อาการลงแดงคืออะไร รวมวิธีป้องกันและรับมืออย่างถูกวิธี

การดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายและสมองของคนเราเกิดการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสารเหล่านี้จนเกิดความทนทาน ร่างกายและสมองก็จะต้องการปริมาณแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก การลด ละ เลิก ตั้งแต่วันนี้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่หลายคนคงจะกังวลที่ต้องเผชิญกับผลข้างเคียงอย่างเช่น อาการลงแดง ดังนั้นในบทความนี้จะพาไปหาคำตอบกันว่า อาการลงแดงเกิดจากอะไร อันตรายไหม และจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง ตามไปอ่านกันได้เลย

อาการลงแดงคืออะไร เป็นเพราะสาเหตุใด

อาการลงแดงหรือ Withdrawal Symptoms คือ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นเมื่อหยุดใช้สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ ยาเสพติด อย่างฉับพลัน เนื่องจากร่างกายคุ้นชินกับสารเสพติดที่ได้รับเป็นเวลานาน และเข้าใจว่าสภาวะที่ร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสารเสพติดนั้นคือ สภาวะปกติ จึงเพิ่มหรือลดการผลิตสารสื่อประสาทบางชนิด ดังนั้น เมื่อขาดสารเสพติดไป สารสื่อประสาทในร่างกายจึงเสียสมดุล และทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา 

  • เลิกเหล้าแบบหักดิบ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ 

หากปกติดื่มเหล้าไม่มาก การเลิกเหล้าแบบหักดิบสามารถทำได้ โดยอาจมีอาการลงแดงแต่ไม่รุนแรง แต่หากเป็นนักดื่มตัวยงหรือดื่มเหล้าหนักมานานหลายปี ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน เพราะขาดสุราแบบกะทันหันนั่นเอง ซึ่งอาการของคนเลิกเหล้าแบบหักดิบจะมีตั้งแต่อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย เครียด กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน ไปจนถึงขั้นชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้ บางคนหากทนกับอาการลงแดงไม่ไหว พอกลับไปดื่มอีกก็มักจะดื่มหนักกว่าเดิม เสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “สุราเป็นพิษ” เฉียบพลัน และเสียชีวิตได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากต้องการเลิกเหล้าแบบหักดิบ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

อาการลงแดงเป็นอย่างไร นานไหมกว่าจะหาย

หลายคนอาจสงสัยว่าอาการลงแดงเป็นอย่างไร ทรมานมากหรือไม่ ต้องบอกว่าลักษณะของอาการ ความรุนแรง และระยะเวลาที่เกิดอาการลงแดงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสารเสพติดที่ใช้ โดยจะส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้

  • อาการคนลงแดงเหล้า

อาการคนลงแดงเหล้า จะเกิดขึ้นประมาณ 6 – 8 ชม. หลังการดื่มครั้งสุดท้าย โดยในช่วง 24 – 48 ชม. แรก ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่อแตก หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นในวันที่ 2 – 3 และจะค่อยๆ ทุเลาลงจนหายใน 5 – 7 วัน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจมีอาการชักร่วมกับอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว ตื่นตระหนก หวาดระแวง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • อาการคนลงแดงยา

อาการลงแดงยา จะแตกต่างกันตามประเภทของยาที่ใช้ เช่น กลุ่มที่ใช้สารกระตุ้นประสาท ไม่ว่าจะเป็นยาบ้า ยาม้า ยาไอซ์ โคเคน ฯลฯ จะมีอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และอาจนำไปสู่อาการซึมเศร้า ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้สารกดประสาทอย่างฝิ่น เฮโรอีน ทรามาดอล จะมีอาการกระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเร็ว ครั่นเนื้อครั่นตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อย ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ประสาทหลอน ระยะเวลาของอาการลงแดงยาเสพติดอาจนานหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน

อาการลงแดงอันตรายไหม

อาการของคนลงแดงมีหลายระดับ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับทั่วไป ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่จะรู้สึกทรมาน ไม่สบายตัว แต่สำหรับผู้ที่เสพยาหรือดื่มเหล้าจัดนาน 5 – 15 ปี จะมีอาการลงแดงที่รุนแรง ซับซ้อน และมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการชักเกร็ง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการเพ้อ หวาดกลัว ขาดสติ ก็อาจทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือวิ่งหนีเตลิดออกไปจนเกิดอุบัติเหตุได้  

นอกจากนี้กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับอักเสบ ฯลฯ รวมถึงผู้ที่เคยมีอาการชักจากการขาดสุรา หรือเคยมีอาการลงแดงอย่างรุนแรง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน 

วิธีรับมืออาการลงแดงอย่างปลอดภัย เลิกได้ถาวร

การรับมือกับอาการลงแดงอย่างถูกวิธีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีและมีโอกาสเลิกเหล้าได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ จึงต้องอาศัยความเข้าใจและการดูแลที่เหมาะสม ดังนี้

  • กำลังใจจากคนรอบข้าง

กำลังใจมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญกับอาการลงแดงหรือความท้าทายในการปรับตัว อย่าอายที่จะบอกกับคนรอบข้างตรงๆ เปิดใจพูดคุย และขอความช่วยเหลือ เพราะการมีคนคอยอยู่เคียงข้าง ช่วยดูแล และเฝ้าระวังอาการต่างๆ จะทำให้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพคือการเข้าไปพบแพทย์ ทำการรักษาในสถานบำบัดที่มีคนคอยดูแล 24 ชม. จะยิ่งช่วยให้รับมือได้ดีขึ้น

  • ทานอาหารมีประโยชน์

ผู้ป่วยที่ติดเหล้ามานานจะมีปัญหาเรื่องการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด โดยเฉพาะวิตามินบี 1 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง จึงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารไขมันสูง หรือทานวิตามินเสริม ในรายที่มีอาการมาก โดยแพทย์อาจให้วิตามินแบบฉีดแทน

  • ดื่มน้ำเยอะๆ

อีกหนึ่งวิธีแก้อาการลงแดงสุราคือ การดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ชดเชยการสูญเสียน้ำจากเหงื่อ และบรรเทาอาการลงแดงได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ต้องคอยระวังภาวะขาดน้ำเป็นพิเศษ

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง เก็บขวดเหล้าให้ห่างไกลสายตา และจะดีกว่านั้นหากทิ้งมันไปให้หมดหรือขอให้คนรอบตัวช่วยกำจัดทิ้ง อย่าให้มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเหล้าอยู่ใกล้ตัว เพราะการควบคุมความอยากในช่วงที่มีอาการลงแดงก็ยากพออยู่แล้ว ถ้ามีสิ่งยั่วยุมาวางล่อตาล่อใจก็อาจทำให้เลิกเหล้าไม่สำเร็จ

  • ใช้ยารักษาอาการ

ผู้ป่วยที่มีอาการลงแดงรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีแก้อาการลงแดงด้วยการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น โคลนิดีน (Clonidine), คลอร์ไดอาซีพอกไซด์ (Chlordiazepoxide), บูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine), ไดอะซีแพม (Diazepam), ลอราซีแพม (Lorazepam), เมทาโดน (Methadone) เป็นต้น 

  • กิจกรรมบำบัด

ทำอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พยายามเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ หรือหันไปโฟกัสอย่างอื่นแทน เช่น ดูหนัง วาดภาพ อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นเกม เล่นโยคะ รวมถึงการออกกำลังกาย ที่นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจสดชื่นเบิกบานอีกด้วย 

  • ปรับพฤติกรรม

นอกจากการดูแลทางร่างกาย จิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูจิตใจ รวมถึงปรับพฤติกรรม ทัศนคติ และกระบวนการคิด เพื่อสร้างความมั่นใจ และลดความเสี่ยงที่จะกลับไปใช้สารเสพติดในอนาคต โดยอาจจะมีการพูดคุยกับจิตแพทย์หรือทำกิจกรรมแบบกลุ่มนั่นเอง

วิธีป้องกันอาการลงแดง ไม่อยากเป็นทำอย่างไร

การป้องกันอาการลงแดงที่ดีที่สุดคือ การป้องกันที่ต้นเหตุ พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ต้องดื่มแอลกอฮอล์ หรือควรควบคุมปริมาณการดื่มให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และไม่ควรดื่มเหล้ามากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์

สำหรับผู้ที่ติดสุราเรื้อรังและต้องการเลิกเหล้า สามารถป้องกันอาการลงแดงได้ด้วยการลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ร่างกายมีเวลาปรับตัว โดยค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย และดื่มอย่างช้าๆ ปริมาณน้อยกว่า 1 แก้วต่อชั่วโมง และทิ้งช่วงสลับกับการดื่มน้ำเปล่า 

อาการลงแดงคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และมีวิธีรับมืออย่างไร เรียนรู้วิธีป้องกันและวิธีแก้อาการลงแดงสุราอย่างถูกวิธีได้ในบทความนี้

การเลิกเหล้าด้วยตัวเองสามารถทำได้ แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายหรือเลิกได้ไม่สำเร็จ และกลับไปดื่มในปริมาณที่มากกว่าเดิม ดังนั้นหากตัดสินใจเลิกแบบเด็ดขาดแล้ว ควรเข้ารับการรักษาในสถานบำบัดอย่างถูกวิธี อย่างเช่นที่ ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เราเป็นทั้งศูนย์บำบัดคนติดสุรา กรุงเทพ และสถานที่บำบัดยาเสพติดในกรุงเทพ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการเลิกเหล้าและเลิกยาเสพติด ยิ่งไปกว่านั้น เรายังมีการวางแผนการรักษาด้วยโปรแกรมบำบัดแบบเฉพาะบุคคล พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชม. จึงอุ่นใจได้เลยว่าคุณหรือคนที่คุณรักจะได้รับการดูแลอย่างดีเสมือนคนในครอบครัว 

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและด้านสภาพจิตใจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์

เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพักฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรุงเทพ ศุนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบอเมริกัน ให้การรักษาติดยาเสพติดที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่เหมาะสมและเป็นการบำบัดแบบเฉพาะในประเทศไทยเพื่อให้การรักษาเป็นรายบุคคลกับผู้บำบัดรักษาทุกราย เราเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยทีมงานชาวอเมริกันและคนไทยที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมการรักษาการติดยาเสพติดและความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจากสหรัฐอเมริกา

บริการของเรา

ให้การรักษาอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์โดยมีวิธีการรักษาแบบเหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการติดยาเสพติดที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมที่สุด และบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนจบปริญญาโทหรือสูงกว่าโดยมีประสบการณ์หลายปีในการทำงานด้านสุขภาพจิตและการรักษาติดยาเสพติด ได้รับการฝึกอบรมในการรักษาการติดยาเสพติดและรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติด้านสุขภาพจิต

ติดต่อเรา

Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.

Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand

Email: [email protected]