ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับหลายครอบครัวในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับมือและการสังเกตอาการของผู้ติดสารเสพติด การเข้าใจว่าเมื่อใดที่ผู้ติดยาควรได้รับการบำบัดอย่างเร่งด่วนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ติดยาเสพติดถูกจัดให้เป็นผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาและฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข วันนี้เราจะขอนำเสนอเทคนิคในการจำแนกอาการของผู้ติดยาเสพติด พร้อมทั้งแนะนำว่าอาการในระดับใดที่บ่งชี้ว่าควรเข้ารับการบำบัดโดยเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยให้ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดสามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อไหร่ที่ผู้ติดยาเสพติดควรเข้ารับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดนั่นเอง
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปัจจุบัน ยังไม่มีการจำแนกระดับอาการของคนติดยาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีเทคนิคที่สามารถใช้แบ่งระดับของคนติดยาได้จากพฤติกรรมการใช้ยา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
การทดลองใช้เป็นช่วงริเริ่มใช้ชาในครั้งแรก ๆ ส่วนมากเกิดจากความอยากรู้อยากลองด้วยความคึกคะนอง หรืออาจเกิดจากการขาดสติจากอาการมึนเมา โดยผู้ที่เริ่มต้นเสพยามักจะมาพร้อมกับความคิดที่ว่า แค่ลองเฉย ๆ ไม่ติดหรอก ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ มีผู้ที่ชีวิตต้องพังเพราะความคิดนี้มาแล้วนับไม่ถ้วน
ในระดับนี้ความถี่ของการใช้ยาเสพติดจะเริ่มเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่วัตถุประสงค์การใช้ยังคงเป็นการใช้เพื่อความบันเทิง ยังไม่ได้รู้สึกว่าเสพติดจนขาดไม่ได้ และมีแนวโน้มที่คนใกล้ตัวก็จะมีพฤติกรรมใช้ยาเสพติดเหมือน ๆ กัน ทำให้เกิดการชักชวนเสพสารเสพติด ระหว่างการสังสรรค์ เพราะคิดว่าเป็นการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกับกลุ่มเพื่อน
เมื่อผ่านการใช้ยามาสักระยะ ก็จะเริ่มแสดงออกถึงอาการของผู้ติดสารเสพติด ซึ่งอาการที่พบจะเริ่มส่งผลโดยตรงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนโดยรอบ ความรับผิดชอบจะลดน้อยลง ยาเสพติดจะเริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น สุขภาพร่างกายจะค่อย ๆ ถดถอยในช่วงระยะนี้
นับว่าเป็นการเทิร์นโปรด้านการติดยาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้ร่างกายจะมีความต้องการยามากกว่าเดิม จากที่เสพเพียงแค่ความบันเทิง จะเปลี่ยนไปเป็นเสพเพราะความต้องการและร่างกายจะเริ่มมีอาการดื้อยา ทำให้ความสุขที่ได้จากการเสพลดน้อยลง จนต้องเพิ่มปริมาณยาให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะนี้จะทำให้ผู้เสพเริ่มมีอาการทางจิตอ่อน ๆ เพราะความอยากยา จนคนรอบข้างเริ่มสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
ถือว่านี่คือขั้นวิกฤติของอาการติดยาเสพติด เนื่องจากในตอนนี้ผู้เสพจะขาดความคิดผิดชอบชั่วดี วัตถุประสงค์ของการใช้ชีวิตมีเพียงอย่างเดียวคือต้องเสพยาเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความต้องการอยากยาได้อีกต่อไป แม้จะรู้ว่ามีผลเสียมากเพียงใด แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดความทรมานจากการอยากยา เมื่อปล่อยให้ล่วงเลยมาถึงระดับนี้ จะมีอันตรายสูงมากทั้งต่อตัวผู้เสพและคนใกล้ตัวโดยรอบ
จากเนื้อหาเมื่อสักครู่ ที่เราได้แบ่งอาการของคนติดยาเสพติดออกเป็น 5 ระดับ นอกจากการใช้พฤติกรรมการใช้ยาเป็นเกณฑ์วัดแล้ว ยังสามารถใช้หลักเกณฑ์อื่น ๆ เพื่อประเมินระดับอาการของผู้ติดยาได้อีกหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
ทั้งปริมาณและความถี่ของการใช้ยาล้วนสามารถนำมาใช้แบ่งระดับของผู้ติดยาได้ทั้งสิ้น ในช่วงแรกคนที่เริ่มใช้ยามักจะใช้เป็นครั้งคราวจากการเข้าสังคมที่มีพฤติกรรมเสพยาเป็นเรื่องปกติ ทุกครั้งเมื่อเจอกับคนกลุ่มนั้น ๆ ก็จะมีการใช้ยาสักครั้ง เพราะยังไม่รู้แหล่งซื้อขายยาโดยตรง แต่เมื่อเริ่มมีความต้องการมากขึ้น ก็จะเริ่มเพิ่มปริมาณยา และเริ่มหาลู่ทางเพื่อให้ได้มาเพื่อยาเสพติด สุดท้ายแล้วความถี่และปริมาณของการใช้ยาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนยากจะควบคุม
หลังจากเริ่มใช้ยามาสักระยะ ผู้เสพก็จะเริ่มมีอาการเริ่มต้นของคนเสพยา นั่นก็คือการเก็บตัวอยู่เพียงลำพัง เริ่มหมกมุ่นอยู่กับความสุขจอมปลอมจากฤทธิ์ของยาเสพติด ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวก็จะน้อยลง หรือไม่ก็จะอยู่กับแค่สังคมที่ร่วมเสพยาด้วยกันเท่านั้น หากอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จะมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานหรือการเรียน จากความรับผิดชอบที่ถดถอย จนยากที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
เมื่อผู้ใช้ยาถลำลึกไปเรื่อย ๆ ความสุขจากการใช้ยาที่เคยมีก็จะเริ่มน้อยลง จนต้องเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น สุดท้ายแล้วก็จะเกิดอาการติดยา และเมื่อรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว เพราะผู้ที่เสพยาก็จะเริ่มมีอาการอยากยาหรือภาวะสมองติดยา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการทางจิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการหมกมุ่น นึกถึงแต่การเสพยาอยู่ตลอด ยิ่งใช้ยาเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ อาการอยากยาก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นอาการคลุ้มคลั่งจากยาเสพติดอย่างที่เราเห็นกันในข่าวอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง
ในข้อสงสัยที่ว่า อาการของคนเสพยาระดับไหนควรเข้ารับการบำบัดโดยเร็วที่สุด หากแบ่งตามระดับในบทความนี้ ก็จะเริ่มเป็นในระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เริ่มใช้ยามากขึ้น จากเป็นครั้งเป็นคราวเริ่มเป็นการใช้เป็นประจำ โดยอาการที่แสดงออกก็จะมีดังต่อไปนี้
เมื่อต้องการเลิกขาดจริง ๆ ไม่ว่าจะติดยาในระดับไหนก็ตาม หากมีความต้องการแน่วแน่ที่จะเลิกขาดจากยาเสพติด สามารถเข้ารับการบำบัดได้ทั้งสิ้น ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะเลิกขาดยิ่งมากเท่านั้นเหตุผลที่ทำให้คนติดยาถึงเลิกไม่ได้สักที ส่วนมากเกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ซึ่งมักจะมีสิ่งยั่วยุให้กลับไปเสพยาอีกครั้งอยู่มากมาย และการเลิกยานั้นก็ทำได้ยากมาก หากขาดความรู้ความเข้าใจ แม้จะมีหลาย ๆ คนที่สามารถเลิกยาด้วยการหักดิบ แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งการบำบัดกับสถานบำบัดยาเสพติดชั้นนำอย่าง Lighthouse คือตัวเลือกที่ดีมากกว่าการหักดิบด้วยตนเอง เพราะที่ Lighthouse เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและมีบริการเพื่อการบำบัดอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยจากอาการติดยาเสพติดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยวิธีการรักษาแบบ Dual Diagnosis ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงช่วยบรรเทาความทรมานจากอาการถอนพิษยาเสพติดไปพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ด้วยความมุ่งมั่นอันแรงกล้า ทีมของเราพร้อมจะอยู่เคียงข้างผู้ป่วย จนสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อีกครั้ง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกกว่า 3 ล้านคน และ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในประเทศไทยกว่า 50% มีสาเหตุเกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่รีบเลิกเหล้าและปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยไป โอกาสที่คุณจะกลับมามีความสุขโดยปราศจากเหล้าและมีสุขภาพแข็งแรงก็จะลดน้อยลงไปทุกที บทความนี้เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้เทคนิคการเลิกเหล้า ด้วย 10 วิธีที่ทำให้คุณเลิกขาดจากเหล้าอย่างเด็ดขาด โดยไม่หันหลังกลับไปมองมันอีก
หากคุณอยากเลิกเหล้าแบบเด็ดขาด ก่อนอื่นเราอยากให้คุณประเมินตนเองเสียก่อนว่าตอนนี้คุณมีอาการติดเหล้ามากน้อยเพียงใด เนื่องจากการติดเหล้าในแต่ละคนจะมีอาการแสดงออกแตกต่างกัน หากอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็อาจเป็นเพียงความอยากดื่มเพื่อสังสรรค์ เพียงเพื่อความสนุกสนาน ทว่าในผู้ที่มีอาการติดเหล้าเรื้อรัง การดื่มเหล้าอาจเป็นการดื่มเพื่อเติมเต็มความอยาก หากไม่ได้ดื่มเหล้าก็จะทำให้มีอาการผิดปกติกับร่างกาย เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออก มือไม้สั่น คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนไม่สบาย และสูญเสียความควบคุมทางด้านอารมณ์อย่างสิ้นเชิง
สาเหตุของอาการที่เรากล่าวไปข้างต้นเกิดจากการดื่มเหล้าเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้สารสื่อประสาทบางชนิดทำงานผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการ เหงื่อออก มือไม้สั่น ยิ่งไปกว่านั้น การดื่มสุรายังทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดความระคายเคือง ที่น่ากลัวคือในผู้ที่ติดสุราเรื้อรังจะมีปัญหาด้านเคมีในสมอง ทำให้เกิดอาการทางจิต อารมณ์รุนแรง ควบคุมตนเองไม่ได้ เห็นได้ชัดว่าการติดเหล้านั้นไม่ได้ต่างอะไรจากการติดยาเสพติด ฉะนั้น หากเข้าใจถึงความน่ากลัวของอาการติดเหล้าแล้ว มาดู 10 วิธีเลิกเหล้าที่เรานำมาฝากกันได้เลย
สำหรับ 10 วิธีเลิกเหล้าที่เรานำมาฝาก จะแบ่งเป็น 6 วิธีการเลิกเหล้าด้วยตนเองอย่างปลอดภัย และ 4 การบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์ ต่อจากนี้เราจะขอเริ่มจากการแนะนำเทคนิคการเลิกเหล้าด้วยตนเอง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงวิธีเลิกเหล้าแบบหักดิบ ถึงจะเป็นวิธีที่เห็นผลดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีอาการติดเหล้ารุนแรง ทว่าในผู้ติดเหล้าเรื้อรัง การเลิกด้วยวิธีนี้อันตรายเป็นอย่างมาก อาจทำให้ลงแดงจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยวิธีการเลิกเหล้าด้วยตนเองมีดังต่อไปนี้
วิธีเลิกเหล้าที่ดีที่สุดคือการสร้างแรงจูงใจ เริ่มต้นจากการเรียนรู้โทษของการดื่มเหล้า พร้อมมองหาประโยชน์ที่จะได้รับจากการเลิกเหล้าของตนเอง เช่น ทำให้มีเงินเก็บ ทำให้ครอบครัวมีความสุข และทำให้สุขภาพแข็งแรง จากนั้นจึงวางเป้าหมายที่เจาะจง มีกรอบเวลาชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น กินเหล้าเดือนละไม่เกิน 1 ครั้ง งดเหล้าแบบเด็ดขาดเป็นระยะเวลา 1 เดือน งดเหล้าเด็ดขาดเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นต้น
จากข้อมูลเชิงสถิติเผยให้เราได้เห็นว่าคนส่วนมากที่เริ่มดื่มเหล้า เกิดจากการชักชวนของคนรอบตัว ซึ่งเกิดจากการนำตนเองเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เพราะฉะนั้นหากอยากจะเลิกเหล้าควรออกห่างจากปัจจัยเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการสังสรรค์ที่มีการดื่มเหล้าเป็นกิจกรรมหลัก กลุ่มเพื่อนที่มักจะชักชวนให้ดื่มเหล้า และกำจัดปัจจัยเสี่ยงภายในบ้านให้ได้มากที่สุด
ในการเลิกเหล้า สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการอยู่กับตนเอง เพราะรอบกายเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งยั่วยวนที่พร้อมจะทำให้เรากลับไปดื่มอีกครั้งได้ทุกเมื่อ ยิ่งเป็นช่วงแรกที่เพิ่งเริ่มเลิกเหล้า ยิ่งต้องเคร่งครัดกับตัวเองเป็นพิเศษและควรจัดการสภาพแวดล้อมรอบกายให้เหมาะสมมากที่สุด สิ่งที่เคยใช้เพื่อดื่มเหล้าเป็นประจำ ก็ควรเก็บให้พ้นสายตา โดยเฉพาะขวดเหล้าหรืออุปกรณ์ที่ใช้ดื่มเหล้าเป็นประจำภายในบ้าน
การเลิกเหล้าที่ดีไม่ควรจดจ่ออยู่กับแค่การมองหาวิธีไม่ให้อยากเหล้า แต่ควรมองหาวิธีทำให้เบื่อเหล้า โดยส่วนมากผู้ที่เลิกเหล้าสำเร็จ มักจะหากิจกรรมอย่างอื่นมาทำแทนการดื่มเหล้า เช่น การเล่นกีฬา การหางานอดิเรกใหม่ ๆ หรือการท่องเที่ยวในสถานที่ปลอดเหล้า เป็นต้น
วิธีเลิกเหล้าแบบถาวร สิ่งที่ขาดไปไม่ได้คือความร่วมมือจากคนใกล้ตัว นอกจากจะไม่ชักชวนให้กลับไปดื่มอีก คนรอบตัวก็ควรต้องเข้าใจว่าสาเหตุที่ไม่ออกไปร่วมสังสรรค์เป็นเพราะต้องการที่จะเลิกเหล้า และที่สำคัญคือการคอยให้กำลังใจ เนื่องจากการเลิกเหล้าช่วงแรกนั้นทรมานอยู่พอสมควร หากไม่มีกำลังใจจากคนใกล้ตัว ก็มีแนวโน้มสูงมากที่จะกลับไปดื่มอีกครั้ง
เทคนิคสุดท้ายเป็นเรื่องของจิตใจล้วน ๆ หากต้องการจะเลิกเหล้าให้เด็ดขาดใจต้องแน่วแน่ อดทนและอดกลั้นต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบกาย พร้อมกับคาดหวังถึงผลลัพธ์ในระยะยาว อย่าเลิกเพียงแค่ประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ในเทคนิคนี้ต้องเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันการดื่มสุรา ซึ่งอาจจะต้องได้รับความรู้ที่ดีในระดับหนึ่ง และอย่าลืมหมั่นให้รางวัลตนเอง เป็นเหมือนการ Check Point ตลอดเส้นทางของการเลิกเหล้า
หากรู้สึกว่าตอนนี้ติดเหล้าในเกณฑ์ที่รุนแรง จนอาจทำให้ 6 วิธีเลิกเหล้าเด็ดขาดด้วยตนเองข้างต้นไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีการบำบัดทางการแพทย์เข้าช่วย ซึ่งควรเข้ารับการบำบัดที่คลินิกเลิกสุราที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น เนื่องจากจะต้องประเมินอาการผิดปกติจากการใช้แอลกอฮอล์ (AUD) เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละคนด้วย ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้ 4 วิธีดังต่อไปนี้
การล้างพิษจากสุรา (Detox) บ้างก็เรียกว่า การถอนพิษสุรา เป็นเทคนิคเริ่มแรกที่คลินิกเลิกสุราทั่วโลกต่างก็ทำเหมือน ๆ กัน เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายให้พร้อม ต่อการเลิกเหล้า ทำได้โดยการดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ รับวิตามินเสริม และสารอาหารที่จำเป็นต่อการปรับสภาพร่างกาย
หลังจากเตรียมร่างกายจนพร้อมแล้ว ในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการบำบัดด้วยยา โดยตัวยาที่สถานบำบัดสุราเรื้อรังนิยมใช้ก็จะเป็น Naltrexone, Disulfiram และ Acamprosate ซึ่งจะช่วยออกฤทธิ์ลดอาการอยากดื่มเหล้า และช่วยปรับสมดุลให้สารเคมีในสมองไม่เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการเลิกเหล้า คำเตือนคือ ยาแต่ละชนิดล้วนเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่ควรหาทานเองโดยเด็ดขาด
การที่จะบำบัดเลิกเหล้าให้เห็นผลดีที่สุด ไม่สามารถปรับเฉพาะร่างกายได้ ในส่วนของจิตใจเองก็ควรต้องบำบัดเช่นกัน ในกรณีของผู้ที่ติดเหล้ารุนแรง ระหว่างการบำบัดควรจะต้องได้รับคำปรึกษาจากจิตแพทย์และเข้ารับกระบวนการบำบัดพฤติกรรม ซึ่งจะเป็นการใช้หลักจิตวิทยาเข้าช่วยทั้งในด้านของการเพิ่มแรงจูงใจ เรียนรู้กลไกรับมืออาการอยากเหล้า และปรับระเบียบแนวคิดที่อาจผิดเพี้ยนจากการติดเหล้าให้กลับมาเข้ารูปเข้ารอย เป็นต้น
การวินิจฉัยแบบบูรณาการ (Dual Diagnosis) เป็นกระบวนการบำบัดเลิกเหล้าที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เพราะนอกจากจะเป็นการบำบัดให้เลิกเหล้า ยังมาพร้อมกับการรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากการดื่มเหล้าเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดกับสภาวะจิตใจ หรือ โรคที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสามารถกลับคืนสู่สังคมอย่างสมบูรณ์มากที่สุด
เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังมีความคิดที่อยากจะเลิกเหล้า แม้มันจะเลิกได้ยาก แต่เรามั่นใจว่าคุณเองก็ทำได้ สำหรับใครที่ต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือกำลังสงสัยว่าจะบำบัดเลิกเหล้าได้ที่ไหนดี เราขอแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ Lighthouse สถานบำบัดเหล้าในย่านชานเมืองกรุงเทพ ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากศาสตร์ต่าง ๆ ให้การดูแลด้วยโปรแกรมบำบัดเฉพาะบุคคลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเก็บข้อมูลของผู้เข้ารับการบำบัดทุกคนเอาไว้เป็นความลับ หากคุณต้องการที่จะเลิกเหล้าหรืออยากพาคนที่คุณรักมาเลิกเหล้าหรือยาเสพติด สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยวันนี้
รู้หรือไม่? ยาเสพติดคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 4 เท่าของการฆาตกรรม ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะพาคนที่เรารักออกห่างจากยาเสพติดอันเลวร้ายเหล่านี้ แต่จะพูดคุยกับพวกเขาอย่างไรดีให้พวกเขาเข้ารับการบำบัดยาเสพติด เพราะไม่ว่าผู้ที่ติดยาเสพติดจะเป็นเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือคนในครอบครัวที่ผูกพันมากเพียงใด หลังจากตกอยู่ในการควบคุมของยาเสพติด คนที่คุณคุ้นเคยก็แทบจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน ดังนั้นวิธีพาคนไปบำบัดยาเสพติดด้วยการพูดคุยนั้นจึงอาจทำได้ยาก เพราะวิธีการพูดคุยแบบทั่วไปนั้นไม่ค่อยจะเห็นผลมากนัก บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการเตลิดหรือกระตุ้นให้ผู้ติดยาเสพติดสร้างความรุนแรงได้ คุณจึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีการพูดโน้มน้าวใจเพื่อกล่อมให้เข้ารับการบำบัดโดยสมัครใจ
บทความนี้เราจึงอยากแนะนำวิธีพาคนไปบำบัดยาเสพติดด้วยการโน้มน้าวใจ เป็นวิธีที่จะทำให้คนใกล้ตัวของคุณเข้ารับการบำบัดโดยที่ไม่รู้สึกเหมือนถูกผลักไสไล่ส่ง และไม่รู้สึกว่ากำลังเผชิญปัญหาอยู่ตัวคนเดียว มาร่วมศึกษาไปด้วยกันเลย
เราขอยกตัวอย่าง 5 วิธีการพูดโน้มน้าวใจเรื่องยาเสพติดกับคนใกล้ตัวของคุณที่มีปัญหาติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้ แต่อย่าลืมว่าก่อนที่คุณจะเข้าไปพูดโน้มน้าวใจ คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการบำบัดยาเสพติดเสียก่อน เพื่อให้สามารถตอบคำถามและยกตัวอย่างผลดีที่ได้รับจากการบำบัดให้แก่ผู้ที่ติดยาเสพติดได้
วิธีแรกเลยในการพูดกับคนติดยาเสพติดคือเราไม่ควรใช้ถ้อยคำที่มาจากความโกรธโดยเด็ดขาด แม้เราอาจจะผ่านสถานการณ์อันแสนเลวร้ายมาก็ตาม การพูดคุยกับผู้ติดยาเสพติดคือการแสดงออกถึงความปรารถนาดี ไม่ใช่การผลักไส คุณต้องค่อย ๆ อธิบายถึงผลเสียจากยาเสพติดและผลกระทบที่เกิดขึ้นหากไม่เข้ารับการรักษา พร้อมกับเตือนใจตนเองอยู่เสมอว่าเขาไม่ได้เป็นคนติดยา แต่เขาคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา
คำต้องห้ามในการโน้มน้าวใจให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดคือการตีตราว่าการที่เขาติดยาเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะถ้อยคำเหล่านั้นจะยิ่งสร้างกำแพงในจิตใจจนทำให้การโน้มน้าวใจยากที่จะประสบผลสำเร็จ ฉะนั้นเราต้องพยายามยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น และค่อย ๆ นำเสนอวิธีฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้กับเขาอย่างละมุนละม่อม
การเลิกยานั้นเต็มไปด้วยความทรมาน บางครั้งผู้ที่ติดยาเสพติดอาจพยายามเลิกด้วยตนเองแล้ว แต่ไม่เป็นผล และกลับไปเข้าสู่วงจรการเสพเช่นเดิม เพราะฉะนั้นการพูดคุยเพื่อพาผู้ติดยาเสพติดไปบำบัด ต้องทำให้เขาได้รู้ว่าเขาไม่ได้สู้อยู่เพียงลำพัง ยังมีคนรอบข้างที่พร้อมอยู่เคียงข้างเขาเสมอ ในขณะเดียวกันก็พยายามบอกเขาว่าการที่เขาติดยาเสพติดทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ทำให้คุณเสียใจแค่ไหน เพื่อให้เขาเข้าใจคุณมากขึ้น
สถานที่ จังหวะ และเวลา ก็เป็นส่วนสำคัญต่อการโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ว่าเราอยากจะพูดตอนไหนก็พูดได้เลย เพราะสภาพจิตใจของผู้ที่ติดยาเสพติดไม่ค่อยจะมั่นคงสักเท่าไหร่ ดังนั้นเราต้องรอในจังหวะที่เราพร้อมมากที่สุด ในสถานที่ซึ่งสามารถพูดคุยได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีสิ่งเร้าที่ขัดการสนทนา จากนั้นก็ค่อย ๆ แนะนำให้เขาเข้ารับการบำบัด พร้อมอธิบายถึงวิธีบำบัดผู้ติดสารเสพติดให้กับเขาฟังทีละนิด ๆ จนกว่าเขาจะเปิดใจ
การโน้มน้าวเขาบ่อย ๆ เป็นส่วนสำคัญของเทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด การพูดคุยเพียงหนึ่งครั้งอาจไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้ เพราะฉะนั้นอย่าเบื่อที่จะเริ่มต้นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ไปอีกเรื่อย ๆ เพราะเทคนิคนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใย และแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ของคุณให้เขาได้เห็นว่าเราอยากให้เขาเลิกขาดจากยาเสพติดมากแค่ไหน แม้จะถูกปฏิเสธไปแล้วก็ตาม
เมื่อเราได้เข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการพูดโน้มน้าวเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับที่จะเข้ารับการรักษาแล้ว ต่อมาก็จะเป็นวิธีการพาคนไปบำบัดยาเสพติด ซึ่งขั้นตอนหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
เมื่อผู้ติดยาเสพติดตัดสินใจที่จะเข้ารับการบำบัดแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณควรต้องตัดสินใจ คือเลือกว่าจะเข้าบำบัดกับสถานบำบัดที่ไหนดี โดยการเลือกนั้นจะต้องประเมินจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อาทิ ความสะดวกของการเดินทาง งบประมาณที่มีเพื่อการรักษา เทคนิคหรือวิธีบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดและความน่าเชื่อถือของสถานบำบัด คุณควรเลือกสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติดให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย รวมถึงหาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบำบัดของสถานบำบัดนั้นด้วย
หลังจากเลือกได้แล้วว่าต้องการบำบัดที่ไหน คุณต้องประเมินอาการของผู้เข้ารับการบำบัดเสียก่อน เพราะผู้ติดยาเสพติดมักจะมีปัญหาแทรกซ้อน ทั้งเรื่องของสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต เพื่อให้สถานบำบัดสามารถประเมินอาการและวางแผนวิธีการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
กระบวนการสุดท้ายคือการนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดตามวันเวลาที่นัดเอาไว้ ในกรณีที่เป็นสถานบำบัดแบบกินนอน ในช่วงแรกของการบำบัดญาติจะยังไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ญาติจะสามารถเข้ามาเยี่ยมได้หลังจากผ่านการบำบัดไปแล้วประมาณ 50% จากโปรแกรมทั้งหมด
หลังจากคุณเข้าใจถึงวิธีพาคนไปบำบัดยาเสพติดเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีในส่วนของขั้นตอนการเตรียมตัวอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณพร้อมเมื่อถึงเวลาการเข้ารับบำบัด ทุกอย่างจะราบรื่นไม่มีข้อติดขัดมากวนใจ เพียงคุณเตรียมพร้อมในสิ่งเหล่านี้เท่านั้น
สำหรับผู้ที่กำลังทนทุกข์ทรมานจากการติดยาเสพติดของคนข้างกาย อย่าปล่อยให้เขาอยู่ในช่วงเวลาที่ตกต่ำที่สุดเพียงลำพัง เพราะในวันหนึ่งอาจจะสายเกินไปที่จะฉุดเขากลับมาได้ ดังนั้นคุณควรเริ่มต้นเสียตั้งแต่ตอนนี้ หากคุณกำลังมองหาสถานบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ขอแนะนำให้คุณพาคนที่คุณรักเข้ามาบำบัดที่ Lighthouse สถานบำบัดและฟื้นฟูผู้ที่ติดยาเสพติดที่ตั้งอยู่ย่านชานเมืองของกรุงเทพ เราได้นำเอาหลักการบำบัดจากอเมริกามาปรับใช้กับผู้ป่วยในประเทศไทย ด้วยโปรแกรมบำบัดแบบตัวต่อตัวและดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง มั่นใจได้ว่าคุณจะได้คนที่คุณรักกลับคืนมาอย่างแน่นอน
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงกับทั้งตัวบุคคลที่เสพ รวมไปถึงบุคคลรอบข้างมาโดยตลอด เมื่อคุณพบว่าคนใกล้ตัวของคุณกำลังมีปัญหาติดยาเสพติด สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดีที่สุดคือการบำบัดและฟื้นฟูจากสถานพยาบาลที่เหมาะสม ดังนั้นสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อพาคนใกล้ตัวเข้ารับการบำบัด บทความนี้สามารถเป็นแนวทางในการใช้เลือกศูนย์บำบัดยาเสพติดที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรักได้ มาศึกษาไปพร้อมกันเลย
ก่อนอื่นเราอยากแนะนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสถานบำบัดยาเสพติดกันสักเล็กน้อย โดยผู้ที่มีปัญหาติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ สามารถเข้ารับการบำบัดได้จากสถานพยาบาลใกล้ตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานบำบัดยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยแต่ละแห่งก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป หากแบ่งรูปแบบด้านการดูแลรักษาอย่างชัดเจนมากที่สุด จะสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
สถานบำบัดของรัฐบาลคือสถานที่ซึ่งรัฐบาลจัดเตรียมเอาไว้ให้กับผู้เข้ารับการบำบัด ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ คลินิกบำบัด รวมถึงสถาบันฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ จุดเด่นของสถานบำบัดของรัฐคือการไม่มีค่าใช้จ่าย แต่การดูแลอาจไม่ทั่วถึงมากนัก เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการรักษามีเป็นจำนวนมาก
สำหรับการบำบัดการติดยาเสพติดของเอกชน จะเป็นการรักษาตามความสมัครใจของผู้เข้ารับการบำบัด โดยการดูแลรักษาจะพิเศษกว่าสถานบำบัดจากรัฐบาลเพราะมีค่าใช้จ่ายและบางแห่งก็จำกัดจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดด้วย สถานบำบัดของเอกชนจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด และผู้เข้าบำบัดจะได้รับความเป็นส่วนตัวมากกว่าสถานบำบัดของรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการบำบัดเฉพาะตัวตามสถานการณ์ของแต่ละคนด้วย โดยค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันออกไป
เมื่อคุณได้ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานบำบัดยาเสพติดว่ามีที่ไหนบ้างแล้ว ไม่ว่าจะในช่องทางค้นหาใด รายชื่อของสถานบำบัดที่คุณได้รับน่าจะเยอะจนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เราขอแนะนำคุณลักษณะของสถานบำบัดยาเสพติดที่ดีดังนี้
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบุเอาไว้ว่า ผู้เสพคือผู้ป่วย ดังนั้นต่อจากนี้ เราจะขอเรียกผู้ที่กำลังต้องการเข้ารับการบำบัดว่าผู้ป่วยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เมื่อได้รู้ไปแล้วว่าสถานบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดที่ดีเป็นอย่างไร ในขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นการตัดสินใจเลือกแล้วว่าอยากจะเลือกสถานบำบัดยาเสพติดแห่งไหน ซึ่งนี่คือการตัดสินใจที่สำคัญมากต่ออนาคตของผู้ป่วย ดังนั้นเราอยากจะแนะนำวิธีการเลือกสถานบำบัดเพื่อให้เหมาะสมต่อผู้ป่วยมากที่สุดด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนและปัญหาสุขภาพจิต เราจึงต้องพูดคุยและทำความเข้าใจถึงปัญหาของพวกเขาก่อน เพื่อให้สามารถมองหาคลินิกเลิกยาเสพติดที่มีความพร้อมด้านการแพทย์และตอบโจทย์กับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้
เนื่องจากจำนวนของคลินิกบำบัดยาเสพติดมีเพิ่มมากขึ้น การเลือกสถานบำบัดยาเสพติดจึงต้องทำอย่างรอบคอบและศึกษามาในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือของสถานบำบัด ซึ่งสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้มากที่สุดก็จะเป็นเอกสารรับรองต่าง ๆ ของสถานพยาบาลและในส่วนของผู้ดูแลก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น
แนวทางการรักษาน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของข้อสงสัยที่ว่าบำบัดยาเสพติดที่ไหนดี อย่างที่เรากล่าวไปช่วงต้นของบทความว่าแต่ละสถานบำบัดก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ผู้ที่มีส่วนตัดสินใจเลือกสถานบำบัดควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาว่าเป็นการบำบัดอย่างไร มีการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือไม่ เป็นการรักษาแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่ม และครอบครัวมีส่วนร่วมกับการบำบัดได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น
หากเป็นสถานบำบัดของรัฐบาล แน่นอนว่าการดูแลย่อมไม่ค่อยทั่วถึงสักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้ป่วยมีเป็นจำนวนมาก กลับกันหากเป็นสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติดของเอกชน การดูแลผู้ป่วยจะได้รับการเอาใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะมีผู้ป่วยน้อยและจำกัด ทำให้การดูแลสามารถทำได้อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
สถานที่แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดที่ดีควรอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ เพื่อขจัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากกลับไปเสพยาอีกครั้ง ทั้งยังควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมต่อการบำบัดรักษาและได้รับการดูแลให้สะอาดเป็นระเบียบ มีสถานที่สำหรับทำกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดระหว่างการบำบัดได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
หลังจากได้รู้วิธีการเลือกสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกันไปแล้ว เมื่อคุณพบกับสถานบำบัดที่ต้องการและได้ตกลงกับผู้ป่วยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนจะมาถึงขั้นตอนการเข้ารับการบำบัด เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจให้กับผู้ป่วย ซึ่งคุณสามารถทำไปพร้อม ๆ กับผู้ป่วยได้ ดังนี้
สุดท้ายนี้หากคุณยังคิดไม่แน่ใจว่าจะพาคนที่คุณรักไปเลิกยาเสพติดที่ไหนดี เราขอแนะนำ Lighthouse สถานบำบัดยาเสพติดและแอลกอฮอล์ในประเทศไทย เราคือสถานบำบัดฟื้นฟูแบบกินนอนที่ตั้งอยู่ย่านชานเมืองของกรุงเทพ ด้วยสภาพแวดล้อมอันเงียบสงบ ใช้เทคนิคการบำบัดฟื้นฟูจากอเมริกา พร้อมด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และ พยาบาลวิชาชีพ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเอาชนะยาเสพติดจนพร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขได้อย่างแน่นอน ติดต่อเราได้เลยวันนี้
ยาเค เคนมผง Special K ไม่ว่าจะเรียกขานด้วยชื่อใดก็ตามแต่ ก็ไม่อาจสลัดภาพจำของการเป็นยาเสพติดอันตรายที่มีชื่อเดิมว่า ‘เคตามีน’ ลงได้ ไม่ได้เป็นแค่ตำนาน แต่ยังเป็นความจริงที่ยังหายใจอยู่ ความจริงที่หากได้สัมผัส กินดื่มหรือ สูบดมเพียงสักครั้ง ย่อมหมายถึงการนับถอยหลังสู่จุดจบของชีวิต
เคตามีน (Ketamine) หรืออีกชื่อคือ ‘ยาเค’ เป็นได้ทั้งยาสลบทางการแพทย์สำหรับใช้ระงับปวดและยาเสพติดออกฤทธิ์หลอนประสาทที่เมื่อเสพเข้าไปจะรู้สึกมึนงง สติเลื่อนลอยคล้ายตกอยู่ในภวังค์ เห็นภาพหลอน เมื่อเสพในปริมาณมากจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปรกติและเกิดโรคทางจิตเวชอื่นตามมา
หากใช้เคตามีนในปริมาณที่สูงจะเกิดผลเสียในระยะยาวทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนี้
เคตามีนสามารถเข้าแทรงแซงหรือทำลายสมองด้านความจำ การเรียนรู้ อารมณ์ และความรู้สึกผ่านการยับยั้ง N-methyl-D-aspartate receptor ตัวรับสารสื่อประสาท NMDA ซึ่งมีส่วนสำคัญคอยรับกระตุ้นประสาทให้ทำงานประสานกันได้ดั่งเช่นปรกติ เกิดเป็นลักษณะอาการหรือพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากเดิม ซึ่งแตกต่างจากยาหลอนประสาท (Psychedelic drug) ตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็น
ปัจจุบันเคตามีนมีสถานะเป็นวัตถุเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2561 ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การหยิบใช้รักษาจากแพทย์เท่านั้น หากนอกเหนือจากการใช้ดังกล่าวจะผิดกฎหมายตามบัญญัติโทษที่กำหนดไว้
งานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้านการใช้เคตามีนประกอบการรักษาจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยได้ให้ข้อมูลว่าเคตามีนจะออกฤทธิ์ยาวนานถึง 30 นาที ร่วมกับให้ผลข้างเคียงยาวนานตั้งแต่ 80 – 100 นาที โดยแบ่งผลข้างเคียงออกเป็น 2 ระยะ (วนิดา รัตนสุมาวงศ์, พิชัย อิฎฐสกุล, น.181)
เราทุกคนล้วนผ่านความมืดมนของชีวิต หากแต่เราเป็นประภาคารต้นหนึ่งที่สามารถส่องสว่างนำพาคุณให้ผ่านพ้นเวิ้งทะเลชีวิตอันเลวร้ายให้จบลงได้ ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์พร้อมมอบโอกาสชีวิตแก่ผู้ป่วยติดยาเสพติดด้วยวิถีจิตบำบัดแบบผสมผสานระหว่าง Art & Science แบบร่วมสมัยเพื่อฟื้นคืนชีวิตผู้ป่วย ให้สามารถกลับสู่สังคมได้ปรกติสุขแหล่งอ้างอิง
ภาษาไทย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมวัตถุเสพติด
https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=5993
พฤติกรรม Stereotype (สถาบันราชานุกูล)
http://rajanukul.go.th/new/_admin/download/review0001164.pdf
แม้ว่ากฎหมายไทยจะปลดล็อคให้ใช้กัญชาได้ทั้งด้านการแพทย์และการบริโภคในปัจจุบัน ทว่าสิ่งที่เรียกว่า ‘กัญชา’ ก็ยังคงเป็นสิ่งอันตรายที่หากไม่รู้เท่าทันและใช้มันอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของยาสมุนไพรหรือยาเสพติดก็ล้วนมีเส้นกั้นบางเกินกว่าที่หลายคนจะทันรู้สึก ไม่ใช่แค่ความอยากรู้อยากลอง แต่เป็นเพราะชีวิตที่ไร้หนทางจนต้องใช้มันเพื่อลบเลือนความเจ็บปวด ซึ่ง ณ จุดนี้ ‘วัยรุ่น’ ดูจะเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด บทความนี้จะคุณรู้จักถึงผลเสียของกัญชาให้มากขึ้น
จากสมุนไพรรักษาสู่ยาเสพติด จากยาเสพติดสู่ยาทางแพทย์ กัญชาไม่ได้เป็นเพียงพืชสรรพคุณช่วยให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังจัดเป็นยาหลอนประสาท (Psychedelic Drug หรือ Hallucinogens) ชนิดหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับ LSD, Dimenthyltryptamine (DMT) และอื่น ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและการรับรู้ทางประสาทจากการได้ยินเสียงและเห็นภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง หรือเปิดจิตเข้าสู่โลกไม่คาดฝันอีกใบหนึ่งจนทำให้ผู้ใช้เกิดหลงผิด เช่น อยู่ในแฟนตาซี
เริ่มต้นเมื่อสารจากยาหลอนประสาทเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการขัดขวางการสื่อสารกันระหว่างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า ‘เซราโทนิน’ (Serotonin) ซึ่งคอยควบคุมด้านความหิว การนอนหลับ อารมณ์ อุณหภูมิภายในร่างกาย และประสาทรับสัมผัส
โดยหากเสพยาหลอนประสาทเข้าไปจะส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น
นอกจากจะทำให้เกิดอาการหลอนแล้ว ยังเป็นสิ่งเสพติดซึ่งกระตุ้นผู้ใช้ให้เกิดอาการอยากเสพเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีของกัญชาจะมีสรรพเฉพาะที่เรียกอาการของคนติดยาว่า Cannabis Use Disorder (CUD) ซึ่งหากเลิกก็จะหยุดยากและอันตรายอย่างมากหากไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักจิตบำบัด
จากงานวิจัยด้านสุขภาพหลายชิ้นร่วมกับสถาบันวิจัยยาเสพติดแห่งชาติ (NIDA: The National Institute For Drug Abuse) สหรัฐอเมริกาได้เผยว่าการใช้กัญชาไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลสุขภาพจิตให้เสื่อมถอยก่อนวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่สมองต่อความสามารถด้านการเรียนรู้ ความทรงจำและสมดุลทางอารมณ์กำลังเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แน่นอนว่าการใช้กัญชาในปริมาณสูงย่อมให้ผลเสียที่ไม่เพียงแต่ทำให้เห็นภาพหลอน แต่ยังรวมไปถึงการรับรู้ทางประสาทที่เปลี่ยนไป การเข้าใจผิด ความจำบกพร่อง และอาการวิกลจริต (Psychosis) หากไม่ได้การบำบัดรักษาตั้งแต่เนิ่น ปัญหาดังกล่าวอาจบานปลายกลายเป็นโรคทางจิตเวชและปัญหาสังคมในวงกว้าง
ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์พร้อมมอบโอกาสชีวิตผ่านวิถีบำบัดและฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยติดยาเสพติดจากนักจิตบำบัดชำนาญการด้านสุขภาพจิตยาวนานกว่า 20 ปี พร้อมด้วยพยาบาลวิชาชีพและนักสังคมสงเคราะห์ร่วมช่วยสร้างสภาพแวดล้อมปลอดโปร่งสบายและเป็นส่วนตัวเสมือนอยู่บ้าน ภายใต้การควบคุมของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://nida.nih.gov/publications/drugfacts/cannabis-marijuana
https://www.verywellmind.com/types-of-psychedelic-drug-22073
https://www.cdc.gov/marijuana/health-effects/addiction.html
https://my.clevelandclinic.org/health/articles/6734-hallucinogens-lsd-peyote-psilocybin-and-pcp
การใช้สารเสพติดเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่หลายคนไม่ได้รับการรักษาที่พวกเขาต้องการ ในปี 2016 ประชากรประมาณ 1.3 ล้านคนต้องได้รับการรักษา และผู้เสพติด 250,000 คนถูกตัดสินจำคุก อิงตามเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประจำประเทศไทย
ทำไมถึงเลือกการหักดิบ? บางคนใช้การหักดิบเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันง่ายกว่าที่จะหยุดใช้ยาทันที พวกเขาอาจคิดว่าถ้าพวกเขาหยุดใช้ยากระทันหัน พวกเขาจะรู้สึกอยากใช้มันอีกน้อยลงในขณะที่เลิกยา
เหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมผู้ใช้สารเสพติดเลือกที่จะหักดิบนั้นเพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าพวกเขาสามารถเลิกยาได้ด้วยตัวเองถ้าพวกเขามีความตั้งมั่นมากพอ น่าเสียดายที่นั้นไม่ใช่เรื่องจริง การติดยาเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้การรักษาแบบมืออาชีพ เหมือนอย่างที่คุณไม่สามารถรักษามะเร็งได้ด้วยตัวคุณเอง คุณไม่ควรพยายามรักษาอาการติดยาด้วยตัวคุณเอง
อีกเหตุผลที่ผู้ใช้สารเสพติดบางคนเลือกที่จะหักดิบเพราะพวกเขาต้องการเก็บอาการติดยาไว้เป็นความลับ พวกเขาอาจอายในอาการติดยาและไม่อยากให้ใครรู้เกี่ยวกับมัน หรือพวกเขาอาจกลัวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าครอบครัวและเพื่อนๆของพวกเขาทราบ อย่างไรก็ตาม การพยายามเลิกด้วยตัวเองอาจจะยากเมื่อคุณพยายามรักษาอาการติดยาไว้เป็นความลับ
สุดท้ายแล้ว ผู้ใช้สารเสพติดบางคนเลือกที่จะหักดิบเพราะพวกเขาได้ลองเข้าศูนย์บำบัดยาเสพติดแล้ว แต่มันไม่ได้ผล บางทีพวกเขาอาจจะไม่ชอบโครงการหรือมันอาจจะแพงเกินไปหรือมันได้ผลแต่พวกเขากลับไปใช้ยาอีกในภภายหลัง ไม่ว่าเป็นเหตุผลใดก็ตาม พวกเขาอาจรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการพยายามเลิกด้วยตัวพวกเขาเอง
การบำบัดจากยาเสพติดและแอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ และในขณะที่การพยายามทำที่บ้านอาจเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจ การรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์สามารถช่วยลดอาการลงแดงที่ไม่พึงประสงค์และจัดการกับอาการแทรกซ้อนจากการลงแดงที่เกิดขึ้นได้ ทำให้คนๆนั้นปลอดภัยและรู้สึกสบายที่สุดระหว่างการรักษา
อาการเสพติดมักส่งผลทางกายภาพ ดังนั้นเพื่อต่อต้านอาการติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์ บุคคลนั้นๆต้องพึ่งพาตัวเองและผ่านพ้นการเลิกยาอย่างฉับพลันได้อย่างปลอดภัย
การใช้เคตามีนเกินขนาดสามารถนำไปสู่การติดยาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อความทนทานต่อเคตามีนเพิ่มขึ้น ปริมาณและความถี่ในการใช้ยาก็มากขึ้นจนถึงขั้นเสพติดได้ เมื่อคนติดยาหยุดการใช้ยา อาการลงแดงจะกำเริบ
อาการลงแดงเกิดขึ้นเพรีตามีนไปเปลี่ยนแปลง โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ ในสมอง อาการลงแดงทางจิตวิทยาอาจเป็นอันตราย บางทีสิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดคือภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในการคิดสั้น
อาการลงแดงเคตามีนเป็นหลักในธรรมชาติ ผู้ใช้เรื้อรังบางคนถูกรายงานว่ามีอาการลงแดงทางกายภาพ แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ อาการลงแดงจากเคตามีนทั่วไปคือ:
ระหว่างกระบวนการเลิกยา ผู้ใช้จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์และอาจต้องแยกอยู่คนเดียวเพื่อป้องกันผู้อื่น แนะนำให้มีการดูแลอย่างมืออาชีพในการเลิกใช้เคตามีนอย่างปลอดภัย กระบวนการรักษาและเลิกยาที่ได้รับการควบคุมมากขึ้น
ถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปี คุณอาจมีทั้งปัญหาทางจิตใจและร่างกายเมื่อคุณหยุดหรือลดปริมาณที่คุณดื่มอย่างจริงจัง นี้เรียกว่าการเลิกเหล้า อาการอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ถ้าคุณดื่มนานๆครั้ง มันเป็นไปได้น้อยที่คุณจะมีอาการลงแดงเมื่อคุณเลิกดื่ม แต่ถ้าคุณผ่านกระบวนการเลิกเหล้าแล้วครั้งหนึ่ง มีความเป็นไปได้มากที่คุณจะมีอาการเช่นนั้นอีกเมื่อคุณพยายามเลิกอีกครั้ง
ความต้องการอาจรุนแรงและเป็นเรื่องที่ท้าทายมากระหว่างการเลิกยา มันมักนำไปสุ่การกลับไปใช้ยาหรืออาการกำเริบ
การเลิกโคเคนอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แม้ว่าโดยทั่วไป อาการเลิกยาแบบกระตุ้นจะค่อนข้างรุนแรงน้อยกว่าอาการที่เกิดจากสารอื่นๆอย่างแอลกอฮอล์หรือฝิ่น ประสบการณ์การเลิกยาอาจแตกต่างกันไป และในบางกรณี อาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
โคเคนเป็นสารเสพติด โดยการใช้โคเคนเป็นประจำ บางคนอาจมีการพึ่งพาทางสรีรวิทยาทางร่างกายและมีอาการเลิกยาที่เกี่ยวข้องหากพวกเขาพยายามเลิกใช้โคเคน
การเลิกใช้เฮโรอีนสามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่คนๆหนึ่งพึ่งใช้เฮโรอีนครั้งล่าสุดไป โดยปกติแล้ว การเลิกเฮโรอีนเกินขึ้นในระยะเวลา 8 ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่คนๆหนึ่งใช้ไปครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อใช้ อาการลงแดงจากเฮโรอีนระยะสั้นสามารถแตกต่างกันไปในแต่ละคน การเลิกใช้เฮโรอีนสามารถใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 10 วัน ระยะเวลาการเลิกใช้เฮโรอีนสามารถต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ความถี่ในการใช้เฮโรอีน ปริมาณการใช้เฮโรอีน และระยะเวลาที่ใช้เฮโรอีน ปัจจัยด้านบุคลิกและกรรมพันธุ์ของคนๆหนึ่งก็มีส่วนเช่นกัน รวมไปถึงสุขภาพของร่างกายและจิตใจในขณะนั้น และยาหรือสารอื่นๆที่พวกเขาใช้
อาการาลงแดงระยะสั้นจากเฮโรอีนนั้นน่าอึดอัดและน่าวิตกเป็นอย่างมาก ทำให้หลายคนกลับไปใช้เฮโรอีน สัญญาณและอาการลงแดงระยะสั้นจากเฮโรอีนอาจรวมไปถึง:
มันมักไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงทางกายภาพในขณะที่รักษาจากการใช้เคตามีน อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการซึมเศร้ารุนแรงที่ผู้ใช้บางคนรู้สึกในขณะที่ทำการรักษา อีกความเสี่ยงหนึ่งคือการที่เคตามีนทำหน้าที่เป็นยากล่อมประสาทและเปลี่ยนอัตราการเต้นของหัวใจ ดังนั้นเมื่อเลิก อัตราการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนไป สิ่งนี้สามารถเป็นอันตรายได้อย่างมาก
น่าอนาถที่ใช่ สำหรับคนที่มีความเสี่ยง อาการลงแดงจากเหล้าเป็นปัจจัยเสี่ยงในช่วงระยะเวลาการเลิกแอลกอฮอล์ อาการลงแดงจากเหล้าเป็นโรคลมชักที่ร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้คนที่เคยมีความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์เป็นระยะเวลาสิบปีหรือมากกว่า ผู้คนที่เคยได้รับบาดเจ็บที่หัว การติดเชื้อ หรืออาการป่วยอื่นๆในขณะที่เลิกเหล้าก็มีความเสี่ยงที่จะมีอาการลงแดงจากเหล้าเช่นกัน
ปกติแล้ว อาการลงแดงจากเหล้าเกิดขึ้นในช่วงหลายวันแรกหลังจากที่คนๆหนึ่งดื่มเป็นครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตาม มันสามารถเกิดขึ้นได้นานสุดถึงสิบวันหลังจากการเลิก มันเป็นผลข้างเคียงที่คาดการณ์ไม่ได้
อะไรคืออาการลงแดงจากเหล้า?
การหกล้ม อาการชัก และภาวะหัวใจล้มเหลวอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงและถึงกับเสียชีวิตได้
อาการลงแดงจากยาบ้าอาจน่าอึดอัดและไม่ราบรื่นอย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป้นอันตรายถึงชีวิต ถ้าคุณหรือใครบางคนที่คุณห่วงใยใช้ยาและอยากที่จะเลิกยา คุณควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลิกยาบ้า การเลิกสามารถเป็นเรื่องท้าทาย แต่การรักษาเฉพาะทางๆการแพทย์สามารถช่วยคุณได้อย่างปลอดภัย และทนและผ่านพ้นกระบวนการเลิกยาได้สบายยิ่งขึ้น
แม้ว่าการเลิกใช้ยากระตุ้นมักไม่ค่อยมีอาการลงแดงที่รุนแรงนัก (หรือไม่มีผลอันตรายทางการแพทย์ต่อคนไข้) บางคนอาจเสี่ยงที่จะประสบกับอาการผิดปกติที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม (เช่น ภาวะซึมเศร้า ความคิดและความรู้สึกเชิงลบอย่างท่วมท้น) ในบางกรณี ในช่วงที่ซึมเศร้าอาจส่งผลให้มีความคิดหรือความพยายามที่จะฆ่าตัวตายได้ และสามารถนำไปสู่การกลับไปใช้โคเคนของผู้ป่วย
แม้ว่าอาการลงแดงจากเฮโรอีนอย่างเดียวมักไม่เป็นอันตราย อาการระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการเลิกเฮโรอีน (เช่นท้องเสียและอาเจียร) สามารถนำไปสู่การเสียสมดุลของแร่ธาตุ ภาวะขาดน้ำ และอาการที่อันตรายถึงชีวิตอิงตามความเป็นไปได้ของผลกระทบเหล่านี้
การล้างพิษที่บ้านหรือที่อื่นโดยปราศจากการจัดการการรักษาอย่างถูกต้องอาจไม่ปลอดภัยเพราะการต้องใช้สารบางประเภท ในบางกรณี และด้วยสารบางอย่าง (เช่นแอลกอฮอล์) การเลิกใช้อย่างฉับพลันโดยปราศจากการจัดการการักษาทางการแพทย์อาจเป็นเรื่องเสี่ยงได้
ในกรณีที่คุณมีอาการลงแดงและ/หรือความยุ่งยากที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการดูแลหรือความช่วยเหลือจากแพทย์ การล้างพิษที่บ้านอาจเป็นเรื่องอันตรายได้ ยกตัวอย่างเช่น การล้างพิษแอลกอฮอล์ที่ไม่มีการจัดการสามารถนำมาซึ่งอาการลงแดงอย่างการชักหรือการเพ้อที่สามารถนำไปสู่ความตายได้ นอกจากนี้ โอกาสที่จะกลับไปใช้ก็เพิ่มขึ้นด้วยถ้าคนๆนั้นประสบกับการเลิกที่ไม่น่าภิรมย์และไม่มีแผนการช่วยเหลือทางการ
เพื่อที่จะเริ่มการล้างพิษอย่างปลอดภัย อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ควรเป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์การักษาอาการเสพติดหรือการจัดการการเลิกยา ผู้เชี่ยวชาญนี้สามารถให้การประเมินสถานะการณ์และความเสี่ยงของคุณอย่างละเอียด
ในการกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ เขาหรือเธออาจถามคำถามเกี่ยวกับ:
คำตอบของคุณสำหรับคำถามเหล่านี้สามารถช่วยในการประเมินระดับการรักษาที่เหมาะสมได้
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัย ศูนย์บำบัด ไลท์เฮ้าส์ ช่วยคุณได้
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand