ปัจจุบันการนำยาแก้ไอหรือยาแก้ปวดมาผสมกับน้ำอัดลมกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นยาทรามาดอลหรือยาโปรโคดิล ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ยาโปร” เนื่องจากเป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย ดื่มแล้วทำให้เกิดอาการมึนเมา เคลิบเคลิ้ม โดยหารู้ไม่ว่าอันตรายนั้นรุนแรงไม่แพ้สารเสพติดชนิดอื่นเลย บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า กินโปร คืออะไร? และส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
โปรที่วัยรุ่นกินกันมีชื่อเต็มๆ ว่า โปรโคดิล (Procodyl) คือยาแผนปัจจุบันชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ จาม น้ำมูกไหล ผื่นคัน ที่เกิดจากภูมิแพ้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ และนิยมใช้เป็นยากล่อมประสาท บรรเทาอาการปวด คลื่นไส้ อาเจียน ในช่วงก่อนและหลังผ่าตัดอีกด้วย โปรโคดิลจึงถือเป็นยาที่มีประโยชน์มาก แต่เมื่อนำมาใช้ในทางที่ผิดก็ทำให้เกิดโทษมหันต์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
ส่วนประกอบหลักของโปรโคดิล คือ ตัวยาโปรเมทาซีน (Promethazine) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่จะหลั่งออกมาเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ เช่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหารทะเล ฯลฯ และยังมีฤทธิ์ช่วยเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีในสมอง โดยปิดกั้นการทำงานของตัวรับโดปามีน (D2 receptors) ทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนลดลง
ยาโปรมีหลายรูปแบบทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาผง ยาเหน็บ และยาฉีดที่ใช้ในโรงพยาบาล แต่ที่พบบ่อยและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบของยาน้ำรสหวาน ละลายได้ง่าย วัยรุ่นจึงนิยมนำมาผสมดื่มจนเกิดอาการมึนเมา ที่มักเรียกกันว่า “อาการเมาโปร”
ปริมาณยาโปรชนิดน้ำที่แนะนำและถูกวิธีสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 5 มิลลิลิตร ส่วนชนิดเม็ดอยู่ที่ 25 มิลลิกรัม โดยรับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือก่อนนอน
กินโปร อันตรายไหม? อันที่จริงแล้วยาโปรไม่อันตรายหากใช้ถูกวิธี แต่ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ยิ่งถ้าผสมโปรกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือตัวยาอื่นๆ จะเสริมฤทธิ์ของยาให้รุนแรงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการใช้ยาเกินขนาด หรือเกิดการเสพติดจนนำไปสู่อันตรายถึงชีวิต
กินโปร อาการเป็นยังไง? การกินโปรในระยะสั้นจะทำให้เกิดความรู้สึกมึนเมา สับสน ง่วงซึม เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว หูแว่ว อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ากินโปรผสมอะไรบ้างและปริมาณมากเท่าไหร่ วิธีดูแลตัวเองเมื่อเมาโปร ทำไงให้หาย ให้ดื่มน้ำมากๆ นั่งหรือนอนพักจนรู้สึกหายมึน อย่ากินยาเพิ่ม หากมีอาการอ่อนเพลียให้หากิจกรรมทำเพื่อเพิ่มความสดชื่น
เมื่อใช้ยาโปรในปริมาณมาก หรือใช้ร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ยานอนหลับ ยารักษาอาการจิตเวช จะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการซึม รวมถึงกดการทำงานของระบบหายใจ ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการกระสับกระส่าย เพ้อคลั่ง ประสาทหลอน ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก
การใช้ยาโปรต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายทนทานต่อฤทธิ์ยา จึงต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น นำไปสู่การเสพติด ส่งผลให้ความจำบกพร่อง ประสิทธิภาพในการรับรู้ จดจำ และสมาธิลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ หายใจช้าและตื้น อาจหยุดหายใจและเสียชีวิตได้
การระบาดของยาโปรในกลุ่มวัยรุ่นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น
การกินยาโปรเมทาซีนไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจมีข้อบังคับที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศไทย ยาโปรจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายได้แต่ต้องควบคุมปริมาณให้เหมาะสม ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยมาตรการควบคุมการจำหน่ายยาที่มีโปรเมทาซีนเป็นส่วนประกอบ กำหนดให้ร้านขายยาแผนปัจจุบันจำหน่ายได้เดือนละไม่เกิน 300 ขวดต่อร้าน และขายได้ไม่เกิน 3 ขวดต่อคน ปริมาณรวมไม่เกิน 180 มิลลิลิตร โดยต้องมีเภสัชกรเป็นผู้ควบคุม และหลีกเลี่ยงการจ่ายยาให้กับบุคคลที่อาจนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำและปรับ หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ถัดมาในเดือนสิงหาคม 2561 เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ได้เสนอข่าวโดยแชร์ประสบการณ์เฉียดตายของการกินโปร โดยผู้เสพเล่าว่ากินยาตัวนี้ทุกวัน และในวันเกิดเหตุได้กินทั้งยาแบบเม็ดและผสมน้ำ แล้วอยู่ๆ ก็ไม่รู้สึกตัว จนมาฟื้นอีกทีที่โรงพยาบาล ทราบจากรุ่นพี่ที่พามาส่งในภายหลังว่า ขณะที่นั่งเล่น ตนเองมีอาการชัก ตาเหลือก กัดลิ้นตัวเอง หากมาโรงพยาบาลช้ากว่านี้อีกเพียงนิดเดียวก็อาจเสียชีวิตได้ จึงอยากเตือนเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่กำลังเสพหรืออยากหามาเสพว่าไม่ควรนำมาใช้ในทางที่ผิด
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ ได้เสนอข่าวเหตุสลดเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อพบศพชายหนุ่มอายุ 21 ปี เสพยาโปรจนเสียชีวิตภายในห้องพัก โดยเพื่อนสาวของผู้ตายเล่าว่า ในช่วงค่ำผู้ตายได้ดื่มยาโปรเข้าไป ส่วนตนเองไปดื่มเหล้าที่ร้าน หลังกลับมารู้สึกมึนเมาจึงหลับไปก่อน ตื่นมาตอนเช้าพบว่าผู้ตายหลับอยู่ ปลุกเรียกแล้วแต่ไม่ตื่น กระทั่งช่วงบ่ายเห็นผู้ตายยังคงนอนในท่าเดิม จึงปลุกอีกครั้ง พบว่าผู้ตายตัวเย็น จึงไปตามเพื่อนมาช่วยและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่
ทางออกที่ดีและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ที่เสพติดยาโปรคือ การเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ศูนย์บำบัดยาเสพติด Lighthouse เป็นสถานที่ให้การดูแลและฟื้นฟูผู้ติดยาโดยผู้เชี่ยวชาญ มาพร้อมแนวทางการรักษาแบบองค์รวม ดังนี้
คนส่วนใหญ่ที่กินยาโปรหรือนำยาอื่นๆ มาผสมเครื่องดื่ม มักคิดว่ากินแล้วไม่ติด ทำให้ไม่ทันระวัง เมื่อรู้ตัวอีกทีก็ยากที่จะเลิก เพราะต้องเผชิญกับอาการถอนยาที่ทรมาน จนสุดท้ายต้องกลับไปใช้ซ้ำ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตกอยู่ในวังวนนี้ หรือคุณกำลังอยากให้คนที่คุณรักเลิกยาเสพติด “ศูนย์บำบัดยาเสพติด Lighthouse” พร้อมเป็นทางออกที่จะช่วยคุณก้าวพ้นอุปสรรค และกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่คุณรัก ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยที่ โทร. 0852132179
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand