แม้ว่ากฎหมายไทยจะปลดล็อคให้ใช้กัญชาได้ทั้งด้านการแพทย์และการบริโภคในปัจจุบัน ทว่าสิ่งที่เรียกว่า ‘กัญชา’ ก็ยังคงเป็นสิ่งอันตรายที่หากไม่รู้เท่าทันและใช้มันอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของยาสมุนไพรหรือยาเสพติดก็ล้วนมีเส้นกั้นบางเกินกว่าที่หลายคนจะทันรู้สึก ไม่ใช่แค่ความอยากรู้อยากลอง แต่เป็นเพราะชีวิตที่ไร้หนทางจนต้องใช้มันเพื่อลบเลือนความเจ็บปวด ซึ่ง ณ จุดนี้ ‘วัยรุ่น’ ดูจะเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด บทความนี้จะคุณรู้จักถึงผลเสียของกัญชาให้มากขึ้น
จากสมุนไพรรักษาสู่ยาเสพติด จากยาเสพติดสู่ยาทางแพทย์ กัญชาไม่ได้เป็นเพียงพืชสรรพคุณช่วยให้ผู้เสพรู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังจัดเป็นยาหลอนประสาท (Psychedelic Drug หรือ Hallucinogens) ชนิดหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับ LSD, Dimenthyltryptamine (DMT) และอื่น ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและการรับรู้ทางประสาทจากการได้ยินเสียงและเห็นภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง หรือเปิดจิตเข้าสู่โลกไม่คาดฝันอีกใบหนึ่งจนทำให้ผู้ใช้เกิดหลงผิด เช่น อยู่ในแฟนตาซี
เริ่มต้นเมื่อสารจากยาหลอนประสาทเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการขัดขวางการสื่อสารกันระหว่างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า ‘เซราโทนิน’ (Serotonin) ซึ่งคอยควบคุมด้านความหิว การนอนหลับ อารมณ์ อุณหภูมิภายในร่างกาย และประสาทรับสัมผัส
โดยหากเสพยาหลอนประสาทเข้าไปจะส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น
นอกจากจะทำให้เกิดอาการหลอนแล้ว ยังเป็นสิ่งเสพติดซึ่งกระตุ้นผู้ใช้ให้เกิดอาการอยากเสพเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีของกัญชาจะมีสรรพเฉพาะที่เรียกอาการของคนติดยาว่า Cannabis Use Disorder (CUD) ซึ่งหากเลิกก็จะหยุดยากและอันตรายอย่างมากหากไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักจิตบำบัด
จากงานวิจัยด้านสุขภาพหลายชิ้นร่วมกับสถาบันวิจัยยาเสพติดแห่งชาติ (NIDA: The National Institute For Drug Abuse) สหรัฐอเมริกาได้เผยว่าการใช้กัญชาไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลสุขภาพจิตให้เสื่อมถอยก่อนวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่สมองต่อความสามารถด้านการเรียนรู้ ความทรงจำและสมดุลทางอารมณ์กำลังเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แน่นอนว่าการใช้กัญชาในปริมาณสูงย่อมให้ผลเสียที่ไม่เพียงแต่ทำให้เห็นภาพหลอน แต่ยังรวมไปถึงการรับรู้ทางประสาทที่เปลี่ยนไป การเข้าใจผิด ความจำบกพร่อง และอาการวิกลจริต (Psychosis) หากไม่ได้การบำบัดรักษาตั้งแต่เนิ่น ปัญหาดังกล่าวอาจบานปลายกลายเป็นโรคทางจิตเวชและปัญหาสังคมในวงกว้าง
ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์พร้อมมอบโอกาสชีวิตผ่านวิถีบำบัดและฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยติดยาเสพติดจากนักจิตบำบัดชำนาญการด้านสุขภาพจิตยาวนานกว่า 20 ปี พร้อมด้วยพยาบาลวิชาชีพและนักสังคมสงเคราะห์ร่วมช่วยสร้างสภาพแวดล้อมปลอดโปร่งสบายและเป็นส่วนตัวเสมือนอยู่บ้าน ภายใต้การควบคุมของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://nida.nih.gov/publications/drugfacts/cannabis-marijuana
https://www.verywellmind.com/types-of-psychedelic-drug-22073
https://www.cdc.gov/marijuana/health-effects/addiction.html
https://my.clevelandclinic.org/health/articles/6734-hallucinogens-lsd-peyote-psilocybin-and-pcp
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand