กระท่อมเป็นหนึ่งในพืชอีกชนิดที่เราหลายคนรู้จักกันดีในส่วนที่เป็นในด้านของ “ยาเสพติด” ชนิดหนึ่ง ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสารเสพติดมานานหลายปี จวบจนถึงปัจจุบันการแพทย์ได้มีความก้าวหน้าด้วยการค้นคว้าและวิจัย จนค้นพบว่าพืชอย่างกระท่อมนั้น มีสรรพคุณทางด้านการแพทย์อยู่มาก จนได้รับการนำมาพิจารณาให้ยกเลิกจากทะเบียน และนำมาใช้ในด้านการแพทย์กันมากขึ้น แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลตามที่ พรบ. ระบุไว้ ด้วยความที่มีสรรพคุณทางการแพทย์มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่เราควรทำความรู้จักกับกระท่อมให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มิตราไจนา สเปซิโอซา คอร์ท (Mitragyna Speciosa Korth) จัดอยู่ในตระกูล รูเบียซีอี (Rubiaceae) นับเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ตระกูลของกาแฟ โดยในประเทศไทยมีอยู๋ทั้งหมด 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว), ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง ลำต้นจะมีความใหญ่ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ส่วนใบเป็นแบบเลี้ยงเดี่ยว ผลิใบแบบขึ้นตรงกันข้าม ถ้าใบแก่จะมีสีเขียวอ่อน ตัวก้านมีสีแดงกับเขียวยาว 2 – 3 ซม. ยาว 10 – 18 ซม. กว้าง 6 – 10 ซม.ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.
ด้วยความที่สมัยก่อนกระท่อมถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรโบราณเพื่อแก้อาการท้องเสียในสูตรยาของหมอแผนโบราณ หรือหมอพื้นบ้านมาก่อน โดยการเคี้ยวใบสดหรือใบแห้งบดผงละลายน้ำ แต่มีผลข้างเคียงหากถูกนำมาใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ด้วยกระท่อมนั่นมีสาร ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin แลย LSD และ ยาบ้า เมื่อทำการเสพ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ทำให้สามารถทำงานได้นาน และทนแดดมากขึ้น พอใช้นานๆ จะมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจ เนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4×100) ผลค้างเคียงเมื่อขาดยา ที่พบ คือ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า จมูกแฉะ น้ำตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าว แต่เป็นมิตร (Hostility) นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตราพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม ต่อมาปี พ.ศ. 2522 กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 “ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่ 2 – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท ครอบครองโดย มิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
อีกด้านของกระท่อมหากมองว่าไม่ใช่สารเสพติดที่ให้โทษ แต่ก็เป็นพืชที่ช่วยรักษาโรคและมีประโยชน์ทางด้านการแพทย์หลายอย่าง ที่ นอกจากจะช่วยในเรื่องของการแก้ท้องเสียแล้ว ยังมีความสามารถ รักษาอาการลำไส้ติดเชื้อ, ช่วยลดอาการปวดที่มีผลดีกว่ามอร์ฟีน, ลดอาการขาดยาจากสารเสพติด, ช่วยแก้อาการปวดฟัน, ช่วยลดความดันโลหิตสูง, ช่วยรักษาโรคเบาหวาน, ช่วยรักษาแผลในปาก และแก้ไอ ทั้งนี้การใช้ในการรักษาอาการต่างๆ ข้างต้นจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้กระท่อมเพื่อรักษาโรคดังกล่าวด้วย
เมื่อได้เห็นผลประโยชน์ทางการแพทย์จากกระท่อม ประเทศไทยจึงได้ทำการยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 โดยมีผล วันที่ 24 สิงหาคม 2564โดยยกเลิกความผิดและโทษเกี่ยวกับพืชกระท่อม แต่ยังมีเงื่อนไขๆ ต่างเช่น กรณีนำเข้า-ส่งออก หรือนำใบกระท่อมมาแปรรูปเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องขออนุญาตก่อน, ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น สารเสพติดชนิด 4×100, ห้ามขายให้เยาวชน สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร และ ห้ามขายในสถานศึกษาและวัด
ทั้งนี้ในการใช้กระท่อมให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแพทย์ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ไม่มากจนเกินไป ซึ่งจะเปลี่ยนจากประโยชน์กลายเป็นสารเสพติดให้โทษแทน
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand