ทำไมคุณถึงอ่านคู่มือเล่มนี้

บางอย่างทำให้คุณหยิบคู่มือนี้ขึ้นมาและอย่างน้อยก็ได้สนุกไปกับความคิดที่จะเปลี่ยนชีวิต คุณกำลังอยู่ในคลื่นอารมณ์จากวิกฤตในชีวิตอยู่หรือเปล่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวิกฤตได้จบลงและชีวิตกลับเข้าสู่ภาวะ “ปกติ” คุณยังอยากเปลี่ยนชีวิตอยู่ไหม

มันง่ายที่เขียนสิ่งที่จะทำเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองช่วงปีใหม่และเป้าหมายที่มีคุณค่าในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก ออมเงิน เป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้น เลิกอันนี้ เริ่มอันนั้น ลองนึกถึงครั้งสุดท้ายที่คุณเขียนสิ่งเหล่านั้นดูสิ มันเกิดขึ้นอยู่นานแค่ไหนก่อนที่คุณจะพบว่าตัวเองกลับไปสู่การใช้ชีวิตแบบเดิม

ดังนั้น เราจะคงแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างที่เราต้องการจริง ๆ ได้อย่างไร ความท้าท้ายที่สุดอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่จะเจอในการฟื้นฟูนั่นคือการรักษาแรงจูงใจ “การปรารถนา” ไม่ใช่กลยุทธ์ที่พึ่งพาได้ เราบางคนพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการราวกับว่าแค่การพูดถึงมันก็ทำให้เราไปถึงจุดหมายแล้ว

แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฟื้นฟูของคุณ มันเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้คุณไปสู่เป้าหมาย หากไม่มีแรงจูงใจ คุณก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คุณอาจจะไม่ตระหนักถึงแรงจูงใจที่มีแต่คุณก็ถูกจูงใจให้สร้างการเปลี่ยนแปลง มันต้องใช้แรงจูงใจในการซื้อคู่มือเล่มนี้หรือแม้แต่การเข้าร่วมการพบปะครั้งแรก แม้ว่าจะมีคนบังคับซึ่งคุณอาจจะปฏิเสธก็ได้ แต่คุณก็ไม่ได้ทำ พ้อยต์นี้จะช่วยให้คุณสร้างแรงจูงใจเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วและช่วยให้คุณรักษาแรงจูงใจในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลง

คุณอาจจะเคยได้ยินมาว่าสมาร์ทเป็นโปรแกรมที่สร้างพลังให้กับตนเอง อาจฟังดูเหมือนจิตวิทยทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ใช่เลย แนวคิดนี้เป็นสิ่งสำคัญในระหว่างที่คุณเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่อยู่ตรงหน้า คุณมีอำนาจในการตัดสินใจ การปฏิบัติ และเป้าหมายที่คุณตั้งไว้สำหรับอนาคตของคุณเอง

เครื่องมือ : ลำดับขั้นของคุณค่า (Hierarchy of Values)

เราทุกคนต่างมีคุณค่าที่จูงใจเรา ไม่ว่าเราจะบอกว่ามันคืออะไรหรือไม่ก็ตาม เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะยังไม่เคยคิดเกี่ยวกับคุณค่าของคุณก็ได้ ลำดับขั้นของคุณค่า (HOV) จะช่วยทำให้คุณรู้ว่าอะไรที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ

เริ่มด้วยการเขียนคุณค่าให้มากที่สุดเท่าที่คุณนึกออก ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดเนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล เมื่อคุณเขียนเสร็จแล้ว ให้จับกลุ่มเป็นคุณค่าหลัก ๆ 5 ข้อ ในรูปที่ 3.1 ให้เขียนคุณค่าหลักลงไปโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ

รูปที่ 3.1   แบบฝึกหัดลำดับขั้นของคุณค่าของฉัน

สิ่งที่ฉันให้คุณค่าที่สุด
1.
2.
3.
4.
5.

รายการของคุณอาจดูคล้าย ๆ แบบนี้

สิ่งที่ฉันให้คุณค่าที่สุด
1. ความสัมพันธ์กับคนรัก
2. ลูก
3. สุขภาพกาย
4. สถานะทางการเงิน
5. ความมั่นคงภายใน

ลองดูที่รายการของคุณอีกครั้ง คุณสังเกตเห็นอะไรที่ขาดหายไปหรือเปล่า เป็นเรื่องที่พบได้ยากมากว่าคน ๆ หนึ่งจะเขียนพฤติกรรมเสพติดในรายการคุณค่าแม้มันจะดูเหมือนกับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในชีวิตก็ตาม พฤติกรรมเสพติดสามารถกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในชีวิตได้โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย

ทีนี้ ลองคิดถึงว่าพฤติกรรมเสพติดของคุณกระทบคุณค่าแต่ละข้ออย่างไร ทุกครั้งที่คุณมีพฤติกรรมเสพติด    คุณเลือกมันแทนที่จะเลือกคุณค่า คุณเล่นพนันด้วยของมีค่าและของรักของคุณ คุณแลกด้วยคุณค่าของคุณ การฟื้นฟูที่ประสบความสำเร็จจึงเรียกร้องให้การหยุดใช้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่มีคุณค่าในชีวิตคุณ

เมื่อคนได้ทำแบบฝึกหัดนี้แล้ว พวกเขาก็จะรู้สึก “อ๋อ” ทันที ในการพบปะครั้งหนึ่งของสมาร์ท ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งยังใหม่สำหรับการฟื้นฟูได้ลองทำแบบฝึกหัดนี้โดยมีกระบวนกรเป็นผู้ช่วยเหลือ เมื่อกระบวนกรถามเธอว่าทำไมแอลกอฮอล์ถึงไม่ได้อยู่ในรายการของเธอ เธอก็ร้องไห้ออกมา ตั้งแต่นั้นเธอก็ไม่ดื่มอีกเลย

ถึงตอนนี้ คุณคงมองเห็นภาพที่ชัดมาขึ้นแล้วว่าพฤติกรรมเสพติดของคุณมีผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งที่คุณให้คุณค่ามากที่สุด สำหรับแบบฝึกหัดอีก 2 ข้อนี้จะช่วยให้คุณมองให้ลึกลงไปถึงสิ่งที่คุณต้องการในชีวิตและช่วยให้คุณระบุเป้าหมายที่ชัดเจนและสำคัญที่คุณต้องการจะทำให้สำเร็จเพื่อให้ชีวิตคุณมีความหมายมากขึ้น

แบบฝึกหัด : คำถาม 3 ข้อ

เป้าหมายของคุณคือการเลิกใช้หรือเลิกกระทำ ความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงของคุณนั้นเป็นแรงจูงใจให้คุณเลิกพฤติกรรมเสพติด บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ กำลัง ทำอยู่และสิ่งอื่นที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้คุณมองจาก 2 มุมมองนี้เพื่อให้มองเห็นความแตกต่าง

ถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้

1. อะไรที่ฉันต้องการในอนาคต

2. อะไรที่ฉันกำลังทำอยู่ตอนนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

3. ฉันรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่

ตัวอย่างของคำตอบเหล่านี้ ได้แก่

1. อะไรที่ฉันต้องการในอนาคต     เป็นคนรัก พ่อแม่ และลูกจ้างที่ดี

2. อะไรที่ฉันกำลังทำอยู่ตอนนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย                                                                                 ไม่มี เพราะว่าฉันเมาเหล้าและเมายาอยู่ตลอดเวลา

3. ฉันรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่     รู้สึกผิด ละอาย เศร้า กระอักกระอ่วน เครียด ไม่มีทางออก

ทีนี้ ตอบคำถามต่อไปนี้

4. มีอะไรอีกไหมที่ฉันทำได้เพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายในอนาคตตามที่ฉันต้องการ

5. การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ฉันทำอยู่หรือการได้สิ่งที่ฉันต้องการจะทำให้ฉันรู้สึกอย่างไร

เมื่อคุณเห็นความแตกต่างระหว่างความรู้สึกที่คุณมีต่อสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้ (ข้อ 2) และความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ข้อ 5) คุณก็สามารถใช้ความต่างนี้มาเป็นแรงจูงใจเพื่อให้เลิกใช้ต่อไป เมื่อคุณเริ่มรู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับการหยุดใช้แล้ว คุณก็จะรู้สึกมีพลังในการทำตามเป้าหมายในข้อ 1 นั่นคือ เป็นคนรัก พ่อแม่ และลูกจ้างที่ดี

รูปที่ 3.2 แบบฝึกหัดคำถาม 3 ข้อของฉัน

1. อะไรที่ฉันต้องการในอนาคต
   
2. อะไรที่ฉันกำลังทำอยู่ตอนนี้
   
3. ฉันรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่
   
มีอะไรอีกไหมที่ฉันทำได้เพื่อให้ฉันได้สิ่งที่ต้องการ
   
การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ฉันทำอยู่หรือการได้สิ่งที่ฉันต้องการจะทำให้ฉันรู้สึกอย่างไร
   

เครื่องมือ : แบบฝึกหัดวางแผนการเปลี่ยนแปลง

ตอนนี้ที่คุณสามารถระบุได้แล้วว่าคุณต้องการอะไรในอนาคตและอะไรที่คุณต้องการเพื่อให้ไปถึงจุดนั้น คุณจึงต้องการแผน ให้ระบุขั้นตอนที่คุณสามารถทำได้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย (การวาดภาพอนาคต) และคิดถึงบุคคลที่จะสามารถช่วยคุณให้ถึงเป้าหมายลงในแบบฝึกหัดวางแผนการเปลี่ยนแปลง สร้างกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าและระบุสัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณได้มีความก้าวหน้าแล้ว หากกลยุทธ์ที่วางไว้ไม่ได้ผล อย่าเพิ่งยอมแพ้ ให้ถือเป็นโอกาสที่จะได้ลองทำสิ่งที่แตกต่าง

คุณยังสามารถใช้เครื่องมือนี้เป็นแบบฝึกหัดสำหรับการฝึกแก้ปัญหาได้ด้วยเพราะว่ามันจะช่วยให้คุณย่อยปัญหาใหญ่ ๆ ให้เล็กลงเพื่อที่จะได้มุ่งความสนใจไปทีละข้อเพื่อที่ว่าคุณจะได้ไม่รู้สึกท้วมท้น

รูปที่ 3.3 แบบฝึกหัดวางแผนการเปลี่ยนแปลง (ตัวอย่าง)

สิ่งที่ฉันต้องการเปลี่ยนแปลง
หยุดใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ฉันอยากกินอาหารได้ดีขึ้น
ฉันอยากหยุดใช้ในระยะยาวฉันอยากนอนหลับได้ดีขึ้น
ฉันอยากอยู่ให้ห่างจากบาร์ 
การเปลี่ยนแปลงนี้สำคัญกับฉันมากแค่ไหน (คะแนน 1-10)10
ฉันมั่นใจแค่ไหนว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (คะแนน 1-10)6
เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ฉันต้องการจะเปลี่ยนแปลง
สุขภาพของฉันเริ่มแย่ลง 
ฉันต้องการให้ลูกกลับมา 
ฉันต้องการรักษางานที่ทำอยู่ 
ฉันต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอดีตคนรัก 
ใครบ้างที่สามารถช่วยฉันได้
บุคคลประเภทของความช่วยเหลือ
เพื่อนโทรมาคุยกับฉันตอนที่ฉันรู้สึกไม่ดี
แม่เล่าให้ฟังถึงสูตรอาหารเพื่อสุขภาพของแม่
แพทย์ติดตามสุขภาพโดยรวม
ฉันจะรู้ได้ว่าแผนของฉันได้ผล เมื่อ…
ฉันไม่เมาฉันมาทำงานทันเวลา
ฉันนอนหลับได้ฉันไม่เข้าบาร์
ฉันกินอาหารได้ดีขึ้นฉันไปพบแพทย์เป็นประจำ
สิ่งที่อาจขัดขวางแผนของฉัน
ไปเจอเพื่อนที่ดื่มและถูกกดดันให้ดื่มแยกตัว อยู่แต่ในบ้าน และไม่ออกกำลังกายหรือกินอาหารที่เหมาะสม
ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เข้าร่วมการพบปะของสมาร์ท


แบบฝึกหัดวางแผนการเปลี่ยนแปลงของฉัน                                       วันที่____________________

สิ่งที่ฉันต้องการเปลี่ยนแปลง
  
  
  
การเปลี่ยนแปลงนี้สำคัญกับฉันมากแค่ไหน (คะแนน 1-10) 
ฉันมั่นใจแค่ไหนว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (คะแนน 1-10) 
เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ฉันต้องการจะเปลี่ยนแปลง
  
  
  
  
ใครบ้างที่สามารถช่วยฉันได้
บุคคลประเภทของความช่วยเหลือ
  
  
  
ฉันจะรู้ได้ว่าแผนของฉันได้ผล เมื่อ…
  
  
  
สิ่งที่อาจขัดขวางแผนของฉัน
    
  

เครื่องมือ : แบบประเมินข้อดี-ข้อเสีย (Cost-Benefit Analysis)

ถึงตอนนี้ คุณได้กำหนดคุณค่าหลักและอนาคตที่คุณอยากเห็นแล้ว คุณยังได้วางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายแล้วด้วย อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่าพฤติกรรมเสพติดของคุณคอยเฝ้ารอโอกาสที่จะทำลายแผนและแรงจูงใจของคุณอยู่

คุณเคยถามตัวเองไหมว่าคุณจะได้อะไรจากพฤติกรรมเสพติดของคุณบ้าง คุณจะต้องได้อะไรบ้างแหละ เพราะมันจินตนาการได้ยากว่าคุณจะทำทำไมหากคุณไม่ได้อะไรจากมันเลย โดยเฉพาะเมื่อมันสร้างความเดือดร้อนให้กับตัวคุณและผู้อื่น

คุณดื่มเพราะว่ามันช่วยให้คุณจัดการกับความเครียดจากการเป็นพ่อ-แม่หรือจากความท้าทายในงานของคุณหรือเปล่า คุณรู้สึกว่าคู่นอนที่ไม่รู้จักทำให้คุณมีเสน่ห์หรือเป็นที่ต้องการมากขึ้นหรือเปล่า คุณทำร้ายตัวเองเพราะว่ามันทำให้คุณสลบลงหรือเปล่า

การกรอกแบบประเมินข้อดี-ข้อเสียหรือ CBA จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ พอถึงจุดหนึ่งในชีวิต เราก็จะบอกตัวเองไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่าข้อดีของพฤติกรรมของเรามีมากกว่าข้อเสีย แต่คุณเคยมองพฤติกรรมของคุณอย่างละเอียดและตรวจสอบอย่างจริงจังถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งหมดและสิ่งที่ต้องเสียไปทั้งหมดแล้วหรือยัง

คนที่ต้องการเลิกพฤติกรรมเสพติดมีชุดความคิด 2 ชุดเกี่ยวกับพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ความคิดระยะสั้นและความคิดระยะยาว

ความคิดระยะสั้น : การใช้นั้นทำให้คุณรู้สึกดีโดยทันที ความคิดระยะยาว : คุณต้องการเลิกพฤติกรรมเสพติดเพื่อใช้ชีวิตที่ดีกว่า เนื่องจากความคิดระยะสั้นและระยะยาวจะไม่สอดคล้องกัน CBA (รูปที่ 3.4) เราจึงจะรวมทั้ง 2 ความคิดไว้ที่เดียวเพื่อช่วยให้คุณระบุและเปรียบเทียบผลระยะยาวจากพฤติกรรมของคุณกับข้อดีที่จะได้ “ตอนนี้” CBA ยังจะช่วยคุณเปรียบเทียบประโยชน์จากการหยุดใช้ในระยะสั้นและระยะยาวด้วย

ในการเริ่ม ให้คุณลองคิดถึงข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมเสพติดของคุณ

รูปที่ 3.4  แบบประเมินข้อดี-ข้อเสีย (ตัวอย่าง)

การใช้ หรือ การกระทำ
เขียนกำกับแต่ละรายการว่าระยะสั้น (ST) หรือ ระยะยาว (LT)
ข้อดี (รางวัลและประโยชน์ที่จะได้รับ)ข้อเสีย (ความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องเสียไป)
ช่วยให้หายจากความคิดในแง่ลบ (ST)อาการเมาค้าง (ST)
คลายความเครียด (ST)ทำลายสุขภาพ (LT)
รู้สึกมั่นใจมากขึ้น (ST)ทำลายความสัมพันธ์ (LT)
เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น (ST)ทำให้เกิดการหย่าร้าง (LT)
ช่วยให้หายจากความเจ็บปวดทางกาย (ST)ถูกจับ (LT)
ทำให้ฉันรู้สึก “เป็นปกติ” (ST)ปัญหาทางการเงิน (LT)
ทำให้ลืม (ST)สูญเสียบ้าน (LT)
ช่วยให้รู้สึกสนุก (ST)สูญเสียครอบครัว (ลูก พ่อแม่ พี่น้อง) (LT)
ไม่ใช้ หรือ ไม่กระทำ
เขียนกับกำแต่ละรายการว่าระยะสั้น (ST) หรือ ระยะยาว (LT)
ข้อดี (รางวัลและประโยชน์ที่จะได้รับ)ข้อเสีย (ความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องเสียไป)
ทำให้สุขภาพและอนามัยดีขึ้น (LT)รู้สึกเบื่อ (ST)
ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น (LT)ไม่สามารถคลายเครียดได้ (ST)
ช่วยให้การทำงานและความปลอดภัย ในการทำงานดีขึ้น (LT)ต้องจัดการกับความเจ็บปวดด้วยวิธีอื่น (ST)
อยู่ห่างจากคุก (LT)ต้องจัดการกับปัญหา (ST)
ทำให้การเงินดีขึ้น (LT) 
ไม่เสียบ้าน (LT) 
ไม่เสียลูก ๆ (LT) 
กลับมาเคารพตัวเอง ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น (LT) 

ข้อดีและข้อเสียของการใช้

การใช้ตัวอย่างในรูปที่ 3.4 เริ่มด้วยการมองว่าอะไรเป็นความสุขที่เกิดจากพฤติกรรมเสพติดของคุณ พยายามระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น แทนที่จะเขียนว่า “พฤติกรรมเสพติดของฉันช่วยให้ฉันรับมือกับปัญหาได้” ก็ให้เขียนว่าช่วยได้อย่างไร “พฤติกรรมของฉันทำให้ฉันกล้าพอที่จะพูดความรู้สึกที่แท้จริง” หรือ “การกระทำช่วยให้ฉันลืมความเหงา”

ข้อดี (รางวัลและประโยชน์ที่จะได้รับ)

ข้อเสีย (ความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องเสียไป)

ข้อดีและข้อเสียของการไม่ใช้

ตอนนี้ ลองทำแบบฝึกหัดเดิมโดยคิดถึงชีวิตของคุณที่ปราศจากพฤติกรรมเสพติด กรุณาซื่อสัตย์และเขียนตามความเป็นจริง

ข้อดี

ข้อเสีย

แบบประเมินข้อดี-ข้อเสียของฉัน

การใช้สารเสพติดหรือกิจกรรมเสพติดที่ใช้ประเมิน___________________________________

วันที่_________________________

การใช้ หรือ การกระทำ
เขียนกำกับแต่ละรายการว่าระยะสั้น (ST) หรือ ระยะยาว (LT)
ข้อดี (รางวัลและประโยชน์ที่จะได้รับ)ข้อเสีย (ความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องเสียไป)
                    
การไม่ใช้ หรือ ไม่กระทำ
เขียนกำกับแต่ละรายการว่าระยะสั้น (ST) หรือ ระยะยาว (LT)
ข้อดี (รางวัลและประโยชน์ที่จะได้รับ)ข้อเสีย (ความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องเสียไป)
                  

ข้อดีในระยะสั้นและระยะยาว

เมื่อคุณได้รายการข้อดีและข้อเสียของแต่ละส่วนแล้ว ให้ระบุแต่ละรายการว่าเป็นข้อดีในระยะสั้น หรือ

ข้อดีในระยะยาว

คุณแปลกใจหรือไม่ว่าข้อดีของการใช้และข้อเสียของการหยุดใช้ส่วนใหญ่เป็นระยะสั้นในขณะที่ข้อเสียของการใช้และข้อดีของการหยุดใช้นั้นเป็นระยะยาว ในการพบปะของสมาร์ท เราได้เห็นผู้เข้าร่วมอ้าปากค้างด้วยความประหลาดใจบ่อย ๆ เมื่อตระหนักว่าพฤติกรรมเสพติดของพวกเขามีข้อดีเพียงในระยะสั้นแต่มีข้อเสียในระยะยาว นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่คุณได้พิจารณาสิ่งที่คุณและคนรอบข้างของคุณต้องเสียให้กับพฤติกรรมของคุณ

ตอนนี้ที่คุณมองพฤติกรรมของคุณในแง่ของข้อดีฉับพลันและข้อดีที่จะอยู่ไปเป็นเวลานาน การตัดสินใจที่จะใช้หรือหยุดนั้นก็ชัดเจนขึ้น

เก็บ CBA ไว้ใกล้ ๆ ตัว และหยิบขึ้นมาดูเมื่อคุณเกิดแรงกระตุ้น ทำสำเนาไว้หลาย ๆ ฉบับและเก็บไว้ในที่ที่หยิบได้ง่าย ทำให้มันเป็นเอกสารที่มีชีวิต นั่นคือ ทบทวนและอัพเดทได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ

CBA เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมที่จะใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือการตัดสินใจใด ๆ ก็ตามที่คุณต้องการ

สรุป

ยินดีด้วย มาถึงตอนนี้คุณได้ทำการวางแผนที่ดีเยี่ยมและยาก ได้ระบุคุณค่าของคุณ อนาคตที่อยากเห็น สิ่งที่สำคัญสำหรับคุณ และเห็นว่าพฤติกรรมในปัจจุบันบั่นทอนเป้าหมายของคุณอย่างไร

คุณได้วางแผนที่จะกำหนดอนาคตและให้เกียรติคุณค่าของคุณ และคุณได้ระบุถึงคนรอบข้างที่ส่งเสริมคุณ กล่าวคือ คนที่สามารถช่วยคุณในการเดินทางของคุณได้ นอกจากนั้นแล้วอาจจะเป็นครั้งแรกด้วยซ้ำที่คุณระบุข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมเสพติดของคุณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่ทรงพลัง คุณอาจจะพบตัวเองย้อนมาดูหน้าต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อช่วยให้คุณยังมีแรงจูงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตอนที่คุณจะก้าวไปยังพ้อยต์ที่ 2 นั่นคือ การรับมือกับแรงกระตุ้น

‘ฉันจะเริ่มจากตรงไหน’

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต โดยเฉพาะหลังจากมีพฤติกรรมที่เป็นข้อเสียมาเป็นปี ๆ มันจะดูเหมือนน่ากลัวและรู้สึกท่วมท้น เรารู้ดี พวกเราส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนคู่มือเล่มนี้เคยมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการฟื้นฟูมาก่อน

มันอาจดูเหมือนว่าปัญหาที่คุณสร้างให้กับตัวคุณเองนั้นอยู่เหนือความสามารถที่จะแก้ไขของคุณ กลยุทธ์หนึ่งที่ใช้รับมือกับปัญหาอันน่ากลัวนี้ได้ ก็คือ ทำให้เป็นปัญหาย่อย ๆ หรือเป็น “ข้อๆ” เพื่อที่ว่าคุณจะสามารถจัดการทีละหนึ่งหรือสองข้อจากปัญหาทั้งหมดได้

คู่มือนี้จะเริ่มด้วยการช่วยให้คุณเข้าใจไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งอาจช่วยลดความกลัวและความวิตกกังวลที่คุณอาจมีต่อการฟื้นฟู

ทำความเข้าใจพฤติกรรมเสพติด

หากนาน ๆ ครั้งเรามีพฤติกรรมบางอย่างและไม่ทำจนเกินไป นั่นแปลว่าเราคงไม่ต้องกังวล วิเคราะห์ หรือหยุดทำมัน อย่างไรก็ตาม หากพฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดปัญหามากมายในชีวิตของเรา แม้ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เริ่มจากพฤติกรรมที่ดีก็ตาม ก็อาจจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมจะกลายมาเป็นพฤติกรรมเสพติด เมื่อ…

เราจะส่งเสริมพฤติกรรมเสพติดและทำให้เพิ่มขึ้นเมื่อเราทำให้เกิดรูปแบบการตอบสนองต่อแรงกระตุ้นซ้ำ ๆ เพื่อทำให้รู้สึกบรรเทา (รูปที่ 2.1)

ปัญหาของความพึงพอใจอย่างเฉียบพลัน

สิ่งเร้านำไปสู่ความคิดหรือความอยาก (ฉันอยากดื่ม ใช้ยา เล่นพนัน มีเพศสัมพันธ์ กิน) ซึ่งจะก่อตัวเป็นแรงกระตุ้น (ฉันต้องดื่ม ใช้ยา ฯลฯ) เมื่อเราได้ใช้หรือทำมันแล้ว เราก็จะรู้สึกดีขึ้นหรือรู้สึกเป็นปกติ แต่ก็เพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น นี่คือปัญหาของความพึงพอใจอย่างเฉียบพลัน หรื

ปัญหาของ PIG ก็คือ บ่อยครั้งความพึงพอใจอย่างเฉียบพลันมีอิทธิพลกับตัวเรามากกว่าการให้รางวัลซึ่งมีประโยชน์แต่ได้รับช้ากว่า การทำรูปแบบนี้ซ้ำ ๆ เป็นการส่งเสริม PIG ทุกครั้งที่เรายอมทำตามแรงกระตุ้น เราจะยิ่งทำให้รูปแบบนั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น แรงกระตุ้นครั้งต่อไปก็จะเกิดขึ้นเร็วกว่าและรุนแรงมากกว่าเก่า และต่อไปไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตที่ทำให้คุณรู้สึกทุกข์ซึ่งจะเร้าความอยากให้มากขึ้น ทำให้มีแรงกระตุ้นเพิ่มขึ้น สุดท้ายจะนำไปสู่การใช้ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะสำคัญมากหรือน้อยก็ตาม

ความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ก่อนหน้านี้คุณอาจจะมองข้ามไป ตอนนี้ก็อาจจะกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้คุณมี “เหตุผล” ที่จะใช้ เมื่อเวลาผ่านไปคุณก็จะยิ่งต้องการพฤติกรรมเสพติดมากขึ้นเพื่อคลายความเครียด ดังนั้น คุณอาจจะเริ่มมองหาหรือสร้างสิ่งเร้าขึ้นมาเองเพื่อให้มีข้ออ้างในการใช้ ยิ่งกว่านั้นคุณอาจจะสร้างแรงกระตุ้นขึ้นมาเพื่อที่ว่าคุณจะได้มีข้ออ้างในการกระทำ

ยิ่งคุณทำรูปแบบนี้ซ้ำ ๆ เท่าไหร่ PIG ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

คุณอาจรู้สึกว่าคุณไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรของพฤติกรรมเสพติดนี้ได้ และเชื่อว่าคุณถูกสาปให้อยู่ในวังวนนี้ไปตลอดกาล แต่ความหวังยังมีอยู่ ผู้คนเป็นล้านที่สามารถเลิกพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้นี้ได้อย่างถาวรและก้าวไปใช้ชีวิตที่น่าพึงพอใจได้ มันเกิดขึ้นทุกวัน

เอาชนะพฤติกรรมเสพติดได้อย่างไร

มันเริ่มต้นด้วยการหยุด หากคุณไม่ยอมทำตามแรงกระตุ้น มันก็จะเริ่มรุนแรงน้อยลงและเกิดขึ้นน้อยลง สิ่งต่างๆก็กลายมาเป็นสิ่งเร้าได้น้อยลงดังนั้นคุณก็จะมีแรงกระตุ้นน้อยลง สุดท้ายPIG ก็เริ่มน้อยลงตามไปด้วย

การเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความทุกข์ระยะสั้น และเริ่มยอมรับว่าแรงกระตุ้นจะทำให้รู้สึกแย่หลายวินาทีไปจนถึงหลายนาทีจนกว่าความรู้สึกนั้นจะหายไปจะทำให้คุณสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้ ในระยะเวลาเพียงไม่นาน อาจแค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ คุณก็จะเรียนรู้ที่จะยอมรับความทุกข์ระยะสั้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ดี พฤติกรรมเสพติดก็จะหลุดออกไปจากชีวิตคุณ คุณอาจจะเข้าใจว่าการใช้นั้นเป็นทางเลือกหนึ่ง แค่เพียงแต่เข้าใจว่าการใช้เป็นทางเลือกหนึ่งและไม่ใช่การตอบสนองต่อความทุกข์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นแปลว่าคุณได้เริ่มฝึกการรับรู้ใหม่แล้ว

การฟื้นฟูของคุณเป็นการเดินทางที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและกำหนดได้เอง สมาร์ทสามารถช่วยคุณในการ

การเสพติดเป็นโรคหรือเป็นพฤติกรรม

คำถามนี้ได้รับการถกเถียงกันในวงการฟื้นฟูและการรักษา เครื่องมือของสมาร์ท รีคัฟเวอรีสามารถช่วยได้แม้ว่าคุณจะเชื่อว่าการเสพติดเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม

เข้าใจการฟื้นฟู

การฟื้นฟูคืออะไร คุณอาจคิดว่านี่เป็นคำถามที่มีคำตอบตายตัว แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย ความจริงแล้ว มันซับซ้อนกว่านั้น

SAMHSA (บริการสำหรับผู้ใช้สารเสพติดและสุขภาพจิต) ได้ให้คำจำกัดความของการฟื้นฟูไว้ว่าเป็น “กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่บุคคลจะได้พัฒนาสุขภาพและสุขภาวะของตนเอง ได้ใช้ชีวิตที่เลือกเอง และได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่”

สมาร์ท มองการฟื้นฟูในฐานะส่วนสำคัญที่สุดของความสำเร็จในการจัดการกับพฤติกรรมเสพติดมานานแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหลายท่านมองการฟื้นฟูว่าเป็นสิ่งที่แยกออกมาจากการจัดการพฤติกรรมเสพติดโดยรวม การศึกษาในเรื่องนี้ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในปัจจุบันและเมื่อไม่นานมานี้ก็เน้นเรื่องการฟื้นฟู ในสหรัฐฯ เหตุการณ์ เช่น เดือนแห่งการฟื้นฟู ซึ่งถูกระบุให้มีขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปีได้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟู

การฟื้นฟูนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล การฟื้นฟูของคุณอาจหมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบความคิดในแง่ร้าย นอกจากการหยุดใช้พฤติกรรรมที่ไม่พึงประสงค์แล้ว คุณยังอาจจะตั้งใจที่จะลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ท้าทายด้วย คุณอาจเลือกที่จะแบ่งเวลาสำหรับคนที่คุณรัก การฟื้นฟูช่วยให้คุณเติมเต็มเวลาที่เมื่อก่อนเคยเป็นเวลาของพฤติกรรมเสพติดด้วยความคิด อารมณ์ กิจกรรม และความท้าทายที่มีประโยชน์ที่นำคุณไปสู่ชีวิตที่มีสมดุลและน่าพึงพอใจ

การหยุดใช้โดยปราศจากการฟื้นฟูจะไม่มีเครื่องมือและข้อมูลให้กับผู้คนในการทดแทนพฤติกรรมเสพติดที่หายไป ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมการเผลอใช้และการกลับมาใช้ซ้ำจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าการหยุดใช้ด้วยการฟื้นฟู

การฟื้นฟูเป็นการเรียนรู้การแทนที่พฤติกรรมที่ไม่มีประโยชน์ด้วยกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่นำไปสู่ชีวิตที่มีความสมดุล การฟื้นฟูนั้นเป็นการเดินทางของแต่ละบุคคล เป็นสิ่งที่คุณสร้างขึ้นและจะเป็นแบบไหนก็ได้ตามที่คุณต้องการ เพราะท้ายที่สุดแล้วคุณเป็นผู้ควบคุม

การตีตราที่ไม่มีประโยชน์

บางครั้ง คนอาจจะพูดกับคุณว่า “คุณมันไอ้ขี้เหล้า” “คุณมันไอ้ขี้เมา” “คุณมันอ่อนแอ” “คุณไม่เหมือนคนปกติ” “คุณจะต้องสู้กับสิ่งนี้ไปจนตาย” “คุณจะต้องหยุดเดี๋ยวนี้และตลอดไป” ซึ่งคุณก็อาจจะมีปฏิกิริยาว่า “ฉันเอาชนะมันไม่ได้หรอก (ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ เมาเหล้า เมายา สูบบุหรี่สักซอง กินคุกกี้ ไปซื้อของ ทำร้ายตัวเอง) เพราะว่าฉันไม่มีทางมีสุขภาพที่ดีได้ แล้วจะทำไปทำไมหละ”

คุณอาจรู้สึกว่าคุณติดอยู่ในพฤติกรรมของคุณด้วยความหวังเพียงริบหรี่ บ่อยครั้ง ความสิ้นหวังยิ่งทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติด นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมสมาร์ทจึงไม่ส่งเสริมให้ใช้การตีตรา

การเดินทางของการฟื้นฟู

เช่นเดียวกับการเดินทางไกลอื่น ๆ การฟื้นฟูก็ต้องเริ่มจากก้าวแรก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมนั้นใช้เวลา ความพยายาม และการลองผิดลองถูก

หากว่าคุณเคยมีความคิดว่า “ฉันเป็นไอ้ขี้ยาที่สิ้นหวังและเป็นโรคที่ฉันไม่มีวันหาย” “ฉันไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องสู้กับสิ่งนี้ไปตลอด” หรือ “ฉันไม่มีทางเลือกนอกจากการใช้ไปเรื่อย ๆ” ลองเปลี่ยนความคิดเหล่านี้เป็น “ฉันเคยมีพฤติกรรมเสพติดแต่ฉันเลือกที่จะไม่ทำแบบนั้นอีกแล้ว” ถ้อยคำเหล่านี้อาจช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นการฟื้นฟู

หากคุณรู้สึกได้ว่าคุณจะเอาชนะพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของคุณได้ นั่นแปลว่าคุณอาจจะเอาชนะได้ หากเครื่องมือหรือแบบฝึกหัดของสมาร์ทใช้ไม่ได้ผลกับคุณ ลองวิธีอื่น ๆ จนกว่าคุณจะพบสิ่งที่ทำให้คุณทำได้สำเร็จ การฟื้นฟูเป็นไปได้ แรงกระตุ้นจะหายไป การหยุดใช้จะง่ายขึ้น พฤติกรรมเสพติดของคุณจะกลายเป็นอดีต คุณจะได้ค้นพบความหมายและความสุขในชีวิตใหม่

การหยุดใช้ กับ การกำหนดการใช้อย่างเหมาะสม

สมาร์ทเป็นโปรแกรมที่มีการหยุดใช้เป็นพื้นฐาน ในขณะที่คุณเพิ่งเริ่มการฟื้นฟู ความคิดเกี่ยวกับการหยุดใช้อาจฟังดูน่ากลัวหรือแม้แต่ไม่น่าพอใจ และถึงแม้ว่าคุณยังลังเลเกี่ยวกับการหยุดใช้ การพบปะของเราก็ต้อนรับคุณอยู่ดี

สำหรับการใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด ความหมายของการหยุดใช้นั้นชัดเจน นั้นคือ หยุดดื่มหรือใช้ยา เช่นเดียวกับพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การพนัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าคนเราไม่จำเป็นต้องเล่นการพนันเพื่อให้อยู่รอด

แต่แล้วถ้าเป็นกิจกรรมอื่นหละ เช่น การกิน ซื้อของ และเพศสัมพันธ์ คนที่มีการกินผิดปกติก็ยังจำเป็นต้องกิน คนที่ซื้อของอย่างควบคุมไม่ได้ก็ยังคงต้องซื้อของ สำหรับสิ่งเหล่านี้ เราสามารถให้คำจำกัดความของการหยุดใช้ว่าการหยุดด้านที่ควบคุมไม่ได้หรือด้านที่เป็นข้อเสียต่อตนเองจากพฤติกรรมนั้น ๆ  กล่าวคือ ซื้อนาฬิกา 1 เรือน แทนที่จะซื้อ 5 เรือน กินโยเกิร์ต 1 ถ้วย แทนที่จะกินไอศกรีม 1 ถัง สัมผัสใกล้ชิดกับคู่รักของคุณแทนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับที่ไม่รู้จักไปเรื่อย ๆ

หากพฤติกรรมเสพติดของคุณเป็นหนึ่งในที่กล่าวมานี้ คุณอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการกำหนดขอบเขต การหาคำจำกัดความของการหยุดใช้ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดพฤติกรรมให้เป็นไปตามสมควรโดยไม่ทำให้กลายเป็นพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้

หากคุณกำลังคิดถึงประโยชน์ของการหยุดใช้ ให้ลองคิดแบบนี้ ยิ่งคุณมีพฤติกรรมเสพติดหลาย ๆ ปีและยิ่งมีแรงผลักดันจากภายในรุนแรงขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องอาศัยการหยุดใช้ที่มากขึ้นเท่านั้น (มากกว่าการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสม) เพื่อที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมาย

หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสม คุณอาจต้องพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้

ทำไมการตั้งเป้าหมายให้เป็นการหยุดใช้ถึงดีกับคุณมากกว่า

ระยะเวลาของการหยุดใช้ที่มากพอ อาจจะ…

หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมเพราะว่าคุณเคยพยายามหยุดใช้แล้วแต่ไม่ได้ผล นั้นไม่ได้แปลว่าตอนนี้คุณจะหยุดใช้ไม่ได้ ความพยายามที่ผ่าน ๆ มา การเผลอใช้ หรือ การกลับมาใช้ซ้ำไม่ใช่ความล้มเหลว ถ้าคุณลองมองดูดี ๆ สิ่งเหล่านั้นทำให้คุณได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าบางอย่าง

ตอนนี้คุณอาจจะพร้อมแล้วสำหรับการหยุดใช้ หรือคุณอาจจะยังต้องการเวลาอีกหน่อยในการตัดสินใจ อย่าตัดสินใจจนกว่าคุณจะพร้อม การหยุดใช้นั้นไม่ใช่การตั้งใจว่ามันจะต้องสมบูรณ์แบบ บางคนก็เผลอใช้หรือกลับมาใช้ซ้ำในระหว่างที่พยายามหยุดใช้ อย่างไรก็ตาม บางคนก็ไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งคน ๆ นั้นอาจจะเป็นคุณก็ได้ การตั้งใจหยุดใช้หมายถึงว่าคุณมีความตั้งใจจริงในการเปลี่ยนแปลง มันต้องใช้ความอดทน ความมุมานะ และการฝึกฝน การหยุดใช้ไม่ได้ตามที่ตั้งใจนั้นต่างจากการล้มเลิก

คุณอาจพบว่าการหยุดใช้นั้นง่าย หากคุณอยู่ในจุดที่เบื่อหน่ายกับปัญหาและความผิดหวังที่เกิดจากพฤติกรรมเสพติดของคุณ การหยุดใช้อาจจะง่ายกว่าที่คุณคิดไว้ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนส่วนใหญ่ มันจะยากกว่านั้น

หมายเหตุ         หากคุณดื่มหรือใช้ยาเสพติดอย่างหนักเป็นระยะเวลาหนึ่งและคิดว่าอยากหยุด ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณก่อน เพราะมันอาจจะเป็นอันตราย กระทั่งถึงแก่ชีวิตที่จะหยุดแบบ “หักดิบ” หลังจากการใช้ต่อเนื่องอย่างหนักเป็นเวลานาน

คุณอาจจะอยากลองทำการประเมินการใช้แอลกอฮอล์ของคุณ แบบทดสอบการดื่ม www.drinkercheckup.com  นั้นไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นความลับ พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและผ่านการทดสอบสำหรับแบบประเมินตนเองแล้ว แบบทดสอบนี้จะพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ และมีการวัดความเสี่ยง ความทน การพึ่งพา และผลลัพท์ต่าง ๆ ในรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงไหนของการตัดสินใจนี้ก็ตาม การพบปะของสมาร์ทและ SROL ก็ยินดีต้อนรับคุณ

ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง

มันเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีมาเป็นเวลานาน แม้ว่าพฤติกรรมใหม่จะดีกับตัวคุณมากกว่าก็ตาม โดยเฉพาะการเปลี่ยนพฤติกรรมเสพติดนั้นยิ่งยากเนื่องจากธรรมชาติของการมีแรงผลักดันจากภายใน

เจมส์ โพรคาชกา (James Prochaska) และ คาร์โล ดิเคลเมนเต (Carlo DiClemente) ได้พัฒนาโมเดลลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงไว้ในปี 70 พวกเขาพบว่าคนที่เลิกบุหรี่ปกติแล้วจะพยายามเลิกอยู่หลายครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างถาวร

โมเดลนี้ไม่ใช่การเดินทางที่ราบเรียบนัก หลายคนเดินทางเข้าและออกในลำดับขั้นต่าง ๆ จนกว่าจะถึงทางออกได้จริง ๆ แม้กระนั้น ก็ยังมีความเสี่ยงเสมอในการกลับมาใช้ซ้ำ

ในขณะที่คุณอ่านรายละเอียดของแต่ละลำดับขั้นด้านล่างนี้ ลองคิดว่าวันนี้คุณอยู่ในขั้นไหน และจำไว้ว่าพรุ่งนี้คุณอาจจะอยู่ในขั้นอื่นแล้วก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากวันนี้คุณอยู่ในขั้นเตรียมปฏิบัติเนื่องจากคุณแน่ใจว่าคุณต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรม พรุ่งนี้ คุณอาจจะอยู่ในขั้นเริ่มพิจารณา เนื่องจากคุณมีความลังเลที่จะเปลี่ยนแปลง

มันจะเป็นประโยชน์หากคุณรู้ว่าตัวเองอยู่จุดไหนของการฟื้นฟู การระบุขั้นที่คุณอยู่นั้นจะทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นแล้วคุณก็จะเดินอย่างไรทิศทาง

การเผลอใช้ หรือ การกลับมาใช้ซ้ำ        ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นไหนหรือส่วนใดของการเปลี่ยนแปลง การเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำก็เป็นเรื่องปกติและอาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นข้ออ้างในการกลับมามีพฤติกรรมเสพติดอีก เมื่อการเผลอใช้ หรือ การกลับมาใช้ซ้ำเกิดขึ้น นั้นไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นจะต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น เขาจะบอกได้ว่ากลยุทธ์ใดช่วยหรือไม่ช่วย และใช้ความรู้นั้นเพื่อก้าวไปข้างหน้าในการฟื้นฟู

หากเกิดการเผลอใช้ หรือ การกลับมาใช้ซ้ำ อย่ายอมให้มันทำให้คุณรู้สึกกล่าวโทษตัวเองและรู้สึกผิด มันจะดีกว่าถ้ายอมรับความล้มเหลวชั่วครั้งชั่วคราวว่าเป็นเรื่องปกติในการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตมากกว่าที่มองว่าการฟื้นฟูของคุณนั้นล้มเหลวและยอมแพ้ไป หากมีการรับมือที่ดี การเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำก็จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และจะเป็นโอกาสที่คุณจะได้เติมพลังกับตัวเอง

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เมื่อตอนที่เราหัดขี่จักรยาน เราล้มหลายต่อหลายครั้งกว่าที่จะรู้ว่าต้องควบคุมจักรยานอย่างไร

แบบฝึกหัด : การจดบันทึก

การจดบันทึกระหว่างการฟื้นฟูอาจช่วยคุณในขั้นต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของ โปรแกรม 4 พ้อยต์® และนอกเหนือจากนั้น มันเป็นการบันทึกความก้าวหน้า ความสำเร็จ ความล้มเหลว ขั้นต่าง ๆ และเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่จะบันทึกประสบการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้น มันไม่มีกฎตายตัวในการจดบันทึก

บางคนชอบเขียนบันทึกด้วยปากกาด้ามโปรด บางคนบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ บางคนใช้สมุดสันห่วง บางคนไม่ชอบกระดาษที่มีเส้น บางคนเขียนทุกวันเป็นกิจวัตร บางคนเขียนเฉพาะเมื่อต้องการจะทำงานกับบางเรื่อง คุณสามารถวาดรูปหรือขีดเขียนได้ คุณอาจต้องการเก็บบันทึกของคุณไปตลอดชีวิต หรือโยนทิ้งไป ก็แล้วแต่คุณ

บันทึกการฟื้นฟูมีประโยชน์หลากหลาย มันช่วยเตือนว่าตอนนี้คุณอยู่ในขั้นไหนของการฟื้นฟู คุณได้ผ่านอะไรมาบ้าง คุณได้ทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และการเปลี่ยนแปลงอะไรที่คุณยังต้องการทำให้เกิดขึ้น                   คุณสามารถ…

เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว          บันทึกของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณ คุณอาจเลือกที่จะแบ่งปันหรือเก็บไว้เป็นความลับก็ได้ หากคุณกลัวที่จะจดบันทึกเพราะคิดว่าจะมีคนมาอ่าน ก็ชี้แจงให้ชัดว่าบันทึกของคุณนั้นเป็นความลับ คุณอาจรู้สึกดีมากกว่าหากเก็บบันทึกไว้กับตัวตลอดเวลาหรือซ่อนไว้ในที่ปลอดภัย การอ่านบันทึกของคนอื่น นั้นเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ยกเว้นในกรณีที่อาจเกิดอันตรายจากการทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่นโดยอาจมีการเขียนไว้ในบันทึก

สรุป

แม้ว่าจะเป็นเรื่องดี พฤติกรรมก็กลายมาเป็นการเสพติดได้เมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ จนทำให้ชีวิตหรือความคิดของเรานั้นไม่สมดุล พฤติกรรมการเสพติดสามารถก่อให้เกิดข้อเสียได้อย่างมากมายในแง่ของความสัมพันธ์ หน้าที่การงาน อิสรภาพ และการเป็นตัวของตัวเอง

การฟื้นฟูเป็นการเดินทางที่คุณเรียนรู้ที่จะแทนที่ความพึงพอใจอย่างเฉียบพลันระยะสั้นและความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลด้วยมุมมองที่เป็นเหตุเป็นผลและให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะยาวของคุณ การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างมาก เป็นพื้นที่ที่คุณจะบันทึกความสำเร็จ ความล้มเหลว ความคิดและอารมณ์ ฯลฯ

คุณอาจพร้อมแล้วในการมุ่งมั่นไปสู่ชีวิตที่หยุดใช้และมีสมดุลหรือคุณอาจยังมีคำถามว่าจริง ๆ แล้วคุณมีปัญหากับการใช้สารหรือพฤติกรรมที่เสพติดหรือไม่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในขั้นไหน เราก็ต้อนรับคุณเข้าสู่สมาร์ท

แม้ว่าสมาร์ทเป็นโปรแกรมฟื้นฟูที่มีการหยุดใช้เป็นพื้นฐาน คุณอาจจะยังไม่ต้องแน่ใจก็ได้ว่าการหยุดใช้จะเป็นเป้าหมายของคุณ สมาร์ทจะต้อนรับคุณในการเข้าร่วมในขณะที่คุณตัดสินใจว่าอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สมาร์ทคืออะไร

สมาร์ท รีคัฟเวอรี เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2537 สมาร์ทย่อมาจาก การฝึกจัดการและฟื้นฟูตนเอง (Self-Management And Recovery Training) โดยเน้นที่ “ตนเอง” นั่นคือ บทบาทของคุณในการฟื้นฟู เราเป็นโปรแกรมที่ไม่แสวงหาผลกำไรและอ้างอิงวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้คนฟื้นจากพฤติกรรมเสพติดต่าง ๆ

ไม่ว่าคุณจะมีพฤติกรรมเสพติดที่ใช้สารเสพติด ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาเสพติด หรือทางพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการติดพนัน เพศสัมพันธ์ การกิน ซื้อของ ทำร้ายตัวเอง ฯลฯ สมาร์ทช่วยคุณได้           เราเข้าใจสิ่งที่คุณจะต้องเผชิญ ไม่ว่าคุณจะมีพฤติกรรมเสพติดอะไร คุณไม่ได้อยู่คนเดียว

สมาร์ททำงานอย่างไร

สมาร์ท รีคัฟเวอรี ใช้เทคนิคจากการบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy : CBT) การบำบัดด้วยแนวคิดการพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy : REBT) และ การบำบัดเพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivation Enhancement Therapy : MET ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมโดยปราศจากการเผชิญหน้า) องค์กรของเราช่วยให้คุณใช้เทคนิคเหล่านี้ในการฟื้นฟูของคุณ ตามแนวทางของ โปรแกรม 4 พ้อยต์ของสมาร์ท® (ดูหน้า 2)

นี่คือวิธีการทำงานของสมาร์ท

1. เราช่วยให้คุณดูที่พฤติกรรมของคุณเพื่อที่คุณเลือกว่าจะจัดการปัญหาใดก่อน เรายังช่วยให้

คุณมีแรงจูงใจหากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเปลี่ยนแปลง

2. หากคุณต้องการทำงานร่วมกับนักบำบัดในการฟื้นฟู เราจะสนับสนุนให้ทำเช่นนั้น แต่หากนี่ไม่ใช่ทางเลือกของคุณเนื่องจากคุณไม่สามารถดูแลค่าใช้จ่ายได้หรือคุณอยู่ในบริเวณที่ไม่มีความช่วยเหลือนี้ สมาร์ทก็ยังจะช่วยเหลือคุณ

3. เราสนับสนุนให้คุณเข้าร่วมการพบปะของสมาร์ท การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นระหว่างการฟื้นฟูจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่ต้องต่อสู้กับความท้าทายของการฟื้นฟู ในขณะเดียวกัน คุณก็จะได้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย หลายคนที่เริ่มการฟื้นฟูได้พบความเข้มแข็งจากคำพูดที่เป็นแรงบันดาลใจของคนที่ผ่านปัญหาคล้าย ๆ กันมาได้ หากคุณต้องการทำการฟื้นฟูโดยไม่เข้าร่วมการพบปะ เราก็ยังช่วยเหลือคุณอยู่ดี

คุณสามารถใช้เครื่องมือ กลยุทธ์ และแหล่งความรู้ของสมาร์ทตั้งแต่คุณเริ่มต้นการเดินทางของคุณไปจนถึงหลังจากที่คุณได้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้สำเร็จแล้ว

คุณสามารถอยู่ในโปรแกรมสมาร์ทได้นานเท่าที่คุณต้องการ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณตั้งเป้าหมายที่จะอยู่ในโปรแกรมไปตลอดชีวิต หลายคนพบว่าการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาร์ทหลังจากการฟื้นฟูแล้วช่วยป้องการกลับมาใช้ซ้ำ บางคนมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยรำกระบวนการให้กับการพบปะของสมาร์ทหรือใช้ทักษะและความสามารถในด้านอื่น ๆ บางคนก็เข้าร่วมการพบปะอย่างต่อเนื่องเพียงเพื่อมาแบ่งปันประสบการณ์กับผู้อื่นที่อาจจะใหม่สำหรับสมาร์ท เช่นคุณ

เราเน้นความเป็นปัจจุบัน และสิ่งที่คุณต้องการในอนาคต มากกว่าอดีต เราไม่ส่งเสริมให้ใช้การตีตรา เช่น “พวกติดยา” “ขี้เหล้า” “ขี้ยา” “กินจุ” ฯลฯ เพราะเราเชื่อว่าคำพวกนี้ขัดขวางการมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อตนเอง ตรงกันข้าม เราเน้นในเรื่องพฤติกรรมและวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น

พฤติกรรมเสพติดสามารถเกิดจากการใช้สารเสพติด (สารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อประสาท เช่น แอลกอฮอล์ นิโคติน คาเฟอีน ยาต้องห้าม ยาที่แพทย์สั่ง เป็นต้น) และกิจกรรม (เช่น การพนัน เพศสัมพันธ์ การกินอาหาร การซื้อของ ความสัมพันธ์ การออกกำลังกาย เป็นต้น) ในชีวิตพวกเราส่วนใหญ่ก็เคยมีประสบการณ์ต่อพฤติกรรมเสพติดมาบ้าง บางคนมีมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าจะพร้อมกันหรือเมื่อเลิกอย่างหนึ่งได้แล้วก็กลับมาติดอีกอย่างหนึ่ง

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจำไว้ว่าในขณะที่คุณเพิ่งเริ่มการเดินทางของคุณนั้นไม่มีวิธีการที่ “ถูก” เพียงหนึ่งเดียวสำหรับการฟื้นฟู เราทุกคนล้วนมีวิธีที่แตกต่างกันทั้งสิ้น

โปรแกรม 4 พ้อยต์®

โปรแกรม โปรแกรม 4 พ้อยต์ (4-Point Program®) นั้นเป็นหัวใจของสมาร์ท ในแต่ละพ้อยต์ จะมีเครื่องมือ เทคนิค และกลยุทธ์ ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยในการเดินทางของคุณได้ หลาย ๆ เครื่องมือหรือเทคนิคเหล่านี้เป็นทักษะที่คุณสามารถนำไปใช้ต่อได้หลังจากที่คุณทำการฟื้นฟูสำเร็จแล้วเพื่อช่วยในการจัดการปัญหาในอนาคตและเพื่อให้เกิดความพึงพอใจและความสมดุลในชีวิต

พ้อยต์เหล่านี้ไม่ใช่ลำดับขั้น บางคนอาจจะต้องทำตามลำดับ แต่ไม่ใช่สำหรับอีกหลาย ๆ คน ตัวอย่างเช่น บางคนเข้าร่วมสมาร์ทตอนที่กำลังพยายามรับมือกับแรงกระตุ้น โดยสร้างแรงจูงใจของตนเอง เป็นต้น

4 พ้อยต์ที่กล่าวถึงนี้  ได้แก่

            1. การสร้างและการรักษาแรงจูงใจ

          2. การรับมือกับแรงกระตุ้น

          3. การจัดการกับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม

          4. การใช้ชีวิตอย่างมีสมดุล

การบำบัดด้วยแนวคิดการพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy : REBT)

REBT ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในฐานะรูปแบบแรกของการบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT) ก่อตั้งโดย ดร. อัลเบิร์ต แอลลิส  (Dr. Albert Ellis) ในช่วงปี 50 และเดิมทีเป็นที่รู้จักในฐานะการบำบัดด้วยการพิจารณาเหตุและผล

เครื่องมือและเทคนิคหลายอย่างที่สมาร์ทใช้อยู่นั้นมาจากการบำบัดแบบ CBT

อิปิคเตตัส (Epictetus) นักปราชญ์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า “สรรพสิ่งไม่ได้ก่อปัญหาให้กับมนุษย์ แต่ปัญหาเกิดจากมุมมองของพวกเขาเองต่างหาก”

บางครั้ง คนก็คิดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตแบบเกินจริง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือความคิดผิด ๆ เหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ รูปแบบการเชื่อมโยงนี้เป็นหลักการพื้นฐานของ REBT

ปัญหาหลายอย่างดูเหมือนจะเริ่มจากการที่เราตอบสนองอย่างไรต่อสถานการณ์ในชีวิต เช่น ถ้ามีคนมาหยาบคายกับเรา เราทะเลาะกับคนรัก หรือเราไม่ได้งานที่เราต้องการ ความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลและอารมณ์ที่มากเกินไปอาจเข้ามาควบคุมการกระทำของเราได้

คุณอาจเคยใช้พฤติกรรมเสพติดเพื่อจัดการกับความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลและอารมณ์ที่มากเกินไป เราเรียกสิ่งนี้ว่า “กลยุทธ์ของการใช้” ที่เราใช้รับมือกับความทุกข์ บางครั้งเราก็มีความคิดที่ไม่เป็นความจริงว่าชีวิตไม่ควรมีความทุกข์หรือความเจ็บปวด และเราก็ไม่ควรจะต้องทนกับสิ่งเหล่านั้น ความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์นี้ยิ่งทำให้ทุกข์ขึ้นไปอีก ซึ่งจะไปผลักดันให้เกิดแรงกระตุ้นพฤติกรรมเสพติดเพื่อหลีกหนีความทุกข์

รายละเอียดของ REBT อยู่ในบทที่ 4   และ 5

สมาร์ทแตกต่างจากโปรแกรมฟื้นฟูอื่นอย่างไร

แม้ว่าสมาร์ทจะสามารถช่วยคุณได้ด้วยตัวโปรแกรมเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังสามารถใช้ร่วมกับการบำบัดอื่นได้ด้วย หากคุณกำลังปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจิต เช่น ผู้ให้คำปรึกษา นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ สมาร์ทก็จะเสริมการทำงานนั้น ๆ โดยสนับสนุนหลักการของการบำบัดทั่วไป

คุณยังสามารถใช้โปรแกรมต่างช่วยเหลืออื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย แม้ว่าบางหลักการของสมาร์ทอาจแตกต่างจากโปรแกรมอื่น ๆ หลายคนพบว่าการใช้หลายโปรแกรมร่วมกันนั้นมีประโยชน์ต่อการฟื้นฟู

เราไม่ได้บอกว่าเราดีกว่าโปรแกรมหรือการบำบัดแบบอื่น การบำบัดหรือโปรแกรมใด ๆ อาจไม่ได้ช่วยทุกคน แม้ว่าผู้คนทั่วโลกพบว่าสมาร์ทมีประโยชน์ บางคนอาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้น มีแต่คุณเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าอะไรที่ใช้ได้ผลกับตัวคุณ เราสนับสนุนให้คุณค้นหาความช่วยเหลือที่ได้ข้อดีกับตัวคุณ

สิ่งที่สำคัญคือการฟื้นฟูของคุณ ไม่ใช่โปรแกรมไหนที่ช่วยให้คุณทำสำเร็จ

สมาร์ทจะช่วยฉันได้ไหม

วิธีที่จะทำให้คุณรู้ได้แน่ ๆ คือ ต้องลองดู

การพบปะของเราได้รับการออกแบบให้เน้นความต้องการของผู้เข้าร่วม กระบวนกรที่ผ่านการฝึกอบรมจะเป็นผู้นำกระบวนการในการพบปะ กระบวนกรของเรานั้นเป็นผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูมาแล้วหรือมีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือผู้ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู การพบปะทุกครั้งจะมีที่ปรึกษาทางการแพทย์หรือทางสุขภาพจิตที่มาเป็นอาสาสมัครด้วย พวกเขาไม่ได้เข้าร่วมในวงแต่จะคอยอยู่ช่วยกระบวนกรในเรื่องยาก ๆ

สมาร์ท รีคัฟเวอรี ออนไลน์

คุณสามารถได้รับการช่วยเหลือและข้อมูลจากชุมชน สมาร์ท รีคัฟเวอรี ออนไลน์ (SROL) โดยจะถูกปกปิดเป็นความลับหากคุณไม่อยากเข้าร่วมการพบปะแบบเจอตัวหรือคุณต้องการใช้ช่องทางอื่นในการติดต่อกับคนอื่น ๆที่อยู่ในการฟื้นฟู เรามีช่องทางออนไลน์ที่พร้อมปฏิบัติการและมีความเสถียร โดยมีทั้งการพบปะ ห้องสนทนา และกระดานข้อความที่มีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกแล้วคอยกำกับดูแล นอกจากนั้นยังมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาร์ท เครื่องมือของเรา และข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสำหรับผู้เข้าร่วม ครอบครัว เพื่อน วัยรุ่น และสำหรับอาสาสมัครและกระบวนกร

หากคุณต้องการสมัคร SROL ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ของเราและคลิกที่ลิงก์ “กระดานข้อความ (Message board)” ที่อยู่ในหน้าแรก และทำตามคำชี้แจง

กระดานข้อความ (Message board) – หลังจากที่คุณสมัคร SROL แล้ว เราจะชวนให้คุณแนะนำตัวเองในกระดานข้อความ “พื้นที่ต้อนรับ (Welcome Area)” ส่วนหลักของกระดานข้อความ คือ “การแลกเปลี่ยน (Discussion)” และ “เครื่องมือและแหล่งความรู้ (Tools and resource)” ส่วน “คลาสสิกโพสต์ (Classic Posts)” เป็นที่จัดเก็บโพสต์ที่เป็นที่ชื่นชอบในอดีต หลายคนเข้าร่วมกลุ่มเช็คอินประจำวัน นอกจากนั้นยังมีกระทู้สำหรับสารเสพติดหรือพฤติกรรมที่เป็นการเฉพาะ เช่น ฝิ่น บุหรี่ การกินผิดปกติ การทำร้ายตัวเอง เป็นต้น รวมถึงสถานการณ์เฉพาะ เช่น ครอบครัวและเพื่อน การรับมือกับความเศร้า การฟื้นฟูสำหรับพ่อแม่ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น

ห้องสนทนา (Chat room) – เปิดตลอดทั้งวัน ทุกวัน เนื่องจากว่ามีผู้เข้าร่วมออนไลน์จากทั่วทุกมุมโลก จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีคนอยู่ในห้องสนทนาตลอด หลังจากเข้าห้องสนทนาแล้ว คุณอาจพบว่าการสนทนาเป็นแบบไม่เป็นทางการหรือเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าคุณมีปัญหาหรือต้องการข้อมูล ก็แจ้งให้ห้องทราบได้ การฟื้นฟูมาก่อนเสมอและประเด็นของบทสนทนาก็จะเปลี่ยนไปเพื่อช่วยเหลือคุณ

ห้องพบปะ (Meeting room) – นี่เป็นที่ที่เราจัดการพบปะแบบออนไลน์ แต่ละวันมีการพบปะหลายครั้ง ให้กดที่เมนูแสดงตัวเลือกที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์สมาร์ทเพื่อดูตารางการพบปะ บางครั้ง การพบปะอาจเป็นแค่การพิมพ์ข้อความเท่านั้น และบางครั้งก็เป็นข้อความเสียงที่คุณสามารถเข้าร่วมโดยการพูดคุยผ่านไมโครโฟนจากคอมพิวเตอร์ของคุณหรือโดยการพิมพ์เหมือนในการพบปะแบบพิมพ์ข้อความและในห้องสนทนา คุณสามารถเข้าร่วมการพบปะแบบออนไลน์ครั้งใดก็ได้ และเนื่องจากคุณเพิ่งเข้าร่วมสมาร์ท เราจึงอยากชักชวนให้คุณลองเข้าร่วมการพบปะสำหรับสมาชิกใหม่ การพบปะออนไลน์แต่ละครั้งใช้เวลา 90 นาทีและมีกระบวนกรอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ดูแล

ห้องสมุดออนไลน์ – นี่เป็นที่ที่ดีเยี่ยมที่จะได้พบกับเครื่องมือ แบบฝึกหัด กลยุทธ์ และวิธีการของสมาร์ท ผู้เข้าร่วมใหม่หลายคนพิมพ์และกรอกแบบประเมินข้อดี-ข้อเสีย (Cost-Benefit Analysis : CBA) คุณยังจะได้พบกับลิงก์ไปยังพอตคาสต์ และยูทูบ วิดีโอ และสมาร์ท รีคัฟเวอรี บล็อก ของเรา ซึ่งเราจะอัพเดทบทความและโพสต์ที่เกี่ยวข้องเรื่อย ๆ

คำศัพท์พื้นฐาน

ในสมาร์ทจะมีการใช้ตัวย่อและวลีต่าง ๆ คุณจะพบตัวอย่างด้านล่างนี้ได้บ่อย ๆ สำหรับรายการคำศัพท์แบบสมบูรณ์ ให้ดูที่ภาคผนวก

การหยุดใช้     การเลิกใช้สารเสพติดต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์หรือยาเสพติด หรือ พฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศสัมพันธ์ หรือ การกินเยอะกว่าปกติ แน่นอนว่า หากคุณมีอาการกินเยอะกว่าปกติที่ควบคุมไม่ได้ คุณไม่สามารถเลิกกินอาหารได้อย่างสมบูรณ์ แต่คุณสามารถกำหนดความหมายของการหยุดใช้ว่าเป็นการไม่ข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมกินเยอะกว่าปกติที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเราจะพูดถึงรายละเอียดของเรื่องนี้ในบทที่ 2

การกระทำ      การเกิดพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ที่คุณอยากจะเลิก เช่น ถ้าคคุณมีพฤติกรรมกรีดตัวเองอย่างควบคุมไม่ได้ และเมื่อคุณได้กรีดร่างกายตัวเองด้วยของมีคมนั่นแปลว่าคุณได้เกิดการกระทำขึ้นแล้ว หรือถ้าคุณมีการใช้เงินแบบควบคุมไม่ได้ การสมัครบัตรเครดิตหรือใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ เพื่อดูร้านค้าออนไลน์อาจเป็นการกระทำของคุณ

พฤติกรรมเสพติด         การใช้สารเสพติดหรือกิจกรรมเสพติด (การพนัน เพศสัมพันธ์ การใช้จ่าย เป็นต้น) ที่คุณกำลังหยุดใช้หรืออยากจะหยุดใช้

ความอยาก       ความคิดที่จะกระทำพฤติกรรมอะไรก็ตามที่คุณพยายามเลิกอยู่

การเผลอใช้      บางครั้งอาจจะเรียกว่าการอดไม่ได้ หมายถึง การกลับมามีพฤติกรรมเดิมในช่วงสั้น ๆ บางคนที่เลิกจากการพนันได้หลายปีแล้วก็อาจเกิดการเผลอใช้ หากเล่นเกมพนันออนไลน์ หรือใช้เวลา 1 ชั่วโมง หรืออาจจะช่วงสุดสัปดาห์เล่นพนันที่เวกัส

การกลับมาใช้ซ้ำ           การกลับมาทำพฤติกรรมเดิม ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเธอกลับไปมีพฤติกรรมเล่นการพนันเหมือนเดิมโดยการเล่นเกมพนันออนไลน์ซ้ำ ๆ หรือออกไปยังคาสิโนที่ใกล้ที่สุด นั่นคือการกลับมาใช้ซ้ำ

สิ่งเร้า   สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่น ภาพ เหตุการณ์ เสียง ช่วงเวลาใด ๆ เวลาหนึ่งของวัน ฯลฯ ที่เร้าแรงกระตุ้นที่ทำให้คนเกิดการกระทำ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสิ่งเร้านี้จะนำไปสู่การกระทำโดยอัตโนมัติ แต่หลายครั้งความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลและอารมณ์ที่มากเกินไปอาจจะถูกเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการฟื้นฟู สิ่งเร้า (หรือที่เรียกว่าสัญญาณ) นั้นมีความเชื่อมโยงกับการเกิดแรงกระตุ้น เช่น

แรงกระตุ้น     ความปรารถนาแรงกล้าและเย้ายวนให้ทำพฤติกรรมที่คุณต้องการจะเลิก

การใช้  คำที่ใช้พูดถึงการใช้สารเสพติดแต่ก็สามารถใช้กับพฤติกรรมเสพติดอื่น ๆ ได้ เราจะเกิดการใช้พฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้เพื่อหลีกหนีจากความทุกข์

เครื่องมือ แบบฝึกหัด และกลยุทธ์

ในคู่มือเล่มนี้ จะมีหัวข้อที่เขียนไว้ว่า เครื่องมือ แบบฝึกหัด หรือ กลยุทธ์ นี่เป็นความช่วยเหลือจากสมาร์ทที่อาจมีประโยชน์อย่างมากในการฟื้นฟูของคุณ

      ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2563  สำนักงาน ป.ป.ส. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด) ได้ทำการตรวจยึดยาเคจำนวน 11.5 ตัน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการจับกุมยาเคครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นับตั้งแต่ที่มีมา

       ยาเค หรือ เคตามีน จะมีทั้งแบบผง และแบบน้ำขาวใส อันที่จริงแล้วทางการแพทย์จะใช้เป็นยาในกลุ่มของยาสลบ เพื่อออกฤทธิ์ระงับอาการปวด,ระงับประสาท หรือใช้ก่อนจะผ่านไปใช้ยาสลบชนิดอื่น ก่อนทำการผ่าตัด ตัวยาจะออกฤทธิ์เร็วและมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้แพทย์จะใช้เคตามีนแจกจ่ายให้ในกลุ่มผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยา เช่นผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือโรคซึมเศร้าอีกด้วย แต่ในปัจจุบันมีผู้นำยานี้มาใช้ผิดประเภท หวังเพื่อให้ออกฤทธิ์หลอนประสาท,มึนเมา,ช่วยให้ผ่อนคลาย และรู้สึกเหมือนอยู่ในภวังค์  แต่หากมีการใช้ยาบ่อยๆ จะทำให้เกิดการเสพติดและเป็นโรคจิตได้ ยานี้หากร่างกายมีการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการ อาเจียน ชัก สมองและกล้ามเนื้อขาดออกซิเจน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

      ยาเคสามารถนำเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทาน สูดดม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ เมื่อยาหมดฤทธิ์จะมีผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ยาคือ  จะมีอาการประสาทหลอน  สับสน อยู่ไม่สุก จำอะไรไม่ค่อยได้ บางรายมีอาการคลุ้มคลั่งอาละวาดเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น  และที่สำคัญหากมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ยาจะไปทำลายระบบปัสสาวะ ส่งผลให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ และจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเมื่อต้องปัสสาวะ ในการรักษาอาจจะต้องถึงขั้นผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนกระเพาะปัสสาวะปลอมเลยทีเดียว

       เราจะเห็นได้ว่า เคตามีน มีทั้งคุณประโยชน์และโทษรุนแรงหากมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้ยาไม่ว่าชนิดใดก็ตามควรมีการ ปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้ว อาจจะมีผลในทางกฏหมายตามมาเช่นกัน

ตราบใดที่การใช้สารเสพติดและการเสพติดมีความสัมพันธ์กัน จึงชัดเจนว่าไม่มีปัจจัยอื่นใดที่จะต้องร่วมรับผิดชอบ

บุคคลใดที่ต่อสู้กับการเสพติดยา มักเจอกับปัจจัยหลายอย่างที่ยิ่งทำให้พวกเขาอ่อนไหวต่อการเสพติดยาง่ายขึ้น ทั้งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและชีวภาพที่ดูเหมือนจะมีบทบาทและที่พบเจอมากที่สุดคือ การได้สัมผัสกับยาเสพติดและประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด ดังที่กล่าวไปแล้วว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอาจส่งผลกระทบต่อความอ่อนแอทางใจให้ใช้สารเสพติดได้

สิ่งสำคัญในการป้องกันและการฟื้นฟูจากอาการเสพติดยา คือการเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียดที่มาพร้อมกับลักษณะบุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงโดยใช้กลไกการเผชิญปัญหาสุขภาพ ทางศูนย์ฟื้นฟู LHS มีวิธีการบำบัดหลากหลายวิธีที่มุ่งเน้นที่การจัดการตัวกระตุ้น และวิธีรับมือกับความเครียดที่อาจะเกิดขึ้นได้ตลอดการฟื้นฟู เพียงโทรหาเราวันนี้และมาพูดคุยถึงแนวทางการบำบัดที่ดีที่สุดที่เหมาะกับความต้องการของคุณ

ลักษณะบุคลิกภาพใดที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงด้านการเสพติดมากขึ้น?

ด้วยลักษณะบุคลิกภาพและพฤติกรรมเสพติดยา ทางมหาวิทยาลัยมอนทรีออลได้จัดทำโครงการต่อต้านยาเสพติดโดยใช้ชื่อ “Preventure” โดยโปรแกรมนี้ได้ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงของการใช้ยาในทางที่ผิดตามลักษณะบุคลิกภาพในวัยรุ่น

ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญสี่ประการต่อไปนี้ ถูกกำหนดว่าทำให้เด็กและวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการเสพติดยามากยิ่งขึ้น:

ลักษณะที่หุนหันพลันแล่น

ลักษณะที่วิตกกังวลง่าย

ลักษณะความคิดเชิงลบ

ลักษณะความคิดที่โลดโผน

ดังนั้นการศึกษาบุคลิกภาพอาจช่วยให้นักวิจัยเข้าใจและรักษาอาการติดสารเสพติดได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การศึกษาหลายงานต่างล้มเหลวที่พยายามเชื่อมโยงยีนกับความผิดปกติของการใช้สารเสพติด เพราะอันที่จริงแล้วภาวะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในครอบครัว หรือว่าอาจสื่อความหมายอ้อม ๆ เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างยีนและการติดยา ส่วนเรื่องลักษณะบุคลิกภาพก็อาจเป็นตัวเชื่อมระหว่างทั้งสองที่กล่าวมา

โดยปกติแล้ว คนที่ชอบเก็บตัวมักจะมีอารมณ์เชิงบวกน้อยลงซึ่งไม่ค่อนสนใจเรื่องการตอบแทนและมีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพติดในทางที่ผิด ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเครียดหรือซึมเศร้าและจัดการกับความเครียดในชีวิตได้ไม่ดี ก็อาจเสี่ยงต่อการใช้ยาในทางที่ผิด นอกจากนี้ยังรวมถึงบุคคลที่มีความยับยั้งชั่งใจและความสามารถในการหยุดการกระทำหรือพฤติกรรมตัวเองในระดับที่ต่ำ ต่างก็มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะใช้ยาในทางที่ผิด จนกลายเป็นอาการเสพติดยา

บุคคลที่มีความเสี่ยงที่อ่อนไหวง่ายต่อการติดยา

แม้ว่าลักษณะบุคลิกภาพหลายอย่างจะเกี่ยวข้องกับอาการเสพติดการใช้ยา แต่ยังมีอีกประเภทบุคลิกภาพต่อไปนี้ที่ดูเหมือนจะส่งผลมากกว่า

ประเภทบุคลิกภาพแบบหุนหันพลันแล่น

การที่คนเราแสดงบุคลิกหุนหันพลันแล่นเป็นครั้งคราวนั้น พฤติกรรมนี้อาจกลายเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกถึงบุคลิกภาพในเชิงเสพติด เมื่อความพึงพอใจในทันทีนั้นมีมากกว่าความปลอดภัยและข้อควรระวัง เป็นผลให้คนที่มีบุคลิกหุนหันพลันแล่นอาจมองข้ามผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้โดยสิ้นเชิง จึงเป็นการอธิบายได้ว่าเหตุใดบุคคลดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะเสพติดยา

เมื่อพูดถึงเรื่องการฟื้นฟู นับว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่มีบุคลิกหุนหันพลันแล่นที่จะได้ระบุถึงตัวกระตุ้นและฝึกในเรื่องการควบคุมตัวกระตุ้นนั้น

ประเภทบุคลิกภาพที่สวนกระแส

บุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมของสังคมมีแนวโน้มที่จะฝ่าฝืนกฎหรือเป้าหมายบางประการ ซึ่งโดยทั่วไปได้รับการยกย่องจากสังคม และมีแนวโน้มที่จะมีการดูถูกผู้มีอำนาจในระดับหนึ่ง บุคคลเหล่านี้มักไม่รู้ตัวและไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบด้านลบจากพฤติกรรมที่มีต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่น

เมื่อพูดในส่วนการฟื้นฟู ผู้ที่ชอบสวนกระแสจะตอบสนองค่อนข้างดีต่อวิธีการบำบัดและเข้าใจถึงความสำคัญของระบบการบำบัดแบบประคับประคอง

ประเภทบุคลิกภาพของผู้ที่แสวงหาการสัมผัส

บุคคลที่เป็นผู้มีบุคลิกแสวงหาการสัมผัส มักมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นและรู้สึกเบื่อง่าย บุคคลเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเป็นคนชอบเสี่ยงและเป็นพวกคลั่งไคล้อะดรีนาลีน รวมถึงชื่นชอบการทดลองซึ่งเป็นบุคลิกที่จะทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเสพติดยา

เมื่อพูดถึงการฟื้นฟูบำบัด คนที่แสวงหาการสัมผัสมักจะดูถูกเรื่องความพยายามและโครงสร้างที่จำเป็นเพื่อคงไว้ซึ่งการฟื้นฟูบำบัด

ประเภทบุคลิกภาพที่วิตกกังวลหรือเครียด

บุคคลที่จมอยู่กับความวิตกกังวลหรือความเครียดเกือบตลอดเวลา มักมองว่าการผ่อนคลายและความพึงพอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก บุคคลแบบ “A” ประเภทที่มีความเครียดจะจมอยู่กับความวิตกกังวล ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อการใช้สารเสพติดเพื่อการปลดปล่อยและความสบายใจ จนกลายเป็นอาการเสพติดยาในที่สุด

ในเรื่องของการฟื้นฟูบำบัด บุคคลที่มีความวิตกกังวลหรือความเครียดควรเรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายและวิธีการรับมือกับความรู้สึกเหล่านั้น

แม้ว่าบุคลิกภาพเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะหันไปพึ่งยาเสพติด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคลิกภาพเหล่านี้เป็นลักษณะ “เชิงลบ” แต่อย่างใด บุคคลที่มีบุคลิกแบบ “A” เป็นผู้ซึ่งแสวงหาความตื่นเต้น ผู้ที่ชอบสวนกระแสและผู้ที่กล้าเสี่ยง เหล่านี้สามารถและสร้างความสำเร็จได้อย่างมากในชีวิตหลาย ๆ ด้าน

การกำหนดตัวตนด้วยบุคลิกภาพประเภทใดก็ตามที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีชีวิตที่ต้องเสพติดยา สิ่งที่สำคัญคือ ต้องจดจำลักษณะบุคลิกภาพบางอย่างให้ได้เมื่อต้องรับมือกับอาการติดยาเสพติด

การคัดกรองบุคลิกภาพและการบำบัดที่ดีขึ้น

ลักษณะบุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่กำลังมีปัญหาเสพติดยา ได้มีการเชื่อมโยงกับระบบสมองหลาย ๆ ส่วน

โดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่มีอารมณ์เชิงบวกในระดับต่ำจะมีตัวรับโดปามีนน้อยลง ซึ่งเป็นสารเคมีที่รับผิดชอบต่อความรู้สึกยินดีและได้รับรางวัลตอบแทน ทั้งนี้บุคคลที่มีตัวรับโดปามีนน้อยจะมีความไวต่อผลกระทบของสารเคมีลดลง ซึ่งอธิบายได้ว่า ทำไมผู้ติดยาจึงมักไม่สนใจรางวัลอื่นใดนอกเหนือจากยาเสพติด

แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่หลายคนเกิดมาพร้อมกับตัวรับโดปามีนที่มีน้อย แต่การใช้ยาเสพติดก็ยิ่งไปลดจำนวนตัวรับลงได้เช่นกัน โดยอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่กล้าเปิดเผยตัวและยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการใช้ยาและเสพติดยาในที่สุด

การใช้ยามีผลต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยจะเปลี่ยนไปในทางที่จะทำให้เสี่ยงต่อการเสพติดยาหนักมากขึ้น

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจวงจรของระบบสมองที่เป็นตัวกำหนดลักษณะบุคลิกภาพ เพื่อช่วยให้แต่ละคนอดทนต่อการใช้ยาและการเสพติดได้ และนี่คือ สิ่งที่โครงการป้องกันและแทรกแซงยาเสพติดมีเป้าหมายที่จะทำ!

การคัดกรองบุคลิกภาพเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการระบุปัญหาทางสุขภาพจิตที่มาพร้อมกับพฤติกรรมการแสวงหายา รวมถึงภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ

https://www.tuugo.in.th/Companies/lighthouse-centre/0290003116029

https://www.communitywalk.com/map/index/2537423

https://www.callupcontact.com/b/businessprofile/Lighthouse_Centre/7414827

http://www.askmap.net/location/5488094/thailand/lighthouse-human-services-consulting-co.-ltd.

http://www.businesslistify.com/business/health-and-medical/lighthouse-centre

http://www.yellchoice.com/business/health-and-medical/lighthouse-centre

https://www.citybyapp.com/thailand/saphan-sung-bangkok/health-medical/lighthouse-centre

https://trueen.com/business/listing/lighthouse-centre/63472

http://www.40billion.com/company/266960030

http://www.listylocal.com/business/health-and-medical/lighthouse-centre

http://www.yellow-listing.com/business/health-and-medical/lighthouse-centre

http://welocalpeople.com/local-business/lighthouse-centre/

http://lekkoo.com/v/5e7c7cca1476caeb7200006b/Lighthouse-Centre/#lat=24.790672&lng=67.041417&zoom=17

http://www.listnow.co/business/health-and-medical/lighthouse-centre

https://www.zeemaps.com/map?group=3753248&location=Ramkhamhaeng%20Rd%2C%20Saphan%20Sung%2C%20Bangkok%2010240%2C%20THA&add=1

http://www.hot-web-ads.com/view/item-13772223-Lighthouse-Centre.html

https://about.me/lighthousecentre

https://foursquare.com/v/lighthouse-centre/5e9d48cd92eaa20008b47eb4

https://justpaste.it/LighthouseCentre78

https://mapquest.com/my-maps/de4cc90f-6b62-4124-9e7b-29855c17d1f9

https://www.expatriates.com/cls/44853260.html

http://tupalo.com/en/bangkok/lighthouse-centre

http://www.lacartes.com/business/Lighthouse-Centre/1593342

https://teleadreson.com/lighthouse-centre,118-ramkhamhaeng-rd,-saphan-sung-bangkok-10240-MKaKADCmigA.html

http://www.place123.net/place/lighthouse-centre–thailand

http://where2go.com/binn/b_search.w2g?function=detail&type=power&listing_no=1864169&_UserReference=7F00000146532FB8A4616DD9ADA85E9D52C8

http://pininthemap.com/pp81dd4a08e22e448d5

http://www.iformative.com/product/lighthouse-centre-p1705687.html

https://globalcatalog.com/lighthousecentre.th

https://fonolive.com/b/th/bangkok/business/22002/lighthouse-centre

https://www.dealerbaba.com/suppliers/others/lighthouse-centre.html

https://www.finditguide.com/thailand/saphan-sung/business/lighthouse-centre

https://www.b2bco.com/lhsthai

https://anchor.fm/lhsthaibangkok
https://open.spotify.com/show/6XvLpDVMPNrMIDVZETVGPb

หากคุณพยายามหาเหตุผลที่จะเลิกยาเสพติด นับว่าเป็นโอกาสอันดีมาก ๆ ที่คุณรู้ว่าชีวิตมันไม่ได้มีความสุข สนุกสนาน หรือประสบความสำเร็จเหมือนแต่ก่อน คุณอาจจะเคยได้ยินมาว่า คนเราสามารถใช้ยาเสพติดได้โดยที่ชีวิตไม่พัง อันที่จริงมันพอเป็นไปได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งและสำหรับบางคนเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากคน ๆ หนึ่งใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ติดต่อกันจนถึงจุดที่เรียกว่า การเสพติด แน่นอนว่าชีวิตคน ๆ นั้นมาถึงจุดตกต่ำเข้าแล้ว

หวังอย่างยิ่งว่า คุณได้เข้ามาอ่านบทความนี้ก่อนที่จะเกินเลยไปถึงจุดดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการให้กำลังใจทุกท่าน บทความนี้จึงบอก 8 เหตุผลที่จะใช้บอกเลิกยาเสพติด

1. เพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ไม่มียาเสพติดตัวไหนส่งผลดีต่อผู้เสพ เนื่องจากยาเสพติดล้วนมีสรรพคุณอันเป็นพิษ และแน่นอนว่าส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของยา อย่างเช่นเฮโรอีนหรือยาแก้ปวด มันจะไปยับยั้งการทำงานของปอดและก่อให้เกิดวัณโรค โรคปอดอักเสบหรือฝี หากเป็นกัญชาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง ลักษณะคล้ายกับการเกิดของโรคจิตเภท นี่ยังไม่ได้เอ่ยถึงความเสียหายต่อปอดซึ่งมีเกิดขึ้นด้วย ส่วนยาบ้านั้นส่งผลร้ายรุนแรงทั่วร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง การใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินจะส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง และร่างกายขาดสารอาหารอย่างรุนแรงซึ่งอาจไปกระทบต่อความสามารถในการต้านทานโรคได้

2. ลดความเสี่ยงการเสียชีวิต

ยาเสพติดหลายชนิดสามารถทำให้เสียชีวิตได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณใช้มัน และข้อเสียอื่น ๆ อาจมีผลกระทบในระยะยาว อย่างเช่นโคเคนที่ส่งผลรุนแรงต่อหัวใจและหลอดเลือดแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหรือหัวใจวายได้ ขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลถึงชีวิต หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่ายาเสพติดชนิดใดก็ตามล้วนส่งผลร้ายแรงหากใช้ยาเกินขนาด สารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ยาอี (ecstasy) อาจทำให้คุณร้อนจัดซึ่งอาจทำให้อวัยวะเสียหายได้ ดังนั้นหยุดใช้ยา เพราะคุณยังมีโอกาสใช้ชีวิตที่ดีและยืนยาวกว่านี้

3. มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีขึ้น

หนึ่งในสัญญาณทั่วไปของการถลำลึกไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด คือ การสูญเสียการงาน คนที่ใช้ยาเสพติดโดยทั่วไปมักโทษผู้อื่นต่อความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น แต่จริงแล้วเป็นเพราะศักยภาพการทำงานของคนนั้นแย่ลง ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน ทำโปรเจคงานไม่เสร็จตามกำหนดหรือทำงานผิดพลาดหลายครั้ง ลูกค้าหลายท่านอาจได้การบริการที่ไม่ดีและเพื่อนร่วมงานอาจรู้สึกว่าไม่มีตัวตน ผลสุดท้ายคือ ไม่มีงานให้ทำอีกต่อไปหรือตกงานนั่นเอง

4. รักษาความสัมพันธ์ของคุณ

หากคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครัวไม่ใช่คนที่ร่วมเสพยาไปด้วย นับเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดผลเสียที่รุนแรงต่อความสัมพันธ์ หรือถึงขึ้นยุติความสัมพันธ์ลงเมื่อพวกเขาทนไม่ไหวหากยังคงมีการใช้ยาเสพติดต่อไปอีก กลับกันถ้าคนรอบข้างต่างก็ใช้ยาเสพติดร่วมกับคุณ เด็ก ๆ จะถูกแยกออกมาจากสภาพแวดล้อมดังกล่าว และแน่นอนว่าทั้งชีวิตคุณอาจกำลังกอดคอกันตกต่ำไปพร้อม ๆ กัน

5. มีเงินเหลือมากขึ้น

สมมติคุณติดเฮโรอีนซึ่งต้องใช้เงินซื้อราว ๆ  4,500 – 6,000 บาทต่อวันเพื่อสนองพฤติกรรมเสพติด ส่วนการติดยาแก้ปวดจะยิ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเช่นเดียวกับโคเคน ด้านกัญชาอาจยังคงมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาทต่อปี ขณะที่แอลกอฮอล์อาจใช้เงิน 9,000 ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรสนิยมและทำเลที่อยู่ โดยเงินทั้งหมดนี้สามารถเป็นเงินเก็บของคุณเพื่อนำไปพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นได้ หากเมื่อก่อนคุณหาเงินที่ผิดต่อกฏหมาย กลับใจเสียตอนนี้ แล้วคุณจะปลอดภัยจากการถูกจับกุม

6. ค่อย ๆ ฟื้นฟูความสามารถการรับรู้ความรู้สึกที่แท้จริงหรืออารมณ์โดยแท้ได้อีกครั้ง

การรับรู้อารมณ์ เช่น ความสุขในช่วงเวลาพิเศษที่เกิดขึ้น ความเศร้าที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นต้น ยาเสพติดและแอลกอฮอล์จะไปกดการตอบสนองทางอารมณ์อย่างแท้จริงต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต โดยที่ยากดประสาทและยากล่อมประสาทจะไปกดทุกอย่างให้ไร้อารมณ์เหมือนกันหมด ส่วนฝิ่นและกัญชาอาจทำให้คนรู้สึกเบิกบานแม้ว่าชีวิตของคน ๆ นั้นจะล้มเหลวก็ตาม ทางด้านยาบ้าและสารกระตุ้นอื่น ๆ โดยทั้งหมดจะทำให้เกิดการแสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หลอน ดังนั้น การใช้ยาเสพติดในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดความเมินเฉยและภาวะซึมเศร้าได้โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังพยายามเลิกยา

7. คนจะชอบที่คุณอาการดีขึ้น

เพื่อน ๆ ต่างมีความสุขกับการทำงานร่วมกันในบริษัท

เหตุผลนี้เกือบจะใช่โดยทั้งหมด หลายคนกลายเป็นคนใจร้ายหรือก้าวร้าวขณะเมายาเสพติด และการสูบกัญชาอย่างหนัก อาจทำให้เกิดการเสียขวัญหรือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมซึ่งอาจทำให้คุณกลายเป็นภาระต่อเพื่อนร่วมงาน หากคุณเสพยาเกินขนาดต่อหน้าใครสักคนที่ต้องรีบพาคุณส่งเข้าโรงพยาบาล ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่วิธีที่ดีในการหาเพื่อนคบ สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น โคเคนและยาไอซ์มักทำให้คนก้าวร้าวและหวาดระแวง ซึ่งส่งผลแย่ต่อเพื่อร่วมงานหรือญาติพี่น้องคุณ

8. การใช้ยาเสพติดคือการทำให้ชีวิตถึงทางตัน

เหตุผลสำคัญที่สุดในการเลิกใช้ยาบางทีมันก็คือ การทำให้ชีวิตถึงทางตัน เพราะผลสุดท้ายของการเสพติดยาคือ ความตาย ติดคุก หรือ การเลิกยานั่นเอง จริงอยู่ที่การเผชิญกับโอกาสที่จะเลิกยานั้นเป็นเรื่องยาก แต่การเลี่ยงตัวเลือกนี้จะยิ่งทำให้ชีวิตแย่ลงไปกว่าเดิม หลาย ๆ คนเลือกที่จะมองหาโปรแกรมการฟื้นฟูที่มีสถิติผลลัพธ์ที่ดีและสอดคล้องกับแนวความคิดของคนนั้นเอง ในการฟื้นฟู มีหลายโปรแกรมที่จัดยารักษาให้กับผู้เข้ารับการบำบัดทั้งในระหว่างการถอนหรือตลอดโปรแกรม และหลังจากกลับบ้าน บางคนพอใจกับการกินยาแต่บางคนอยากหายขาดจากยาทุกชนิด สำหรับที่นาร์โคนอน เรามีโปรแกรมพิเศษที่มุ่งเน้นการล้างพิษทั้งหมดและการสร้างทักษะการใช้ชีวิตที่ปราศจากยาเสพติด ที่นี่ คุณสามารถใช้เวลาได้เต็มที่ในการพัฒนาทักษะตนเอง เพราะที่นาร์โคนอนศูนย์บำบัดผู้ติดยาแห่งนี้ ไม่มีการจำกัดเรื่องเวลา

ยังมีเหตุผลอีกมากมาย แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเลิกยาเสพติด ชีวิตเราดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด เพราะมีคนจำนวนนับไม่ถ้วนที่สามารถเลิกยาเสพติด และเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้โดยปราศจากยาเสพติด หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเลิกยาเสพติด ขอให้ติดต่อมา แล้วเราจะช่วยคุณ

ภาวะการติดยาเสพติดเป็น โรคสมองชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายถาวรต่อสมอง เช่นเดียวกับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งจิตใจและร่างกาย หลายคนที่กำลังเผชิญกับความผิดปกติของสารเสพติด มักเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม การรับรู้ การพิจารณาและ การตัดสินใจของตนเอง เหตุผลต่าง ๆ ที่คนเหล่านั้นกล่าวอ้างเพื่อเริ่มเสพยา โดยมีดังนี้:

อิทธิพลจากคนรอบข้าง

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสพติดอาจเห็นว่า ยาเสพติดเป็นพฤติกรรมที่ปกติเพราะ ทุกคนรอบตัวล้วนใช้สารเสพติดและ ไม่มีใครพูดถึงอันตรายใด ๆ อย่างไรก็ตามบางคนอาจใช้สารเสพติดเนื่องจาก แรงกดดันจากคนรอบข้างได้เช่นกัน โดยเกิดจากที่บางคนหรือกลุ่มคนพยายามอยู่ตลอดเพื่อ ทำให้ใครบางคนทำอะไรบางอย่างที่มักจะเป็นด้านลบ

พัฒนาความสามารถ

บางคนอาจเริ่มใช้ยาเสพติดครั้งแรกให้เป็น แนวทางในการพัฒนาความสามารถตนเอง ทั้งในด้านกีฬาหรือการศึกษา นักกีฬาที่ทะเยอทะยานอาจเริ่มใช้สารเสพติดเพื่อช่วยให้ พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น ในระหว่างการแข่งขัน โชคร้ายที่สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลอันตรายที่ตามมา

บรรเทาความเครียด

ผู้ติดยาเสพติดอาจเริ่มใช้ยาเพื่อ บรรเทาความเครียดจากอาการเก็บกดเพราะ พวกเขารู้ว่ายาเสพติดให้ความรู้สึกที่มึนเมา โดยยาเสพติดเหล่านี้ทำให้เกิดความรู้สึกรื่นรมย์ใจอย่างแรงกล้า แต่มันยิ่งทำให้สมองปราถนาความรู้สึกเมายาอยู่ตลอด

เพื่อให้รู้สึกดีขึ้น

คนที่กลายเป็นผู้ติดยาเสพติด อาจเริ่มจากการกินยาเพื่อพยายามรักษาตัวเอง พวกเขาอาจกำลังต่อสู้กับความเจ็บป่วยทางจิตพื้นฐานที่แตกต่างกันและ กำลังพยายามที่จะรักษาอาการเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การทำลักษณะนี้อาจยิ่งทำให้เป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข

ผลกระทบถาวรต่อสมองจากการติดยาเสพติด

การใช้ยาและแอลกอฮอล์ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาจส่งผลกระทบต่อสมองอย่างถาวร สมองเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่สามารถต้านทานความอยากสัมผัสอาการเมายาที่คุณเสพเข้าไป

ไม่มีสิ่งใดเทียบหรือให้ความสุขแบบเดียวกับที่ คุณเคยได้ขณะเสพยาเสพติด เนื่องจากเส้นทางการให้รางวัลของคุณถูกส่งไปยังสมอง ทั้งแบบเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หากแม้แต่สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังมีความหวังในการรักษาอยู่เสมอ 

LHSThai Addiction Recovery Center ทำงานร่วมกับผู้ป่วยเพื่อช่วยจัดการอาการต่าง ๆ ของพวกเขาและ กลับสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ที่สุด ที่พวกเขาสามารถทำได้

ยาเสพติดและแอลกอฮอล์เป็นอันตรายและออกฤทธิ์ได้หลายวิธี สมองจะพยายามปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามความรู้สึกที่ได้จากยาเสพติด นอกจากเส้นทางการให้รางวัลที่เชื่อมสมอง ผู้ป่วยติดยาเสพติดอาจประสบกับการสูญเสียการได้สัมผัสกับ ความสุขอย่างสมบูรณ์ เหนือสิ่งอื่นใดการเสพยาเสพติดสามารถนำไปสู่ การเจ็บป่วยที่รุนแรงทางจิต

ผลกระทบทางสังคมจากการใช้ยาในทางที่ผิด

การติดสารเสพติดสามารถส่งผลกระทบต่อทุกคนและไม่มีใครมีภูมิคุ้มกัน ที่น่ากลัวคือเมื่อพฤติกรรมเสพติดมีการต่อต้าน แน่นอนว่าอาจเกิดผลกระทบทางสังคมขึ้นได้ ทุกแง่มุมชีวิตของผู้ติดยาเสพติดล้วนจะได้รับผลกระทบจากการติดยาเสพติด

ผู้ติดยาเสพติดอาจต้องการสูญเสียเพื่อนของตนเอง บ่อยครั้งที่การติดยาเสพติดนั้น ทำให้ความสัมพันธ์ตึงเครียด รวมถึงเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว โดยอารมณ์ความรู้สึกต่อความสัมพันธ์เหล่านี้อาจรุนแรงมาก ซึ่งอาจทำให้บางคนตัดความสัมพันธ์กับผู้เสพยาเสพติด เนื่องจากพฤติกรรมที่รุนแรงของพวกเขา

ผู้เสพติดยาอาจถูกไล่ออกจากทีมหรือสโมสรใด ๆ ที่พวกเขาเป็นสมาชิก บางคนอาจใช้ยาเสพติดเพื่อเพิ่มความสามารถทางการศึกษาหรือด้านกีฬา รวมถึงการใช้ยาในเฉพาะเหตุการณ์พิเศษ โดยที่ยาเสพติดอาจส่งผลต่อ การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ความรู้สึกและการให้ความร่วมมือ ความอันตรายของมันนั้นรุนแรงมากที่ อาจทำให้แปรสุ่มเหล่านี้เกิดการสับสนระหว่างการเล่นกีฬา ถ้ามีใครล่วงรู้ความลับ คุณอาจถูกไล่ออกจากทีมและ อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ผู้เสพติดยาอาจต้องตกงาน บางคนที่เผชิญกับพฤติกรรมเสพติดยาอาจตกงานด้วยเหตุผลหลายประการ ผู้เสพติดยาต้องเจอกับความอยากยาขั้นรุนแรง โดยอาจทำให้ผู้ติดยาต้องเสพยาแทนที่จะไปทำงาน การขาดงานบ่อย ๆ อาจทำให้โดนไล่ออก ผู้เสพยาอาจปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่ขณะอยู่ภายใต้อิทธิของยาเสพติด ทั้งนี้ผู้เสพติดอาจรู้สึกอยากนำอุปกรณ์เสพยาเสพติดมาที่ทำงานหรือ มีอาการเมายาขณะอยู่ที่ทำงาน ซึ่งอาจทำให้ถูกไล่ออกจากงานได้

วัยรุ่นกับยาเสพติดหรือการดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด

วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเห็นประโยชน์ทางสังคมที่รับรู้ได้ในเชิงบวกที่ อาจเป็นผลจากการใช้ยาและแอลกอฮอล์ เมื่อเทียบกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น โดยวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะต้องการมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง

ยาเสพติดและแอลกอฮอล์สามารถทำให้สมองมีการต่อเส้นระบบของมันเอง โดยนับว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สมองวัยรุ่นในช่วงการพัฒนานั้นสำคัญมาก ซึ่งอาจได้ผลกระทบต่อความจำระยะสั้นหรือระยะยาวได้เช่นกัน ผลกระทบต่อสมองในระหว่างการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น อาจมีดังต่อไปนี้

จุดประสานประสาท (ซิแนปส์) เสียหาย

ปัญหาหน่วยความจำ

นิสัยที่ไม่ดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

ศักยภาพการเรียนรู้ที่จำกัด

หากคุณหรือคนที่คุณรักกำลังทุกข์ทรมานจากการเสพติด แนวทางที่ดีที่สุดของการปฏิบัติคือ การขอความช่วยเหลือทันที การเสพติดสามารถทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อจิตใจและร่างกาย แม้กระทั่งทำให้ผู้เสพติดได้รับผลถาวร โรคที่อาจถึงตายได้นี้สามารถส่งผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิตผู้ติดยาเสพติด

ผู้ติดยาล้วนสมควรได้รับความช่วยเหลือเพื่อบำบัดโรค

ที่ศูนย์ LHS เราเชื่อว่าเส้นทางเพื่อการฟื้นฟูสำหรับผู้ติดยาเสพติดนั้น ไม่เหมือนใคร นี่คือเหตุผลที่ศูนย์แห่งนี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้พวกเขาได้รับความสนใจเฉพาะบุคคลและ สร้างแผนบำบัดรายบุคคลที่จะได้ผลดีที่สุดสำหรับแต่ละคน ที่นี่มีตัวเลือกการบำบัดที่หลากหลายเพื่อ ให้โอกาสผู้ติดยาเสพติดในการรักษาอาการทั้งหมดและ เพื่อสร้างชีวิตที่มีดีขึ้นให้กับผู้ติดยาเสพติด

อาการของคนเสพยา จะมีลักษณะที่ไม่สามารถหยุดเสพสารได้แม้จะมีผลกระทบไม่ดีตามมาในภายหลังก็ตาม อาการเสพติด หมายถึงการใช้สารเสพติดอื่น ๆ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดชีวิตส่วนตัวแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดเจน  และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คนที่เป็นผู้ติดยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์มักจะบอกว่า พวกเขาเสพสารเสพติดเพราะรู้สึกว่า “ควบคุมตัวเองไม่ได้” พวกเขาอาจต้องการหยุดเสพแต่ไม่สามารถหยุดได้ บ่อยครั้งที่คนกำลังปฏิเสธเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นของการใช้สารเสพติด และต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อน และคนในครอบครัวให้รับรู้ถึงปัญหา

อาการเสพติดมักจะมาพร้อมกับการขาดความอดทน และการพึ่งพาทางด้านร่างกาย ความอดทนเกิดขึ้นเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับการใช้สารเสพติด และใช้ในปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้รับผลตามที่ต้องการ สิ่งนี้มักก่อให้เกิดการพึ่งพา ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติกับสารเสพติด และจะมีอาการถอนเมื่อสารเสพติดถูกล้างออกออกจากร่างกาย

คนที่คุณรักอาจสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้ คนนั้นอาจต้องการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยามากเกินขนาดเพื่อให้เกิดความมึนเมา นอกจากนั้นบุคคลนั้นอาจแสดงสัญญาณของการถอน – เช่น ตัวสั่น และเหงื่อออก – เมื่อไม่ได้เสพสารเสพติด

ตามที่ได้เห็นกันใน ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ ว่าพฤติกรรมปกติของวัยรุ่นสามารถแยกแยะอาการของการเสพยาเสพติดได้ยาก อารมณ์เสียบ่อยครั้ง ปฏิเสธการเชื่อฟัง และการเปลี่ยนแปลงความสนใจที่มักพบบ่อยในวัยรุ่น และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญาณของปัญหา ผู้ปกครอง และเพื่อนฝูงควรสังเกตสัญญาณหลาย ๆ อย่างของการเสพติดที่นอกเหนือไปจากพฤติกรรมของวัยรุ่นทั่ว ๆ ไปในกลุ่มอายุนี้

อาการเสพติดเป็นการแพร่กระจาย มีอิทธิพลในทุกด้านของชีวิต โดยทั่วไปแล้วจะมีสัญญาณว่าครอบครัว และเพื่อนฝูงสามารถเฝ้าดูอาการที่บ่งบอกให้เห็นถึงอาการเสพติด สภาแห่งชาติด้านการพึ่งพาแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ได้ระบุสัญญาณของการติดสารเสพติดทางกายภาพ พฤติกรรม และสังคม ขั้นตอนดังต่อไปนี้จะช่วยทำให้คุณรับรู้ได้ว่าคนที่คุณรักกำลังทนทุกข์ทรมานจากอาการเสพติดหรือไม่

คุณจะทราบได้อย่างไรว่าบุคคลนั้นกำลังติดยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์?

ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อช่วยในการค้นหา

ขั้นตอนที่ 1: ดูที่สัญญาณของทางร่างกาย

อาการติดยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ ผลกระทบบางอย่างเหล่านี้สามารถสังเกตได้จากการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น การทนทุกข์ทรมานของแต่ละคนจากอาการเสพติดอาจแสดงสัญญาณทางกายภาพดังต่อไปนี้:

ขั้นตอนที่ 2: สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

อาการเสพติดส่งผลกระทบต่อทุกด้านของการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น บุคคลนั้นจะค้นหา และใช้ยา หรือแอลกอฮอล์แม้ว่าการใช้สารเสพติดจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ความสัมพันธ์ และการทำงานในแต่ละวันก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการเสพติดมักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรกของปัญหาที่คนรักของคุณสามารถสังเกตเห็นได้ การโดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมดังต่อไปนี้เกิดขึ้น:

ขั้นตอนที่ 3: ค้นหาอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยาเสพติด

ผู้ปกครองของเด็กที่กำลังทนทุกข์ทรมานจากอาการเสพติดอาจต้องการค้นสิ่งของส่วนตัวของบุตรหลายของพวกเขาเพื่อดูว่ามีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยาเสพติดหรือไม่ ทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตามการมีความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก ๆ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล และการค้นหายาเสพติด หรือแอลกอฮอล์อาจช่วยยืนยันได้ในบางครั้ง นักจิตวิทยาในปัจจุบันแนะนำให้ใช้ขั้นตอนเหล่านี้หากคุณมีเหตุผลเพียงพอที่เชื่อว่าบุตรหลานของคุณกำลังใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมาย

หากบุคคลที่คุณสงสัยอยุ่ในวัยผู้ใหญ่แล้วล่ะก็มันอาจจะค่อยข้างยากในการค้นหาอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยาเสพติด ในขณะที่คุณไม่ต้องการละเมิดพื้นที่ส่วนบุคคล คุณสามารถมองหาของอุปกรณ์ดังกล่าวได้ในพื้นที่ซึ่งใช้ร่วมกัน หากไม่แน่ใจว่าจะค้นหาพื้นที่ส่วนตัวได้หรือไม่ โปรดปรึกษากับนักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเสพติดก่อน

การทำงาน หรือการเรียนโดยทั่วไปจะแย่ลงเมื่อบุคคลคนนั้นติดสารเสพติด นักเรียนที่เคยเรียนเก่งในโรงเรียนอาจสอบได้คะแนนลดลง และจะใส่ใจกับการบ้านลดน้อยลง การทำงานอาจะมีปัญหา และบุคคลนั้นอาจมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานบ่อยครั้ง

การติดสารเสพติดมักเกิดขึ้นพร้อมกับความผิดปกติของสุขภาพจิตอื่น ๆ อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล หากคนที่คุณรักมีอารมณ์ไม่ปกติ หรือมีความกังวล พวกเขาอาจพยายามใช้วิธีการรักษาด้วยตนเองโดยใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากภาวะสุขภาพจิตมีแตกต่างกันมากมายจึงทำให้แต่ละคนอยู่ในความเสี่ยงของการเสพติดเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรเฝ้าติดตามสัญญาณของการใช้สารเสพติดของคนที่คุณรัก

แม้ว่านักเคลื่อนไหวด้านกฎหมาย และผู้สูบกัญชาหลายคนเชื่อว่าการสูบกัญชาจะไม่มีผลเสีย แต่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสูบกัญชาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป

กัญชาจะเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แทบจะทันทีเมื่อเริ่มสูบ และสามารถอยู่ในร่างกายได้นานตั้งแต่ 1 ถึง 3 ชั่วโมง เมื่อนำกัญชามาผสมในอาหารเพื่อรับประทาน เช่น บราวนี่ และคุกกี้ จะใช้เวลายาวนานกว่าสูบเมื่อเริ่มรับประทาน และมักจะอยู่ในร่างกายได้ยาวนานกว่า

ผลเสียในระยะสั้น

ผลเสียในระยะสั้นของกัญชา ประกอบไปด้วย:

บางครั้งการสูบกัญชาอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล กลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกได้

ผลกระทบต่อสมอง

สารออกฤทธิ์ในกัญชา เดลต้า -9 เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือ THC ทำหน้าที่เป็นตัวรับแคนนาบินอยด์บนเซลล์ประสาท และมีอิทธิพลต่อการทำงานของเซลล์เหล่านั้น พื้นที่สมองบางส่วนมีตัวรับแคนนาบินอยด์จำนวนมาก แต่ส่วนอื่น ๆ ของสมองนั้นมีตัวรับน้อย หรือไม่มีตัวรับเลย ตัวรับแคนนาบินอยด์จำนวนมากพบได้ในส่วนของสมองที่มีผลต่อความสุข ความจำ ความคิด สมาธิ การรับรู้ทางประสาทสัมผัส เวลาของการรับรู้ และการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกัน

ผู้ใช้สามารถพบอาการต่อไปนี้เมื่อมีการใช้กัญชาในปริมาณสูงซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นกรณีของการผสมในอาหารเพื่อรับประทานแทนที่จะเป็นสูบ:

ผลกระทบต่อหัวใจ

หัวใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตลดลงภายในไม่กี่นาทีหลังจากการสูบกัญชา กัญชาสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น 20 ถึง 100% และความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย

จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 ระบุว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้สูบกัญชามีช่วงตั้งแต่ 4 ถึง 5 เท่าในชั่วโมงแรกหลังจากสูบกัญชา เมื่อเทียบกับความเสี่ยงทั่วไปของภาวะหัวใจล้มเหลวเมื่อไม่สูบกัญชา

ผลกระทบต่อกระดูกของคุณ

งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 พบว่าคนที่สูบกัญชาจำนวนมาก และเป็นประจำมีความหนาแน่นของกระดูกลดลงซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกแตกหัก

การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระใช้รังสีเอกซ์สแกน DEXA และพบว่าผู้สูบกัญชาจำนวนมากมีน้ำหนักตัวลดลง และดัชนีมวลกายลดลง (BMI) ซึ่งอาจทำให้สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก ผู้สูบกัญชาจำนวนมากถูกเปรียบเสมือนว่าเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 5,000 ครั้งในช่วงชีวิตของพวกเขา

อย่างไรก็ตามการศึกษาอื่น ๆ ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 จากการสำรวจ และข้อมูลด้านสุขภาพของวัยผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 5,000 ราย และไม่พบข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่างความหนาแน่นของกระดูกลดลง กับการใช้กัญชา

ผลกระทบต่อปอด

การสูบกัญชา ถึงแม้ว่าจะสูบไม่บ่อยก็ตามอาจทำให้เกิดการเผาไหม้ แสบปาก และลำคอ รวมทั้งทำให้เกิดอาการไอรุนแรง จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2562 นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่สูบกัญชาเป็นประจำอาจประสบปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่:

ผู้สูบกัญชาส่วนใหญ่จะได้รับสารของกัญชาน้อยกว่าผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับสารนิโคติน อย่างไรก็ตามไม่ควรมองข้ามผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการกัญชา กัญชาประกอบไปด้วยสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งซึ่งใกล้เคียงกับควันบุหรี่ และเนื่องจากผู้สูบกัญชาโดยทั่วไปมักสูดดมเข้าไปลึก ๆ และเก็บควันไว้ในปอดของพวกเขาไว้ให้นานกว่าผู้สูบบุหรี่

แล้วก่อให้เกิดโรคมะเร็งหรือไม่?

จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้สูบกัญชามีโอกาสเป็นมะเร็งที่ศีรษะ และลำคอได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบกัญชาถึงสามเท่า แต่จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมไม่สามารถยืนยันการศึกษาดังกล่าวได้

เนื่องจากควันของกัญชาประกอบไปด้วยน้ำมันดินในปริมาณที่พบในควันบุหรี่มากกว่าถึงสามเท่า

และมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งจำนวนหนึ่งจึงดูเหมือนมีเหตุผลที่จะเปรียบได้ว่าผู้สูบกัญชามีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงดังกล่าวได้แน่นอนเนื่องจากการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถปรับใช้กับการสูบบุหรี่

และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงได้

การศึกษาการเชื่อมโยงการสูบกัญชากับโรคมะเร็งปอดยังถูกจำกัด ดวยอคติการเลือก และขนาดของตัวอย่างทดสอบจำนวนน้อย ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมในการศึกษาเหล่านั้นอาจยังเด็กเกินไปที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งปอดได้ 7 แม้ว่านักวิจัยยังไม่ได้ “พิสูจน์” การเชื่อมโยงระหว่างการสูบกัญชา กับมะเร็งปอดได้ ผู้สูบทั่วไปก็ยังคงต้องการพิจารณาถึงความเสี่ยงด้วย

ผลของการได้รับสารระหว่างตั้งครรภ์

มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กที่เกิดจากมารดาที่สูบกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางระบบประสาท

จากบทวิจารณ์ของการศึกษาดังกล่าวในปี พ.ศ. 2561 พบว่าการได้รับสารของกัญชาก่อนคลอดอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิด:

การบำบัดรักษายาเสพติดของคุณไม่มีคำว่าถูก หรือผิด

ยาเสพติดมีพลังอำนาจ และทำให้เกิดอาการเสพติดได้ ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลืออาจหยุดสูบ หรือรับประทานกัญชาได้ในที่สุด เมื่อพวกเขาสามารถบำบัดฟื้นฟูได้แล้วมุมมองใหม่ ๆ ของชีวิตก็เปิดกว้างขึ้น ดังนั้นถึงเวลาเลิกใช้กัญชาแล้ว

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและด้านสภาพจิตใจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์

เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพักฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรุงเทพ ศุนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบอเมริกัน ให้การรักษาติดยาเสพติดที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่เหมาะสมและเป็นการบำบัดแบบเฉพาะในประเทศไทยเพื่อให้การรักษาเป็นรายบุคคลกับผู้บำบัดรักษาทุกราย เราเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยทีมงานชาวอเมริกันและคนไทยที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมการรักษาการติดยาเสพติดและความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจากสหรัฐอเมริกา

บริการของเรา

ให้การรักษาอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์โดยมีวิธีการรักษาแบบเหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการติดยาเสพติดที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมที่สุด และบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนจบปริญญาโทหรือสูงกว่าโดยมีประสบการณ์หลายปีในการทำงานด้านสุขภาพจิตและการรักษาติดยาเสพติด ได้รับการฝึกอบรมในการรักษาการติดยาเสพติดและรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติด้านสุขภาพจิต

ติดต่อเรา

Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.

Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand

Email: [email protected]