามารถรับประทานในขณะที่ท้องว่างหรือพร้อมอาหารก็ได้ แล้ว Zytizine กินตอนไหน? สามารถดูรายละเอียดด้านล่างได้เลย

สำหรับใครที่ต้องการเลิกบุหรี่ และอยากทราบว่ายาเลิกบุหรี่ไซทิซีนซื้อที่ไหน ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้าน หรือปรึกษา ศูนย์บำบัดยาเสพติด Lighthouse เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแนะนำวิธีเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง และช่วยดูแลคุณในทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จและปลอดภัย ติดต่อเราได้เลยที่ โทร. 0852132179

References

ThaiHealth Official. 2021. ไทยผลิตยาเลิกบุหรี่ ไซทิซีน สำเร็จครั้งแรก เตรียมผลักดันเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/ไทยผลิตยาเลิกบุหรี่-ไซท/ 

ปวรวรรธน เพ็ชรรัตน และคณะ. ไซทิซีน ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกบุหรี่. https://www.pharmacy.up.ac.th/FileUpload/Journal/J1/s5.pdf 

การตรวจสารเสพติด เป็นกระบวนการที่ใช้วิเคราะห์หาสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันและจัดการปัญหาการใช้ยาเสพติด รวมถึงช่วยประเมินภาวะ สมองติดยาที่เกิดจากการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง จึงถูกนำไปใช้ในหลายกรณี เช่น ตรวจเพื่อเข้ารับการบำบัด ติดตามผลการรักษา สมัครงาน ตรวจก่อนลงแข่งขัน หรือใช้ในกระบวนการยุติธรรม โดยการตรวจสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ เลือด เส้นผม น้ำลาย เหงื่อ มาดูกันเลยว่าแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อีกทั้งผลการตรวจยังเป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมระดับสากล โดยผลที่ออกมาเป็นบวก มักถูกเรียกว่า “ผลตรวจฉี่ม่วง” แม้ว่าปัสสาวะจะไม่ได้มีสีม่วงจริงๆ แต่เป็นเพราะรูปแบบการตรวจในสมัยก่อนใช้หลักการคัลเลอร์เทสต์ (Color Test) ซึ่งหากมีการใช้สารเสพติด ปัสสาวะจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้ทดสอบ และเปลี่ยนเป็นสีม่วง ปัจจุบันวิธีนี้ไม่นิยมแล้ว และผลตรวจที่ออกมามีสีม่วงก็ไม่ได้หมายความว่าจะมียาเสพติดเสมอไป เนื่องจากยาบางชนิดก็อาจทำให้ผลตรวจออกมาเป็นบวกได้ ตัวอย่างฉี่สีม่วงเกิดจากอะไรบ้าง เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้ไอ ยานอนหลับ ยาต้านอาการซึมเศร้า ไบโพลาร์ เป็นต้น

ตรวจปัสสาวะบอกอะไรได้บ้าง? การตรวจนี้สามารถพบสารเสพติดได้หลายชนิด เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ ฝิ่น กัญชา โคเคน เฮโรอีน มอร์ฟีน ทั้งนี้สารเสพติดอยู่ในฉี่กี่วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร และระยะเวลาในการเสพ เช่น

วิธีการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ

การตรวจฉี่สารเสพติดเบื้องต้นจะใช้ชุดทดสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแถบ (Strip) ที่ใช้วิธีจุ่มแถบทดสอบลงในปัสสาวะ และแบบตลับ (Cassette) ที่ใช้หลอดดูดปัสสาวะแล้วหยดลงบนตลับทดสอบ โดยทั้ง 2 วิธีสามารถทราบผลได้ใน 5 นาที ถ้าผลทดสอบขึ้น 2 ขีด แสดงว่าผลเป็นลบ หรือไม่พบสารเสพติด แต่ถ้าผลขึ้น 1 ขีด แสดงว่าผลเป็นบวก หรือพบสารเสพติด

ส่วนการตรวจยืนยัน ต้องใช้เทคนิคการตรวจขั้นสูง มีความถูกต้อง แม่นยำ และจำเพาะเจาะจงมากกว่า ระบุชนิดของยาเสพติดได้ สามารถไปตรวจได้ที่สถานพยาบาล หรือเก็บตัวอย่างส่งตรวจได้เอง ดังนี้

ข้อดีและข้อเสียของการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ

ข้อดี : 

ข้อเสีย : 

การตรวจสารเสพติดจากเลือด

การตรวจเลือดหาสารเสพติดถือเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง เนื่องจากสารเสพติดทุกชนิดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดไม่ว่าจะเสพโดยวิธีใดก็ตาม เช่น การกิน การสูบ หรือการฉีด แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเท่าการตรวจปัสสาวะ นิยมใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้ประสบอุบัติเหตุมาและสงสัยว่ามีการใช้ยา หรือตรวจยืนยันผล เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า และตรวจพบได้ไม่นานหลังการใช้ยาครั้งสุดท้าย โดยสารเสพติดอยู่ในเลือดกี่วันขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ ความถี่ในการเสพ เช่น 

วิธีการตรวจจากเลือด

วิธีตรวจสารเสพติดคล้ายกับการเจาะเลือดทั่วไป ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหาร สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะเลือดด้วยเข็ม และเก็บตัวอย่างส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการ

ข้อดีและข้อเสียของการตรวจจากเลือด

ข้อดี

ข้อเสีย 

การตรวจสารเสพติดจากเส้นผม

การตรวจสารเสพติดสามารถใช้วิธีเก็บตัวอย่างจากเส้นผมได้เช่นกัน เนื่องจากสารเสพติดที่เข้าสู่ร่างกายจะไปสะสมที่แกนกลางของเส้นผม (Medulla) โดยสามารถตรวจหาสารเสพติดได้ถึง 26 ชนิด เช่น ยาบ้า เฮโรอีน มอร์ฟีน ยานอนหลับ เหมาะสำหรับใช้ตรวจการเสพเรื้อรัง หรือประวัติการเสพย้อนหลัง รวมถึงช่วยประเมินอาการผู้ติดยาเสพติดได้ เพราะมีระยะเวลาตรวจพบสารเสพติดนานถึง 90 วันหลังการใช้ยาครั้งสุดท้าย แม้จะหยุดเสพไปนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ตาม และยังสามารถระบุช่วงเวลาที่มีการใช้สารเสพติดได้อีกด้วย

วิธีการตรวจสารเสพติดจากเส้นผม

การเก็บตัวอย่างเส้นผมสำหรับการตรวจสารเสพติด จะตัดเส้นผมบริเวณตรงกลางด้านหลังศีรษะประมาณ 90 – 120 เส้น หรือปริมาณเท่ากับขนาดของดินสอ 1 แท่ง โดยวางกรรไกรให้ชิดกับหนังศีรษะมากที่สุด หากผมสั้นมาก ต้องเก็บตัวอย่างเพิ่มเพื่อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอ หรือหากไม่มีเส้นผม สามารถใช้ขนส่วนอื่นบนร่างกายได้ เช่น หนวด เครา ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง 

ข้อดีและข้อเสียของการตรวจสารเสพติดจากเส้นผม

ข้อดี 

ข้อเสีย 

การตรวจสารเสพติดจากน้ำลาย

การตรวจจากน้ำลาย เหมาะสำหรับตรวจคัดกรองการใช้สารเสพติดล่าสุด หรือสงสัยว่าเพิ่งมีการใช้ยา เพราะระยะเวลาตรวจพบสั้นพอๆ กับการตรวจเลือด หรือประมาณ 2 วันเท่านั้น แต่เป็นวิธีที่ดำเนินการได้รวดเร็ว ใช้ในกรณีตรวจพนักงานที่มีจำนวนมากได้ ทั้งยังมีโอกาสเกิดการสลับตัวอย่างน้อยกว่าการตรวจปัสสาวะ 

วิธีการตรวจสารเสพติดจากน้ำลาย

ก่อนตรวจ 10 นาที ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำที่ตรวจหาสารเสพติดซึ่งมีลักษณะเป็นก้านสำลีไปถูบริเวณกระพุ้งแก้ม และนำใส่ในหลอดเก็บตัวอย่างที่เตรียมไว้ ก่อนส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป

ข้อดีและข้อเสียของการตรวจสารเสพติดจากน้ำลาย

ข้อดี 

ข้อเสีย

การตรวจสารเสพติดจากเหงื่อ

การตรวจสารเสพติดจากเหงื่อ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เหมาะสำหรับตรวจการใช้สารเสพติดเรื้อรัง โดยสามารถตรวจพบการใช้สารเสพติดย้อนหลังได้ประมาณ 7-14 วัน และสามารถตรวจหาสารเสพติดได้มากถึง 15 ชนิด เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ ยาเค ยาเลิฟ เฮโรอีน โคเคน โคเดอีน นิยมใช้ในการติดตามผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการบำบัด หรือคุมประพฤติ

วิธีการตรวจสารเสพติดจากเหงื่อ

ขั้นตอนการตรวจเหงื่อหาสารเสพติด เจ้าหน้าที่จะนำอุปกรณ์เฉพาะซึ่งมีลักษณะเป็นผ้าผืนเล็กๆ เช็ดบนร่างกาย และนำไปเข้าเครื่องอ่านผล หรืออาจใช้เป็นแผ่นแปะติดไว้บนผิวประมาณ 7 – 10 วันเพื่อรวบรวมเหงื่อ และนำไปวิเคราะห์ผล

ข้อดีและข้อเสียของการตรวจสารเสพติดจากเหงื่อ

ข้อดี 

ข้อเสีย 

เปรียบเทียบความแม่นยำของแต่ละวิธีการตรวจ

การเลือกวิธีตรวจสารเสพติดควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ ความเหมาะสม และระยะเวลาของสารเสพติดที่อยู่ในร่างกาย เนื่องจากผลการตรวจสารเสพติดแต่ละวิธีมีความแม่นยำต่างกัน ดังนี้

วิธีป้องกันการโกงผลตรวจสารเสพติด

ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดมีอะไรบ้าง?

การตรวจสารเสพติด สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกชั้นนำ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

หากคุณหรือคนใกล้ชิดได้รับผลตรวจเป็นบวก ควรเข้ารับการบำบัดโดยเร็ว เราเป็นศูนย์บำบัดยาเสพติดไลท์เฮ้าส์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ให้บริการบำบัดยาเสพติดแบบกินนอน รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 7 คน เพื่อการดูแลอย่างทั่วถึง โดยเปิดรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง เน้นการบำบัดแบบองค์รวม มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทีมสหวิชาชีพที่เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นทีมที่ปรึกษา นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้ารับการบำบัดจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ ราคาเดียว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อสอบถามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยวันนี้

References

สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ. https://website.bdn.go.th/th/service/detail/rQxWewEb3Q/nGO4AtWewEb3QWewEb3Q 

ดร. สุเมธ เที่ยงธรรม. การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ. https://bdn.go.th/attachment/news/download.php?WP=GT1gn2qCqWOchKwtpTggWaplGQEgG2rDqYyc4Uux 

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์. 2022. ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในเส้นผม. https://www.cifs.go.th/index.php?mod=news&route=news_detail&v=Vm10YWIyUXlSbkpOV0VwT1ZtdHdVbFpyVWtKUFVUMDkrUw 

Hayley Hudson. 2024. How Long Do Drugs Stay In Your System?. https://www.addictioncenter.com/drugs/how-long-do-drugs-stay-in-your-system/ 

Cleveland Clinic. 2022. Drug Test. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/10285-drug-testing 

Acuity Intenational. 2024. Drug Screen vs Drug Test: Understanding Key Differences. https://acuityinternational.com/blog/drug-screen-vs-drug-test/#:~:text=Urine%20drug%20screen:%20Drugs%20in,not%20just%20the%20drug%20class

คนที่ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองควบคุมการเสพไม่ให้ติดได้ หรือสามารถเลิกเองได้เมื่อไหร่ก็ตามที่อยากจะเลิก แต่ความจริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะเมื่อมีการเสพยาอย่างต่อเนื่อง สมองของคนเราจะค่อยๆ ปรับตัวและเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จนตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “สมองติดยา” กว่าจะรู้ตัวก็ไม่สามารถควบคุมอาการอยากยาได้แล้ว แม้จะอยากเลิกก็ทำได้ยากเช่นกัน สาเหตุเป็นเพราะอะไร และจะมีวิธีรับมือได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

โรคสมองติดยาคืออะไร

โรคสมองติดยา คือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับการทำงานของสมอง เนื่องมาจากการใช้ยาเสพติดเป็นเวลานานหรือใช้ปริมาณมาก ทำให้สมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) ที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิดและการตัดสินใจถูกทำลาย ส่งผลให้สมองส่วนอารมณ์ (Limbic System) ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกมีอิทธิพลเหนือกว่า ผู้ป่วยจึงอยากใช้สารเสพติดซ้ำๆ โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 

อาการทางกาย 

สาเหตุ

โรคสมองติดยา เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อสมองก็จริง แต่สาเหตุที่ทำให้คนเลือกที่จะใช้ยาเสพติดซ้ำๆ เกิดจากหลายปัจจัย เช่น สภาพสังคมและการเลี้ยงดู ผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงทัศนคติหรือความเชื่อผิดๆ เช่น บางคนอาจมองว่าการใช้ยาเสพติดทำให้ดูเท่ เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน หรือรู้สึกว่าเป็นการหนีจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต แม้ในความเป็นจริงกลับจะทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม

สารเคมีในสมองส่งผลต่อการเสพติดอย่างไร

ยาเสพติดทำลายสมองโดยการกระตุ้นให้สมองส่วนอารมณ์สร้างสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งปกติจะถูกหลั่งออกมาเมื่อมีความสุขหรือพึงพอใจ เช่น เวลาได้ทำให้สิ่งชอบ ได้กินของอร่อย แต่ยาเสพติดจะทำให้โดปามีนถูกหลั่งออกมาในปริมาณมากกว่าปกติ ผู้เสพจึงรู้สึกดีมาก มีอาการที่เรียกว่า “ไฮ (High)” หรืออารมณ์ทะยานขึ้นสูง แต่พอฤทธิ์ของยาเสพติดหมดลง ก็จะหงุดหงิด เศร้าหมอง และต้องการใช้ยาซ้ำเพื่อให้กลับไปรู้สึกดีอีกครั้ง 

พอใช้ไปนานๆ สมองของคนติดยาเสพติดจะปรับตัวและไม่ตอบสนองต่อโดปามีนเหมือนเดิม ทำให้ความรู้สึกดีจากการใช้สารเสพติดเกิดยากขึ้น เรียกว่า อาการทนทานต่อสารเสพติด (Tolerance) จึงต้องใช้สารเสพติดปริมาณมากขึ้นและบ่อยขึ้น เพื่อให้ได้ระดับความรู้สึกดีตามที่ต้องการ 

ผลกระทบของโรคสมองติดยามีอะไรบ้าง

เมื่อสมองถูกทําลายจากยาเสพติด จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการตัดสินใจที่ทำให้ผู้ป่วยอาจจะเลือกทำสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุผล รวมถึงส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวน ความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็แย่ลง บางรายมีอาการหนักถึงขั้นหูแว่ว ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสังคม เช่น การทะเลาะวิวาท ปล้นจี้ ฆ่าชิงทรัพย์ ทำร้ายคนรอบตัว

นอกจากนี้เซลล์สมองที่ถูกทำลายยังส่งผลกระทบต่อความจำและการเรียนรู้ ทำให้สมองจดจำข้อมูลได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่เสพยานาน 5-10 ปีขึ้นไป สมองจะถูกทำลายมากจนกลายเป็นโรคสมองพิการถาวร ยากที่จะฟื้นฟูสมองจากยาเสพติดให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม  

ยาเสพติดที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองมากที่สุดมีอะไรบ้าง

ยาเสพติดทุกชนิดมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติในการคิด ตัดสินใจ และควบคุมอารมณ์ แต่บางชนิดก็ส่งผลรุนแรงและเป็นอันตรายมากแม้ใช้ในระยะสั้นๆ เช่น

  1. โคเคน ขัดขวางการทำงานของเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมการปล่อยโดปามีน ทำให้โดปามีนถูกปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง ผู้เสพจึงมีภาวะตื่นตัว (Alertness) ไม่หลับไม่นอน หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจเกิดอาการชัก หมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
  2. เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ติดง่ายที่สุดและมีอันตรายสูง เนื่องจากออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้การหายใจช้าลง ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน หรือความเสียหายของสมองในระยะยาว
  3. ยาไอซ์ หรือเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) มีความบริสุทธิ์สูงกว่ายาบ้า 4-5 เท่า จึงมีผลกระทบรุนแรงกว่า ผู้ที่เสพเป็นประจำจะมีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม
  4. ยาเค (Ketamine) ทางการแพทย์ใช้เป็นยาสลบ แต่บางคนนำมาใช้เสพเพราะฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรง ทำให้เกิดอาการจิตหลอน ฝันกลางวัน รู้สึกเป็นอัมพาตชั่วคราว หากใช้เป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อสมอง และทำให้เป็นโรคจิตเภท

วิธีสังเกตว่าตัวเองหรือคนรอบข้างเป็นโรคสมองติดยาแล้วหรือยัง

สมองติดยา อาการในช่วงแรกอาจจะยังไม่ชัดเจน แต่หากสังเกตดีๆ จะพบว่าตัวเรา คนที่เรารัก หรือคนรอบข้างมีอาการที่เป็นเหมือนสัญญาณเตือนบางอย่าง เช่น

วิธีป้องกันและรักษาโรคสมองติดยา

สมองติดยาเสพติดสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าถามว่าสมองติดยาเมื่อไหร่หายขาด ก็อาจต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่ใช้เสพ เพราะนอกจากการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ต้องทำการฟื้นฟูจิตใจควบคู่กันไปด้วย โดยมีแนวทางดังนี้

โรคสมองติดยา คืออาการป่วยชนิดหนึ่งไม่ต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ผู้ที่ติดยาจึงควรเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างถูกวิธีและเร็วที่สุด ศูนย์บำบัดยาเสพติด Lighthouse เรามีประสบการณ์กว่า 35 ปีในการดูแลผู้ที่ติดยาเสพติด โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำและออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร่มรื่น ผ่อนคลาย สะดวกสบาย และการดูแลตลอด 24 ชม. ที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้ทันที เบอร์โทร: 0852132179 อีเมล: [email protected]

References

ศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. กลไกสมองติดยาและแนวทางบำบัด. เข้าถึงได้จาก https://cads.in.th/cads/media/upload/1635493666-กลไกสมองติดยาและแนวทางบำบัด%2029102021.pdf 

National Institute on Drug Abuse. 2011. Drugs, Brains, and Behavior: The Science of Addiction. เข้าถึงได้จาก https://nida.nih.gov/publications/drugs-brains-behavior-science-addiction/treatment-recovery Roots Through Recovery. 2021. 5 Most Damaging Drugs for Your Brain and Their Impact. เข้าถึงได้จาก https://roots-recovery.com/5-most-brain-damaging-drugs/

ลูกโป่งหัวเราะ ยาเสพติดที่กลับมาระบาดหนักในช่วงหลังโควิดนี้ จริงๆ แล้วเป็นยาชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในทางการแพทย์เพื่อให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดก่อนทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน แต่เมื่อมีคนนำมาใช้ผิดวิธี เช่น สูดดมเพื่อความสนุกหรือทำให้เคลิบเคลิ้ม อาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้จึงจะพาไปเจาะลึก 10 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับแก๊สหัวเราะ รวมถึงอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

แก๊สหัวเราะคืออะไร

แก๊สหัวเราะ คือ สารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่งที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่ติดไฟ มีกลิ่นและรสหวานเล็กน้อย ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชา ช่วยระงับอาการปวด อีกทั้งยังเป็นสารที่ออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์เร็ว จึงเหมาะสำหรับการรักษาที่ใช้เวลาไม่นาน เช่น ทันตกรรม ทำคลอด หรือผ่าตัดเล็ก นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บรรจุในถุงลมนิรภัยรถยนต์หรือบรรจุในกระบอกวิปปิ้งครีม เพื่อให้ครีมมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มฟูมากขึ้น แต่คนบางกลุ่มก็นำไปบรรจุในลูกโป่งและใช้สูดดมเพื่อความบันเทิง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง 

กลไกการออกฤทธิ์ของแก๊สหัวเราะ

เมื่อดูดแก๊สลูกโป่งเข้าไป ไนตรัสออกไซด์จะถูกดูดซึมผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือด และออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยไปยับยั้งการทำงานของตัวรับที่ชื่อ NMDA (N-Methyl-D-Aspartate receptors) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งผ่านสัญญาณความเจ็บปวด เมื่อตัวรับนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ สัญญาณความเจ็บปวดก็จะถูกส่งต่อไปยังสมองได้น้อยลง ในขณะเดียวกันยังไปกระตุ้นการสร้างโดปามีน (Dopamine) หรือสารสื่อประสาทที่จะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความพึงพอใจ จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและผ่อนคลาย 

การใช้แก๊สหัวเราะเพื่อความบันเทิง

การนำแก๊สหัวเราะไปสูดดมเพื่อความสนุกหรือความรู้สึกมึนเมา เป็นปัญหาที่มีมานานทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก เพราะแก๊สชนิดนี้หาซื้อง่ายและมีราคาที่ย่อมเยา นอกจากจะสั่งซื้อได้ตามช่องทางออนไลน์ ยังมีขายตามซูเปอร์มาร์เกต โดยมักจะถูกบรรจุอยู่ในกระบอกสำหรับทำวิปปิ้งครีม 

วิธีใช้ที่นิยมคือการนำมาอัดใส่ลูกโป่งก่อนสูดดม เนื่องจากแก๊สมีอุณหภูมิต่ำประมาณ -40 องศาเซลเซียส หากสูดจากกระบอกโดยตรงอาจทำให้เกิดแผลไหม้จากความเย็นบริเวณริมฝีปาก จมูก ลำคอ รวมถึงเส้นเสียง อีกทั้งความดันที่สูงก็อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อปอดด้วย แต่เมื่อนำมาบรรจุในลูกโป่งจะทำให้ก๊าซอุ่นขึ้น และช่วยควบคุมความเร็วของก๊าซที่จะปล่อยเข้าปากได้ง่ายขึ้นด้วย

อาการหลังดูดแก๊สลูกโป่ง

ผู้ที่สูดดมแก๊สหัวเราะจะมีความรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ รู้สึกสนุกสนาน มีความสุข ล่องลอย หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้ บางรายอาจมีอาการวิงเวียน มึนศีรษะ มองเห็นภาพเบลอ สับสน รู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 10 วินาทีหลังใช้ แต่จะคงอยู่ประมาณ 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งการที่สารชนิดนี้ออกฤทธิ์ไม่นาน ก็ทำให้หลายคนคิดว่าปลอดภัย และเผลอใช้ในปริมาณมากโดยไม่ทันระวังนั่นเอง 

แก๊สกระป๋องอันตรายไหม

แก๊สกระป๋องที่บรรจุไนตรัสออกไซด์อันตรายมาก หากสูดดมมากๆ หรือสูดดมบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้

ผลกระทบในระยะสั้น 

ผลกระทบในระยะยาว 

แก๊สหัวเราะทำให้เกิดการเสพติดหรือไม่

แก๊สหัวเราะ ลูกโป่ง ไม่ได้ก่อให้เกิดการเสพติดในรูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน หรือการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมองเหมือนกับยาเสพติดชนิดอื่น แต่อาจทำให้เกิดการเสพติดได้เหมือนกัน เนื่องจากสมองชอบความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม เป็นสุข ที่เกิดขึ้น เหมือนได้รางวัล ทำให้อยากใช้ซ้ำอีกเรื่อยๆ หรือบางคนก็ใช้เพื่อคลายเครียดเป็นประจำจนติด แต่ยิ่งใช้บ่อยก็ยิ่งเสี่ยงอันตราย เพราะเมื่อสูดดมเข้าไป แก๊สหัวเราะจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในปอด ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ และเกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ที่สร้างความเสียหายต่อเซลล์สมอง และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การใช้แก๊สหัวเราะร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่น

การใช้ลูกโป่งแก๊สหัวเราะร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่นจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากสารบางชนิดออกฤทธิ์เสริมกันหรือทำปฏิกิริยาระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายในทางลบ เช่น

แก๊สหัวเราะผิดกฎหมายไหม

การผลิตและจำหน่ายแก๊สหัวเราะ ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ข้อหาผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่นำมาบรรจุไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ก็จะมีความผิดข้อหาผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

เมื่อเลิกใช้แก๊สหัวเราะจะทำให้เกิดอาการถอนยาหรือไม่

การลดหรือหยุดใช้ก๊าซหัวเราะอย่างกะทันหันในผู้ที่ใช้ติดต่อกันมานาน อาจทำให้เกิดอาการอยากยา หรือเกิดอาการถอนยาเสพติดในระดับที่ไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับอาการถอนแอลกอฮอล์หรือฝิ่น โดยอาการที่พบได้ เช่น

ทั้งนี้อาการทางระบบประสาทมักจะคงอยู่นานประมาณ 1 สัปดาห์หลังการใช้ครั้งสุดท้าย ส่วนอาการทางจิตใจและร่างกายสามารถอยู่ได้นานถึง 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละบุคคล

วิธีป้องกันอันตรายจากแก๊สหัวเราะ

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการลองเสพเพื่อความสนุกหรือความตื่นเต้นใดๆ ก็ตาม และไม่ซื้อหามาใช้เองโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะหลายคนมักคิดว่าแค่ลองครั้งเดียวคงไม่เป็นไร และมั่นใจว่าตนเองสามารถควบคุมได้ แต่ความเชื่อเหล่านี้คือกับดักที่จะทำให้หลายคนหลุดเข้าไปในวงจรยาเสพติดโดยไม่รู้ตัว 

แก๊สหัวเราะ ยาเสพติดที่วัยรุ่นกำลังนิยมเสพกันอยู่ตอนนี้ หากรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่หากนำมาใช้ผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและร่างกายได้ หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับอาการเสพติดแก๊สหัวเราะ หรือสารเสพติดชนิดใดก็ตาม รีบเลิกวันนี้ก่อนที่จะสาย ศูนย์บำบัดยาเสพติด Lighthouse ยินดีที่ให้คำปรึกษาและมอบการบำบัดที่ถูกหลัก โดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับบริการ พร้อมการดูแลอย่างอบอุ่นจากเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชม. ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะยาเสพติด และกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทันที เบอร์โทร: 0852132179 อีเมล: [email protected]

References

Stuart Croft. 2024. Hippy Crack/Nitrous Oxide Addiction: An Overview of its Effects, Withdrawal Symptoms, and Treatment Options. เข้าถึงได้จาก https://gladstonesclinic.com/blog/addiction-news/hippy-crack-nitrous-oxide-addiction/ 

Alexandra Benisek and Kathryn Whitbourne. 2024. Whippets: What You Need to Know About These Inhalant Drugs. เข้าถึงได้จาก https://www.webmd.com/mental-health/addiction/what-are-whippets 

ยาถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีขึ้น แต่หากนำไปใช้ผิดวิธีก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างเช่น “ยาทรามาดอล” หรือที่หลายคนเรียกว่า “ยาเขียวเหลือง” ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่วัยรุ่นบางกลุ่มนำมาใช้เสพเพื่อทำให้เกิดความมึนเมา โดยหารู้ไม่ว่าความสุขเพียงชั่วครู่ที่เกิดจากการเสพนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต บทความนี้จะพาไปเจาะลึกกันว่า ทรามาดอลคือยาอะไรและทำไมจึงทำให้เกิดการเสพติดได้

ทรามาดอลคืออะไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

ทรามาดอล หรือ Tramadol คือยาแก้ปวดในกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Analgesics) ออกฤทธิ์คล้ายกับมอร์ฟีนแต่เบากว่า มีทั้งชนิดเม็ด แคปซูล ยาเหน็บ และยาฉีด ซึ่งชนิดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปจะบรรจุอยู่ในแคปซูลสีเขียวเหลือง คนจึงนิยมเรียกกันว่า “ยาเขียวเหลือง” ใช้บรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงในผู้ที่มีอาการปวดแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เช่น อาการปวดหลังผ่าตัด อาการปวดจากกระดูกหัก บาดแผล โรคมะเร็ง ข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ฯลฯ รวมถึงผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดชนิดอื่นแล้วไม่สามารถบรรเทาอาการได้

การทำงานของยาทรามาดอลนั้น กลไกการออกฤทธิ์มี 2 กลไก หนึ่งคือไปจับกับตัวรับโอปิออยด์ชนิดมิว (μ-opioid receptor) ในระบบประสาทส่วนกลาง และขัดขวางการส่งสัญญาณความเจ็บปวดระหว่างสมองกับร่างกาย สองคือไปยับยั้งการดูดซึมกลับของเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมอารมณ์และความเจ็บปวด จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อันตรายจากทรามาดอล หากใช้ผิดเสี่ยงถึงชีวิต!

ปัจจุบันมีการปรับสถานะของยาแก้ปวดทรามาดอลแล้ว จากที่เคยถูกจัดเป็นยาอันตราย ตอนนี้กลายมาเป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ซึ่งหมายความว่ายาชนิดนี้จะจำหน่ายได้ก็ต่อเมื่อมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น และห้ามจำหน่ายให้กับผู้ที่อายุต่ำกว่า 17 ปีในทุกกรณี หากพบว่ามีการจำหน่ายยาทรามาดอลผิดกฎหมาย เช่น จ่ายยาให้กับผู้ที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ ลักลอบจำหน่ายตามโซเชียลมีเดีย หรือร้านขายยาที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีเภสัชกรประจำร้าน จะมีโทษทั้งจำและปรับ รวมถึงอาจถูกพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คนบางกลุ่มนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็น

การใช้ทรามาดอลรักษาอาการปวด โดยทั่วไปจะรับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชม. โดยขนาดสูงสุดสำหรับผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากมีการใช้ยาแก้ปวดทรามาดอลในทางที่ผิด เช่น ใช้เกินขนาดที่แพทย์สั่ง ใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือใช้เสพเพื่อความผ่อนคลาย อาจนำไปสู่การเสพติดและต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นเพราะเกิดการดื้อยา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ช็อกหมดสติ เป็นต้น

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมคือ การนำยาแก้ปวด Tramadol มาผสมกับเครื่องดื่ม หรือยาชนิดต่างๆ เช่น ทรามาดอลผสมโค้ก น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ฯลฯ จะทำให้เกิดอาการมึนเมาคล้ายการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้บางรายยังใช้ร่วมกับสารเสพติด เช่น ยาอี ยาบ้า น้ำกระท่อม ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ทำไมทรามาดอลถึงทำให้เกิดการเสพติด?

เมื่อทราบแล้วว่าประโยชน์ของยาทรามาดอลรักษาโรคอะไรได้บ้าง หลายคนก็คงจะสงสัยว่าทำไมการใช้ยานี้จึงทำให้เกิดการเสพติดได้ ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ทรามาดอล แต่ยาแก้ปวดในกลุ่มโอปิออยด์เกือบทุกชนิดมีความเสี่ยงในการเสพติดสูง เพราะยาเหล่านี้จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และทำให้เกิดอาการ “เคลิ้มสุข” เช่นเดียวกับฝิ่น เฮโรอีน ผู้ใช้จึงรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย มึนเมา เคลิบเคลิ้ม และอยากใช้ซ้ำ จนนำไปไปสู่การเสพติดนั่นเอง

ส่วนใครที่สงสัยว่าทรามาดอลตรวจฉี่เจอไหม? ต้องบอกว่ามีโอกาสเจอได้ เพราะยาจะถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก โดยสามารถตรวจพบได้นาน 2-4 วัน หลังกินทรามาดอลครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณยาและร่างกายของแต่ละคนด้วย

ผลกระทบของการเสพติดทรามาดอล

ทรามาดอลมีประโยชน์มาก แต่ก็เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง จึงควรใช้เท่าที่จำเป็นและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเสพติด รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ เช่น

ผู้ที่ใช้ยาทรามาดอล ผลข้างเคียงอาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องผูก มือสั่น ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม ฯลฯ หากมีการดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย ก็จะทำให้ทรามาดอลออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางมากขึ้น ส่งผลให้อาการข้างเคียงรุนแรงขึ้นด้วย 

ยาทรามาดอล โทษเมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจนเสพติด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงถึงขั้นประสาทหลอน ชัก มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งกระตุกร่วมกับความดันโลหิตสูง เกิดภาวะลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือด ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ไตวายเฉียบพลัน จนทำให้เสียชีวิตได้

แนวทางป้องกันและรักษาอาการเสพติดทรามาดอล

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรับประทานทรามาดอลตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ซื้อยามาทานเอง ไม่ปรับขนาดยาเอง และไม่ใช้ยาโดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้เกิดการเสพติด เมื่อหยุดยาอย่างกะทันหันจะทำให้เกิดอาการถอนยาทรามาดอลได้ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อหดเกร็ง ปวดท้อง ปวดกระดูก ท้องเสีย ในขณะที่บางรายอาจมีอาการตื่นตระหนก ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึมเศร้า แขนขาชา ขึ้นอยู่กับปริมาณยาและระยะเวลาที่เสพ 

วิธีเลิกทรามาดอลจึงไม่ควรหยุดยาทันที เพราะอาจทำให้เกิดอาการลงแดงได้ แต่ต้องค่อยๆ ลดปริมาณลง เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจนหยุดยาได้ ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่สามารถเลิกยาทรามาดอลได้ด้วยตนเอง ควรเข้ารับการบำบัดรักษาในศูนย์บำบัดยาเสพติดที่มีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญให้การดูแลอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้สามารถหยุดยาได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน

แนวทางบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ติดทรามาดอล

ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนมีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่เราจะเลือกนำมาใช้อย่างไร ยาทรามาดอลก็เช่นกัน ถ้านำมาใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้หลายโรค แต่ถ้าใช้เกินขนาด หรือนำมาใช้เป็นยาเสพติดก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นหากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับการติดทรามาดอล และอยากเลิกอย่างปลอดภัย ควรเลือกศูนย์บำบัดยาเสพติดที่ได้คุณภาพและวางใจได้ อย่าง “ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์” ที่พร้อมให้คำปรึกษา และมอบการฟื้นฟูภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นกันเอง ด้วยโปรแกรมบำบัดที่ออกแบบเฉพาะบุคคล โดยมีผู้เชี่ยวชาญและทีมสหวิชาชีพ อาทิ นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ คอยดูแลตลอด 24 ชม. 

การนำยารักษาโรคมาใช้เป็นสารเสพติดยังคงเป็นปัญหาที่พบอย่างต่อเนื่อง เพราะยาบางชนิดก็ไม่ได้ถูกจัดเป็นยาที่ถูกควบคุม จึงสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป หนึ่งในนั้นคือ “ยาฟาเทค” ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นยาแก้แพ้ แต่วัยรุ่นบางกลุ่มนิยมนำไปผสมกับเครื่องดื่มหรือยาชนิดอื่นเพื่อให้เกิดความมึนเมา โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่าการกระทำเช่นนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกันว่าฟาเทคคือยาอะไร รวมถึงผลกระทบของการใช้ที่ผิดวิธี และแนวทางบำบัดฟื้นฟู พร้อมแล้วมาดูสาระสำคัญที่เรานำมาฝากกันวันนี้เลย

ฟาเทคคือยาอะไร ใช้แล้วอันตรายจริงไหม?

ฟาเทคหรือฟาเทคไซรัป คือ ชื่อทางการค้าของยาเซททิริซีน ไดไฮโดรคลอไรด์ (Cetirizine Dihydrochloride) ซึ่งเป็นยาต้านฮิสตามีนชนิดหนึ่งที่ใช้กันมานานในวงการแพทย์ สามารถบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดจากการแพ้ เช่น น้ำมูกไหล ตาแดง เคืองตา คันจมูก คันคอ ลมพิษ ผื่นคันตามผิวหนังได้ โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง อาหารทะเล ฯลฯ เมื่อระดับฮิสตามีนลดลง อาการแพ้ต่างๆ ก็จะทุเลาลงด้วย

ข้อดีคือ ฟาเทคเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้นานถึง 21 ชั่วโมง และผ่านเข้าไปยังสมองได้น้อยกว่า ทำให้ยาไม่ได้ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางมากนัก จึงไม่ค่อยทำให้เกิดอาการง่วงซึมเมื่อเทียบกับยาแก้แพ้รุ่นเก่าชนิดอื่น เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หรือ โปรเมทาซีน (Promethazine) ผู้ที่นำไปเสพจึงคิดว่าปลอดภัย แต่เมื่อใช้อย่างผิดวิธีก็ทำให้เกิดอันตรายได้เหมือนกัน

รูปแบบการใช้ฟาเทคที่เสี่ยงอันตราย

ยาฟาเทคที่จำหน่ายในประเทศไทยมีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ ส่วนที่หลายคนสงสัยว่าฟาเทคไซรัปคือยาอะไร? ใช่ยาชนิดเดียวกันหรือไม่? คำตอบคือเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่ฟาเทคไซรัปอยู่ในรูปของยาน้ำที่มีการเติมน้ำเชื่อมลงไปเพื่อปรับรสชาติให้หวานขึ้น ช่วยให้เด็กๆ รับประทานได้ง่าย หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการกลืนเม็ดยาก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน แต่คนบางกลุ่มก็อาศัยข้อดีเหล่านี้นำไปใช้อย่างผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็น

ผู้ที่นำฟาเทคมาใช้เสพ มักจะนิยมนำไปผสมกับเครื่องดื่ม เช่น สูตรฟาเทคไซรัปผสมโค้ก คือการนำฟาเทค 15-20 มล. ไปผสมกับน้ำอัดลม 1.5 ลิตร และใส่น้ำแข็งดื่ม จะทำให้เกิดอาการมึนเมาคล้ายการดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่บางคนก็ผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลย หรือที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการนำฟาเทคไซรัปผสมเขียวเหลืองหรือยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์กดประสาทและทำให้เกิดการเสพติด ดื่มไปแล้วอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

แม้จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย แต่การกินฟาเทคเกินขนาดที่แนะนำ จะด้วยความตั้งใจหรือเสพติดจนทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นก็ตาม อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด ง่วงซึมอย่างรุนแรง ชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ 

ทำไมฟาเทคจึงกลายมาเป็นชนวนยาเสพติด

โดยปกติแล้ว ยาฟาเทคไซรัปไม่ได้กินแล้วทำให้เกิดอาการเสพติด แต่วัยรุ่นบางกลุ่มมีความเชื่อผิดๆ ว่า กินแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่เกิดอาการแฮงก์ จึงนำฟาเทคผสมกับน้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยา ตามสูตรต่างๆ ที่แพร่หลายในกลุ่มสังคมของตน ผลที่ได้จากการผสมนี้จะทำให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม ล่องลอย เหมือนอยู่ในฝัน ซึ่งเป็นอาการที่อาจทำให้รู้สึกดีในช่วงสั้นๆ แต่หากใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหรือในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะนำไปสู่ภาวะเสพติดในระยะยาวได้

ผลกระทบจากการติดฟาเทค

ยาแก้แพ้ฟาเทคถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่เมื่อนำไปผสมกับเครื่องดื่ม สารชนิดอื่น หรือใช้ต่อเนื่องจนเสพติด อาจทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้ ดังนี้

แนวทางการป้องกันและรักษาอาการติดฟาเทค

หากสงสัยว่าฟาเทคไซรัปผิดกฎหมายไหม? การซื้อยาหรือใช้ยาฟาเทคโดยทั่วไปไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะฟาเทคจัดอยู่ในกลุ่มยาประเภทที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ต้องตระหนักด้วยตัวเองว่า การนำไปใช้แบบผิดวิธี เช่น นำฟาเทคไซรัปผสมโค้ก สไปร์ท น้ำอัดลม หรือยาใดๆ ก็ตาม เพื่อเสพให้มึนเมา เป็นสิ่งที่อันตรายมาก ที่สำคัญ “อย่าลอง” โดยที่คิดว่าจะไม่ติดหรือไม่เป็นอะไร เพราะจุดเริ่มต้นของความคึกคะนอง อยากรู้อยากลอง มักจะนำไปสู่การเสพติดในที่สุด

และเมื่อพยายามลดหรือหยุดการใช้ฟาเทคไซรัป ก็อาจทำให้เกิดอาการถอนยา เช่น วิตกกังวล คัน นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ซึ่งความรุนแรงและระยะเวลาของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรง เพียงแค่ผู้ป่วยบางรายทนไม่ไหวก็จะกลับไปใช้ยาอีก จึงควรค่อยๆ ปรับลดขนาดยาและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น 

แนวทางการบำบัดและฟื้นฟูผู้ที่ติดฟาเทค

การใช้ยาฟาเทคอย่างผิดวิธีเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรใช้ยาฟาเทคเพื่อรักษาโรคตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด และใช้ยาเมื่อมีอาการหรือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับการติดฟาเทค แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดชนิดใดก็ตาม ศูนย์บำบัดยาเสพติดอย่างศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ ยินดีให้คำปรึกษา โดยมีทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมโปรแกรมบำบัดที่ถูกหลัก และออกแบบสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณกลับมามีชีวิตที่สดใสแข็งแรงอีกครั้ง

รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงมายาวนานในการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ทั้งจากสารเคมี พิษสัตว์ ยาเสพติด และแอลกอฮอล์ รางจืดไม่เพียงแค่ถูกใช้เป็นยาสมุนไพรเท่านั้น แต่ยังมีงานวิจัยที่ช่วยยืนยันถึงประสิทธิภาพในการถอนพิษของรางจืด รางจืดจึงกลายเป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในวงการการแพทย์แผนไทย บทความนี้ เราจึงอยากมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสมุนไพรรางจืด พร้อมทั้งบอกวิธีการใช้ในการถอนพิษยาเสพติดและข้อควรระวังในการใช้รางจืด พร้อมแล้วตามไปอ่านกันได้เลย

ทำความรู้จัก “รางจืด” คืออะไร?

สมุนไพรรางจืดที่คนยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งการล้างพิษ” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Lindl เป็นพืชไม้เลื้อยที่พบมากในประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น รางเย็น ดุเหว่า ทิดพุด เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ฯลฯ ลักษณะของใบรางจืดคือมีสีเขียวเข้ม ขนาดยาว 8-10 ซม. กว้าง 4-5 ซม. ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ฐานกว้าง ดอกมีสีม่วงอมฟ้า รูปร่างคล้ายแตร 

ยอดอ่อนและดอกของรางจืดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้หลายเมนู ส่วนที่นิยมนำมาใช้เป็นยาล้างสารพิษในร่างกายคือ ใบ ราก และเถา เนื่องจากมีสรรพคุณที่ช่วยขับสารพิษต่างๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยาเบื่อ สารตะกั่ว และยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องเสีย ได้อีกด้วย

สรรพคุณของรางจืด ถอนพิษยาเสพติดได้จริงไหม?

รางจืดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารกลุ่มฟีนอลิก (Phenolics), แคโรทีนอยด์ (Carotenoids), ไกลโคไซด์ (Glycoside) และฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) จึงมีสรรพคุณมากมาย ดังนี้

  1. สมุนไพรขับสารพิษออกจากร่างกาย

รางจืดมีสรรพคุณในการล้างพิษ ช่วยลดความเข้มข้นของสารพิษในร่างกาย ทั้งพิษที่เกิดจากสัตว์ เช่น งู แมงป่อง แมงดาทะเล พิษจากพืช เห็ด รวมถึงสารเคมีต่างๆ เช่น ยาเบื่อ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า และยังใช้รางจืดล้างสารเสพติด แก้อาการเมากัญชา และบำบัดอาการติดบุหรี่ได้ด้วย  

  1. ถอนพิษสุรา แก้เมาค้าง

รางจืดช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด บรรเทาอาการเมาค้าง ปวดหัว มึนหัวจากการดื่มแอลกอฮอล์ และช่วยปกป้องเซลล์ตับไม่ให้ถูกทำลาย นอกจากนี้ยังใช้บำบัดผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยน้ำรางจืดจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะและลดความเป็นพิษของแอลกอฮอล์ที่มีต่อตับนั่นเอง

  1. รักษาบาดแผล ต้านการอักเสบ

ประโยชน์ของรางจืดสามารถนำมาพอกบาดแผล โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จะช่วยให้หายไวขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยลดบวม รักษาโรคผิวหนัง แมลงกัดต่อย เริม งูสวัด ลมพิษ ผดผื่นคันจากการแพ้ และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

  1. ลดไข้ แก้ร้อนใน 

รางจืดสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ อย่างไรก็ตามเนื่องจากรางจืดมีฤทธิ์เย็น จึงควรระมัดระวังการใช้ที่มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเย็น มือเท้าชา เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวกได้

  1. ต้านมะเร็ง

รางจืดมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด โดยเฉพาะสารกลุ่มฟีนอลิกที่มีปริมาณสูง จึงช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย เสริมความแข็งแรงและชะลอความเสื่อมของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ดูอ่อนเยาว์ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งด้วย

ตัวอย่างงานวิจัยที่พิสูจน์ว่ารางจืดถอนพิษยาเสพติดได้จริง

วิธีใช้รางจืดถอนพิษยาเสพติด

ว่านรางจืดขับสารเสพติดได้จริง แต่ต้องกินรางจืดถอนพิษยาเสพติดกี่วันก็ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาในการเสพของแต่ละคนด้วย จากผลการทดลองพบว่าปริมาณสารเสพติดในร่างกายที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะจะค่อยๆ ลดลง ใน 5 – 7 วัน โดยสามารถรับประทานได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  1. น้ำรางจืด

วิธีต้มใบรางจืดล้างสารเสพติด จะนำใบรางจืดแก่ 5–7 ใบมาล้างให้สะอาด ใส่ในน้ำ 1- 2 ลิตร ต้มประมาณ 15–20 นาที ดื่มขณะอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ในกรณีที่เสพมานานหรือมีอาการรุนแรง ให้นำรากรางจืดที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ขนาดประมาณ 1 ข้อนิ้วชี้ มาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 -5 วัน

  1. ชารางจืด

นำใบรางจืดสดมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง หรืออบที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส วิธีกินว่านรางจืดก็ให้ตักรางจืดแห้งมา 1-2 ช้อนชา ใส่ในน้ำร้อน แช่ทิ้งไว้ประมาณ 3 -5 นาที ใบรางจืดที่แห้งแล้วยังสามารถเก็บได้นาน โดยใส่ในภาชนะที่แห้งและปิดสนิท หากไม่สะดวกเตรียมเอง ก็สามารถซื้อแบบอบแห้งที่พร้อมชงได้ทันที

  1. รับประทานแบบแคปซูล

อีกหนึ่งวิธีกินรางจืดล้างพิษคือ การรับประทานรางจืดในรูปแบบแคปซูล ปริมาณ 1,200 – 1,500 มก.ต่อวัน หรือตามที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งทาน 2 – 3 ครั้งหลังอาหาร

ข้อควรระวังในการใช้รางจืดถอนพิษยาเสพติด

แม้ว่ารางจืดจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมียาที่ต้องทานประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะฤทธิ์ของรางจืดอาจไปขัดกับฤทธิ์ของยา นอกจากนี้การทานรางจืด ข้อควรระวังคือ ห้ามทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อตับ ไต และระบบเลือด หรือทำให้ร่างกายมีภาวะเย็นเกิน หนาวสั่นง่าย เป็นหวัด เหน็บชา หน้ามืด เวียนหัว อ่อนเพลีย เป็นต้น

การใช้รางจืดถอนพิษยาเสพติดได้ผลดีและยังช่วยบรรเทาอาการลงแดงจากการหยุดยาได้ด้วย แต่ก็ควรทานรางจืดควบคู่กับการบำบัดที่ถูกต้องและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นหากคุณหรือคนรอบข้างต้องการเลิกยาแบบได้ผล ปลอดภัย ไม่ทรมาน สถานบําบัดยาเสพติดเอกชนชั้นนำอย่าง Lighthouse พร้อมช่วยเหลือ ทั้งให้คำปรึกษา และวางแผนการรักษาแบบเฉพาะบุคคล ตลอดจนการดูแลที่อบอุ่นตลอด 24 ชม. ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่น ผ่อนคลาย สะดวกสบาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าหรือพอต (Pod) เป็นเหมือนแฟชั่นที่หลายคนมองว่าสูบแล้วดูเท่ ทันสมัย จนทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเชื่อกันว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา จึงไม่ต้องคอยกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพที่จะตามมา แต่แท้จริงแล้วบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจริงหรือแค่ภาพลวงตากันแน่? อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้ามีมากกว่าที่คิดหรือไม่ และบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวนอันไหนอันตรายกว่ากัน ตามไปหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย

บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ธรรมดามีลักษณะอย่างไร

ก่อนจะไปดูว่าพอตกับบุหรี่อันไหนอันตรายกว่ากัน เรามาทำความรู้จักกับบุหรี่ทั้ง 2 ชนิดกันก่อน สำหรับบุหรี่ธรรมดา ทุกคนคงคุ้นตากันดีอยู่แล้ว คือมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกเล็กๆ ด้านนอกเป็นกระดาษห่อใบยาสูบไว้ด้านในนั่นเอง 

แล้วบุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร? บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับสูบบุหรี่ที่มีอุปกรณ์ทำความร้อนอยู่ด้านใน ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำยาให้กลายเป็นไอเพื่อใช้สูดดม ซึ่งลักษณะของบุหรี่ไฟฟ้าก็มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบแท่งที่รูปร่างคล้ายแฟลชไดรฟ์และแบบเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ

ส่วนประกอบของบุหรี่ธรรมดา

บุหรี่หนึ่งมวนประกอบด้วยยาสูบบดละเอียดที่มีส่วนประกอบของสารนิโคตินและสารอื่นๆ อีกมากมายที่ใส่ลงไปเพื่อเพิ่มอรรถรสในการสูบหรือเพิ่มฤทธิ์ของนิโคติน เช่น สารหนู (Arsenic), อะซิโตนหรือสารประกอบในน้ำยาล้างเล็บ, ตะกั่ว, ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ฯลฯ ซึ่งหลายชนิดก็เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายและยังก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ตลับใส่น้ำยา อุปกรณ์ทำความร้อน และแบตเตอรี่ ซึ่งเมื่อดูแล้วอาจจะเหมือนไม่มีพิษภัย แต่มาดูกันว่าน้ำยาที่ใช้กับบุหรี่ไฟฟ้ามีสารอะไรบ้าง

บุหรี่ไฟฟ้ากับพอตเหมือนกันไหม?

พอตคือชื่อเรียกของบุหรี่ไฟฟ้าประเภทหนึ่งที่มีจุดเด่นคือขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก ใช้งานง่าย แม้ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ยังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายเช่นเดียวกันบุหรี่ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ผู้ที่นำเข้า จำหน่าย ครอบครอง หรือสูบ จึงมีโทษทั้งจำทั้งปรับนั่นเอง 

บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ธรรมดาต่างกันอย่างไร

มีคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามเลิกบุหรี่ธรรมดาด้วยการหันมาใช้พอตแทน เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยและจะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ แต่การใช้พอตแทนบุหรี่ธรรมดาจะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริงหรือ? มาดูรายละเอียดกัน

สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนของบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ธรรมดาคือ บุหรี่ธรรมดาใช้การจุดไฟเพื่อเผายาสูบให้เกิดควัน จึงสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าใช้หลักการทำความร้อนเพื่อให้ของเหลวที่มีส่วนประกอบของนิโคตินกลายเป็นละออง ซึ่งตัวเครื่องยังสามารถชาร์จไฟและเติมน้ำยาเพิ่มได้ จึงใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

บุหรี่ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดควันจากการเผาไหม้ที่มีกลิ่นเหม็นเหมือนบุหรี่ธรรมดาและไม่มีสารอันตรายที่มาพร้อมการเผาไหม้ เช่น น้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ อย่างไรก็ตาม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะปลอดภัย เพราะบุหรี่ไฟฟ้าจะมีละอองไอน้ำที่มีอนุภาคขนาดเล็กของนิโคตินและสารอันตรายอื่นๆ ซึ่งเมื่อสูบเข้าไปก็ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เหมือนกัน

บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวน อันไหนอันตรายกว่ากัน?

บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ธรรมดามีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ก็ทำให้เสพติดได้เหมือนกัน โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เลิกบุหรี่ด้วยการหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสที่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าแทนถึง 80% และยังเลิกยากกว่าบุหรี่ธรรมดาด้วย 

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังออกมาเตือนถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าว่า การที่บริษัทบุหรี่อ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่อันตรายน้อยกว่า ไม่ได้แปลว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะปลอดภัย เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษหลายชนิดที่สูงกว่าบุหรี่ธรรมดา และส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการเลิกบุหรี่ด้วยการสูบพอตจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง และไม่ว่าบุหรี่ชนิดใดก็ไม่ควรสูบทั้งนั้น

โทษของบุหรี่ธรรมดาหรือบุหรี่มวน

โทษของสารเสพติดอย่างบุหรี่ธรรมดาหรือบุหรี่มวนส่งผลเสียต่อทั้งตัวผู้สูบและคนรอบข้าง เพราะบุหรี่ชนิดนี้จะไปทำลายระบบต่างๆ ในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงมากมาย  ดังนี้

  1. ระบบทางเดินหายใจ

บุหรี่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง รวมถึงโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก

  1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด

บุหรี่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดแข็งตัว เสื่อมสภาพ ตีบตัน เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ และหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. สุขภาพช่องปาก

บุหรี่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ฟันเหลือง เมื่อเป็นแผลในช่องปากก็จะหายช้าและยังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหงือกสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้สูญเสียฟันจนส่งผลกระทบต่อการเคี้ยวอาหารและภาพลักษณ์อีกด้วย

  1. ระบบภูมิคุ้มกัน

บุหรี่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น รุนแรงขึ้น และมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น ปอดอักเสบรุนแรงหรือติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

โทษของการดูดพอตหรือบุหรี่ไฟฟ้า

ถ้าถามว่าสูบพอตอันตรายไหม? ตอบได้เลยว่าอันตรายมาก เพราะละอองของบุหรี่ไฟฟ้าก็มีสารเคมีและสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา อีกทั้งขนาดของละอองที่เล็กกว่ายังสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดผลเสียมากมาย ดังนี้

  1. เกิดอาการเสพติดนิโคติน

ข้อเสียของพอตทำให้ผู้สูบได้รับนิโคตินมากขึ้น เนื่องจากการแต่งกลิ่นและรส ทำให้ผู้สูบเพลิดเพลินโดยไม่ทันระวังปริมาณที่ใช้ เมื่อใช้ไปมากๆ ก็จะมีอาการเสพติด พอไม่ได้สูบก็จะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย ซึมเศร้า เหนื่อยล้า ขาดสมาธิ 

  1. หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง

บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หลอดเลือดแดงหดตัวแคบลง อีกทั้งยังไปกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน 

  1. น้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงเบาหวาน

บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลถูกหลั่งออกมามาก ซึ่งก็จะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำตาลกลูโคสออกมามากขึ้น จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน หรือหากเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ก็อาจทำให้อาการแย่ลงและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา 

  1. ระคายเคืองทางเดินหายใจ

ภัยของบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองและอักเสบเรื้อรัง มีอาการแสบจมูก แสบคอ คัดจมูก ไอแห้ง หรือไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อปอดอย่างรุนแรง จนส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง 

  1. ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท

บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ปวดหัว เวียนหัว มึนงง นอนไม่หลับ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 30% หากผู้สูบกำลังตั้งครรภ์ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองทารกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้การหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ ผิดปกติ จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าวิตกกังวลนั่นเอง 

สูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรค EVALI (E-cigarette or Vaping product use-Associated Lung Injury) หรือโรคปอดอักเสบรุนแรงที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยจะมีอาการไอแห้ง เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้  

นอกจากนี้ข้อเสียของการดูดพอตยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไต รวมถึงโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

สรุปแล้วการดูดพอตอันตรายไหมและพอตกับบุหรี่ไฟฟ้าอันไหนอันตรายกว่ากัน ตอบได้เลยว่าอันตรายพอๆ กัน เพราะไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ธรรมดาหรือบุหรี่ไฟฟ้าก็ทำให้รู้สึกดี ผ่อนคลาย ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น พอร่างกายเคยชินก็จะเกิดความทนทาน ทำให้ต้องสูบมากขึ้น บ่อยขึ้น จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ตามมาด้วยโรคมากมาย จึงควรเลิกให้เร็วที่สุด หากคุณหรือคนรอบข้างต้องการเลิกบุหรี่ไฟฟ้า ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมออกแบบวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และการรักษาทั้งหมดจะถูกปิดเป็นความลับ ไม่ติดประวัติแน่นอน ติดต่อทีม Lighthouse ได้เลยวันนี้หากคุณพร้อมแล้วที่จะเป็นคนใหม่ หากไกลยาเสพติดทุกชนิด

สุราเครื่องดื่มคู่ใจในงานปาร์ตี้อาจกลายเป็นศัตรูตัวร้ายทันทีเมื่อดื่มมากเกินไป เพราะข้อเสียของการดื่มสุรา นอกจากจะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ยังไปทำลายอวัยวะสำคัญในร่างกายทีละน้อย กว่าจะรู้ตัวก็อาจสายเกินที่จะรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงได้เหมือนเดิม การเลิกเหล้าจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงภัยร้ายที่มาพร้อมการดื่มสุรา บทความนี้จึงจะพาไปดูว่า การดื่มสุรามีผลต่อร่างกายอย่างไร และโทษของการดื่มสุรามีอะไรบ้าง

สุราหนึ่งขวดประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก่อนจะไปดูโทษของสุรา มาสำรวจกันดูสักหน่อยว่าส่วนประกอบของสุรามีอะไรบ้าง อันที่จริงแล้วส่วนประกอบหลักของสุราก็คือ แอลกอฮอล์ หรือที่เรียกว่า “เอทานอล” ได้มาจากการหมักพืชที่มีแป้งหรือน้ำตาลสูง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวสาล ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ จากนั้นจึงนำไปกลั่นเพื่อให้ได้เอทานอลที่บริสุทธิ์ มีความเข้มข้นสูง 

แต่เอทานอลบริสุทธิ์นั้นไม่สามารถดื่มได้ เพราะมีรสเผ็ดร้อนและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง จึงต้องผสมสารปรุงแต่งอื่นๆ เช่น น้ำ น้ำตาล หรือคอนจีเนอร์ (Congeners) บนขวดสุรา ซึ่งมักจะมีการระบุ “ABV” หรือ Alcohol by Volume เอาไว้เพื่อบอกปริมาณแอลกอฮอล์ในขวด เช่น สุราที่มี ABV 40% หมายความว่า ในสุรา 100 มิลลิลิตร มีแอลกอฮอล์บริสุทธิ์อยู่ 40 มิลลิลิตร ยิ่ง ABV สูงก็ยิ่งแรง ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ก็จะยิ่งมาก ทำให้เมาง่าย และทำลายสุขภาพมากขึ้นด้วย 

7 โทษของการดื่มสุรา อันตรายที่นักดื่มไม่ควรมองข้าม

โทษของการดื่มสุรามีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงขั้นรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะเมื่อดื่มสุราเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

  1. สมองและระบบประสาท

สุรามีผลต่อระบบประสาทอย่างไร? ในระยะสั้น แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการมึนงง ขาดสติ หลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ควบคุมตัวเองไม่ได้ การตัดสินใจช้าลง จึงมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือทะเลาะวิวาทได้ ส่วนในระยะยาวจะทำให้การทำงานของสมองบกพร่อง เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ประสาทหลอน

  1. ตับ

โทษของแอลกอฮอล์ต่อตับคือทำให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้นในเซลล์ตับ ทำให้ตับอักเสบ มีอาการจุกแน่นที่บริเวณชายโครงด้านขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน หากยังดื่มหนักต่อไป ไม่บำบัดเลิกเหล้า จะนำไปสู่โรคตับแข็งและความดันในตับที่สูงขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดในทางเดินอาหารแตก มีเลือดออกในทางเดินอาหาร อาเจียนออกมาเป็นเลือด เสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับ ตับวาย ถึงขั้นเสียชีวิต 

  1. หัวใจและหลอดเลือด

ผลเสียของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อหัวใจคือ ทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น การบีบตัวของหัวใจผิดปกติ อีกทั้งยังทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันง่าย หัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้การดื่มสุราหนักเป็นเวลานานยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและมีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

  1. ตับอ่อน

กระบวนการย่อยสลายแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดพิษต่อตับอ่อน เซลล์ตับอ่อนจะถูกทำลายกลายเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

  1. ระบบทางเดินอาหาร

แอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร? แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารคลายตัว กรดจากกระเพาะจึงไหลกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน (GERD) หากเป็นบ่อยๆ อาจนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น ภาวะเยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนสภาพ (Barrett’s esophagus) หรือมะเร็งหลอดอาหาร อีกทั้งปริมาณกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้น ยังทำให้เกิดการระคายเคือง ปวด แสบร้อนในช่องท้องด้วย

  1. ระบบภูมิคุ้มกัน

ผู้ที่ดื่มสุราบ่อยหรือดื่มทุกวันมักเป็นไข้หวัดหรือโรคติดเชื้ออื่นๆ บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายจึงไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้โทษของสุรายังไปทำลายความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง ลำไส้แปรปรวน 

  1. ระบบต่อมไร้ท่อ

โทษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังกระทบไปถึงระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ทำให้ระดับฮอร์โมนเสียสมดุล เช่น ในผู้ชายระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลง ทำให้อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย อ้วนง่าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส่วนผู้หญิงจะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีบุตรยาก อาการช่วงที่เป็นประจำเดือนรุนแรงขึ้น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ท้องอืด และปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากกว่าปกติ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งมดลูกอีกด้วย

4 โรคร้ายที่มาพร้อมการดื่มสุรา

หากถามว่าดื่มสุราจะเป็นโรคอะไร? คนส่วนใหญ่คงจะตอบว่าโรคตับ แต่อันที่จริงแล้วการกินเหล้ามากๆ ติดต่อกันนานๆ ไม่ได้เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นๆ อีกมากมาย ไปดูกันเลยว่าคนที่กินเหล้าเยอะเป็นโรคอะไรได้บ้าง

โรคตับแข็ง เกิดจากการที่ตับต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ปริมาณมากที่ดื่มเข้าไป บวกกับการสะสมของไขมันในตับ ทำให้เซลล์ตับได้รับความเสียหายและพยายามซ่อมแซมตัวเองด้วยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นมาทดแทน จนมีสภาพที่เรียกว่า “ตับแข็ง” เมื่อเป็นแล้วจะรักษาไม่หาย แต่หากเลิกเหล้าได้ก่อนที่อาการจะพัฒนามาถึงระยะสุดท้าย ก็มีโอกาสที่ตับจะฟื้นตัวเป็นปกติ

โทษของการดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป เพราะในช่วงแรกที่ตับเริ่มผิดปกติจะไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำก็จะไม่รู้ จนเมื่อเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับในที่สุด โดยผลจากการติดตามผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้นของสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปี พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งตับอยู่ที่ 2.6 % ต่อปี แต่หากหยุดดื่มแอลกอฮอล์ โอกาสเป็นมะเร็งตับจะลดลง 6 – 7 %

อีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการดื่มสุราคือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ที่คล้ายกับโรคตับแข็ง คือเกิดจากการอักเสบซ้ำๆ จนมีการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดในตับอ่อน หากเคยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลันหลายครั้งและยังไม่หยุดดื่มเหล้า ความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคเรื้อรังก็จะสูงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง เป็นๆ หายๆ อุจจาระมีสีเทาหรือซีด และอาจพบไขมันปนออกมากับอุจจาระด้วย 

โทษของการดื่มสุราเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิด เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดอักเสบ เสื่อมสภาพ ตีบตัน เปราะแตก นำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตกะทันหัน บางคนอาจจะคิดว่าดื่มมานานแล้วคงแก้อะไรไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วการหยุดดื่มสุราแค่ 6 เดือน หัวใจก็จะทำงานดีขึ้น และถ้าทำต่อเนื่องหัวใจก็จะกลับมาแข็งแรงได้ใน 2 – 4 ปี เพราะฉะนั้นหยุดดื่มตั้งแต่วันนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดีที่สุด

รู้ถึงผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพแบบนี้แล้ว ใครที่ดื่มหนักจัดเต็มทุกวัน ก็คงต้องพยายามลดปริมาณและความถี่ในการดื่มลง แต่หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการติดสุราเรื้อรัง ควบคุมการดื่มไม่ได้ หยุดดื่มแล้วกระวนกระวาย มือสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน หรือพยายามเลิกเหล้าหลายครั้งแต่ไม่ได้ผล ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ สถานบำบัดเหล้ากรุงเทพที่มีประสบการณ์มากกว่า 35 ปี จะพาคุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน สถานบำบัดสุราเรื้อรังของเรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงปรับวิธีการบำบัดให้เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

การดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายและสมองของคนเราเกิดการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสารเหล่านี้จนเกิดความทนทาน ร่างกายและสมองก็จะต้องการปริมาณแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก การลด ละ เลิก ตั้งแต่วันนี้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่หลายคนคงจะกังวลที่ต้องเผชิญกับผลข้างเคียงอย่างเช่น อาการลงแดง ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปหาคำตอบกันว่า อาการลงแดงเกิดจากอะไร อันตรายไหม และจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง ตามไปอ่านกันได้เลย

อาการลงแดงคืออะไร เป็นเพราะสาเหตุใด

อาการลงแดงหรือ Withdrawal Symptoms คือ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นเมื่อหยุดใช้สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ ยาเสพติด อย่างฉับพลัน เนื่องจากร่างกายคุ้นชินกับสารเสพติดที่ได้รับเป็นเวลานาน และเข้าใจว่าสภาวะที่ร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสารเสพติดนั้นคือ สภาวะปกติ จึงเพิ่มหรือลดการผลิตสารสื่อประสาทบางชนิด ดังนั้น เมื่อขาดสารเสพติดไป สารสื่อประสาทในร่างกายจึงเสียสมดุล และทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา 

หากปกติดื่มเหล้าไม่มาก การเลิกเหล้าแบบหักดิบสามารถทำได้ โดยอาจมีอาการลงแดงแต่ไม่รุนแรง แต่หากเป็นนักดื่มตัวยงหรือดื่มเหล้าหนักมานานหลายปี ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน เพราะขาดสุราแบบกะทันหันนั่นเอง ซึ่งอาการของคนเลิกเหล้าแบบหักดิบจะมีตั้งแต่อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน ไปจนถึงขั้นชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้ บางคนหากทนกับอาการลงแดงไม่ไหว พอกลับไปดื่มอีกก็มักจะดื่มหนักกว่าเดิม เสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “สุราเป็นพิษ” เฉียบพลัน และเสียชีวิตได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากต้องการเลิกเหล้าแบบหักดิบ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

อาการลงแดงเป็นอย่างไร นานไหมกว่าจะหาย

หลายคนอาจสงสัยว่าอาการลงแดงเป็นอย่างไร ทรมานมากหรือไม่ ต้องบอกว่าลักษณะของอาการ ความรุนแรง และระยะเวลาที่เกิดอาการลงแดงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสารเสพติดที่ใช้ โดยจะส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้

อาการคนลงแดงเหล้า จะเกิดขึ้นประมาณ 6 – 8 ชม. หลังการดื่มครั้งสุดท้าย โดยในช่วง 24 – 48 ชม. แรก ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นในวันที่ 2 – 3 และจะค่อยๆ ทุเลาลงจนหายใน 5 – 7 วัน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจมีอาการชักร่วมกับอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว ตื่นตระหนก หวาดระแวง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการลงแดงยา จะแตกต่างกันตามประเภทของยาที่ใช้ เช่น กลุ่มที่ใช้สารกระตุ้นประสาท ไม่ว่าจะเป็นยาบ้า ยาม้า ยาไอซ์ โคเคน ฯลฯ จะมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และอาจนำไปสู่อาการซึมเศร้า ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้สารกดประสาทอย่างฝิ่น เฮโรอีน ทรามาดอล จะมีอาการกระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเร็ว ครั่นเนื้อครั่นตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อย ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ประสาทหลอน ระยะเวลาของอาการลงแดงยาเสพติดอาจนานหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน

อาการลงแดงอันตรายไหม

อาการของคนลงแดงมีหลายระดับ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับทั่วไป ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่จะรู้สึกทรมาน ไม่สบายตัว แต่สำหรับผู้ที่เสพยาหรือดื่มเหล้าจัดนาน 5 – 15 ปี จะมีอาการลงแดงที่รุนแรง ซับซ้อน และมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการชักเกร็ง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการเพ้อ หวาดกลัว ขาดสติ ก็อาจทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือวิ่งหนีเตลิดออกไปจนเกิดอุบัติเหตุได้  

นอกจากนี้กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับอักเสบ ฯลฯ รวมถึงผู้ที่เคยมีอาการชักจากการขาดสุรา หรือเคยมีอาการลงแดงอย่างรุนแรง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน 

วิธีรับมืออาการลงแดงอย่างปลอดภัย เลิกได้ถาวร

การรับมือกับอาการลงแดงอย่างถูกวิธีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีและมีโอกาสเลิกเหล้าได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ จึงต้องอาศัยความเข้าใจและการดูแลที่เหมาะสม ดังนี้

กำลังใจมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญกับอาการลงแดงหรือความท้าทายในการปรับตัว อย่าอายที่จะบอกกับคนรอบข้างตรงๆ เปิดใจพูดคุย และขอความช่วยเหลือ เพราะการมีคนคอยอยู่เคียงข้าง ช่วยดูแล และเฝ้าระวังอาการต่างๆ จะทำให้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพคือการเข้าไปพบแพทย์ ทำการรักษาในสถานบำบัดที่มีคนคอยดูแล 24 ชม. จะยิ่งช่วยให้รับมือได้ดีขึ้น

ผู้ป่วยที่ติดเหล้ามานานจะมีปัญหาเรื่องการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด โดยเฉพาะวิตามินบี 1 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง จึงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารไขมันสูง หรือทานวิตามินเสริม ในรายที่มีอาการมาก โดยแพทย์อาจให้วิตามินแบบฉีดแทน

อีกหนึ่งวิธีแก้อาการลงแดงสุราคือ การดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ชดเชยการสูญเสียน้ำจากเหงื่อ และบรรเทาอาการลงแดงได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ต้องคอยระวังภาวะขาดน้ำเป็นพิเศษ

จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง เก็บขวดเหล้าให้ห่างไกลสายตา และจะดีกว่านั้นหากทิ้งมันไปให้หมดหรือขอให้คนรอบตัวช่วยกำจัดทิ้ง อย่าให้มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเหล้าอยู่ใกล้ตัว เพราะการควบคุมความอยากในช่วงที่มีอาการลงแดงก็ยากพออยู่แล้ว ถ้ามีสิ่งยั่วยุมาวางล่อตาล่อใจก็อาจทำให้เลิกเหล้าไม่สำเร็จ

ผู้ป่วยที่มีอาการลงแดงรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีแก้อาการลงแดงด้วยการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น โคลนิดีน (Clonidine), คลอร์ไดอาซีพอกไซด์ (Chlordiazepoxide), บูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine), ไดอะซีแพม (Diazepam), ลอราซีแพม (Lorazepam), เมทาโดน (Methadone) เป็นต้น 

ทำอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พยายามเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ หรือหันไปโฟกัสอย่างอื่นแทน เช่น ดูหนัง วาดภาพ อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นเกม เล่นโยคะ รวมถึงการออกกำลังกาย ที่นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจสดชื่นเบิกบานอีกด้วย 

นอกจากการดูแลทางร่างกาย จิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูจิตใจ รวมถึงปรับพฤติกรรม ทัศนคติ และกระบวนการคิด เพื่อสร้างความมั่นใจ และลดความเสี่ยงที่จะกลับไปใช้สารเสพติดในอนาคต โดยอาจจะมีการพูดคุยกับจิตแพทย์หรือทำกิจกรรมแบบกลุ่มนั่นเอง

วิธีป้องกันอาการลงแดง ไม่อยากเป็นทำอย่างไร

การป้องกันอาการลงแดงที่ดีที่สุดคือ การป้องกันที่ต้นเหตุ พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ต้องดื่มแอลกอฮอล์ หรือควรควบคุมปริมาณการดื่มให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และไม่ควรดื่มเหล้ามากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์

สำหรับผู้ที่ติดสุราเรื้อรังและต้องการเลิกเหล้า สามารถป้องกันอาการลงแดงได้ด้วยการลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่างกายมีเวลาปรับตัว โดยค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย และดื่มอย่างช้าๆ ปริมาณน้อยกว่า 1 แก้วต่อชั่วโมง และทิ้งช่วงสลับกับการดื่มน้ำเปล่า 

อาการลงแดงคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และมีวิธีรับมืออย่างไร เรียนรู้วิธีป้องกันและวิธีแก้อาการลงแดงสุราอย่างถูกวิธีได้ในบทความนี้

การเลิกเหล้าด้วยตัวเองสามารถทำได้ แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายหรือเลิกได้ไม่สำเร็จ และกลับไปดื่มในปริมาณที่มากกว่าเดิม ดังนั้นหากตัดสินใจเลิกแบบเด็ดขาดแล้ว ควรเข้ารับการรักษาในสถานบำบัดอย่างถูกวิธี อย่างเช่นที่ ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เราเป็นทั้งศูนย์บำบัดคนติดสุรา กรุงเทพ และสถานที่บำบัดยาเสพติดในกรุงเทพ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการเลิกเหล้าและเลิกยาเสพติด ยิ่งไปกว่านั้น เรายังมีการวางแผนการรักษาด้วยโปรแกรมบำบัดแบบเฉพาะบุคคล พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชม. จึงอุ่นใจได้เลยว่าคุณหรือคนที่คุณรักจะได้รับการดูแลอย่างดีเสมือนคนในครอบครัว 

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและด้านสภาพจิตใจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์

เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพักฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรุงเทพ ศุนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบอเมริกัน ให้การรักษาติดยาเสพติดที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่เหมาะสมและเป็นการบำบัดแบบเฉพาะในประเทศไทยเพื่อให้การรักษาเป็นรายบุคคลกับผู้บำบัดรักษาทุกราย เราเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยทีมงานชาวอเมริกันและคนไทยที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมการรักษาการติดยาเสพติดและความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจากสหรัฐอเมริกา

บริการของเรา

ให้การรักษาอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์โดยมีวิธีการรักษาแบบเหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการติดยาเสพติดที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมที่สุด และบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนจบปริญญาโทหรือสูงกว่าโดยมีประสบการณ์หลายปีในการทำงานด้านสุขภาพจิตและการรักษาติดยาเสพติด ได้รับการฝึกอบรมในการรักษาการติดยาเสพติดและรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติด้านสุขภาพจิต

ติดต่อเรา

Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.

Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand

Email: [email protected]