ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับหลายครอบครัวในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับมือและการสังเกตอาการของผู้ติดสารเสพติด การเข้าใจว่าเมื่อใดที่ผู้ติดยาควรได้รับการบำบัดอย่างเร่งด่วนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ติดยาเสพติดถูกจัดให้เป็นผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาและฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข วันนี้เราจะขอนำเสนอเทคนิคในการจำแนกอาการของผู้ติดยาเสพติด พร้อมทั้งแนะนำว่าอาการในระดับใดที่บ่งชี้ว่าควรเข้ารับการบำบัดโดยเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยให้ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดสามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อไหร่ที่ผู้ติดยาเสพติดควรเข้ารับการบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดนั่นเอง
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปัจจุบัน ยังไม่มีการจำแนกระดับอาการของคนติดยาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีเทคนิคที่สามารถใช้แบ่งระดับของคนติดยาได้จากพฤติกรรมการใช้ยา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
การทดลองใช้เป็นช่วงริเริ่มใช้ชาในครั้งแรก ๆ ส่วนมากเกิดจากความอยากรู้อยากลองด้วยความคึกคะนอง หรืออาจเกิดจากการขาดสติจากอาการมึนเมา โดยผู้ที่เริ่มต้นเสพยามักจะมาพร้อมกับความคิดที่ว่า แค่ลองเฉย ๆ ไม่ติดหรอก ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ มีผู้ที่ชีวิตต้องพังเพราะความคิดนี้มาแล้วนับไม่ถ้วน
ในระดับนี้ความถี่ของการใช้ยาเสพติดจะเริ่มเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่วัตถุประสงค์การใช้ยังคงเป็นการใช้เพื่อความบันเทิง ยังไม่ได้รู้สึกว่าเสพติดจนขาดไม่ได้ และมีแนวโน้มที่คนใกล้ตัวก็จะมีพฤติกรรมใช้ยาเสพติดเหมือน ๆ กัน ทำให้เกิดการชักชวนเสพสารเสพติด ระหว่างการสังสรรค์ เพราะคิดว่าเป็นการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกับกลุ่มเพื่อน
เมื่อผ่านการใช้ยามาสักระยะ ก็จะเริ่มแสดงออกถึงอาการของผู้ติดสารเสพติด ซึ่งอาการที่พบจะเริ่มส่งผลโดยตรงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนโดยรอบ ความรับผิดชอบจะลดน้อยลง ยาเสพติดจะเริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น สุขภาพร่างกายจะค่อย ๆ ถดถอยในช่วงระยะนี้
นับว่าเป็นการเทิร์นโปรด้านการติดยาเสพติดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้ร่างกายจะมีความต้องการยามากกว่าเดิม จากที่เสพเพียงแค่ความบันเทิง จะเปลี่ยนไปเป็นเสพเพราะความต้องการและร่างกายจะเริ่มมีอาการดื้อยา ทำให้ความสุขที่ได้จากการเสพลดน้อยลง จนต้องเพิ่มปริมาณยาให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะนี้จะทำให้ผู้เสพเริ่มมีอาการทางจิตอ่อน ๆ เพราะความอยากยา จนคนรอบข้างเริ่มสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
ถือว่านี่คือขั้นวิกฤติของอาการติดยาเสพติด เนื่องจากในตอนนี้ผู้เสพจะขาดความคิดผิดชอบชั่วดี วัตถุประสงค์ของการใช้ชีวิตมีเพียงอย่างเดียวคือต้องเสพยาเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความต้องการอยากยาได้อีกต่อไป แม้จะรู้ว่ามีผลเสียมากเพียงใด แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดความทรมานจากการอยากยา เมื่อปล่อยให้ล่วงเลยมาถึงระดับนี้ จะมีอันตรายสูงมากทั้งต่อตัวผู้เสพและคนใกล้ตัวโดยรอบ
จากเนื้อหาเมื่อสักครู่ ที่เราได้แบ่งอาการของคนติดยาเสพติดออกเป็น 5 ระดับ นอกจากการใช้พฤติกรรมการใช้ยาเป็นเกณฑ์วัดแล้ว ยังสามารถใช้หลักเกณฑ์อื่น ๆ เพื่อประเมินระดับอาการของผู้ติดยาได้อีกหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
ทั้งปริมาณและความถี่ของการใช้ยาล้วนสามารถนำมาใช้แบ่งระดับของผู้ติดยาได้ทั้งสิ้น ในช่วงแรกคนที่เริ่มใช้ยามักจะใช้เป็นครั้งคราวจากการเข้าสังคมที่มีพฤติกรรมเสพยาเป็นเรื่องปกติ ทุกครั้งเมื่อเจอกับคนกลุ่มนั้น ๆ ก็จะมีการใช้ยาสักครั้ง เพราะยังไม่รู้แหล่งซื้อขายยาโดยตรง แต่เมื่อเริ่มมีความต้องการมากขึ้น ก็จะเริ่มเพิ่มปริมาณยา และเริ่มหาลู่ทางเพื่อให้ได้มาเพื่อยาเสพติด สุดท้ายแล้วความถี่และปริมาณของการใช้ยาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนยากจะควบคุม
หลังจากเริ่มใช้ยามาสักระยะ ผู้เสพก็จะเริ่มมีอาการเริ่มต้นของคนเสพยา นั่นก็คือการเก็บตัวอยู่เพียงลำพัง เริ่มหมกมุ่นอยู่กับความสุขจอมปลอมจากฤทธิ์ของยาเสพติด ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวก็จะน้อยลง หรือไม่ก็จะอยู่กับแค่สังคมที่ร่วมเสพยาด้วยกันเท่านั้น หากอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จะมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานหรือการเรียน จากความรับผิดชอบที่ถดถอย จนยากที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
เมื่อผู้ใช้ยาถลำลึกไปเรื่อย ๆ ความสุขจากการใช้ยาที่เคยมีก็จะเริ่มน้อยลง จนต้องเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น สุดท้ายแล้วก็จะเกิดอาการติดยา และเมื่อรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว เพราะผู้ที่เสพยาก็จะเริ่มมีอาการอยากยาหรือภาวะสมองติดยา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการทางจิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการหมกมุ่น นึกถึงแต่การเสพยาอยู่ตลอด ยิ่งใช้ยาเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ อาการอยากยาก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นอาการคลุ้มคลั่งจากยาเสพติดอย่างที่เราเห็นกันในข่าวอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง
ในข้อสงสัยที่ว่า อาการของคนเสพยาระดับไหนควรเข้ารับการบำบัดโดยเร็วที่สุด หากแบ่งตามระดับในบทความนี้ ก็จะเริ่มเป็นในระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เริ่มใช้ยามากขึ้น จากเป็นครั้งเป็นคราวเริ่มเป็นการใช้เป็นประจำ โดยอาการที่แสดงออกก็จะมีดังต่อไปนี้
เมื่อต้องการเลิกขาดจริง ๆ ไม่ว่าจะติดยาในระดับไหนก็ตาม หากมีความต้องการแน่วแน่ที่จะเลิกขาดจากยาเสพติด สามารถเข้ารับการบำบัดได้ทั้งสิ้น ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะเลิกขาดยิ่งมากเท่านั้นเหตุผลที่ทำให้คนติดยาถึงเลิกไม่ได้สักที ส่วนมากเกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ซึ่งมักจะมีสิ่งยั่วยุให้กลับไปเสพยาอีกครั้งอยู่มากมาย และการเลิกยานั้นก็ทำได้ยากมาก หากขาดความรู้ความเข้าใจ แม้จะมีหลาย ๆ คนที่สามารถเลิกยาด้วยการหักดิบ แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งการบำบัดกับสถานบำบัดยาเสพติดชั้นนำอย่าง Lighthouse คือตัวเลือกที่ดีมากกว่าการหักดิบด้วยตนเอง เพราะที่ Lighthouse เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและมีบริการเพื่อการบำบัดอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยจากอาการติดยาเสพติดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยวิธีการรักษาแบบ Dual Diagnosis ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงช่วยบรรเทาความทรมานจากอาการถอนพิษยาเสพติดไปพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ด้วยความมุ่งมั่นอันแรงกล้า ทีมของเราพร้อมจะอยู่เคียงข้างผู้ป่วย จนสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อีกครั้ง
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand