การใช้สารเสพติดเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่หลายคนไม่ได้รับการรักษาที่พวกเขาต้องการ ในปี 2016 ประชากรประมาณ 1.3 ล้านคนต้องได้รับการรักษา และผู้เสพติด 250,000 คนถูกตัดสินจำคุก อิงตามเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประจำประเทศไทย
ทำไมถึงเลือกการหักดิบ? บางคนใช้การหักดิบเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันง่ายกว่าที่จะหยุดใช้ยาทันที พวกเขาอาจคิดว่าถ้าพวกเขาหยุดใช้ยากระทันหัน พวกเขาจะรู้สึกอยากใช้มันอีกน้อยลงในขณะที่เลิกยา
เหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมผู้ใช้สารเสพติดเลือกที่จะหักดิบนั้นเพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าพวกเขาสามารถเลิกยาได้ด้วยตัวเองถ้าพวกเขามีความตั้งมั่นมากพอ น่าเสียดายที่นั้นไม่ใช่เรื่องจริง การติดยาเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้การรักษาแบบมืออาชีพ เหมือนอย่างที่คุณไม่สามารถรักษามะเร็งได้ด้วยตัวคุณเอง คุณไม่ควรพยายามรักษาอาการติดยาด้วยตัวคุณเอง
อีกเหตุผลที่ผู้ใช้สารเสพติดบางคนเลือกที่จะหักดิบเพราะพวกเขาต้องการเก็บอาการติดยาไว้เป็นความลับ พวกเขาอาจอายในอาการติดยาและไม่อยากให้ใครรู้เกี่ยวกับมัน หรือพวกเขาอาจกลัวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้าครอบครัวและเพื่อนๆของพวกเขาทราบ อย่างไรก็ตาม การพยายามเลิกด้วยตัวเองอาจจะยากเมื่อคุณพยายามรักษาอาการติดยาไว้เป็นความลับ
สุดท้ายแล้ว ผู้ใช้สารเสพติดบางคนเลือกที่จะหักดิบเพราะพวกเขาได้ลองเข้าศูนย์บำบัดยาเสพติดแล้ว แต่มันไม่ได้ผล บางทีพวกเขาอาจจะไม่ชอบโครงการหรือมันอาจจะแพงเกินไปหรือมันได้ผลแต่พวกเขากลับไปใช้ยาอีกในภภายหลัง ไม่ว่าเป็นเหตุผลใดก็ตาม พวกเขาอาจรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการพยายามเลิกด้วยตัวพวกเขาเอง
การบำบัดจากยาเสพติดและแอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ และในขณะที่การพยายามทำที่บ้านอาจเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจ การรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์สามารถช่วยลดอาการลงแดงที่ไม่พึงประสงค์และจัดการกับอาการแทรกซ้อนจากการลงแดงที่เกิดขึ้นได้ ทำให้คนๆนั้นปลอดภัยและรู้สึกสบายที่สุดระหว่างการรักษา
อาการเสพติดมักส่งผลทางกายภาพ ดังนั้นเพื่อต่อต้านอาการติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์ บุคคลนั้นๆต้องพึ่งพาตัวเองและผ่านพ้นการเลิกยาอย่างฉับพลันได้อย่างปลอดภัย
การใช้เคตามีนเกินขนาดสามารถนำไปสู่การติดยาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อความทนทานต่อเคตามีนเพิ่มขึ้น ปริมาณและความถี่ในการใช้ยาก็มากขึ้นจนถึงขั้นเสพติดได้ เมื่อคนติดยาหยุดการใช้ยา อาการลงแดงจะกำเริบ
อาการลงแดงเกิดขึ้นเพรีตามีนไปเปลี่ยนแปลง โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ ในสมอง อาการลงแดงทางจิตวิทยาอาจเป็นอันตราย บางทีสิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดคือภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในการคิดสั้น
อาการลงแดงเคตามีนเป็นหลักในธรรมชาติ ผู้ใช้เรื้อรังบางคนถูกรายงานว่ามีอาการลงแดงทางกายภาพ แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ อาการลงแดงจากเคตามีนทั่วไปคือ:
ระหว่างกระบวนการเลิกยา ผู้ใช้จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์และอาจต้องแยกอยู่คนเดียวเพื่อป้องกันผู้อื่น แนะนำให้มีการดูแลอย่างมืออาชีพในการเลิกใช้เคตามีนอย่างปลอดภัย กระบวนการรักษาและเลิกยาที่ได้รับการควบคุมมากขึ้น
ถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปี คุณอาจมีทั้งปัญหาทางจิตใจและร่างกายเมื่อคุณหยุดหรือลดปริมาณที่คุณดื่มอย่างจริงจัง นี้เรียกว่าการเลิกเหล้า อาการอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ถ้าคุณดื่มนานๆครั้ง มันเป็นไปได้น้อยที่คุณจะมีอาการลงแดงเมื่อคุณเลิกดื่ม แต่ถ้าคุณผ่านกระบวนการเลิกเหล้าแล้วครั้งหนึ่ง มีความเป็นไปได้มากที่คุณจะมีอาการเช่นนั้นอีกเมื่อคุณพยายามเลิกอีกครั้ง
ความต้องการอาจรุนแรงและเป็นเรื่องที่ท้าทายมากระหว่างการเลิกยา มันมักนำไปสุ่การกลับไปใช้ยาหรืออาการกำเริบ
การเลิกโคเคนอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แม้ว่าโดยทั่วไป อาการเลิกยาแบบกระตุ้นจะค่อนข้างรุนแรงน้อยกว่าอาการที่เกิดจากสารอื่นๆอย่างแอลกอฮอล์หรือฝิ่น ประสบการณ์การเลิกยาอาจแตกต่างกันไป และในบางกรณี อาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
โคเคนเป็นสารเสพติด โดยการใช้โคเคนเป็นประจำ บางคนอาจมีการพึ่งพาทางสรีรวิทยาทางร่างกายและมีอาการเลิกยาที่เกี่ยวข้องหากพวกเขาพยายามเลิกใช้โคเคน
การเลิกใช้เฮโรอีนสามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่คนๆหนึ่งพึ่งใช้เฮโรอีนครั้งล่าสุดไป โดยปกติแล้ว การเลิกเฮโรอีนเกินขึ้นในระยะเวลา 8 ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่คนๆหนึ่งใช้ไปครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อใช้ อาการลงแดงจากเฮโรอีนระยะสั้นสามารถแตกต่างกันไปในแต่ละคน การเลิกใช้เฮโรอีนสามารถใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 10 วัน ระยะเวลาการเลิกใช้เฮโรอีนสามารถต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ความถี่ในการใช้เฮโรอีน ปริมาณการใช้เฮโรอีน และระยะเวลาที่ใช้เฮโรอีน ปัจจัยด้านบุคลิกและกรรมพันธุ์ของคนๆหนึ่งก็มีส่วนเช่นกัน รวมไปถึงสุขภาพของร่างกายและจิตใจในขณะนั้น และยาหรือสารอื่นๆที่พวกเขาใช้
อาการาลงแดงระยะสั้นจากเฮโรอีนนั้นน่าอึดอัดและน่าวิตกเป็นอย่างมาก ทำให้หลายคนกลับไปใช้เฮโรอีน สัญญาณและอาการลงแดงระยะสั้นจากเฮโรอีนอาจรวมไปถึง:
มันมักไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงทางกายภาพในขณะที่รักษาจากการใช้เคตามีน อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการซึมเศร้ารุนแรงที่ผู้ใช้บางคนรู้สึกในขณะที่ทำการรักษา อีกความเสี่ยงหนึ่งคือการที่เคตามีนทำหน้าที่เป็นยากล่อมประสาทและเปลี่ยนอัตราการเต้นของหัวใจ ดังนั้นเมื่อเลิก อัตราการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนไป สิ่งนี้สามารถเป็นอันตรายได้อย่างมาก
น่าอนาถที่ใช่ สำหรับคนที่มีความเสี่ยง อาการลงแดงจากเหล้าเป็นปัจจัยเสี่ยงในช่วงระยะเวลาการเลิกแอลกอฮอล์ อาการลงแดงจากเหล้าเป็นโรคลมชักที่ร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้คนที่เคยมีความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์เป็นระยะเวลาสิบปีหรือมากกว่า ผู้คนที่เคยได้รับบาดเจ็บที่หัว การติดเชื้อ หรืออาการป่วยอื่นๆในขณะที่เลิกเหล้าก็มีความเสี่ยงที่จะมีอาการลงแดงจากเหล้าเช่นกัน
ปกติแล้ว อาการลงแดงจากเหล้าเกิดขึ้นในช่วงหลายวันแรกหลังจากที่คนๆหนึ่งดื่มเป็นครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตาม มันสามารถเกิดขึ้นได้นานสุดถึงสิบวันหลังจากการเลิก มันเป็นผลข้างเคียงที่คาดการณ์ไม่ได้
อะไรคืออาการลงแดงจากเหล้า?
การหกล้ม อาการชัก และภาวะหัวใจล้มเหลวอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงและถึงกับเสียชีวิตได้
อาการลงแดงจากยาบ้าอาจน่าอึดอัดและไม่ราบรื่นอย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป้นอันตรายถึงชีวิต ถ้าคุณหรือใครบางคนที่คุณห่วงใยใช้ยาและอยากที่จะเลิกยา คุณควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลิกยาบ้า การเลิกสามารถเป็นเรื่องท้าทาย แต่การรักษาเฉพาะทางๆการแพทย์สามารถช่วยคุณได้อย่างปลอดภัย และทนและผ่านพ้นกระบวนการเลิกยาได้สบายยิ่งขึ้น
แม้ว่าการเลิกใช้ยากระตุ้นมักไม่ค่อยมีอาการลงแดงที่รุนแรงนัก (หรือไม่มีผลอันตรายทางการแพทย์ต่อคนไข้) บางคนอาจเสี่ยงที่จะประสบกับอาการผิดปกติที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม (เช่น ภาวะซึมเศร้า ความคิดและความรู้สึกเชิงลบอย่างท่วมท้น) ในบางกรณี ในช่วงที่ซึมเศร้าอาจส่งผลให้มีความคิดหรือความพยายามที่จะฆ่าตัวตายได้ และสามารถนำไปสู่การกลับไปใช้โคเคนของผู้ป่วย
แม้ว่าอาการลงแดงจากเฮโรอีนอย่างเดียวมักไม่เป็นอันตราย อาการระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการเลิกเฮโรอีน (เช่นท้องเสียและอาเจียร) สามารถนำไปสู่การเสียสมดุลของแร่ธาตุ ภาวะขาดน้ำ และอาการที่อันตรายถึงชีวิตอิงตามความเป็นไปได้ของผลกระทบเหล่านี้
การล้างพิษที่บ้านหรือที่อื่นโดยปราศจากการจัดการการรักษาอย่างถูกต้องอาจไม่ปลอดภัยเพราะการต้องใช้สารบางประเภท ในบางกรณี และด้วยสารบางอย่าง (เช่นแอลกอฮอล์) การเลิกใช้อย่างฉับพลันโดยปราศจากการจัดการการักษาทางการแพทย์อาจเป็นเรื่องเสี่ยงได้
ในกรณีที่คุณมีอาการลงแดงและ/หรือความยุ่งยากที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการดูแลหรือความช่วยเหลือจากแพทย์ การล้างพิษที่บ้านอาจเป็นเรื่องอันตรายได้ ยกตัวอย่างเช่น การล้างพิษแอลกอฮอล์ที่ไม่มีการจัดการสามารถนำมาซึ่งอาการลงแดงอย่างการชักหรือการเพ้อที่สามารถนำไปสู่ความตายได้ นอกจากนี้ โอกาสที่จะกลับไปใช้ก็เพิ่มขึ้นด้วยถ้าคนๆนั้นประสบกับการเลิกที่ไม่น่าภิรมย์และไม่มีแผนการช่วยเหลือทางการ
เพื่อที่จะเริ่มการล้างพิษอย่างปลอดภัย อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ควรเป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์การักษาอาการเสพติดหรือการจัดการการเลิกยา ผู้เชี่ยวชาญนี้สามารถให้การประเมินสถานะการณ์และความเสี่ยงของคุณอย่างละเอียด
ในการกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ เขาหรือเธออาจถามคำถามเกี่ยวกับ:
คำตอบของคุณสำหรับคำถามเหล่านี้สามารถช่วยในการประเมินระดับการรักษาที่เหมาะสมได้
ถอนพิษสารเสพติดอย่างปลอดภัย ศูนย์บำบัด ไลท์เฮ้าส์ ช่วยคุณได้
กระท่อมเป็นหนึ่งในพืชอีกชนิดที่เราหลายคนรู้จักกันดีในส่วนที่เป็นในด้านของ “ยาเสพติด” ชนิดหนึ่ง ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสารเสพติดมานานหลายปี จวบจนถึงปัจจุบันการแพทย์ได้มีความก้าวหน้าด้วยการค้นคว้าและวิจัย จนค้นพบว่าพืชอย่างกระท่อมนั้น มีสรรพคุณทางด้านการแพทย์อยู่มาก จนได้รับการนำมาพิจารณาให้ยกเลิกจากทะเบียน และนำมาใช้ในด้านการแพทย์กันมากขึ้น แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลตามที่ พรบ. ระบุไว้ ด้วยความที่มีสรรพคุณทางการแพทย์มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่เราควรทำความรู้จักกับกระท่อมให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มิตราไจนา สเปซิโอซา คอร์ท (Mitragyna Speciosa Korth) จัดอยู่ในตระกูล รูเบียซีอี (Rubiaceae) นับเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ตระกูลของกาแฟ โดยในประเทศไทยมีอยู๋ทั้งหมด 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว), ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง ลำต้นจะมีความใหญ่ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ส่วนใบเป็นแบบเลี้ยงเดี่ยว ผลิใบแบบขึ้นตรงกันข้าม ถ้าใบแก่จะมีสีเขียวอ่อน ตัวก้านมีสีแดงกับเขียวยาว 2 – 3 ซม. ยาว 10 – 18 ซม. กว้าง 6 – 10 ซม.ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.
ด้วยความที่สมัยก่อนกระท่อมถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรโบราณเพื่อแก้อาการท้องเสียในสูตรยาของหมอแผนโบราณ หรือหมอพื้นบ้านมาก่อน โดยการเคี้ยวใบสดหรือใบแห้งบดผงละลายน้ำ แต่มีผลข้างเคียงหากถูกนำมาใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ด้วยกระท่อมนั่นมีสาร ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin แลย LSD และ ยาบ้า เมื่อทำการเสพ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นาน และทนแดดมากขึ้น พอใช้นานๆ จะมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจ เนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4×100) ผลค้างเคียงเมื่อขาดยา ที่พบ คือ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า จมูกแฉะ น้ำตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าว แต่เป็นมิตร (Hostility) นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตราพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม ต่อมาปี พ.ศ. 2522 กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 “ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่ 2 – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท ครอบครองโดย มิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
อีกด้านของกระท่อมหากมองว่าไม่ใช่สารเสพติดที่ให้โทษ แต่ก็เป็นพืชที่ช่วยรักษาโรคและมีประโยชน์ทางด้านการแพทย์หลายอย่าง ที่ นอกจากจะช่วยในเรื่องของการแก้ท้องเสียแล้ว ยังมีความสามารถ รักษาอาการลำไส้ติดเชื้อ, ช่วยลดอาการปวดที่มีผลดีกว่ามอร์ฟีน, ลดอาการขาดยาจากสารเสพติด, ช่วยแก้อาการปวดฟัน, ช่วยลดความดันโลหิตสูง, ช่วยรักษาโรคเบาหวาน, ช่วยรักษาแผลในปาก และแก้ไอ ทั้งนี้การใช้ในการรักษาอาการต่างๆ ข้างต้นจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้กระท่อมเพื่อรักษาโรคดังกล่าวด้วย
เมื่อได้เห็นผลประโยชน์ทางการแพทย์จากกระท่อม ประเทศไทยจึงได้ทำการยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 โดยมีผล วันที่ 24 สิงหาคม 2564โดยยกเลิกความผิดและโทษเกี่ยวกับพืชกระท่อม แต่ยังมีเงื่อนไขๆ ต่างเช่น กรณีนำเข้า-ส่งออก หรือนำใบกระท่อมมาแปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องขออนุญาตก่อน, ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น สารเสพติดชนิด 4×100, ห้ามขายให้เยาวชน สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร และ ห้ามขายในสถานศึกษาและวัด
ทั้งนี้ในการใช้กระท่อมให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแพทย์ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ไม่มากจนเกินไป ซึ่งจะเปลี่ยนจากประโยชน์กลายเป็นสารเสพติดให้โทษแทน
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ 2565 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศปลดล็อกกัญชา ในหัวข้อเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท5 ส่งผลให้พืชกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด และยกเลิกความผิดฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออกมีไว้ในครอบครอง จำหน่าย มีไว้ในครองครองเพื่อเสพ
แต่ใดๆก็ตามยังมีเงื่อนไขการนำไปใช้เพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฏหมาย ตามรายละเอียดดังนี้
Tetrahydrocannabinol (THC )และ Cannabidiol (CBD) เป็นสารแคนนาบินอยด์ ที่พบในพืชตระกูลกัญชา (แต่ในร่างกายของเราก็มีอยู่แล้วเช่นกัน)โดย THC ส่วนใหญ่จะพบในกัญชา และ CBD จะพบมากในกัญชง ซึ่งสารทั้ง2 ตัวนี้ คล้ายกันแต่จะให้ผลที่แตกต่างกันหลังจากที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
THC | CBD |
ส่งผลต่อประสาทก่อให้เกิดอาการมึนเมา | ให้ผลตรงกันข้าม ไม่เกิดอาการมึนเมา |
บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง | บรรเทาอาการซึมเศร้า |
ช่วยเรื่องผ่อนคลายและช่วยในการนอนหลับ | บรรเทาและป้องกันโรคหัวใจ |
บรรเทาอาการข้างเคียงของการทำคีโม | บรรเทาอาการโรคเบาหวาน |
มีผลข้างเคียงหลังการใช้มากเกินไป เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว การตอบสนองช้า | ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย |
อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะจิตเภท | ลดอาการทางจิตประสาทของ THC |
ในกัญชาจะพบ THC ประมาณ12% | พบCBDในกัญชาไม่ถึง 0.30% |
การสูบกัญชาโดยตรงอาจทำให้ได้รับ THC มากเกินไป เนื่องจากมีปริมาณ THC มากกว่า CBD ตามธรรมชาติ การใช้CBD ที่มีประสิทธิภาพจะต้องผ่านการกลั่นหรือผ่านกระบวนการสกัดออกมาก่อน
อาจจะไม่ใช่ทุกประเทศที่สามารถใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย ยังคงมีการควบคุมดูแลภายใต้เงื่อนไขของรัฐบาลแต่ละประเทศ แต่ก็จะมี อุรุกวัย และแคนาดา ที่เปิดใช้กัญชาได้อย่างเต็มรูปแบบ และสำหรับบางประเทศนำเข้าเพื่อใช้ทางการแพทย์เท่านั้น เช่น เดนมาร์ก , อังกฤษ และตุรกี ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้เพื่อผ่อนคลายได้ด้วย เช่น แคนาดา สเปน และแอฟริกาใต้
ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย กับการปลดล็อกกัญชา หรือการใช้กัญชาเสรี เนื่องจากที่ผ่านมานั้นกัญชาถูกจัดเป็นพืชเสพติด มีโทษทางกฎหมาย แต่ในปัจจุบันนับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2565 เป็นต้นมา การประกาศปลดล็อกกัญชาจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุให้บุคคลที่มีอายุมากกว่า20 ปี สามารถครอบครองกัญชาได้นั้น อาจส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต ของประชาชนให้เปลี่ยนไปจากเดิม เช่นบางคนอาจนำส่วนของกัญชาไปปรุงอาหาร โดยไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง ในเรื่องของปริมาณสารที่อาจจะได้รับจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย บางคนนำใช้ในทางที่ผิด หรือใช้เกินขนาดก็มีผลเสียเช่นกัน
รัฐบาลเชื่อว่าการปลดล็อกกัญชาจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น รวมถึงกัญชา จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลควรเริ่มต้นจากการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในเรื่องของคุณประโยชน์และโทษของกัญชา เพื่อลดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมที่จะตามมาภายหลัง
ยาไอซ์ เป็นยากระตุ้นประสาท มันส่งผลทำให้เกิดสมาธิสั้น และทำให้รู้สึกง่วงในช่วงเวลาที่ไม่ปกติ นอนไม่หลับ บางครั้งถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคความผิดปกติอื่น ๆ
ยาเดกซ์โตรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine) และ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ล้วนแล้วแต่เป็นยาบ้า หรือยาไอซ์ทั้งสองประเภท บางครั้งถูกนำมาขายกันอย่างผิดกฎหมาย ยาทั้งสองชนิดนี้สามารถได้รับจากแพทย์โดยตรง หรือซื้อขายกันตามท้องถนนได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้งานในทางที่ผิด และทำให้เกิดความผิดปกติได้ ยาเมทแอมเฟตามีนเป็นยาแอมเฟตามีน ที่มีการนำมาใช้งานในทางที่ผิดกันมากที่สุด
อาการติดยาไอซ์ จะเป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งที่เกิดจากการกระตุ้น เกิดขึ้นเมื่อคุณต้องการใช้ยาช่วยในการทำงานทุกวัน คุณจะเลิกยาได้หากคุณสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และหยุดใช้ยาอย่างทันที
การใช้ยาไอซ์เป็นประจำ และใช้เป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดอาการติดได้
บางคนสามารถติดยาไอซ์ได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ
คุณอาจติดยาได้หากคุณใช้ยาเหล่านี้ โดยที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายยาให้กับคุณ คุณยังอาจติดยาได้หากคุณใช้งานนาน เกินกว่าที่แพทย์สั่งจ่ายยาให้กับคุณ มันอาจกลายเป็นการใช้ยาที่ผิดปกติได้ แม้ว่าคุณจะใช้ยาแอมเฟตามีนตามที่แพทย์สั่งก็ตาม
คุณอาจมีความเสี่ยงต่อการใช้ยาที่ผิดปกติได้หากคุณ:
สามารถหายาไอซ์มาใช้ได้อย่างง่ายดาย
มีภาวะซึมเศร้า โรคไบโพล่า วิตกกังวล หรือโรคจิตเภท
มีการดำรงชีวิตที่มีความเครียด
หากคุณมีอาการติดยาไอซ์ คุณอาจมีอาการเหล่านี้:
ความรู้สึกหลอน เช่น มีความรู้สึกเหมือนกับว่ามีบางอย่างกำลังไต่อยู่บนผิวหนังของคุณ
ในการตรวจสอบความผิดปกติจากการใช้ยาแอมเฟตามีน แพทย์ของคุณจะถามคำถามว่าใช้ยาไอซ์ไปมากแค่ไหน และนานแค่ไหน
คุณอาจมีความผิดปกติจากการใช้ยาไอซ์ หากคุณมีอาการ3อย่างขึ้นไปดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลา 12 เดือน:
คุณมีความอดทนเพิ่มขึ้นหากคุณต้องการใช้ยาไอซ์ในปริมาณมากเพื่อให้ได้รับผลในแบบเดียวกันเมื่อลดปริมาณการใช้ยาลง
คุณพลาดหรือไม่ไปร่วมกิจกรรมสันทนาการ การเข้าสังคม หรือกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงานที่คุณทำอันเนื่องมาจากการใช้ยาไอซ์
วิธีเลิกยาไอซ์ในไทย และการรักษาความผิดปกติต่างๆจากการใช้ยา โดยวิธีเลิกยาไอซ์สามารถผสมผสานสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้าด้วยกัน:
แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการของการเลิกยา แพทย์บางคนอาจสั่งจ่ายยา นาลเทรกโซน (naltrexone) ให้กับคุณเพื่อช่วยลดความต้องการใช้ยาของคุณ แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาอื่นเพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และอารมณ์รุนแรงของคุณ
การติดยาไอซ์เป็นประจำ และความผิดปกติจากการใช้ยาสามารถนำไปสู่:
การใช้ยาเกินขนาด
สมองเกิดความเสียหาย รวมไปถึงอาการที่คล้ายกลับโรคอัลไซเมอร์ ลมชัก หรือโรคหลอดเลือดสมอง และเสียชีวิต
โปรแกรมการศึกษาด้านยาเสพติดอาจสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดผู้ใช้ยารายใหม่ หรืออาการกำเริบ แต่มีผลการศึกษามากมายรวมกัน การให้คำปรึกษาด้านอารมณ์ และความช่วยเหลือจากครอบครัวสามารถช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้คนหันมาใช้ยาไอซ์
ความผิดปกติจากการใช้ยาไอซ์อาจทำให้รักษาได้ยาก คุณอาจมีอาการกำเริบหลังจากการรักษา และเริ่มหันกลับไปใช้ยาอีกได้
การเข้าร่วมโปรแกรมทีละขั้นตอน และการรับคำแนะนำเป็นรายบุคคลอาจช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการกำเริบ และช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูของคุณได้
หากคุณมีปัญหาในการใช้เมทแอมเฟตามีน หรือยาไอซ์ และหากอยากเลิกยาไอซ์ แนะนำให้เริ่มต้นจากขอคำปรึกษาหรือกำลังใจจากคนใกล้ตัว และเราทราบว่าการเลิกยาไอซ์เพียงลำพังจะค่อนข้างยากและอันตราย เนื่องจากคุณต้องรับมือกับอาการขาดยา ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของคุณ อาการทรมานที่จะเกิดขึ้นอาจทำให้คุณมีอารมณ์หรือความคิดที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง ส่งผลให้คุณมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณเองหรือคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว หากคุณสนใจเลิกยาเสพติดโทร ติดต่อเรา ทางเรามีโปรแกรมรักษาอาการติดยาไอซ์จากผู้เชี่ยวชาญ และผลิตภัณฑ์เลิกยาเสพติดที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือคุณ
บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์ หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร
มีการศึกษาและงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า หนึ่งในสามของผู้ที่ใช้ยาเสพติด จะพบปัญหาเกี่ยวกับโรคทางจิต และยังระบุเพิ่มเติมอีกว่าผู้ที่ใช้ยาไอซ์บ่อยขึ้นและมากขึ้น จะมีแนวโน้มที่จะเป็นมากขึ้นเช่นกัน โรคทางจิตหรือโรคจิต หมายถึงอาการทางจิตต่างๆ รวมถึงความหวาดระแวง ความสงสัย เห็นภาพหลอน กระวนกระวายใจ หรือวิตกกังวล ซึ่งเขาเหล่านี้อาจจะไม่สามารถแยกแยะหรือเชื่อมโยงกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นได้ เป็นผลเนื่องมากจากฤทธิ์ของยาไอซ์ ที่จะออกฤทธิ์กระตุ้นต่อจิตประสาทซึ่งมีฤทธิ์ที่รุนแรง และอันตราย ผลข้างเคียงจากความสุขที่ได้รับก็คือ จะมีความหวาดระแวง, หงุดหงิดรุนแรง,อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจเกิดมาจากอาการประสาทหลอน หรือเห็นภาพลวงตา ที่อาจจะน่ากลัว ถึงแม้ว่าบางครั้งยาจะหมดฤทธิ์แล้วแต่อาการเหล่านี้ก็อาจจะยังคงอยู่
ในสมองของคนเรา จะมีสารแห่งความสุขที่เรียกกันว่าโดปามีน โดยสารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาในระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการรับประทานอาหาร,การมีเพศสัมพันธ์,การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเล่นการพนัน เมื่อโดปามีนหลั่งออกมา จะกระตุ้นให้ร่างกายต้องการทำสิ่งนั้นมากขึ้น ด้วยความมั่นใจ และมีความสุขเพิ่มขึ้น ทีนี้ในส่วนของยาไอซ์ ยาไอซ์จะเข้าไปทำงานในระบบของสมอง โดยการทำให้สมองปล่อยสารโดปามีนออกมามากขึ้น ทำให้ผู้เสพมีความรู้สึกเป็นสุข,สนุกสนานร่างกายจะรู้สึกโหยหาและมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับเหมือนเช่นเคย จะส่งผลให้ความสุขลดลง นำไปสู่ภาวะเซื่องซึม หดหู่ หมดความสนใจที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่น สมองจะเรียกร้องให้เกิดการหลั่งของสารโดปามีนแบบเดิมอีก โดปามีนที่เกิดจากการใช้ยาไอซ์นั้นสูงกว่าปริมาณโดปามีนตามธรรมชาติ ที่สมองผลิตขึ้นเอง ทำให้คนเลือกที่จะใช้ยาต่อไป เพราะเริ่มติดความรู้สึกพึงพอใจที่ได้รับจากยา จนผู้เสพต้องหันมาพึ่งพายาไอซ์อีกครั้ง เพื่อสร้างความสุขในรูปแบบเดิม โดปามีนจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ติดยาไอซ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ และในระยะยาว การใช้ยาไอซ์หรือสารที่กระตุ้นการหลั่งของโดปามีนเป็นประจำ จะทำให้โดปามีนในสมองถูกทำลาย จนผู้ที่ใช้ยาไม่รู้สึกปกติอีกต่อไป
ถ้าหากคุณมีความต้องการที่จะเลิกเสพยาไอซ์คุณควรเริ่มจาก
เนื่องจากการเสพยาไอซ์เป็นเวลาต่อเนื่องจะส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ในกรณีที่มีการถอนยา อาการที่แสดงออกอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้ยาที่ผ่านมา หรืออาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่เคยใช้ หรือปัจจัยอื่นๆแต่โดยส่วนมาก อาการจากการถอนยาไอซ์ที่แสดงให้เห็นก็จะมี
โดยทั่วไปหากมีการหยุดเสพยาไอซ์กระทันหันร่างกายจะมีการถอนยา และต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้โดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยระยะเวลาอาจจะอยู่ที่ประมาณ2-3สัปดาห์
เนื่องจากผู้ที่ใช้ยาเสพติด จะจดจำความสุขที่ได้รับจากการใช้ยา หากต้องการถอนยาเสพติดหรือเริ่มหยุดใช้ยาไอซ์ มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเขา เพราะเขาจะต้องต่อสู้กับปฏิกิริยาของร่างกายที่จะเกิดขึ้น หลังจากเริ่มถอนยา ที่ไม่ว่าจะเป็น อาการอ่อนเพลีย ปวดหัว วิตกกังวล หรือหวาดระแวง รวมถึงอาการอยากยาที่จะรบกวนทั้งร่างกายและจิตใจ การเอาชนะยาเสพติดเพียงคนเดียวจึงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเขา หากนั่นเป็นคนที่คุณรัก หรือคนรู้จักสำหรับคุณคุณควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น ในช่วงเวลาที่เขากำลังจะถอนยาไอซ์ อาจเริ่มจากการทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาไอซ์ ,ดูแลตัวคุณเองให้มีความพร้อมเกี่ยวกับการรับมือกับผู้ติดยา ให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ หากเมื่อคุณพร้อมแล้ว คุณก็จะเริ่มดูแลผู้อื่นได้ หลังจากนั้นคุณควรให้กำลังใจผู้ที่ถอนยาให้มากๆ และต้องให้เขารู้ว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเลิกยา สิ่งที่คุณไม่ควรทำก็คือ การตำหนิ หรือต่อว่าให้เขารู้สึกละอาย เนื่องจาก หากเขารู้สึกว่ากำลังถูกทำร้ายไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือท่าทาง เขาอาจจะเริ่มปลีกตัวหรือหนีห่างจากคุณ ซึ่งอาจจะให้การเลิกยาไม่ประสบความสำเร็จ แต่หากเขาให้ความร่วมมือ คุณอาจจะต้องสังเกตอาการการถอนยาของเขาเรื่อยๆ แต่หากเริ่มมีอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลอันตรายอย่างมากต่อร่างกาย แนะนำให้คุณติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถานบำบัดยาเสพติด เพื่อที่จะรักษาอาการของเขาได้อยากถูกต้องและปลอดภัย
การเลิกยาเสพติดด้วยตัวเอง บางท่านที่มีจิตใจเข้มแข็ง อาจจะประสบความสำเร็จสามารถเลิกได้ แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากสารเสพติดที่ได้รับเข้าไปในร่างกายของแต่ละคน จะออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน และบางครั้งความรุนแรงของสารเสพติด จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้ยาที่ผ่านมาอีกด้วย หากมีการเลิกยาหรือหยุดยากระทันหัน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย แต่อาจจะส่งผลไปถึงจิตใจได้ นอกจากนี้บางท่านที่พยายามเลิกยาด้วยตนเอง จะต้องเผชิญกับความอยากยา ความทรมาน จนอาจถึงขั้นลงแดง ซึ่งบางครั้งอาจจะทนไม่ไหวจนต้องหันกลับไปพึ่งยาอีกครั้ง วนซ้ำเป็นรูปแบบเดิม
เนื่องจากการ บำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติดในแต่ละท่านจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน สถานบำบัดจึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่ท่านจะเข้ารับการบำบัดรักษากับทางสถานบำบัดโดยตรง เพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ,ประเมินผล และบำบัดตามโปรแกรมการรักษา ของแต่ละท่าน ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลให้การเลิกยามีประสิทธิภาพมากขึ้น และนอกจากนี้ ในระหว่างการถอนยาบางท่านอาจประสบปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ซึ่งอาจจะต้องได้รับการดูแลมากขึ้น รวมถึงการให้ยาจากแพทย์เพื่อลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น การได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้องถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บำบัดมีความปลอดภัย และลดอันตรายจากการเลิกยาได้มากกว่าการหักดิบด้วยตนเอง
บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์ หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร
แน่นอนว่าจะมีความทุกข์เกิดขึ้นภายในครอบครัวของคุณ หากคนที่คุณรัก หรือคนรู้จักมีการใช้ยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม นอกจากจะเป็นความทุกข์จากความรัก ความห่วงใยแล้ว อาจมีปัญหาในเรื่องของการทะเลาะเบาะแว้งเพิ่มขึ้น มีปัญหาเรื่องการเงิน เกิดความแตกแยกในครอบครัว และมีผลสำรวจว่าผู้ติดยาเสพติดมีอัตราการหย่าร้างสูงมากกว่าบุคคลทั่วๆไปด้วย
ผลกระทบจากการใช้ยาไอซ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผู้เสพอาจจะมีผิวพรรณซีดเซียว, ผิวแห้ง ดำคล้ำหากเสพติดเป็นเวลานาน หรืออาจเป็นโรคผิวหนัง รวมถึงมีการติดเชื้อ, มีเหงื่อออกมา,ริมฝีปากแห้ง, น้ำหนักลด และมีปัญหาในช่องปาก
หากมีการเสพยาไอซ์เข้าสู่ร่างกาย การออกฤทธิ์ของยาจะนานประมาณ8ถึง 24 ชั่วโมง และจะยังมีสารตกค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งหากทำการตรวจหาสารในร่างกายจะยังพบได้ใน1-3วัน หลังจากเสพ และถ้าหากว่ามีใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะตรวจพบได้นานสูงสุดถึง 3 สัปดาห์เลยทีเดียว
ยาไอซ์จะส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง นอนไม่หลับ เสมือนเป็นยาช่วยเพิ่มพลังให้แก่ผู้เสพ แต่การใช้ยาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะทนต่อยา ทำให้ผู้เสพพยายามเพิ่มปริมาณหรือความถี่ในการใช้ บางรายมีการเปลี่ยนวิธีการเสพที่รุนแรงขึ้น เพียงเพื่อต้องการให้ได้รับความสุขจากการเสพเท่าเดิม หรือเพียงเพื่อให้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่อาจเป็นการทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากยามากกว่าเดิม โดยที่ไม่รู้ตัว
การเสพยาไอซ์ต่อเนื่องมีผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดแน่นอน เพราะยาจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น เพิ่มความดันโลหิต และอาจส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว นอกจากนี้อาจกระทบต่อระบบการเดินหายใจ มีอาการเจ็บหน้าอก และการได้รับยาในปริมาณที่มากขึ้น อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นตามไปด้วย อาจทำให้มีอาการชัก กล้ามเนื้อเกร็ง ก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก มีเลือดออกในสมอง และการเต้นผิดจังหวะของหัวใจอย่างรุนแรงอาจส่งผลถึงขั้นหัวใจวาย และทำให้เสียชีวิตลงได้
ผู้ที่เสพยาอย่างต่อเนื่องมักจะประสบปัญหาคล้ายๆกันคือ ปัญหาฟันผุอย่างถาวร หรือที่เรียกว่า อาการ “Meth Mouth “ซึ่งจะมีอาการหนักกว่าโรคฟันผุทั่วๆไป มีการลุกลามไปทั่วทั้งปาก มีการเปลี่ยนสีของฟัน จนอาจจะเป็นสีดำ มีอาการฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดร่วง
และคุณรู้หรือไม่ว่าสาเหตุหนึ่งก็มาจากฤทธิ์ของยาด้วยเช่นกัน? โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้การหลั่งของน้ำลายลดลง จะส่งผลให้ขาดตัวช่วยที่ลดความเป็นกรดที่ผิวฟัน ที่เกิดมาจากคราบจุลินทรีย์ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาฟันผุ และเนื่องจากผู้ที่เสพยาจะมีพฤติกรรมที่ละเลยเรื่องการทำความสะอาด จึงส่งผลให้โรคฟันผุลุกลามมากขึ้น และนอกจากนี้ผลของยาจะทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมกัดฟันแรงๆ หรือขบฟันอยู่ตลอดเวลา และหากผู้เสพเป็นโรคฟันผุอยู่แล้วก็จะทำให้ฟันแตกหักได้ง่าย
สารกระตุ้นประสาทจะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนกลาง ทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัว กระฉับกระเฉง แต่การใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จะส่งให้มีการทำลายระบบสมอง มีความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เสพ และเมื่อสมองถูกทำลาย ก็จะมีการสั่งการบังคับกล้ามเนื้อและระบบอื่นๆในร่างกายให้ทำงานผิดปกติไปด้วย ทีนี้แน่นอนว่า จะมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลนั้นๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนด้วย นอกจากนี้อาจเริ่มมีอาการทางจิตควบคู่ไปด้วย ยกตัวอย่างอาการ เช่น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความรุนแรงของฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นด้วยเช่น วิธีการเสพ, ความถี่,และปริมาณของยาที่เสพ
ได้อย่างแน่นอน หากมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยาไอซ์จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ที่จะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง และยาเสพติดจะไปเร่งการหลั่งสารแห่งความสุข โดปามีน (Dopamine) ออกมามากกว่าปกติ ทำให้มีความสุข ความพึงพอใจอย่างมาก และรวดเร็ว แต่หากยาหมดฤทธิ์ลง ผู้เสพจะหงุดหงิด รู้สึกเป็นทุกข์ และต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งยาจะทำลายเซลล์สมอง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังจากที่มีการใช้ยา และเนื่องจากยาไอซ์เป็นยาเสพติดประเภทที่ออกฤทธิ์เร็วและแรง จึงก่อให้เกิดการเสพติดได้อย่างง่ายดาย ส่งผลเสียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจและอารมณ์ของผู้เสพ จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าต่อผู้ที่เสพยา
บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์ หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร
หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวมีการใช้ยา ไอซ์หรือมีการติดยาเสพติดหรือไม่ คุณอาจเริ่มสังเกตได้จาก
ยาไอซ์จะไม่มีกลิ่น และมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง จึงเป็นที่มาของชื่อ ยาไอซ์ โดยจะมีความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูงกว่า ยาบ้าประมาณ4-5 เท่า ทำให้ติดง่ายและรุนแรงกว่ามาก ซึ่งยาไอซ์จะเป็นสารกระตุ้นประสาท จะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง
สามารถทำได้หลายวิธีโดยทั่วไปจะใช้วิธีละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด บางคนนำไปเผาไฟแล้วสูตรดมควัน นอกจากนี้ยังสามารถเสพโดยการกลืน รวมถึงสอดใส่ทางทวารได้ด้วย สำหรับการเสพโดยใช้วิธีสูบหรือฉีดยาจะออกฤทธิ์ทันที แต่หากเป็นวิธีการกลืนหรือสูดดมเข้าไปจะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาที
แน่นอนว่าหากมีการใช้ยาเสพติด ตัวยาจะส่งผลต่อร่างกาย โดยยาเสพติดบางชนิดรวมถึงยาไอซ์ จะส่งผลต่อร่างกายที่ชัดเจนและเห็นได้ชัด เช่นผู้เสพจะซูบผอม น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ริมฝีปากแห้ง มือและนิ้วสั่น มีปัญหาช่องปากและฟัน ผิวหนังดำกร้าน มีบาดแผลตามใบหน้าและร่างกายเนื่องจากผิวแห้งเสีย ไม่ได้ช่วยให้ผอม ขาวสวยอย่างที่หลายๆคนเข้าใจแต่อย่างใด
เนื่องจากยาไอซ์เป็นสารที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท จึงแน่นอนว่าจะมีผลส่งต่อมาถึงพฤติกรรม การแสดงออกของผู้ที่ใช้ยาด้วยเช่นกัน เช่น
หากคุณเชื่อว่าคนที่คนรู้จัก คนรัก หรือคนในครอบครัวของคุณกำลังใช้ยาไอซ์ หรือเริ่มมีอาการติดยา สิ่งที่ควรจะทำอันดับแรกๆก็คือ
ยาไอซ์ หรือไอซ์ ( Ice) มีชื่อทางเคมีว่า เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine ) ซึ่งก็คือยาบ้าประเภทหนึ่งในรูปของสารบริสุทธิ์ แต่จะออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า โดยส่งผลต่อระบบประสาท จะให้ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม สนุกสนาน ร่าเริง และไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และเนื่องจากยาไอซ์จะมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง อาจไม่มีสีถึงมีสีขาว จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อยาไอซ์ หรือน้ำแข็งนั่นเอง
แน่นอนว่ายาไอซ์ทำให้เกิดการเสพติด และติดอย่างง่ายดาย เพียงแค่มีการใช้ไม่กี่ครั้ง เนื่องจาก แอมเฟตามีนจะส่งผลต่อระบบจิตและประสาท มีฤทธิ์เสพติดที่รุนแรงและอันตรายกว่ายาบ้าทั่วๆไป โดยเมื่อเสพเข้าไปจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมองให้หลั่งสารสื่อประสาท โดพามีน(Dopamine) ออกมามากผิดปกติ สารนี้ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเคลิบเคลิ้ม แต่หากเมื่อยาหมดฤทธิ์ สมองจะต้องการให้เกิดการหลั่งของสารโดพามีนอีก ทำให้ผู้เสพต้องกลับมาใช้ยาอีกครั้งเพื่อสร้างความสุข ในรูปแบบเดิม
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ระบุว่า ยาไอซ์ เมทแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดประเภทที่1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่นเดียวกับเฮโรอีนและยาบ้า
ผู้ที่กระทำความผิด โดยการครอบครองเพื่อเสพมี โทษตามกฎหมายคือโทษจำคุก1ปี ถึง10 ปี และโทษปรับสูงสุด 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่มีการครอบครองสารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า 20 กรัมกฎหมายให้ถือว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งโทษสูงสุดคือประหารชีวิต
อ่านต่อ: ยาไอซ์ส่งผลต่อคุณอย่างไร?
อ่านต่อ: ยาไอซ์ส่งผลต่อคุณอย่างไร?
ยาไอซ์มักเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีฐานะ คนดัง นักร้อง รวมถึงคนทั่วไปที่มีกำลังในการซื้อเนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างแพงกว่ายาบ้า บางคนเริ่มต้นจากความอยากรู้อยากลอง จนมีการทดลองใช้ จนกระทั่งกลายเป็นเสพติด เพราะความสุขที่ได้รับ และความเพลินเพลินระหว่างการเสพเข้าไป ทำให้มีความต้องการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ และบางครั้งเป็นเสมือนแฟชั่นในกลุ่มผู้ใช้ยา นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ยาไอซ์จะช่วยให้สมองดี เรียนดี ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความต้องการทางเพศอีกด้วย
ส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้วิธีสูดดมไอระเหยเข้าไป, การฉีดเข้าเส้นเลือด, และการกลืน
อ่านต่อ: แฟนหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณเสพยาไอซ์หรือไม่
การแสดงออกทางพฤติกรรม อาจบ่งบอกถึงความผิดปกตินั้นได้ เช่น
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand