กระท่อม
ในสมัยก่อนมีการนำกระท่อมหรือใบกระท่อมมาใช้ทำยาสมุนไพร แก้อาการไอ แก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ เช่น ท้องเสีย บิดปวดท้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อลดความดันโลหิต แต่ก็นิยมนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสามารถทำงานได้หนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ10-15เมตรใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว ใบกระท่อมมีสารสำคัญ เรียกว่า ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับกลุ่มยาบ้า ตามภูมิปัญญาชาวบ้านจะนิยมนำใบของต้นกระท่อม เด็ดก้านออกและเคี้ยวใบสด หรือนำใบลงไปต้มชงกับน้ำร้อน จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ช่วยให้ผู้ที่เสพเข้าไปรู้สึกดี มึนเมา สามารถทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และทนต่อสภาวะอากาศร้อนได้ดียิ่งขึ้น แต่ว่าโทษจากการเสพใบกระท่อมทำให้มีสภาพผิวหนังที่แห้งดำ มีอาการมึนงง ปากแห้ง ท้องผูก นอนไม่หลับ และหนาวสั่น ส่วนทางด้านสภาพจิตใจ จะมีอาการสับสน และมีอาการประสาทหลอน นอกจากนี้ในทางการแพทย์จะนำกระท่อมมาใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสารเสพติดชนิดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น
การเสพใบกระท่อมจะทำให้ผู้เสพมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนอาจมีอาการขาดยาทางร่างกายเกิดขึ้น หากมีการหยุดใช้หรือลดปริมาณการใช้ลง ดังนั้นถ้าหากคุณกำลังประสบปัญหาระหว่างการพยายามเลิกใช้ แนะนำให้ติดต่อพบจิตแพทย์ หรือติดต่อกับทางศูนย์บำบัดเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น
การรับมือกับผู้ต้องการเลิกใช้ยาเสพติด ในแบบฉบับครอบครัว
ยังคงเป็นปัญหาที่มีมานานต่อเนื่องในเรื่องของยาเสพติด ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหนก็ตาม ก็ยังไม่สามารถกวาดล้างให้หมดไปได้ เราจึงยังต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้ที่มีการใช้ยาเสพติด แต่ในที่นี้จะพูดถึงบทบาทของ ครอบครัว ญาติสนิท ที่ควรปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการติดยา และมีความต้องการที่จะเลิกหรือหยุดใช้
สำหรับครอบครัวหรือญาติสนิท ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บางครั้งผู้ที่ใช้ยาเสพติดจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวหยาบคาย จะมีผลมาจากการที่สารเสพติด ที่มีการใช้อย่างต่อเนื่อง ไปเปลี่ยนแปลงการทำงานในสมองของเขา ทำให้มีพฤติกรรมหรือการแสดงออก ออกมาเช่นนั้น ซึ่งหากผู้ใช้ยาต้องการหรือตัดสินใจแล้วว่าจะเลิก กำลังใจจากทางญาติพี่น้องจะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยผลักดันให้เขาได้ทำมันได้สำเร็จ ดังนั้นการเข้าใจในตัวของเขา และสาเหตุที่เป็น จะช่วยให้ญาติมีความอดทนมากขึ้นในการรับมือและพร้อมที่จะให้กำลังใจต่อในการเลิกยาของเขา
สิ่งที่ญาติหรือครอบครัวควรจะทำก็คือ คอยให้กำลังใจเขาอยู่เรื่อยๆ คอยย้ำเตือนถึงผลเสียของยาเสพติดที่มีต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพร่างกาย การงานหรือการเงิน เขาจะได้รู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญญาติต้องระวังคำพูด หรือน้ำเสียงในการพูดคุยกับเขา ไม่ควรมีการด่าทอ พูดจาจับผิด หรือเอาเรื่องที่ไม่ดีในอดีตมาพูดอีก เนื่องจากผู้ที่ต้องการเลิกยา หลังจากที่พยายามหยุดการใช้ จะมีอารมณ์อ่อนไหวได้ง่าย นอกจากนี้ญาติจะต้องดูแลเรื่องการรับประทานยาจากแพทย์ให้เขาเช่นกัน ให้มีการทานอย่างต่อเนื่อง และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากกำลังใจจากญาติแล้ว ผู้ที่ต้องการที่จะเลิก ก็ควรจะให้กำลังใจตนเองเช่นกัน ต้องมีเป้าหมาย และอดทนต่อความอยากกลับไปใช้ยาอีกครั้ง เริ่มจากการหลีกเลี่ยงการกลับไปอยู่ในสังคมที่มีการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนเดิมๆ หรือสถานที่ที่เคยเสพยา ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่าการเสพยาเป็นแค่ความสุขแค่ชั่วคราว ที่ส่งผลเสียอย่างมากต่อร่างกายและการใช้ชีวิตในภายหลัง และนอกจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจากแทพย์แล้ว ควรหากิจกรรมที่ชอบอย่างอื่นทำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย วาดภาพ หรือฟังเพลง กิจกรรมที่ชอบต่างๆจะช่วยเบี่ยงเบนความรู้สึกอยากกลับไปใช้ยาอีกครั้งได้
ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ที่ต้องการจะเลิกยาและทางครอบครัวด้วยเช่นกัน หากมีการร่วมมือกัน ใช้ความเข้าใจ และคอยเป็นกำลังใจให้กันและกัน เชื่อว่าอีกไม่นานทุกท่านจะสามารถเลิกใช้ยาและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
คุณรู้มั้ยโคเคน (Cocaine) คือ อะไร ?
โคเคน (Cocaine)เป็นยาเสพติดให้โทษในกลุ่มเดียวกับ ฝิ่น ,มอร์ฟีน หรือโคเดอีน โดยโคเคนเป็นสารที่สกัดมาจากใบของต้นโคคา ซึ่งพบมากในแถบอเมริกาใต้ ทางด้านการแพทย์ใช้โคเคนเพื่อเป็นยาชาเฉพาะที่ แต่เมื่อนำมาใช้เป็นสารเสพติดเข้าสู่ร่างกาย จะออกฤทธิ์กระตุ้น ประสาทเหมือนกับยาบ้า (Amphetamines) ก็คือจะทำให้รู้สึกเคลิ้มเคลิ้ม มีความสุข สมองมึนเมา นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการช็อค กล้ามเนื้อหัวใจตาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้ทันที
โคเคนที่พบในประเทศไทย จะมี2 ลักษณะคือ ชนิดผง ที่เป็นแบบผงละเอียด สีขาว มีรสขม และชนิดผลึกเป็นก้อน เรียกกันว่า แคร็ก ความแตกต่างของ 2 ชนิดนี้ คือ แคร็ก จะออกฤทธิ์เร็วกว่าแบบผง และให้ความสนุกสนานเคลิบเคลิ้มมากกว่า ทำให้ราคาแพงมากกว่ากันด้วย มีการกล่าวว่า ช่วงแรกๆทางบริษัทที่ผลิต Coke หรือ Coca-Cola ได้นำใบโคคามาสกัดเป็นเครื่องดื่ม ร่วมกับคาเฟอีน จนกระทั่งมีการต่อต้านจากผู้คนเรื่องการใช้ยาเสพติด ทางบริษัท Coke จึงได้ทำการคิดส่วนผสมใหม่ที่ยังใช้ใบโคคาแต่ไม่มีโคเคนแล้วได้สำเร็จ และนั่นก็ได้ผ่านมาเป็นเวลามากกว่า 116 ปีแล้ว
สำหรับบทลงโทษในประเทศไทยเรื่องการผลิต นำเข้าหรือส่งออกโคเคน จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2 ล้านบาท ถึง 5ล้านบาท ด้านผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000บาท ถึง 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากพูดถึงเรื่อง อันตรายของโคเคน นอกจากจะส่งผลทางร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพทางจิตใจด้วยเช่นกัน บางคนกลายเป็นโรคซึมเศร้า หวาดระแวง เห็นภาพหลอน มีอาการหูแว่ว ก่อให้เกิดการมีพฤติกรรมที่แปลกๆ ก้าวร้าว และเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้คนรอบข้างได้ ทางที่ดี เราไม่ควรที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโคเคน หรือสารเสพติดไม่ว่าชนิดใดก็ตาม เนื่องจากจะมีผลเสียมากกว่าผลดีตามมาอย่างแน่นอน
เมื่อประมาณต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจ และมีการพูดถึงอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียล เรื่องวัยรุ่นหลายคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้มีการเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันมากกว่า10คน มีการสืบทราบมาว่า น่าจะมาจากสาเหตุเดียวกันด้วย นั่นก็คือการได้รับยาเสพติดที่เกินขนาด และเป็นยาเสพติดชนิดใหม่ มีชื่อเรียกว่า เคนมผง
มีการคาดว่า ยาเคนมผง มีส่วนประกอบของ สารเสพติดหลายชนิดผสมกัน เช่น ยานอนหลับ ยาไอซ์ เฮโรอีน และยาเค เป็นสารสีขาวคล้ายนมผง จึงเรียกว่าเคนมผง ออกฤทธิ์รวดเร็วและอันตรายมาก โดยปกติทั่วไปหากมีการใช้ยาเสพติด ร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่นเพียงแค่หนึ่งชนิดหรือใช้รวมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้แล้ว แต่ในกรณีนี้เป็นการผสมกันของสารหลายชนิด ผู้ที่เสพต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว หลังจากที่ได้รับยา
การได้รับยาหรือใช้ยาเสพติดที่เกินขนาด สามารถส่งผลต่อร่างกายตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย ไปจนถึงเสียชีวิต เช่น
-คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
-ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวร้อน และผิวแห้ง
-ชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจและความดันผิดปกติ
-และมีปัญหาในเรื่องของการหายใจ
ดังนั้นเราจึงควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการให้ยาหรือสารอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย โดยการอ่านฉลากก่อนใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเมื่อหากเกิดอาการผิดปกติใดๆก็ตามต่อร่างกายให้รีบพบแพทย์ทันที และที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิดจะเป็นเรื่องดีที่สุด
ในสังคมปัจจุบัน เราสามารถพูดได้ว่า ผู้คนได้ใช้แอลกอฮอล์ในแทบจะในทุกๆเหตุการณ์ หรือทุกๆช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลองดีใจ อกหักเสียใจ หรือเพียงแค่การออกไปทานอาหารนอกบ้าน ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อน ก็มักจะมีแอลกอฮอล์ เข้ามาเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน
ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรืออื่นๆ จะมี เอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง หากดื่มในปริมาณที่ไม่มากจะรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี เพราะแอลกอฮอล์จะไปกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตัวเองอยู่ แต่หากมีการดื่มในปริมาณที่มากขึ้น จะทำให้ไปกดสมองบริเวณอื่นด้วย ทำให้เกิดอาการมึนเมา และแอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์สมอง มีผลต่อการทรงตัว การควบคุมอารมณ์ และความจำ ทำให้ในบ่อยครั้งเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทในวงเหล้า การทำร้ายร่างกาย รวมถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งตรงนี้สำคัญและอันตรายมาก เพราะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมาจะมีสมรรถภาพในการขับขี่ที่ลดลงอย่างมาก ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
นอกจากนี้แล้วแอลกอฮอล์ยังส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ที่ดื่มเป็นประจำด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคตับแข็ง , โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ,โรคซึมเศร้า ,มีสมรรถภาพทางเพศลดลง และมีโอกาศเป็นมะเร็งมากขึ้นถึง 10 เท่า โดยอวัยวะที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ง่ายคือ ตับ กระเพาะ และหลอดอาหาร
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าจริงๆแล้ว แอลกอฮอล์ส่งผลเสียเป็นอย่างมากในหลายๆด้าน หากคุณมีคนรู้จักหรือคนใกล้ตัว ที่กำลังพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้แอลกอฮอล์ แนะนำว่าให้พาไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อบำบัดและรักษาอาการ ก่อนที่แอลกอฮอล์จะส่งผลเสียมากขึ้น ในอนาคตของคนที่คุณรัก
คุณรู้หรือไม่ว่า การสูดดมควันที่เกิดจากกัญชาเข้าไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณได้โดยตรง ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นผู้เสพเองก็ตาม ?
กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ลักษณะใบจะเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลัง จะออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน คนที่เสพกัญชาจะมักจะนำในส่วนของ ดอก กิ่งก้านหรือใบมาตากแห้ง,อบแห้ง จากนั้นก็บดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ และนำมายัดใส่ใส้บุหรี่และสูบเข้าไป หรือบางครั้งก็จะใช้วิธีสูบจากบ้องกัญชาโดยตรง
มีคนกล่าวว่า กัญชา เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ในการรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากทางการแพทย์ได้นำกัญชามาใช้บำบัดอาการป่วยหลายอย่าง เช่น อาการไอ ,อ่อนล้า หรือโรคมะเร็ง แต่หากมีการใช้ในปริมาณที่มากเกินไป เสพเข้าร่างกายมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างแน่นอน เพราะเนื่องจากกัญชามีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อสมอง จะทำให้มีความคิดเลื่อนลอย ,หวาดวิตก ,ระแวง,หัวใจเต้นเร็ว ,มึนเมาและเกิดภาพหลอน บางครั้งจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
ในควันของกัญชา จะมีสารเคมีมากกว่า 350 ชนิด และสารที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น THC,CBD,CBN ,คาร์บอนมอนน็อกไซด์ และอื่นๆ เมื่อได้รับหรือสูดดมเข้าไปเป็นประจำ จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองเยื่อบุตา ทำลายสมาธิ และส่งผลให้ทักษะในการทำงานลดลง แม้จะไม่ได้เป็นผู้เสพเข้าไปโดยตรงก็ตาม
และถึงแม้ในบางประเทศจะมีการเปิดให้ใช้กัญชาได้อย่างถูกกฏหมาย แต่สำหรับประเทศไทย ยังคงมีกฏหมายควบคุมที่ล่าสุดมีการประกาศออกมาว่า ในส่วนของกัญชาสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา แต่อย่างไรก็ตาม การนำไปใช้ ,ปลูก หรือการผลิต จะต้องมีการขออนุญาติกับทาง อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ก่อนเท่านั้น
การได้ที่มีสุขภาพที่ดีอีกครั้งและการสร้างวิถีชีวิตที่คุณจะได้รับความพึงพอใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั้นเป็นส่วนที่สำคัญของการฟื้นฟู ชีวิตที่สมดุลจะช่วยเลี่ยงจากการเผลอใช้หรือการกลับไปใช้ซ้ำและช่วยให้เกิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระยะยาวได้สำเร็จ ความสมดุลเกิดจากการค้นหาและทำตามความสนใจที่คุณรู้สึกว่าใช้เวลาได้อย่างมีคุณค่าและช่วยให้บรรลุเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้
ชีวิตที่มีความหมายเป็นชีวิตที่สมดุล คุณมีเวลาและความปรารถนาที่จะดำเนินตามกิจกรรมที่บ่งบอกถึงคุณค่าที่ระบุไว้ในลำดับขั้นของคุณค่า (Hierarchy of Values) หลายคนไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีสมดุลหรือได้รักษาคุณค่าของตนเองอย่างต่อเนื่อง
เป็นเรื่องสำคัญในการสังเกตว่าการใช้ชีวิตอย่างสมดุลนั้นก็เหมือนกับพ้อยต์อื่น ๆ ใน โปรแกรม 4 พ้อยต์ นั่นก็คือ จะต้องลงมือทำ คุณสามารถใช้เครื่องมือของสมาร์ทมากเท่าไหร่ก็ได้ในภารกิจสำหรับการมีชีวิตที่สมดุล เครื่องมือเหล่านี้ไม่ใช่แค่เครื่องมือสำหรับการฟื้นฟู แต่เป็นเครื่องมือที่จะใช้ได้ไปตลอดชีวิต
การปฏิบัติหลัก ๆ ที่จะนำไปสู่ชีวิตที่สมดุลมี 2 ข้อ
แบบฝึกหัด : การสร้างสมดุล
การกินอาหารที่ดี การนอนหลับอย่างเพียงพอ การผ่อนคลาย และการทำสมาธิจะช่วยให้คุณคืนสมดุลให้กับชีวิต ทีนี้ เราลองมาดูด้านอื่น ๆ ในชีวิตกันบ้าง
ในแบบฝึกหัดสำหรับการสร้างสมดุลในชีวิต คุณจะต้อง
พายชาร์ตของการใช้ชีวิตอย่างสมดุล
ใช้พายชาร์ตของการใช้ชีวิตอย่างสมดุลในรูปที่ 6.1 เพื่อแสดงถึงด้านต่าง ๆ ในชีวิตคุณ
ในการขับเคลื่อนชีวิตไปในทางที่สมดุลมากขึ้นนั้น อนุญาตตัวเองในการให้เวลากับด้านที่ยังมีช่องว่างอยู่ หรือส่วนของพายที่ยังขาดหายไป (เพราะว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ) ในการทำเช่นนั้น จึงควรแน่ใจว่าคุณได้หันมาให้ความสนใจกับภาพรวมของชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่ให้ความสนใจแค่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง
รูปที่ 6.1 พายชาร์ตของการใช้ชีวิตอย่างสมดุล (ตัวอย่าง)
แบบฝึกหัดและกราฟฟิกนี้มาจากงานของจูเลีย แคมเมอรอน (Julia Cameron)
ชื่อว่า The Artist’s Way และได้รับอนุญาตในการใช้
จากสำนักพิมพ์เพนกวิน (Penguin Publishers)
คะแนนต่ำสุด | |
ประเภท | คะแนน |
1. ความสนุกสนาน | 2 |
2. สุขภาพ | 2.5 |
3. การเงิน | 4.9 |
4. งานอาสาสมัคร | 5 |
คะแนนสูงสุด | |
4. ลูก ๆ | 6 |
3. การแต่งงาน | 7.5 |
2. อาชีพ | 9 |
1. การศึกษา | 10 |
แผน | |
ช่อง “ความสนุกสนาน” และ “สุขภาพ” ได้คะแนนต่ำที่สุด เพื่อที่จะเพิ่มคะแนนใน 2 ช่องนี้ ฉันจะเข้าร่วมชมรมการเดินในมีทอัพ (MeetUp) ซึ่งจะเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะจะได้รับความสนุกสนานและทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วยการออกกำลังกาย และเมื่อฉันมั่นใจแล้วว่าฉันได้ตั้งใจกับเป้าหมายนี้และเห็นผลในทางที่ดีขึ้นของทั้ง 2 ด้าน ฉันก็จะเน้นไปที่ “การเงิน” ซึ่งเป็นด้านที่ได้คะแนนต่ำที่สุดต่อไป |
ในเมื่อเป้าหมายคือการที่จะไม่มองข้ามด้านใดด้านหนึ่ง ด้านที่ได้คะแนนสูงสุด 4 ด้าน อาจจะไม่ได้ต้องมุ่งความสนใจมากเท่ากับด้านที่ได้คะแนนต่ำ
คำแนะนำ : เนื่องจาก “สุขภาพ” นั้นเป็นประเด็นที่กว้าง จึงสามารถทำพายชาร์ตของการใช้ชีวิตอย่างสมดุลสำหรับด้านนั้นโดยเฉพาะ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การนอนหลับ ความดัน คลอเรสเตอรอล การนัดพบแพทย์ เป็นต้น
พายชาร์ตของการใช้ชีวิตอย่างสมดุลของฉัน วันที่_____________________________
คะแนนต่ำสุด | |
ประเภท | คะแนน |
1. | |
2. | |
3. | |
4. | |
คะแนนสูงสุด | |
4. | |
3. | |
2. | |
1. | |
แผน | |
เครื่องมือ : ความสนใจเชิงสร้างสรรค์และอาศัยการจดจ่อที่สำคัญ (Vital absorbing creative interest : VACI)
ก่อนที่พฤติกรรมเสพติดจะกินเวลาในชีวิตคุณ คุณน่าจะต้องเคยมีงานอดิเรกและกิจกรรมที่คุณชอบทำและคนอื่น ๆ ก็อาจจะให้คุณลองทำดู ในตอนนี้ คุณสามารถนำกิจกรรมเหล่านี้กลับมาได้ รวมถึงลองค้นหากิจกรรมใหม่ ๆ งานอดิเรกและความสนใจจะช่วยสร้างสมดุลให้กับชีวิตคุณ
ความสนใจที่สร้างสรรค์และต้องอาศัยการจดจ่อสามารถช่วยนำความเพลิดเพลินง่าย ๆ ในชีวิตกลับมาอีกครั้ง เวลาที่เราได้มีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่เราให้เวลากับมันอย่างมากแล้ว เราก็จะตัดหลาย ๆ อย่างในชีวิตที่เราเคยทำแล้วสนุก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ก็ตาม การค้นหาสมดุลอาจช่วยดึงความสนุกสนานและความเพลิดเพลินในชีวิตกลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง แล้วเราจะกลับไปรู้สึกเพลิดเพลินกับสิ่งง่าย ๆ ในชีวิตแบบนั้นได้อย่างไร
อันดับแรก ลองกลับไปดูที่ข้อดีดีในตาราง CBA ของคุณ คุณได้ประโยชน์อะไรบ้างจากพฤติกรรมเสพติดของคุณ ก่อนที่ข้อเสียมากมายจะตามมา ลองถามตัวเองว่าคุณชอบความตื่นเต้นใช่ไหม คุณชอบที่จะลองทำดู สักหน่อยใช่ไหม สิ่งที่ชอบคือการได้กินดื่มหรือการเข้าสังคมกันแน่ เชื่อหรือไม่ว่า ข้อดีแต่ละข้อจะนำไปสู่การค้นพบ VACI
ถ้าคุณชอบความตื่นเต้น งั้นลองมาดูสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อให้เกิดความตื่นเต้นในชีวิตอย่างแท้จริง ผลตอบแทนอาจมากกว่าและคุณจะจำมันได้ในตอนเช้าและแม้กระทั่งผ่านไปแล้วหลายปี คุณอาจลองเล่นรถไฟเหาะตีลังกาที่คุณไม่เคยเล่นมาก่อนเลย อาจจะลองลงแข่งวิ่งหรือแข่งเดิน คุณอาจจะอยากลองกระโดดร่มหรือขี่มอเตอร์ไซค์มาตลอด ลองค้นหาว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นได้และลองทำสิ่งนั้น
ถ้าการใช้หรือการกระทำพฤติกรรมเสพติดทำให้คุณสามารถ “ลองทำดู” ได้ การที่ได้ออกไปยังสถานที่ใหม่ ๆ ที่ต่างออกไปจากเดิมสักพักอาจจะทำให้คุณได้รับพลังงานใหม่ ๆ ก็ได้ ลองออกไปเดินเล่นคนเดียว ไปทะเลและมองคลื่น ลองขับรถออกไปเที่ยวคนเดียวสักวัน การขี่จักรยานก็เป็นวิธีที่ดีที่จะได้อยู่คนเดียวกับธรรมชาติ รวมทั้ง การทำสวน การทำงานฝีมือ และงานศิลปะต่าง ๆ อีกมากมาย
คุณควรทำ VACI อย่างเหมาะสมและระมัดระวังเพื่อที่ว่าคุณจะไม่แทนที่พฤติกรรมเสพติดอย่างหนึ่งด้วยพฤติกรรมอีกอย่าง
ถ้าคุณพึ่งแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายในการเข้าสังคม คุณอาจท้าทายตัวเองด้วยการไปร่วมงานและลองแสดงบทบาทให้เหมือนกับว่าคุณสนุกและเป็นมิตรเหมือนเวลาที่คุณใช้สารเสพติด
เมื่อตอนเด็ก ๆ คุณชอบทำอะไร คุณมีงานอดิเรกอะไรบ้าง คุณมีความฝันอะไร ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่นำชีวิตของคุณกลับคืนมาและทำสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้น
ความหลากหลายทำให้ชีวิตมีรสชาติ ลองค้นหา VACI หลาย ๆ อย่าง และค้นหาต่อไปเรื่อย ๆ ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์และสิ่งใหม่ ๆ ให้คุณได้เรียนรู้และลงมือทำ
รายการ VACI
ใช้ตารางในรูปที่ 6.2 ในการเขียนรายการ VACI ที่คุณสนใจ ลองเขียนและให้คะแนนความน่าสนใจ 1-10 หลังจากที่ได้ลองทำแล้วให้คุณกลับมาที่รายการนี้และให้คะแนนอีกครั้งเพื่อดูว่าคุณให้คะแนน “ก่อนและหลัง” แตกต่างกันอย่างไร
รูปที่ 6.2 รายการ VACI ‘ก่อนทำและหลังทำ’
VACI | ก่อน คะแนน 1-10 | หลัง คะแนน 1-10 | ความเห็น/ความคิด |
การตั้งเป้าหมาย
มาถึงตอนนี้ เราได้ช่วยคุณระบุด้านต่าง ๆ ในชีวิตที่คุณอาจจะต้องให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการกลับมาดูแลสุขภาพกาย ใจ และอารมณ์ รวมถึงการกลับมาค้นพบแพชชั่นและความสนใจที่เคยหายไป อีกทั้งการสร้างความสนใจใหม่ ๆ คุณยังได้ระบุด้านต่าง ๆ ที่สำคัญกับคุณและต้องการลงมือทำไว้ในพายชาร์ตการใช้ชีวิตอย่างสมดุลด้วย
การทำทุกอย่างที่กล่าวมานี้ต้องอาศัยการวางแผน ความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์และการลงแรง แล้วจะเริ่มจากตรงไหนหละ เริ่มจากการตั้งเป้าหมายสิ เป้าหมายจะช่วยให้คุณมุ่งความสนใจไปที่การสร้างการสมดุลและเป็นแนวทางในการลงมือทำเพื่อให้ออกห่างจากชีวิตเดิมและนำไปสู่ชีวิตใหม่
คุณอาจจะไม่คุ้นเคยกับการตั้งเป้าหมายเช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่ต่อสู้กับพฤติกรรมเสพติด ตอนนี้คุณได้นำเวลาที่เคยหมดไปกับพฤติกรรมเสพติดกลับคืนมาแล้ว คุณก็มีเวลาให้กับคุณค่าและความสนใจของคุณ
เป้าหมายที่คุณตั้งไว้จะมีความหมายมากขึ้นถ้าคุณเชื่อมโยงเข้ากับคุณค่า คุณอาจจะต้องลองกลับไปทบทวนลำดับขั้นของคุณค่าในพ้อยต์ที่ 1 การใช้คุณค่าเป็นแนวทางจะช่วยให้คุณจัดลำดับความสำคัญและกำหนดทิศทางของชีวิตใหม่ตามที่ต้องการมุ่งไปได้
แบบฝึกหัด : คุณค่า เป้าหมาย และการวางแผน
การกำหนดคุณค่าและตั้งเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนและสร้างกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญในทุกแง่มุมของการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างชีวิตที่มีสมดุล คุณค่าของเราจะเป็นแนวทางให้กับชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะยาวที่เราตั้งไว้ไปจนถึงการตัดสินใจของเราในแต่ละวัน
การระบุคุณค่าหลักและการใช้ชีวิตตามคุณค่านั้น ๆ ทรงพลังมาก เพราะว่าคุณค่าเป็นแก่นแท้ของตัวตนของคุณ คุณค่าอาจหมายถึง ความซื่อสัตย์ การไม่นอกใจ การลดรอยเท้าทางนิเวศน์ การไม่กินเนื้อสัตว์ การให้เกียรติผู้อาวุโส การเลี้ยงลูกที่มาจากความรักไม่ใช่ความกลัว เป็นต้น ถ้าความซื่อสัตย์เป็นคุณค่าของคุณ เป้าหมายหนึ่งของคุณก็อาจจะเป็นว่า “ถ้าฉันเผลอไปใช้ ฉันจะบอกใครสักคนให้เร็วที่สุด” หรือ “ฉันจะซื่อสัตย์ต่อลูก ๆ เกี่ยวกับอดีตของฉัน” เป็นต้น
การวางแผนจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยมีการวางแผน (เพราะเราไปเน้นที่ความพึงพอใจอย่างเฉียบพลัน) แต่จริง ๆ แล้วการวางแผนเป็นทักษะที่สำคัญมากที่ควรเรียนรู้ ถ้าคุณมุ่งมั่นที่จะบอกความจริงเรื่องการเผลอใช้ ให้ลองเขียนว่าคุณจะบอกอย่างไรและบอกใคร เช่น “ถ้าฉันเผลอใช้ ฉันจะบอกเพื่อนสนิทของฉัน” หรือ “ถ้าลูกถามเกี่ยวกับอดีตที่ฉันใช้ยาเสพติด ฉันจะบอกกับพวกเขาในสิ่งที่ฉันเชื่อว่าเหมาะสมโดยจะไม่พูดถึงพฤติกรรมของฉันในทางที่ดีเกินจริง”
คุณจะได้ยินผู้คนที่เข้าร่วมสมาร์ทพูดถึง 3P นั่นคือ อดทน ฝึกฝน และมุ่งมั่น เราสามารถเพิ่มข้อสี่ได้ นั้นคือ วางแผน เพราะมันเป็นเรื่องที่สำคัญ
ควรเริ่มจากตรงไหน
การตั้งเป้าหมายระยะสั้น 2-3 ข้อ เป็นการเริ่มต้นที่ดี หลังจากนั้นคุณค่อยตั้งเป้าหมายระยะยาว ควรตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้โดยไม่ยากและเยอะจนเกินไป
ดูตามลำดับขั้นของคุณค่าของคุณว่าด้านไหนที่คุณต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างที่คุณสามารถใช้เริ่มต้นได้
การตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง
เป้าหมายควรจะ
และนี่เป็นเป้าหมายที่ทำได้จริง 3 ข้อที่จะช่วยให้คุณเห็นกระบวนการได้ชัดเจนขึ้น
รูปที่ 6.3 การตั้งเป้าหมาย
ตัวอย่าง เป้าหมายที่ 1
ด้านของชีวิต (จากพายชาร์ตการใช้ชีวิตอย่างสมดุล) : ความแข็งแรงของร่างกาย | ||||
คุณค่าที่เกี่ยวข้อง (จากลำดับขั้นของคุณค่า) : สุขภาพ | ||||
เป้าหมาย : ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
เป้าหมายที่ทบทวนใหม่ (ถ้ามี) : เดิน 5 กิโลเมตรในงาน Walk for the Cure | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย : เดินสัปดาห์ละ 4 ครั้งไปจนกว่าจะเริ่มการแข่งขัน (12 สัปดาห์) | ||||
สัปดาห์ที่ 1 : 20 นาที | สัปดาห์ที่ 2 : 30 นาที | สัปดาห์ที่ 3 : 30 นาที | สัปดาห์ที่ 4 : 35 นาที | สัปดาห์ที่ 5 : 35 นาที |
สัปดาห์ที่ 6 : 40 นาที | สัปดาห์ที่ 7 : 45 นาที | สัปดาห์ที่ 8 : 50 นาที | สัปดาห์ที่ 9 : 60 นาที | สัปดาห์ที่10 : 60 นาที |
สัปดาห์ที่11 : 60 นาที | สัปดาห์ที่12 : 30 นาที | สิ้นสุด 12 สัปดาห์ : งาน Walk for the Cure |
ตัวอย่าง เป้าหมายที่ 2
ด้านของชีวิต (จากพายชาร์ตการใช้ชีวิตอย่างสมดุล) : ความแข็งแรงของร่างกาย | ||||
คุณค่าที่เกี่ยวข้อง (จากลำดับขั้นของคุณค่า) : สุขภาพ | ||||
เป้าหมาย : กินให้ดีขึ้นจนถึงสิ้นปี | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
เป้าหมายที่ทบทวนใหม่ (ถ้ามี) : ลดคลอเรสเตอรอลให้เหลือ 180 ภายใน 6 เดือน | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย : กินเนื้อแดงเดือนละ 1 ครั้ง กินปลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลดการกินแฮมเบอร์เกอร์และเบคอน กินแซนวิชทูน่าเป็นอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทำอาหารสุขภาพจากปลาเป็นอาหารเย็นอาทิตย์ละ 1 เมนู ทำตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจเช็คคลอเรสเจอรอลเป็นประจำ (ตามที่แพทย์สั่ง) |
ตัวอย่างที่ 3
ด้านของชีวิต (จากพายชาร์ตการใช้ชีวิตอย่างสมดุล) : ความสัมพันธ์ | ||||
คุณค่าที่เกี่ยวข้อง (จากลำดับขั้นของคุณค่า) : ใช้ชีวิตอยู่กับความเป็นจริง ลูกของฉัน | ||||
เป้าหมาย : มาเข้ารับการบำบัดทุกครั้ง (และตรงเวลา) ไปอีก 3 เดือน | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
เป้าหมายที่ทบทวนใหม่ (ถ้ามี) : ไม่มี | ||||
สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย : สร้างปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์พร้อมตั้งการเตือนสำหรับการบำบัดทุกครั้งในเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ออกจากบ้าน 1 ชม. ก่อนเวลาบำบัดเพื่อจะได้ไปถึงตรงวลา (เผื่อเวลาสำหรับการจารจรและการสร้างถนน และอื่น ๆ) คุยกับเจ้านายว่าต้องขอลาหยุดทุกวันพุธระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม |
ตอนนี้ถึงตาคุณบ้าง ยังมีตารางสำหรับตั้งเป้าหมายในภาคผนวก ข
การตั้งเป้าหมายของฉัน
ด้านของชีวิต (จากพายชาร์ตการใช้ชีวิตอย่างสมดุล) : | ||||
คุณค่าที่เกี่ยวข้อง (จากลำดับขั้นของคุณค่า) : | ||||
เป้าหมาย : | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
เป้าหมายที่ทบทวนใหม่ (ถ้ามี) : | ||||
Specific | Measurable | Agreeable | Realistic | Time-bound |
สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย : |
เคล็ดลับอื่น ๆ สำหรับการตั้งเป้าหมาย
การอยู่กับอารมณ์
อารมณ์รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของความเป็นมนุษย์ เหมือนที่เราได้พูดถึงไปแล้วใน “พ้อยต์ที่ 3 : การจัดการความคิด ความรู้สึก และอารมณ์” การเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ให้ลดลงได้นั้นเป็นประโยชน์ต่อการจัดการพฤติกรรมและยังอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่สมดุลอีกด้วย
อารมณ์มักอยู่ในรูปแบบของสเปกตรัม ด้านหนึ่งคือการมีสุขภาวะที่ดีและอารมณ์ที่สมดุล เป็นที่ที่ตรรกะและอารมณ์จะส่งเสริมกัน เหมือนหยินหยาง
ด้านตรงกันข้ามนั้นเป็นอารมณ์สุดขั้วรุนแรง เช่น ความสุขที่เปี่ยมล้น ความซึมเศร้าไร้เรี่ยวแรง ความเดือดดาลแทบจะฆ่าคนได้ และอื่น ๆ ยิ่งคุณเข้าใกล้ด้านอารมณ์สุดขั้วมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งคิดอย่างมีเหตุผลน้อยลงเท่านั้นและการสร้างสมดุลให้กับอารมณ์และพฤติกรรมก็จะยิ่งยากขึ้นด้วย
การเรียนรู้ที่จะสร้างสมดุลให้กับความรู้สึกและความคิดที่สมเหตุสมผลเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้เกิดชีวิตที่มีสมดุลยิ่งขึ้น
เทคนิคการตระหนักรู้
หลาย ๆ คนที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูจากพฤติกรรมเสพติดนั้นพบว่าตัวเองจมอยู่กับความคิด เกิดความคิดวนซ้ำได้ง่าย หรือตกอยู่ในอารมณ์รุนแรง เช่น ความอยาก เป็นต้น
การเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันและเริ่มเกิด “สติ” สามารถทำให้สมดุลด้านสุขภาวะและวิถีชีวิตดีขึ้นได้ การมีสตินั้นตรงข้ามกับการเหม่อลอย มันคือสภาวะของการอยู่กับปัจจุบันอย่างรู้ตัวและไม่ตัดสิน
การฝึกสตินั้นแรกเริ่มเป็นรูปแบบการทำสมาธิในศาสนาพุทธ มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับเทคนิคการฝึกสติ โดยระบุว่าช่วยลดความซึมเศร้า การคิดหมกมุ่น ความเครียด ความโกรธ หรือแม้แต่โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Post-traumatic stress disorder; PTSD) มีหลักฐานมากมายชี้ว่าการฝึกสติช่วยให้หายจากความผิดปกติที่เกิดจากการเสพติดได้
มีแบบฝึกหัดสั้น ๆ ในรูปที่ 6.6 ทั้งนี้ มีการเขียนถึงการฝึกสติอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงมีแหล่งข้อมูลให้ศึกษาอย่างมากมาย
การฝึกผ่อนคลาย
ในช่วงที่คุณมีพฤติกรรมเสพติดนั้น ดูเหมือนว่าคุณจะหลีกเลี่ยงหรือไม่ได้ให้เวลากับตัวเองนัก การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายอาจดูเหมือนความหรูหราหรือการตามใจตัวเองโดยไม่จำเป็น แต่มันมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำให้ชีวิตของคุณกลับมามีสมดุลอีกครั้ง
แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างการทำสมาธิและการฝึกผ่อนคลาย แต่มันก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว การหาวิธีผ่อนคลายอาจสำคัญต่อการเดินทางฟื้นฟูของคุณ การฝึกผ่อนคลายเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล ดังนั้นจึงควรหาสิ่งที่เหมาะกับคุณ มีเทคนิคในการฝึกผ่อนคลายที่คุณสามารถลองทำดูได้ ดังนี้
การคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วน (Progressive Muscle Relaxation; PMR)
เทคนิค PMR (รูปที่ 6.4) จะช่วยให้คุณเริ่มเกิดการรับรู้ความแตกต่างระหว่างที่เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในแบบฝึกหัดนี้ คุณจะได้ลองเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ดังนั้นเมื่อทำครบแล้ว กล้ามเนื้อทั้งหมดของคุณก็จะรู้สึกผ่อนคลาย หลาย ๆ คนกล่าวว่าการทำเช่นนี้ทำให้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายโดยทันที คุณอาจรู้สึกเช่นดียวกัน หรือไม่รู้สึกอะไรเลยก็ได้โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น
คุณอาจทำ PMR ในท่านอนราบลงบนพื้นหรือนั่งบนเก้าอี้ เกร็งกล้ามเนื้อทีละมัด ค้างไว้ 5 วินาที และคลาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณรับรู้ถึงกล้ามเนื้อแต่ละมัดตอนที่เกร็งและตอนที่ผ่อนคลาย
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อมัดใหญ่
รูปที่ 6.4 แบบฝึกหัด PMR
ส่วนของร่างกาย | แบบฝึกหัด |
ศีรษะ | ทำหน้าผากย่น ออกแรงหลับตาให้สนิท อ้าปากกว้าง ๆ อ้าปากและดันลิ้นกับเพดานปาก ขบฟันกรามให้แน่น |
คอและไหล่ | ยกไหล่ขึ้นไปใกล้หู ดันสะบักเข้าหากัน |
แขนและมือ | กำมือให้แน่น กอดตัวเองแน่น ๆ ยกแขนมาด้านหน้าและออกแรงผลักกำแพงที่มองไม่เห็น |
ท้อง หลังส่วนล่าง สะโพก บั้นท้าย | เกร็งกล้ามเนื้อส่วนท้อง ทำหลังให้โค้ง เกร็งสะโพกและบั้นท้าย |
ต้นขา น่องข้อเท้า เท้า นิ้วเท้า | บีบต้นขาเข้าหากัน เกร็งน่อง ยืดข้อเท้าโดยดันเท้าเข้าหาตัว จิกนิ้วเท้าไปด้านล่าง ยืดนิ้วเท้าเข้าหาตัว |
การจินตนาการภาพ
จินตนาการของเรานั้นมีอำนาจมากกว่าที่คิด นอกเหนือจากการจินตนาการภาพเพื่อผ่อนคลายแล้ว คุณยังสามารถใช้ในการเตรียมสัมภาษณ์งาน การสนทนาที่ยาก ๆ หรือแม้แต่การทำให้บรรลุเป้าหมายที่คุณต้องการ นักกีฬาใช้การจินตนาการภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่น นักสเก็ตลีลาใช้เวลาไปกับการจินตนาการถึงท่วงท่าที่จะเล่นตลอดการแข่งขัน นักพูดจินตนาการภาพตัวเองกำลังพูดบ่อย ๆ ก่อนการขึ้นพูดจริง
สำหรับแบบฝึกหัดการผ่อนคลายนี้ ให้เวลากับตัวเองสัก 15 นาที ทำให้แน่ใจว่าคุณไม่รู้สึกรีบเร่งและทำให้มีสิ่งรบกวนให้น้อยที่สุด นั่งหรือนอนลงในที่ที่สบายและเงียบสงบ
รูปที่ 6.5 แบบฝึกหัดจินตนาการภาพ
หลับตาลงและจินตนาการว่าตัวเองกำลังเดินเข้าไปยังที่ที่เงียบสงบ ปลอดภัย และผ่อนคลาย ลองจินตนาการถึงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร คุณนั่งหรือนอนอยู่บนอะไร นึกถึงเสียงหรือกลิ่นที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย จินตนาการถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของสถานที่แห่งนี้ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายให้มากที่สุด ผ่อนคลายร่างกาย ไหล่ และศีรษะ หายใจเข้า-ออกช้า ๆ |
การทำสมาธิ
ปกติแล้วการทำสมาธิและการฝึกสติไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพบปะของสมาร์ท อย่างไรก็ตาม บางคนก็หาเวลาในแต่ละวันเพื่อทำวิปัสสนา (Mindfulness Meditation)
รูปที่ 6.6 บทนำสำหรับการทำสมาธิ
นั่งให้สบาย ตัวตรงแต่ไม่เกร็งหลัง พยายามไม่นั่งหลังงอเพราะจะทำให้กระทบต่อการหายใจซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำสมาธิ หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ให้เต็มปอด รับรู้ถึงกระบังลมที่ขยายและท้องที่พองขึ้นเมื่อหายใจเข้า วางมือไว้ที่บริเวณใต้สะดือเพื่อรับรู้ความรู้สึกนี้ หลับตาลง หายใจเข้า 3 ครั้ง ลึกและยาว รับรู้ว่ารู้สึกอย่างไร ทีนี้ ให้หายใจตามปกติ ตอนหายใจออก นับ “หนึ่ง” ในใจ หายใจออกอีกครั้งนับ “สอง” ไปเรื่อย ๆ จนถึง สิบ แล้วกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ ถ้าจำไม่ได้ว่านับถึงไหนแล้ว ก็ให้เริ่มนับหนึ่งใหม่เลย รับรู้ถึงความรู้สึกทางกายขณะที่หายใจ จะมีความคิดเกิดขึ้น ไม่ต้องพยายามไล่ความคิดนั้นหรือทำเหมือนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น ให้รับรู้ว่ามีความคิดนี้อยู่แต่ไม่ต้องไปคิดตาม ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ให้กลับมาที่ลมหายใจและเริ่มนับ ไม่ต้องตัดสินตัวเองหรือ “ความสามารถ” ในการทำสมาธิของคุณ ทำสมาธิไปเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ตั้งใจไว้และพยายามไม่เลิกก่อนกำหนด ตั้งปลุกเอาไว้เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องคอยดูเวลา แบบฝึกหัดนี้ช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” และปล่อยให้อารมณ์ในทางลบค่อย ๆ หายไปเองโดยที่ไม่ต้องตอบสนองด้วยวิธีที่ไม่เป็นประโยชน์ การทำสมาธิอาศัยการฝึกฝน ในช่วงแรก คุณจะสามารถทำสมาธิได้เพียงไม่กี่นาที แต่ยิ่งทำบ่อยขึ้น คุณก็จะยิ่งทำได้นานขึ้น ในบางวันคุณอาจจะทำสมาธิได้ดีกว่าวันอื่น ๆ นั่นเป็นเรื่องปกติ การทำสมาธิเวลาเดิมและที่เดิมทุกวันจะช่วยได้ บางคนนั่งบนเบาะในท่าขัดสมาธิ วางมือไว้บนหัวเข่า หงายมือขึ้น บางคนก็นั่งบนเก้าอี้ คุณอาจจะอยากจุดเทียนหรือเครื่องหอม ดนตรีสำหรับการทำสมาธิก็ช่วยได้เช่นกัน ลองดูว่าอะไรที่ทำแล้วได้ผล คุณยังสามารถฝึกสติได้ทุกที่ รับรู้ถึงความรู้สึกและความคิด รสชาติอาหาร การมีอยู่ของคนรอบข้าง เพียงแค่รับรู้ถึงโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ และโลกภายในตัวคุณ อยู่กับปัจจุบันและอารมณ์ที่ท่วมท้นหรือความคิดวน ๆ ที่เป็นปัญหาจะค่อย ๆ รบกวนคุณน้อยลง |
การกลับมาดูแลสุขภาพ
การรับประทานอาหาร
หลังจากที่เลิกพฤติกรรมเสพติด คุณอาจพบว่าความอยากอาหารเริ่มกลับมา การกินอาหารที่มีประโยชน์และสมดุลเป็นสิ่งสำคัญในการมีชีวิตที่ดี การออกไปทานอาหารนอกบ้านกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัวเป็นครั้งคราวก็เป็นเรื่องที่น่าสนุก คุณสามารถเพิ่มการจดรายการของที่จะซื้อ ไปออกไปวัตถุดิบ กลับมาเตรียมของ ลงมือทำอาหาร และเก็บล้าง ลงในแผนประจำวันได้ นี่จะช่วยทำให้คุณมีอะไรทำและเติมเต็มช่วงเวลาที่ว่างอยู่
แม้ว่าคนที่มีพฤติกรรมเสพติดอาจคิดว่าพวกเขาทานอาหารเป็นปกติและเป็นประจำ ความจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น การขาดวิตามินเกิดขึ้นเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ติดแอลกอฮอล์อย่างหนักเนื่องจากวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามิน บี อย่าง ไทอามีน และกรดโฟลิก รวมถึงวิตามิน ซี จะสลายไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกักเก็บสารอาหารเหล่านี้ได้
มันเป็นความคิดที่ดีที่จะทานอาหารให้ตรงเวลาเพื่อช่วยให้สุขภาพกลับมาแข็งแรง คุณอาจลองเสริมวิตามิน บี และ ซีด้วยก็ได้ แพทย์ของคุณอาจแนะนำวิตามินเสริมที่จำเป็นให้กับคุณ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายรูปแบบใดก็ตามเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ถ้าคุณไม่สามารถเข้าฟิตเนสได้หรือไม่แข็งแรงพอที่จะยกน้ำหนักหรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกเร็ว ๆ ก็ให้เดินหรือขี่จักรยานแทน การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องออกหนักถึงจะได้ประโยชน์ การเดิน 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ก็ทำให้เพลิดเพลินและเป็นที่รู้กันว่าช่วยให้หายจากอาการซึมเศร้าด้วย ค่อย ๆ เริ่มหากคุณห่างหายจากการออกกำลังมาสักพัก
กิจกรรมทางกายสามารถช่วยลดความเครียดและทำให้สดชื่น คุณจะได้รับประโยชน์ได้ดีที่สุดหากคุณออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ ทำให้แน่ใจว่ามันไม่หนักเกินไปถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกายนานแล้ว การออกกำลังกายเร็ว ๆ เป็นครั้งคราว เช่น เดินเร็ว หรือว่ายน้ำสามารถฟื้นฟูร่างกายได้และทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดีและทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
คุณอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณแข็งแรงพอสำหรับการออกกำลังกายแม้แต่สำหรับการออกกำลังเพียงเล็กน้อยก็ตาม
การนอนหลับ
รูปแบบของการนอนหลับอาจเปลี่ยนไปหลังจากที่หยุดดื่มหรือใช้ยาเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ร่างกายของคุณต้องการเวลาในการปรับตัว ถ้าคุณมีปัญหาในการนอนหลับ การลดคาเฟอีนจะช่วยได้ หรือการเดินสั้น ๆ ตอนเย็นหรืออ่านหนังสือบนเตียงก็จะช่วยเช่นกัน
การรักษาด้วยยา
สมาร์ทรีคัฟเวอรีสนับสนุนการรักษาทางจิตวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์และการรักษาด้วยยาสำหรับผู้ติดสารเสพติดและยาทางจิตเวชที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและมีการสั่งจ่ายอย่างถูกกฎหมาย
ถ้าคุณมีโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเสพติดร่วมด้วย ก็สามารถทำการรักษาหรือทานยาได้ สมาร์ทจะส่งเสริมคุณหากคุณเลือกที่จะทานยาที่จะช่วยเกี่ยวกับการพึ่งสารเสพติดและการเลิกสูบบุหรี่
การผัดวันประกันพรุ่ง
เราทุกคนเคยผัดวันประกันพรุ่งกันทั้งนั้น แต่การผัดวันประกันพรุ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสามารถรวมเข้ากับพฤติกรรมเสพติดและกลายเป็นนิสัยที่ก่อให้เกิดอันตราย คุณสามารถใช้สิ่งที่คุณเรียนรู้จากการจัดการพฤติกรรมเสพติดเพื่อจัดการกับการผัดวันประกันพรุ่งได้เช่นเดียวกัน
การผัดวันประกันพรุ่งนี้ซับซ้อนเกินไปที่จะอธิบายในที่นี้ แต่มีบางประเด็นที่ควรจำเอาไว้ ดังนี้
สรุป
การใช้ชีวิตอย่างสมดุลนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว มีชีวิตชีวาและเป็นความจริงแท้ การทดลองกับด้านต่าง ๆ ในชีวิตเพื่อให้รู้ว่าอะไรที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าและความสมดุลได้ นี่เป็นชีวิตของคุณและคุณจะต้องเป็นผู้เลือกว่าจะใช้มันอย่างไร
การตั้งเป้าหมาย วางแผน และเขียน VACI นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการก่อร่างสร้างชีวิตใหม่
สมาร์ทจะช่วยคุณรักษาการเปลี่ยนแปลงและเสริมพลังให้กับตนเองอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยคุณและการเข้าร่วมการพบปะอย่างต่อเนื่องได้ตามคุณต้องการ ทักษะที่คุณเก็บเกี่ยวในระหว่างการเดินทางฟื้นฟูจะพิสูจน์ว่ามันประเมินค่าไม่ได้เมื่อคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต
จำไว้ว่าคุณมีพลังที่จะกำหนดชีวิตตัวเองเสมอ
[et_pb_section][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text] เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีประกาศกฏกระทรวง เรื่องการอนุญาติจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภทที่2 มีจำนวน102 รายการ เช่นโคเคน มอร์ฟิน และฝิ่น โดยมีใจความสำคัญเรื่องการปรับปรุงกฏหมาย เพื่อที่จะอนุญาติให้จำหน่ายยาประเภทนี้ ไว้ใช้ในการรักษา วิเคราะห์หรือวิจัย และเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ โดยหากต้องมีการนำไปใช้หรือจำหน่ายจะต้องมีการขออนุญาติก่อน มิเช่นนั้นจะมีโทษในทางกฏหมาย
ในสมัยก่อน หากมีการเจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านมักจะหาวิธีนำพืชหรือสมุนไพรต่างๆมาสกัดใช้เพื่อเป็นยารักษาโรค และหนึ่งในพืชที่ถูกนำมาใช้ในการทำยาก็จะมี ฝิ่น รวมอยู่ในนั้นด้วย ในยางฝิ่นมีสารประกอบที่สำคัญเช่น มอร์ฟีน โคเดอีน และปาปาเวอรีน หากใช้อย่างถูกต้องจะเป็นยาที่ดีในการช่วยรักษาอาการปวด อาการไอและยังใช้เป็นยานอนหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้ฝิ่นยังเป็นสารตั้งต้นของเฮโรอีน ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มีรายงานว่าเนื่องจากเฮโรอีนออกฤทธิ์แรงและเร็ว กว่าฝิ่นและมอร์ฟีน เฮโรอีนจึงถูกนำไปใช้รักษาอาการบาดเจ็บของทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 แต่หลังจากทราบผลเสียในภายหลังว่า ก่อให้เกิดการเสพติดและให้โทษร้ายแรงต่อร่างกาย จึงเลิกนำมาใช้และมีการออกกฏหมายห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองเฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่เมื่อทดลองใช้เพียงแค่ 1-2 ครั้งก็สามารถติดได้เลย เนื่องจากมีฤทธิ์ที่รุนแรง เฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดมีหลายสีตามสารอื่นที่ผสมเข้าไป จะไม่ได้มีเพียงแค่สีขาวเท่านั้น สามารถเสพเข้าสู่ร่างกายโดยใช้วิธี ฉีด สูบ หรือ สูดไอระเหยเข้าไป หลังจากที่เข้าสู่ร่างกายแล้ว ผู้เสพจะมีอาการ มึนเมา เพลินเพลินและมีความสุข มีความต้องการใช้ยาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น แต่หากมีอาการขาดยาจะส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัดก็คือ จะมีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดศรีษะรุนแรง ทุรนทุราย บางรายมีอาการชักถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากนี้กลุ่มผู้ใช้ยายังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ได้ง่ายมากกว่าคนปกติทั่วไปด้วย เนื่องจากเฮโรอีนจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และจากพฤติกรรมการจับกลุ่มใช้ยาโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จะทำให้มีโอกาสรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายอย่างแน่นอน
ปัจจุบันมีผลการวิจัยเรื่องยาเสพติดอยู่มากมาย ที่มีผลสรุปออกมาว่า เราทุกคนทราบถึงปัญหาและมองเห็นโทษของยาเสพติด แต่เราก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า เรายังไม่สามารถที่จะจัดการปัญหาเหล่านี้ให้หายออกไปได้ จึงได้แต่หวังว่าวันหนึ่งคนในสังคมจะตระหนักได้ว่า เราควรร่วมมือกันมากขึ้น ช่วยกันมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหลานในอนาคตของเราตกเป็นทาสยาเสพติด
ในบทที่ 1 เราได้พูดถึงแนวคิดพื้นฐานของ REBT ไปแล้ว นั่นคือ พฤติกรรมของเราหลาย ๆ ครั้งเป็นผลมาจากการที่เรามองโลกว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็เหมือนกันกับพฤติกรรมเสพติด ความคิดของเราอาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ความคิดที่เป็นนิสัยนี้สามารถนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายทางอารมณ์ ดังนั้น เราจึงหันไปหาพฤติกรรมเสพติดเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
การจัดการความคิด
ในบทนี้ เราจะนำคุณไปรู้จักเทคนิคที่สามารถช่วยให้คุณเปลี่ยนรูปแบบการคิดที่ทำให้เกิดความคิดอัตโนมัติ เมื่อคุณเริ่มมองโลกเปลี่ยนไป อารมณ์และพฤติกรรมของคุณก็จะเปลี่ยนไปด้วย
ปรัชญาของการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข
การนำการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขมาใช้อาจเป็นสิ่งสำคัญในการก้าวข้ามปัญหาทางอารมณ์ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมเสพติด นี่ยังอาจเป็นทักษะชีวิตอย่างหนึ่งที่จะช่วยคุณแม้ว่าจะเลิกพฤติกรรมเสพติดไปนานแล้วก็ตาม
การยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นสิ่งที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่การที่จะทำให้กลายมาเป็นปรัชญาการใช้ชีวิตนั้นคุณอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตความคิดที่ไม่มีประโยชน์ที่ตัวคุณยึดถือไว้โดยไม่รู้ตัวเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่คาดคิดในชีวิตให้ได้ก่อน เมื่อคุณสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้ในความคิดได้แล้ว คุณจึงจะสามารถเตือนตัวเองให้ใช้วิธีคิดที่มีประโยชน์มากกว่าได้
เริ่มจากการเตือนตัวเองว่าคุณเป็นมนุษย์คนหนึ่ง นั่นแปลว่า คุณรู้ว่าคุณไม่สมบูรณ์แบบและคุณจะทำผิดพลาด ทำบางสิ่งได้ไม่ดี และทำสิ่งที่แย่ นี่เป็นเรื่องปกติของการเป็นมนุษย์ การทำผิดพลาดและความล้มเหลวเป็นวิธีที่เราเรียนรู้
ในฐานะที่เป็นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมองสถานการณ์ที่ข้องเกี่ยวกับตัวเราอย่างเกินจริง
เมื่อคุณพบว่าตัวเองกำลังมีความคิดในแง่ลบหรือมองว่าตัวคุณแย่แค่ไหนอย่างเกินจริงหรืออย่างตัดสิน ให้เตือนตัวเองถึงความเป็นมนุษย์และลักษณะต่าง ๆ ที่เรามีร่วมกัน การที่ระบุความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์และแทนที่ด้วยความคิดเรื่องการยอมรับตามความเป็นจริงและมีประโยชน์มากกว่า จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและอยากจะทำในสิ่งที่มีประโยชน์มากขึ้น หลังจากฝึกทำเช่นนี้ไประยะหนึ่ง ความคิดที่เป็นจริงมากกว่าจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับหลาย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการฝึกฝน
ความคิดในแง่ลบ
เรามักจะยึดถือความคิดแย่ ๆ ที่ทำให้ตัวเอง คนอื่นและชีวิตของเราแย่ลง ในการทำเช่นนั้น เราอาจะรู้สึกผิด ละอาย เศร้า (ฉันทำพังอีกแล้ว ฉันเป็นคนล้มเหลวอย่างแท้จริง) หรือโกรธ (เขาปฏิบัติกับฉันไม่ดีเลย เขาห่วยแตกมาก) ความคิดในแง่ลบที่เกินจริงและไม่ถูกต้องเหล่านี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกแย่ที่มีพลังอย่างมากที่อาจจะทำให้คุณติดอยู่ในวังวนของพฤติกรรมเสพติดได้
คุณสามารถเลือกที่จะแทนที่ความคิดในแง่ลบได้ด้วยหลักการการยอมรับ ดังต่อไปนี้
การยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional self-acceptance : USA)
การยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไขเป็นความคิดเกี่ยวกับว่าตัวคุณเองมีคุณค่าในแบบที่คุณเป็น นี่อธิบายว่าอะไรเป็นสิ่งที่แยก “คุณ” ออกจากพฤติกรรมของคุณ กล่าวคือ ลักษณะ นิสัย บุคคลิกภาพ และข้อดี นี่คือเหตุผลว่าทำไมสมาร์ทไม่ใช้การตีตรา คุณอาจจะมีพฤติกรรมเสพติดแต่คุณไม่ใช่คนติดยา แม้ว่านี่อาจจะฟังเหมือนการเล่นคำ แต่มันสำคัญที่จะรับรู้ว่าการใช้คำและการตีตรานั้นทรงพลังแค่ไหน
การตีตราเดิม ๆ ที่ติดอยู่ในใจตุณ เช่น “คนล้มเหลว” “คนที่น่าผิดหวัง” หรือ “คนขี้แพ้” นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีต่าง ๆ ฉะนั้น การเพิ่มการตีตราใหม่ก็คงไม่ได้ช่วย
หากคุณไม่สามารถยอมรับตัวเองได้ จะคาดหวังให้คนอื่นมายอมรับได้หรือ และแม้ว่าพวกเขาจะยอมรับในตัวคุณจริง ๆ แล้วคุณจะเชื่อหรือ
การยอมรับตนเองอาจเป็นเรื่องยาก คุณอาจเคยเป็นต้นเหตุที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายและเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส คุณอาจจะเคยทำลายชีวิตคนอื่น ทำให้ครอบครัวของคุณเป็นหนี้ นำโรคร้ายมาสู่ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความเชื่อใจ หรือถลุงเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิต ใครจะยกโทษให้สิ่งเหล่านั้นได้ ก็ไม่ใช่ทุกคนหรอก แต่คุณสามารถยกโทษให้ตัวเองและยอมรับว่าคุณเป็นคนที่มีคุณค่าแม้ว่าจะมีพฤติกรรมในอดีตเป็นเช่นไรก็ตาม
อดทนกับตัวเองและเมตตาตัวเอง ซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่คุณเคยกระทำ ยอมรับว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่คุณสามารถกำหนดอนาคตได้
คุณอาจจะถูกล่อลวงให้เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นหรือรักษาตนเองให้อยู่ในมาตรฐานบางอย่าง มันไม่มีมาตรฐานหรือมาตรวัดที่เป็นสากลสำหรับคุณค่าในตัวคุณ คุณมีเพียงหนึ่งเดียว
การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นไม่มีความหมายเท่า ๆ กับการตัดสินสีหนึ่งกับสีอื่น ๆ กล่าวคือ การตัดสินว่า สีแดงดีหรือหรือไม่ดี หรือ สีฟ้ามีค่ามากกว่าสีเขียว เป็นต้น
การยอมรับผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional other-acceptance : UOA)
คุณอาจจะตัดสินผู้อื่นอย่างไม่ถูกต้องและอย่างเกินจริง เหมือนอย่างที่คุณตัดสินตัวคุณเอง เมื่อคุณยอมรับได้ว่าคนอื่น ๆ ก็สามารถทำผิดได้ เมื่อนั้นคุณก็จะสามารถยอมรับได้ว่าพวกเขาก็อาจจะล้มเหลวในบางเรื่องได้ เช่นกัน การตัดสินผู้อื่นว่าแย่สุด ๆ ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิบัติกับคุณเช่นไรก็เป็นการตัดสินที่เกินจริงและสร้างความเจ็บปวดเช่นเดียวกับที่คุณตัดสินตัวเอง
การยอมรับชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional life-acceptance : ULA)
ในทางเดียวกัน คุณสามารถตัดสินชีวิตว่าไม่ยุติธรรมเอาซะเลยหรือแย่ที่สุด เมื่อคุณพบตัวเองกำลังคิดว่า “ชีวิตมันห่วย! มันไม่มีวันห่วยไปมากกว่านี้แล้วหละ!” ให้เตือนตัวเองถึงสิ่งดี ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตของคุณ
หากคุณสามารถยอมรับได้ว่ามีหลายสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ มันอาจจะช่วยให้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดีขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ชอบมันก็ตาม
ความเชื่อที่สมเหตุสมผลและความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล
ความเชื่อที่คนทั่วไปมีต่อตัวเองและต่อโลกใบนี้มี 2 แบบ
1. ความเชื่อที่สมเหตุสมผล – ความเชื่อที่เป็นจริง มีเหตุผล และมีประโยชน์
2. ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล – ความเชื่อที่ไม่จริง ไม่มีเหตุผล และเป็นโทษ
ด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลที่พบได้ทั่วไปซึ่งจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเสพติด คุณรู้จักข้อไหนบ้าง
ความต้องการควบคุม (Demands) ความเชื่อว่าสิ่งนี้ต้องเป็นแบบนี้หรือควรเป็นแบบนั้นเป็นความเชื่อที่เด็ดขาดจนทำให้เกิดความต้องการควบคุมตนเอง ผู้อื่น และชีวิตที่เกินความจริง คุณเคยพูดไหมว่า “ฉันจะต้องประสบความสำเร็จในเรื่องนี้” หรือ “เขาไม่ควรทำแบบนั้นกับฉัน” หรือ “ชีวิตของฉันจะต้องดีกว่านี้” ความต้องการควบคุมที่ไม่ยืดหยุ่นเหล่านี้จะนำไปสู่ความไม่สบายทางอารมณ์เมื่อไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้หรือเราเชื่อว่ามันจะไม่เกิดขึ้น
ความคิดแบบเหมารวมเกินความเป็นจริง (Over-generalizations) ความเชื่อที่มีคำว่าเท่านั้น ตลอด หรือไม่เคยเลย นั้นก็เป็นความเชื่อที่เด็ดขาดเช่นกัน – ทั้งหมดหรือไม่เลย (ความคิดสองขั้ว) – แบบไม่มีพื้นที่สำหรับทางเลือกอื่น ๆ คุณเคยพูดหรือไม่ว่า “คุณทำพังตลอดเลย” หรือ “พฤติกรรมเสพติดของฉันเป็นทางเดียวเท่านั้นที่ฉันจะให้แก้ปัญหาได้” หรือ “เรื่องต่าง ๆ ไม่เคยเป็นอย่างที่ฉันต้องการเลย” การเชื่อแบบเด็ดขาดเป็นการลดโอกาสสำหรับความเป็นไปได้ ชีวิตเต็มไปด้วยพื้นที่สีเทา ๆ และความไม่รู้ แม้ว่าคุณจะไม่อยากให้มันเป็นเช่นนั้นก็ตาม
การไม่อดทนต่อความรู้สึกแย่ (Frustration intolerance) ความคิดที่ว่าฉันทนไม่ได้ ฉันจัดการไม่ได้ และฉันรับไม่ได้ นั้นเป็นความคิดที่ผิด คุณเคยพูดไหมว่า “ฉันทนความบีบคั้นนี้ไม่ได้” “ฉันจัดการกับแรงกดดันจากงานใหม่ของฉันไม่ได้” หรือ “ฉันรับการบ่นของคุณไม่ได้” ความจริงก็คือคุณทน จัดการ และรับสิ่งต่าง ๆ ได้ ถึงแม้ว่าบางครั้งก็ด้วยการใช้วิธีที่ไม่ได้ดีนักก็ตาม
การมองทุกอย่างแย่เกินความเป็นจริง (Awfulizations) ความเชื่อ เช่น แย่ที่สุด เลวร้ายมาก ห่วยแตก และคำที่ลงท้ายด้วย “ที่สุด” ทั้งหลาย (เช่น ใจร้ายที่สุด ขี้เกียจที่สุด โหดร้ายที่สุด น่ารังเกียจที่สุด) เป็นความเชื่อที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เลวร้ายเกินความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น “สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับฉัน” “เธอเป็นเจ้านายที่โหดร้ายที่สุดในโลก” หรือ “คนขับรถคนนั้นห่วยแตกสุด ๆ ” สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่ คุณใช้ความเชื่อเหล่านี้กับสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจกี่ครั้งแล้วในชีวิต การมองทุกอย่างแย่เกินความเป็นจริงอาจจะเป็นหนึ่งในข้ออ้างที่คุณใช้ก็ได้
เหมือนว่าความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่เป็นความจริงจะเกิดขึ้นกับเราได้อย่างง่ายดาย ลองใช้เวลาเพื่อตรวจสอบสิ่งที่คุณคิดและถามตัวเองว่า “ความเชื่อนี้จริงหรือไม่” อะไรเป็นหลักฐานในการสนับสนุนความเชื่อนั้น มีความเชื่อไหนที่เป็นกลางมากกว่านี้ที่ฉันสามารถใช้มองสถานการณ์นี้ได้อีกบ้าง
แบบฝึกหัด : การโต้แย้งกับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล (Disputing Irrational Beliefs : DIBs)
คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการตรวจสอบความคิดใด ๆ ที่อาจจะให้โทษหากคุณทำตามความเชื่อนั้น
ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล (IB) นั้น
ความเชื่อที่สมเหตุสมผล (RB) นั้น
การโต้แย้งกับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล
คุณสามารถโต้แย้งกับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล (IB) ได้โดยการเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามและตอบคำถามนั้น คำตอบของคุณอาจจะเป็นความเชื่อที่สมเหตุสมผลได้ (RB) ก็ได้
ตัวอย่างของความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลได้ (IB) : ฉันจะดื่มแค่แก้วเดียวและจะเลิก
ตัวอย่างของความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลได้ (IB) : แรงกระตุ้นนี้เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้และฉันก็ทนกับมันไม่ได้
ใช้ตารางในรูปที่ 5.1 ในการระบุความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลของคุณที่นำไปสู่ความไม่สบายทางอารมณ์และความต้องการที่จะใช้หรือกระทำ
รูปที่ 5.1 การโต้แย้งกับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล (ตัวอย่าง)
ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล | คำถาม | ความเชื่อที่สมเหตุสมผล |
ฉันล้มเหลวตลอด | ฉันล้มเหลวตลอดเลยหรือ | ที่ผ่านมาฉันเคยทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้น ฉันจึงไม่และจะไม่ได้ล้มเหลวตลอด |
ฉันไม่มีค่าอะไรเลย | ฉันไม่เคยทำอะไรที่มีคุณค่าบ้างเลยหรือ | ฉันเคยทำบางอย่างที่ไร้ค่าและไม่มีประโยชน์ แต่ เพราะฉันก็เคยทำหลายอย่างสำเร็จเช่นกัน ฉันเลยไม่สามารถตัดสินตัวเองได้ว่าเป็นคนที่ไม่มีค่าอะไรเลย |
คนรักของฉันปฏิบัติกับฉันอย่างไม่ยุติธรรม เขาเป็นคนไม่ดี | คนรักของฉันปฏิบัติกับฉันอย่างไม่ยุติธรรมหรือ เขาเป็นคนไม่ดีหรือ | เขาเคยทำสิ่งที่ไม่ยุติธรรม แต่ เขาก็ได้ทำหลายสิ่งหลายอย่างเช่นกันที่ช่วยฉัน ดังนั้น ฉันไม่สามารถตัดสินเขาว่าเป็นคนไม่ดีได้ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ |
สิ่งที่ดี ๆ ไม่เคยเกิดขึ้นกับฉันและจะไม่มีวันเกิดขึ้นด้วย | ไม่เคยมีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นกับฉันเลยหรือ | ความรักและกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนของฉันนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นกับฉันมาตลอด |
ฉันจะต้องพยายามทำอะไรก็ตามเพื่อให้รู้สึกสบายอยู่เสมอ | มันเป็นไปได้จริงหรือไม่ที่จะคาดหวังให้ตัวเองรู้สึกสบายอยู่เสมอ ๆ | ความสบายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป อาจจะดีกว่าถ้าอยู่ในความไม่สบายเพียงชั่วคราวถ้าเป็นการช่วยให้ฉันบรรลุเป้าหมายระยะยาวของฉันได้ |
เมื่อฉันทำอะไรผิดพลาด นั่นเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงสิ่งที่ฉันคิดมาตลอด ก็คือ ฉันเป็นคนล้มเหลวอย่างที่สุด | ฉันเป็นคนล้มเหลวอย่างที่สุดจริงหรือ | ฉันไม่ตัดสินคนอื่นและตัวเองแรง ๆ ทุกคนทำผิดพลาดกันทั้งนั้น ฉันสามารถทำพลาดและเรียนรู้จากมันได้ มันทำให้ฉันเป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นคนล้มเหลว |
ฉันจะต้องทำให้ดีขึ้นและดีขึ้นกว่าคนรอบ ๆ ตัวฉัน ไม่เช่นนั้น ฉันก็ไม่มีค่าอะไรเลย | ฉันไม่มีค่าอะไรเลยจริงหรือ | ฉันไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นเพื่อที่จะให้รู้สึกดี ฉันสามารถมีความสุขได้ในแบบที่ฉันเป็น และสมควรได้รับการยอมรับจากตัวฉันเอง |
เพราะว่าพฤติกรรมของฉันได้พิสูจน์แล้วว่าฉันเป็นคนขี้แพ้ ฉันจึงไม่ควรเชื่อในตัวเองหรือสัญชาตญาณของตัวเองอีก และฉันต้องการคำแนะนำจากคนอื่นอยู่เสมอ | ฉันต้องการคำแนะนำจากคนอื่นหรือ | ฉันเคยทำผิดและมันก็จะเกิดขึ้นอีก แต่ ฉันสามารถเชื่อในความคิดและความรู้สึกของตัวเองได้ และฉันไม่จำเป็นต้องอาศัยความเห็นของคนอื่นเพื่อให้เห็นคุณค่าของตัวเอง |
คนอื่นต้องรับผิดชอบในการที่ฉันไม่มีความสุข ฉันเกลียดพวกเขา ฉันต้องการจะลงโทษพวกเขา หรือฉันจะบ่นอย่างขมขื่นเมื่อพวกเขาทำให้ฉันผิดหวัง | คนอื่นมีหน้าที่รับผิดชอบในความสุขของฉันหรือ | ตัวฉันมีหน้าที่รับผิดชอบในความสุขของฉันเอง การให้คนอื่นมารับผิดชอบนั้นไม่เป็นความจริง ไม่ยุติธรรมกับพวกเขา และไม่ได้นำไปสู่ความสุขระยะยาวของฉัน |
ฉันจะต้องหาคนหนึ่งหรือความเชื่อหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตฉันมั่นคง | จะมีคนหนึ่งหรือความเชื่อหนึ่งที่จะทำให้ฉันมีความสุขได้หรือ | ชีวิตเป็นกระบวนการเรียนรู้หลายสิ่งอย่างต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับคนหลายคนมันจะเป็นการเดินทางที่ฉันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเติบโต |
ฉันเบื่อและนั่นทำให้ฉันรู้สึกไม่สบาย สิ่งเดียวที่ฉันทำได้ก็คือการข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมเสพติด | การใช้เป็นทางเลือกเดียวที่ฉันมีหรือ | ฉันสามารถทำอย่างอื่นได้เพื่อบรรเทาความเบื่อ หากฉันทำ ฉันก็จะรู้สึกเบื่อน้อยลงและมันจะทำให้ฉันไม่นึกถึงพฤติกรรมเสพติดของฉัน |
ความคิดอะไรที่ปกติจะผุดขึ้นมาเมื่อคุณรู้สึกไม่ดีหรือเมื่อคุณมีแรงกระตุ้นที่จะใช้ เขียนลงมาและเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถาม จากนั้น ให้ตอบคำถามเพื่อสร้างความเชื่อที่มีประโยชน์มากกว่า
การโต้แย้งกับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลของฉัน
ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล | คำถาม | ความเชื่อที่สมเหตสมผล |
ฉันไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้โดยไม่ใช้พฤติกรรมเสพติด | ฉันสามารถจัดการโดยไม่ใช้พฤติกรรมเสพติดได้หรือไม่ | มันอาจจะยาก แต่มันจะไม่ฆ่าฉันและมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ |
กลยุทธ์ : เปลี่ยนคำที่ใช้ เปลี่ยนความรู้สึก
เนื่องจากความรู้สึกของคุณเป็นอิทธิพลมาจากความคิด คุณสามารถเปลี่ยนความรู้สึกและพฤติกรรมได้ด้วยการเปลี่ยนความคิด และคุณสามารถเปลี่ยนความคิดได้โดยการเปลี่ยนคำที่คุณใช้ในการคิด ความแตกต่างของการเปลี่ยนคำ ๆ เดียว อาจทำให้คุณประหลาดใจ และยิ่งคุณทำเช่นนี้มากขึ้น ก็จะรู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น รูปที่ 5.2-5.4 แสดงถึงตัวอย่างคำ และยังมีที่เหลือให้คุณได้เขียนเพิ่มด้วย
รูปที่ 5.2 การเปลี่ยนคำ
แทนที่จะพูดหรือคิดแบบนี้ | พูดหรือคิดแบบนี้แทน |
ต้อง | ต้องการอย่างมาก / อยาก…มากกว่า / เลือกที่จะ… |
ควร | ต้องการอย่างมาก / อยาก…มากกว่า / เลือกที่จะ… |
จำเป็นต้อง | ต้องการ |
ไม่สามารถ | เลือกที่จะไม่… |
แย่มาก | ไม่ดี / ไม่พึงปรารถนา |
เกินทน | ไม่น่าพอใจ… |
ทนไม่ได้ | ไม่ชอบ |
เสมอ | บ่อยครั้ง |
ทั้งหมด | หลาย |
รูปที่ 5.3 การเปลี่ยนประโยค
แทนที่จะพูดหรือคิดแบบนี้ | พูดหรือคิดแบบนี้แทน |
ฉันจะต้องสมบูรณ์แบบ | ฉันต้องการอย่างมากที่จะทำสิ่งนี้ให้ดี |
คุณไม่ควรทำสิ่งนั้น | ฉันอยากให้คุณไม่ทำสิ่งนั้นมากกว่า |
คุณควรจะช่วย | ฉันจะซาบซึ้งมากในความช่วยเหลือของคุณ |
ฉันทนความรู้สึกนี้ไม่ได้ | ฉันไม่ชอบที่รู้สึกแบบนี้ |
คุณเป็นคนที่แย่ | ฉันไม่ชอบการกระทำของคุณ |
แรงกระตุ้นนี้มันแย่มาก | แรงกระตุ้นนี้ไม่พึงปรารถนา |
สถานการณ์นี้เกินจะทน | นี่ไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด |
ทุกอย่างแย่ไปหมด | สิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามที่ฉันต้องการให้มันเป็น |
มันเกิดขึ้นทุกครั้ง | มันเกิดขึ้นบ่อย |
ฉันต้องได้รับความรักจากคุณ | ฉันต้องการความรักจากคุณ |
ฉันเป็นคนไม่ดี | ฉันทำสิ่งที่ไม่ดี |
ฉันมันล้มเหลว | ฉันทำผิดพลาด / ฉันล้มเหลวในเรื่อง… |
รูปที่ 5.4 การเปลี่ยนคำที่แสดงความรู้สึก
แทนที่จะพูดหรือคิดแบบนี้ | พูดหรือคิดแบบนี้แทน |
ฉันวิตกกังวลมาก | ฉันรู้สึกเป็นห่วง |
ฉันซึมเศร้ามาก | ฉันรู้สึกเศร้า |
ฉันโกรธมาก | ฉันรู้สึกรำคาญ |
ฉันรู้สึกโทษตัวเอง | ฉันสำนึกผิด / ฉันรู้สึกผิด |
ฉันรู้สึกละอาย | ฉันรู้สึกผิดหวัง |
ฉันรู้สึกน้อยใจจริง ๆ | ฉันรู้สึกเสียใจ |
ฉันหึง | ฉันรู้สึกเป็นห่วงความสัมพันธ์ของฉัน |
ฉันอิจฉา | ฉันรู้สึกไม่มีความสุข |
การจัดการความรู้สึก
อารมณ์ที่รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณสามารถเรียนรู้ที่จะทำให้อารมณ์ในแง่ลบที่ไม่เป็นประโยชน์ (มันไม่มีประโยชน์เพราะว่ามันทำให้เราเกิดความต้องการที่จะกระทำในทางที่ทำร้ายตัวเอง) นั้นลดลงได้และสามารถเปลี่ยนเป็นอารมณ์ในแง่ลบที่เป็นประโยชน์ได้ (เป็นประโยชน์เพราะว่ามันช่วยให้เราได้สิ่งที่ต้องการให้กับตนเองในระยะยาว)
ลองดูความโกรธเป็นตัวอย่าง ความจุกจิกรำคาญใจเล็กน้อย (ความโกรธที่มีประโยชน์) สามารถนำไปสู่การกระทำในแง่บวกและเกิดการแสดงออกได้ เช่น การลุกขึ้นมาปกป้องตนเองและผู้อื่นเมื่อต้องเผชิญกับความไม่ยุติธรรม ในทางตรงกันข้าม การเดือดดาล (ความโกรธที่ไม่มีประโยชน์) สามารถเป็นอันตรายและไม่สร้างสรรค์ นำไปสู่พฤติกรรมในแง่ลบและก้าวร้าว ในขณะที่ถ้ามองในแง่ของตรรกะแล้วความรำคาญใจเป็นความสมดุลแต่ความโกรธอย่างที่สุดเป็นอารมณ์รุนแรง ทำให้ลดความสามารถในการทำงานของสมองในส่วนของตรรกะที่มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมลง คุณอาจจะเริ่มคิดว่าความโกรธและก้าวร้าวที่รุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และจบลงด้วยการที่ต้องเจอกับปัญหาร้ายแรง
การเรียนรู้ที่จะลดหรือเปลี่ยนอารมณ์รุนแรงจะทำให้ง่ายขึ้นหากเปลี่ยนการกระทำ
เครื่องมือ : ABC สำหรับอารมณ์แย่ ๆ
ABC ช่วยลดหรือเปลี่ยนอารมณ์ที่ไม่มีประโยชน์ที่มีต่อเหตุการณ์โดยการเปลี่ยนความเชื่อของคุณเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ (รูปที่ 5.5)
ในบทที่ 4 ถ้าคุณจำได้ การทำ ABC ต้องอาศัยความตั้งใจ แต่ถ้าทำสำเร็จแล้ว คุณจะสามารถรับมือกับปัญหาได้ดีขึ้นและคุณจะมีทักษะชีวิตที่เพิ่มขึ้นที่จะอยู่กับคุณไปตลอดแม้ว่าคุณจะเลิกจากพฤติกรรมเสพติดไปนานแล้วก็ตาม
การใช้ ABC
เริ่มต้นจากอารมณ์ไม่พึงประสงค์ที่แย่ที่สุดที่มีต่อเหตุการณ์หรืออารมณ์ที่เชื่อมโยงกับแรงกระตุ้น จำไว้ว่าในแต่ละครั้งควรจะจัดการกับอารมณ์หรือเป้าหมายเดียว
การทำเช่นนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและคุณจะต้องทำงานกับมันอย่างมากจนกว่าคุณจะเชื่อในความเชื่อเหล่านั้น เมื่อคุณได้ทำ ABC แล้ว ให้นึกถึงในใจบ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกกับสถานการณ์นั้น ๆ ต่างออกไปจากเดิม
รูปที่ 5.5 ABC ที่ใช้รับมือกับอารมณ์แย่ ๆ (ตัวอย่าง)
A – Activating event (เหตุการณ์) | B – Belief about the event (ความเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์) | C – Consequences of your belief (ผลที่เกิดจากความเชื่อนั้น) | D – Dispute your beliefs (โต้แย้งความเชื่อ) | E – Effective new belief (ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า) |
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์แย่ ๆ | สิ่งที่ฉันเชื่อเกี่ยวกับ A หาความต้องการที่ไม่สมเหตุสมผล หรือ คำว่า “ต้อง” | ความรู้สึกและการกระทำของฉันที่เป็นผลมาจาก B | ความเชื่อเกี่ยวกับ A ที่มีประโยชน์มากกว่าที่จะใช้ทดแทนความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล | ความรู้สึกและการกระทำที่เป็นผลจาก D หรือความเชื่อที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับ A |
ฉันรู้สึกเบื่อ และฉันไม่มีอะไรทำเลยคืนนี้ | ฉัน ต้อง ทำให้ความกังวลนี้หายไปเดี๋ยวนี้หรือไม่อย่างนั้นฉันจะระเบิดออกมาก การใช้พฤติกรรมเสพติดจะช่วยให้ฉันดีขึ้น และฉันสมควรได้รับการตามใจ | ฉันรู้สึกกังวลมาก ๆ เพราะว่าฉันรู้ว่าฉันไม่สามารถรับมือได้โดยปราศจากการใช้ พฤติกรรมเสพติดเมื่อฉันรู้สึกเบื่อ | ฉันจะระเบิดจริง ๆ หรือ ไม่หรอก การใช้ พฤติกรรมเสพติดไม่ได้ทำให้ฉันบรรลุเป้าหมายระยะยาวของฉัน หรือไม่ช่วยให้ฉันเรียนรู้ที่จะรับมือกับอารมณ์นี้ได้ | เป้าหมายระยะยาวของฉันสำคัญ ดังนั้นฉันจึงจะไม่ใช้พฤติกรรมเสพติด ฉันจะนั่งสมาธิหรือออกไปเดินเล่นเพื่อแทนที่ความวิตกกังวลด้วยอารมณ์ที่มีประโยชน์มากกว่าและรุนแรงน้อยกว่า |
แบบฝึกหัด ABC ที่ใช้รับมือกับอารมณ์แย่ ๆ ของฉัน | E – Effective new belief (ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า) | ความคิดที่สมเหตุสมผล อารมณ์ที่พอประมาณ เช่น ความรำคาญ ความผิดหวัง การกล้าพูดตรง ๆ ความเศร้า เป็นต้น | |
D – Dispute your beliefs (โต้แย้งความเชื่อ) | เปลี่ยน B ให้เป็นคำถาม เช่น ฉันเป็น….จริงหรือ ฉันมีหลักฐานเรื่อง…หรือไม่ เป็นต้น | ||
C – Consequences of your belief (ผลที่เกิดจากความเชื่อนั้น) | ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลทำให้ฉันรู้สึกอย่างไร เช่น เดือดดาล ซึมเศร้า วิตกกังวล ละอาย หลีกหนี ก้าวร้าว เป็นต้น | ||
B – Belief about the event (ความเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์) | ฉันกำลังบอกตัวเองว่าอย่างไรเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ เช่น การออกคำสั่ง การมองว่าแย่ที่สุด การทำให้เศร้ายิ่งขึ้น การไม่อดทนต่อความไม่พอใจ เป็นต้น | ||
A – Activating event (เหตุการณ์) | เกิดอะไรขึ้น |
รูปที่ 5.6 การแทนที่อารมณ์ที่รุนแรง
อารมณ์ที่รุนแรง (C) | อารมณ์ที่เป็นประโยชน์ (E) |
วิตกกังวล | เป็นห่วง |
ซึมเศร้า | เศร้า |
เดือดดาล | รำคาญใจ |
ละอาย | เสียใจ |
โทษตัวเอง | ผิดหวัง |
น้อยใจ | ผิดหวัง |
หึง | เป็นห่วง ผิดหวัง |
กลยุทธ์ : ประโยคที่ใช้รับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ
เมื่อคุณอยู่ในวิกฤติ ABC อาจจะไม่ได้ช่วยมากนักเนื่องจากมันใช้เวลาและความคิดที่เป็นเหตุผล ข้อความที่ใช้รับมือที่ธรรมดาและง่ายจะช่วยให้คุณผ่านวิกฤติไปได้ มันเป็นข้อความธรรมดา ๆ ที่คุณจะพูดกับตัวเองเพื่อให้ผ่านช่วงเวลานั้น ๆ จนกว่าคุณจะมีเวลาทำ ABC ให้เริ่มทำ ABC เมื่อคุณหายจากอารมณ์นั้น ๆ แล้ว ไม่ใช่ทำ ณ เวลาที่กำลังเกิดเหตุการณ์
มันจะช่วยได้มากหากคุณคิดและฝึกซ้อมข้อความที่เอาไว้รับมือเพื่อที่ว่ามันจะได้พร้อมใช้งานเมื่อคุณต้องการ ตัวอย่างเช่น “นี่มันน่าหงุดหงิด แต่ฉันจะผ่านมันไปได้” หรือ “ฉันรู้สึกน้อยใจ แต่การใช้ (พฤติกรรมเสพติด) จะยิ่งทำให้ฉันรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม”
พยายามทำให้ข้อความที่ใช้รับมือของคุณเป็นไปได้จริงให้มากที่สุดโดยปราศจากความต้องการควบคุมที่มีต่อตัวคุณเองหรือต่อคนอื่น คุณสามารถใช้ตัวอย่างจากแบบฝึกหัดสำหรับการโต้แย้งความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล (หน้า 47) และเก็บข้อความสำหรับรับมืออย่างสมเหตุสมผลนี้ไว้ใกล้ ๆ ตัว
ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของข้อความที่ใช้รับมือ
สำหรับทำให้อดทนต่อความไม่พอใจได้ดีขึ้น
สำหรับทำให้อารมณ์โมโหรุนแรงน้อยลง
สำหรับควบคุมไม่ให้ความวิตกกังวลและความซึมเศร้าเชื่อมโยงกับการตัดสินตนเอง
คุณสามารถดูข้อความที่ใช้รับมือได้ในหนังสือของ บิล บอร์เช็ท (Bill Borcherdt) ชื่อว่า Think Straight, FeelGreat! : 21 Guides to Emotional Self-Control และยังมีข้อความที่ใช้รับมืออีกมากมายในเว็บไซต์ของสมาร์ท
ทุกครั้งที่คุณแทนที่การคิดที่ไม่สมเหตุสมผลและให้โทษนี้ด้วยการคิดที่สมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ คุณจะรู้สึกดีขึ้นและเกิดความต้องการที่จะทำในสิ่งที่สะท้อนถึงความรู้สึกจริง ๆ ของคุณ
การแก้ปัญหาชีวิต
เมื่อคุณได้นำพฤติกรรมเสพติดออกไปจากชีวิตคุณแล้ว คุณก็ยังต้องพบกับความยากลำบากอยู่ แม้จะไม่มีปัญหาและความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นมาจากพฤติกรรมเสพติด ทักษะชีวิตที่เราทุกคนสามารถนำไปใช้ได้นั่นคือการแก้ไขปัญหาหรือการย่อยปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ให้เล็กลงเป็นข้อ ๆ ที่สามารถจัดการได้
การจัดการกับปัญหาจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นถ้าคุณยอมรับสิ่งเหล่านี้
คุณอาจจะกระทำพฤติกรรมเสพติดเพราะปัญหาทำให้คุณรู้สึกท่วมท้นและคุณไม่เห็นทางออกอื่นนอกจากการหลีกหนีโดยใช้พฤติกกรรมเสพติด สิ่งสำคัญของการจัดการความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมก็คือการผ่านปัญหาชีวิตไปให้ได้มากกว่าการที่พยายามหลีกเลี่ยง การมีมุมมองที่เป็นบวกและการยอมรับสิ่งต่าง ๆ อย่างที่มันเป็น จะช่วยให้คุณหลุดพ้นจากปัญหาและความกังวลใจหลาย ๆ อย่าง ทั้งนี้ การปฏิเสธซ้ำ ๆ เพื่อไม่ให้อารมณ์เข้ามามีอิทธิพลกับคุณนั้น จะทำให้การแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น
จำ 3Ps คือ Practice (ฝึกฝน), Patience (พยายาม), Persistence (มุ่งมั่น) เอาไว้แม่น
แบบฝึกหัด : 5 ขั้นตอนของการแก้ไขปัญหา
ก. เข้าใจธรรมชาติเฉพาะตัวของปัญหา และ
ข. ระบุวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้
ถ้าเป็นไปได้ ให้จดบันทึกผลทุกวันว่าได้ผลหรือไม่ คุณได้ปรับเปลี่ยนแผนหรือไม่ เปรียบเทียบผลที่ได้กับความคาดหวังของคุณ เป็นไปได้ว่าผลที่คุณได้อาจจะแตกต่างจากสิ่งที่คุณต้องการหรือคาดหวังไว้ คุณสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้หรือไม่ คุณควรลองวิธีอื่นหรือไม่
ลองถามความคิดเห็นจากคนอื่น หรือพูดคุยในการพบปะของสมาร์ท การได้รับความคิดเห็นสั้น ๆ เกี่ยวกับแผนจะช่วยให้คุณทำตามแผนเพื่อแก้ปัญหาเดิมของคุณได้
ทั้งนี้ ก็เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ ในการฟื้นฟู ที่ต้องใช้การฝึกฝน เหมือนกับการสร้างทักษะทั้งหลาย การมีคนที่คอยให้ความเห็นที่ตรงไปตรงมาในขณะเดียวกันก็ให้กำลังใจไปด้วยนั้นช่วยได้ คุณจะทำพลาด คุณอาจจะหมดกำลังใจ อย่าเพิ่งถอดใจ และอย่าตีตราว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว ด้วยเวลาและความพยายาม คุณจะเกิดการแก้ไขปัญหาที่ดีอย่างเป็นธรรมชาติได้
กลยุทธ์ : การป้องกันการกลับมาใช้ซ้ำ
คุณอาจจำได้จากบทที่ 2 ว่า การเผลอใช้คือการเผลอกลับไปใช้พฤติกรรมเดิมในช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะที่การกลับมาใช้ซ้ำจะทำให้คุณมีพฤติกรรมเดิม ๆ ที่นานขึ้น เช่น การเมา 1 คืน เทียบกับการกลับไปใช้แอลกอฮอล์ 1 เดือน เป็นต้น
หากคุณมองว่าตัวเองผ่านการฟื้นฟูแล้ว ให้คอยระวังความกระหยิ่มใจเอาไว้ จำไว้เสมอว่าคุณเคยอยู่จุดไหนและคุณประสบความสำเร็จเรื่องใด คุณอาจจะต้องคิดอย่างระมัดระวังและอย่างซื่อสัตย์ว่าคุณจะเปราะบางแค่ไหน และคอยระมัดระวังอย่างเหมาะสม
ระยะเวลาที่หยุดใช้อาจนำไปสู่ความคิดที่ว่าคุณสามารถ “ควบคุมได้แล้ว” และตอนนี้ก็สามารถกลับไปใช้อย่างพอสมควรได้แล้ว ระวังความคิดนี้ไว้ให้ดี มันเป็นข้ออ้างเพื่อทำให้เกิดการใช้ การทำ ABC กับความคิด “ฉันสามารถควบคุมได้แล้ว” อาจช่วยในการรักษาแรงจูงใจและป้องกันการเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำ
ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมีความทรงจำ ดังนั้น แม้ว่าคุณจะหยุดใช้มานานแล้ว เมื่อเกิดการเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำแล้ว คุณอาจจะมีพฤติกรรมเสพติดที่รุนแรงกว่าเดิมก็ได้ เรียกว่า ผลของการละเมิดการหยุดใช้
สมาร์ทมองว่าการเผลอใช้และการกลับมาใช้ซ้ำเป็นการถอยหลังเพียงชั่วคราวของการฟื้นฟู หากคุณมีการเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำ คุณสามารถเรียนรู้จากมันได้ ใช้มันเพื่อสร้างกลยุทธ์ที่ดีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดครั้งต่อไป
สถานการณ์อันตราย
การเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำสามารถเกิดขึ้นโดยปราศจากแรงกระตุ้น มีสถานการณ์อันตราย 6 ข้อที่นำไปสู่การเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำ ทำความรู้จักมันเพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวรับมือ
คุณอาจจะเตรียมตัวรับมือโดยการหาคุณค่าหลัก เป้าหมาย และการวางแผนของคุณสำหรับสถานการณ์เหล่านี้
สถานการณ์ที่อันตราย ได้แก่
โอกาสเป็นการล่อลวงที่ทรงพลัง
จำไว้ว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้รับมือกับการเผลอใช้และการกลับมาใช้ซ้ำนั้นคือการป้องกัน มาตรการป้องกันที่แข็งขันอาจประสบความสำเร็จ หากความคิดที่ว่าคุณต้องการจะกลับไปสู่พฤติกรรมเก่าเกิดขึ้นแต่ยังไม่ใช่แรงกระตุ้นที่ทำให้รู้สึกท่วมท้น คุณอาจจะถามตัวเองว่าการกระทำตามความคิดนั้นเป็นทางเลือกที่ดีในระยะยาวหรือไม่ เทคนิคที่พูดถึงในพ้อยต์ที่ 2 การรับมือกับแรงกระตุ้นจะช่วยให้คุณคิดเกี่ยวกับความอยากได้อย่างเป็นจริงมากขึ้น เพียงแค่ใช้เทคนิคที่เคยใช้ได้ผลกับคุณแม้ว่าการเผลอใช้หรือการกลับมาใช้ซ้ำนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่มันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นปกติสำหรับคุณ
ด้านล่างนี้เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการกลับไปทำพฤติกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์อีก
สรุป
คุณรู้สึกดีขึ้นจากการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความคิดของคุณ เมื่อคุณรู้สึกดีขึ้น คุณจะแสดงออกในแบบที่สะท้อนความรู้สึกของคุณ การพัฒนาวิธีคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลผ่านการฝึกฝนและการใช้เครื่องมือและกลยุทธ์จาก บทนี้ จะช่วยคุณในเรื่องการควบคุมอารมณ์หรือปรับอารมณ์ที่รุนแรงในอดีตที่นำไปสู่การกระทำในอดีต การคิดแบบไม่สมเหตุสมผล การรู้สึกถึงอารมณ์ที่รุนแรง และการแสดงออกในทางที่สะท้อนถึงอารมณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ดังนั้น ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมในแบบใหม่ที่สมเหตุสมผลก็สามารถเกิดขึ้นอัตโนมัติได้ด้วยเช่นกัน
พ้อยต์ที่ 2 การรับมือกับแรงกระตุ้น
ถึงตอนนี้ที่คุณมุ่งมั่นตั้งใจและมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณแล้ว เราลองมาดูกันว่าคุณจะสามารถรับมือกับแรงกระตุ้นได้อย่างไรบ้าง การเรียนรู้ที่จะจัดการกับแรงกระตุ้นนั้นแตกต่างกันสำหรับการหยุดใช้และการใช้ มันอาจจะยาก ความรู้สึกอาจรุนแรงมากและคุณก็ชินกับการยอมทำตามแรงกระตุ้นนั้น มันต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแรงกล้าทั้งทางจิตใจและอารมณ์ในการที่จะเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมนี้
บางคนบอกว่าไม่มีการเกิดแรงกระตุ้นเลยภายหลังจากตัดสินใจหยุดใช้ บางคนก็บอกว่าแรงกระตุ้นเกิดขึ้นหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง การรับมือกับแรงกระตุ้นอาจเป็นเรื่องยากทางจิตใจ อาจทำให้รู้สึกไม่สบายทั้งทางกายและทางอารมณ์ แต่ไม่ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ คุณทำได้
ในพจนานุกรมของเวบสเตอร์ได้จำกัดความแรงกระตุ้นไว้ว่าเป็นการกระทำที่ “กดดัน ผลักดัน ขับเคลื่อน บีบ หรือบังคับให้ไปข้างหน้า” รวมถึง “การกดดันจิตใจหรือความปรารถนา การทำตามเหตุจูงใจ การโต้เถียง การโน้มน้าว หรือการรบเร้า”
โดยธรรมชาติแล้วแรงกระตุ้นนั้นเป็นเรื่องของจิตวิทยา ไม่ใช่อาการจากการถอนที่เกิดขึ้นทางกายที่คุณจะได้ประสบในการหยุดใช้ครั้งแรก (พฤติกรรมหรือสารเสพติด) อย่างไรก็ตาม การต่อต้านแรงกระตุ้นอาจก่อให้เกิดความไม่สบายทางกายและทางอารมณ์
ยิ่งคุณรู้จักแรงกระตุ้นและเข้าใจสาเหตุการเกิดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งตรียมตัวรับมือกับมันได้มากเท่านั้น แทนที่จะใช้แรงกระตุ้นเป็นข้ออ้างไปสู่พฤติกรรมเสพติด คุณจะสามารถใช้มันเป็นตัวเร่งการเติบโตทางอารมณ์ของคุณได้
คุณสามารถเรียนรู้ที่จะรับรู้ถึงแรงกระตุ้นโดยไม่ลงมือทำตามมัน ยิ่งคุณทำได้มากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น คนส่วนใหญ่ที่ผ่านการฟื้นฟูพฤติกรรมเสพติดบอกว่า สักระยะหนึ่ง แรงกระตุ้นจะหายไปโดยสมบูรณ์เมื่อพวกเขาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ด้วยทางเลือกที่เป็นประโยชน์ ในช่วงวันแรก ๆ หรือสัปดาห์แรกๆ ของการหยุดใช้ แรงกระตุ้นของคุณอาจจะรุนแรงมากและอาจเป็นอยู่สักพักหนึ่ง
การเกาตรงบริเวณที่คัน
หากคุณเคยมีผื่นคันจากต้นโอ๊กมีพิษ เถาวัลย์มีพิษ อีสุกอีใส หรือการแพ้ต่าง ๆ คุณจะรู้ว่าการคันเหล่านั้นรุนแรงเพียงใด มันรู้สึกเหมือนกับว่าวิธีเดียวที่จะทำให้อาการบรรเทาลงได้นั่นคือการเกาแรงๆ และนาน ๆเท่านั้น การเกาผื่นคันเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกดีขึ้นในระยะสั้น แต่ผลในระยะยาว คือ มันจะหายช้าลง เกิดแผลเป็น และติดเชื้อได้ง่าย
มีวิธีอื่น ๆ ที่จะใช้รับมือกับอาการคันได้ ในตอนแรก วิธีการบรรเทาอย่างเช่น ครีมช่วยให้หายคัน และการแช่ในน้ำข้าวโอ๊ตอาจไม่ได้ดูเหมือนว่าจะได้ผลที่น่าพึงพอใจเท่ากับการใช้มือเกา แต่วิธีการเหล่านี้จะให้ประโยชน์ในระยะอย่างที่คุณต้องการ นั่นคือ การลดผื่นคันโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
ในทางเดียวกัน คุณอาจรู้สึกเหมือนว่าวิธีเดียวที่จะหยุดแรงกระตุ้นได้ก็คือการใช้ แต่ก็เหมือนการเกานั่นแหละ มันมีวิธีอื่น ๆ ที่ดีกว่าที่จะใช้รับมือได้ แม้ว่าวิธีเหล่านี้อาจไม่ได้ให้ความพึงพอใจอย่างเฉียบพลันก็ตาม
การเรียนรู้ที่จะจัดการกับแรงกระตุ้นทำให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาวของคุณได้ มันไม่มีทางลัด
ความเชื่อเกี่ยวกับแรงกระตุ้น
ดูเหมือนว่าคุณได้ยอมทำตามแรงกระตุ้นของคุณมาเป็นเวลานานมากจนคุณไม่ได้คิดเกี่ยวกับมัน รู้สึกเหมือนว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของตัวคุณไปแล้ว
คุณอาจจะยึดถือความเชื่อที่ไม่เป็นความจริงและไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงกระตุ้น และจริง ๆ แล้วนั้นทำให้ยิ่งแย่ลง เมื่อความคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นของคุณถูกต้องและเป็นจริงมากขึ้น ก็เป็นไปได้ที่จะกำจัดหรือแม้แต่ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
นี่เป็นความเชื่อที่ตรงกันข้ามเกี่ยวกับแรงกระตุ้นที่อาจช่วยให้คุณเข้าใจมันได้ดีขึ้น
แบบฝึกหัด : ระบุสิ่งเร้าของคุณ
สิ่งเร้าคืออะไร
สิ่งเร้าก็คือสิ่งที่นำไปสู่ความอยาก (ฉันอยากจะ) ซึ่งจะนำไปสู่แรงกระตุ้น (ฉันจำเป็นต้อง) สิ่งเร้าอาจจะเป็นอารมณ์ของคุณเอง สิ่งที่คุณได้ทำ กำลังทำอยู่ หรืออยากจะทำ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน ของสัปดาห์ หรือของปี สิ่งที่คุณสัมผัส ได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น หรือได้รับรส หรืออย่างอื่นที่นำไปสู่แรงกระตุ้น แต่ละคนก็มีสิ่งเร้าเป็นของตัวเอง
มันไม่ใช่ข้ออ้างในการใช้และก็ไม่ใช่สิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้
พฤติกรรมเสพติดสอนให้สมองเชื่อมโยงบางสิ่งเข้ากับความเพลิดเพลินหรือการบรรเทาที่คุณจะรู้สึกได้เมื่อได้ทำพฤติกรรมเสพติด แม้ว่าคุณจะหยุดทำแล้ว สมองก็จะคอยเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมเสพติดเมื่อเจอกับสิ่งเร้า หรือปล่อยให้ตัวเองนึกถึงสิ่งเร้า
สมองสามารถเลิกเรียนรู้ปฏิกิริยาต่อความคิดเหล่านี้ (ฉันอยาก) ที่มีต่อสิ่งเร้า ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจคงอยู่สักระยะหนึ่งแต่สุดท้ายแล้วความคิดที่ไม่มีประโยชน์นี้จะเริ่มลดลงเหลือแค่สั้น ๆ (ครึ่งวินาที) ในความเป็นมนุษย์ ความคิดสั้น ๆ ไร้สาระ และไม่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นในหัวของเราตลอดเวลา และเมื่อเราไม่สนใจมัน ความคิดโง่ๆ เหล่านั้นก็จะหายไป ปกติแล้ว แรงกระตุ้นที่รุนแรง (ฉันจำเป็นต้อง) จะหายไปเพียงไม่กี่วัน สัปดาห์ หรือเดือน
ในการระบุสิ่งเร้าของคุณ ลองคิดถึงสารหรือพฤติกรรมเสพติดที่กระตุ้นประสาทสัมผัสของคุณ ทั้งการมองเห็น ได้กลิ่น ได้ยิน รับรสและสัมผัส (รูปที่ 4.1) ลองเขียนสิ่งเร้าลงมาเป็นข้อ ๆ คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีมากแค่ไหน คุณระบุได้กี่อย่าง ซื่อสัตย์และลองเขียนทั้งหมด แม้ว่าบางอย่างอาจดูเหมือนไม่สำคัญก็ตาม
รูปที่ 4.1 การระบุสิ่งเร้า (ตัวอย่าง)
พฤติกรรมเสพติด | ตัวอย่างสิ่งเร้า |
เฮโรอีน | เห็นเข็มฉีดยาและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเสพยา |
เพศสัมพันธ์ | โฆษณายั่วยวน น้ำหอม ทรงผมบางทรง |
โคเคน | ผงอะไรก็ตามที่มีสีขาว กระดาษฟอยล์ |
อาหาร | การซื้อของใช้ อาหารที่เรียงราย กลิ่นบางอย่าง |
แอลกอฮอล์ | โฆษณา เสียงเปิดกระป๋อง ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน |
การพนัน | โฆษณาล็อตเตอรี เห็นเกมลุ้นโชคตามร้านค้า ตารางแข่งฟุตบอล |
กัญชา | เพลงบางเพลง สนามเล่นสเกต เห็นม้วนกระดาษตามร้านค้า |
บุหรี่ | มื้ออาหาร กลิ่นบุหรี่ ความเครียด กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ |
การระบุสิ่งเร้าของฉัน
พฤติกรรมเสพติด | ตัวอย่างสิ่งเร้า |
ความเสี่ยงของสิ่งเร้า
เมื่อคุณระบุได้แล้วว่าสิ่งเร้าของคุณคืออะไร (และคุณอาจระบุเพิ่มได้อีกเมื่อผ่านการฟื้นฟูไปเรื่อย ๆ) ให้ตามดูว่าสิ่งเร้าเหล่านี้ทำให้เกิดแรงกระตุ้นมากน้อยแค่ไหน สิ่งเร้าที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือสิ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นบ่อย ๆ
ให้คะแนนสิ่งเร้าแต่ละข้อตั้งแต่ 1-10 (10 คือ เสี่ยงที่สุด หรือทำให้เกิดการกระตุ้นมากที่สุด) วิธีนี้จะช่วยจำกัดขอบเขตความพยายามของคุณเพื่อที่ว่าคุณจะสามารถทำงานกับสิ่งเร้าที่จัดการยากที่สุดก่อน
รูปที่ 4.2 ความเสี่ยงของสิ่งเร้า
สิ่งเร้า | คะแนนความเสี่ยง 0-10 |
อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ: โกรธ หงุดหงิด โศกเศร้า เป็นต้น อื่นๆ : | |
อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ: เบิกบาน สงบ มีความหวัง เป็นต้น อื่นๆ : | |
ความรู้สึกทางกายที่ไม่น่าพึงพอใจ: ความเจ็บปวด หนาว ร้อน เป็นต้น อื่นๆ : | |
ความเครียด: แรงกดดันจากเพื่อน ปัญหาการทำงาน ความกลัวทั่ว ๆ ไป ความกังวลทางการเงิน เป็นต้น อื่นๆ : | |
ความขัดแย้งกับผู้อื่น: คู่สมรส เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูก พ่อแม่ เป็นต้น อื่นๆ : | |
สถานที่หรือช่วงเวลา: ร้านอาหาร สวนสาธารณะ ตอนอยู่กับเพื่อน รถยนต์ การทำงาน ฤดูร้อน ตอนเย็น เป็นต้น อื่นๆ : | |
อื่นๆ : | |
อื่นๆ : |
มาถึงตอนนี้ที่คุณได้ให้คะแนนสิ่งเร้าแต่ละอย่างในรูปที่ 4.2 แล้ว ให้เชื่อมโยงสิ่งเร้ากับพฤติกรรมเสพติดของคุณ สำหรับพฤติกรรมเสพติดแต่ละข้อ ให้เขียนแต่ละสถานการณ์เท่าที่นึกได้ที่ทำเกิดการกระตุ้นการใช้ เริ่มด้วยความเสี่ยงที่มากที่สุด (10) ไปจนถึงความเสี่ยงน้อยที่สุด (1) ทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้
รูปที่ 4.3 แบบฝึกหัดสิ่งเร้า (ตัวอย่าง)
พฤติกรรมเสพติดของฉัน: โคเคน | |
สิ่งเร้า | ความเสี่ยง 1-10 |
ทะเลาะกับคู่สมรส | 10 |
ออกไปเที่ยวกับโรเบิร์ต | 10 |
ขับรถถึงมุมตึกที่ฉันเคยซื้อ | 8 |
เต้นในผับ | 3 |
วันหยุด | 10 |
แบบฝึกหัดสิ่งเร้าของฉัน
พฤติกรรมเสพติดของฉัน: | |
สิ่งเร้า | ความเสี่ยง 1-10 |
พฤติกรรมเสพติดของฉัน: | |
สิ่งเร้า | ความเสี่ยง 1-10 |
แรงกระตุ้น
การระบุสิ่งเร้าของคุณนั้นเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟู การตระหนักรู้จะทำให้มีพลังในการทำความเข้าใจและรับมือกับแรงกระตุ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการตระหนักรู้และการวางแผนแล้ว คุณก็จะยังเจอกับแรงกระตุ้น อยู่ดี มันเป็นเรื่องปกติและเป็นธรรมชาติของการฟื้นฟู
การตระหนักรู้และความเข้าใจแรงกระตุ้นนั้นสำคัญต่อการฟื้นฟูอย่างมาก คุณได้ระบุแล้วว่าอะไรเป็นสิ่งเร้า แต่คุณยังไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นนานเท่าไหร่ รุนแรงแค่ไหน เกิดบ่อยแค่ไหน คนส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมเสพติดไม่รู้ว่าโดยปกติแล้ว แรงกระตุ้นจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีไปจนถึงไม่กี่นาทีแล้วก็จะหายไป
วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแรงกระตุ้นของคุณก็คือการบันทึกไว้ในตารางบันทึกแรงกระตุ้น
แบบฝึกหัด : ตารางบันทึกแรงกระตุ้น
ตารางบันทึกแรงกระตุ้น (รูปที่ 4.4) นั้นเป็นตารางที่คุณเอาไว้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแรงกระตุ้นของคุณโดยเฉพาะ หลังจากบันทึกบางรายการแล้ว คุณจะสังเกตเห็นได้ถึงรูปแบบและความคล้ายคลึงกันของแรงกระตุ้น ตารางบันทึกนี้ก็จะกลายมาเป็นแนวทางที่จะช่วยให้คุณคาดการณ์ถึงสถานการณ์และอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดการเร้า คุณยังอาจสังเกตได้ว่ารูปแบบความคิดบางอย่างนั้นเชื่อมโยงกับแรงกระตุ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการตัวเองและการแก้ปัญหา (พ้อยต์ที่ 3)
คุณอาจพบว่าคุณสามารถสร้างตารางบันทึกแรงกระตุ้นในสมุดบันทึกของคุณได้ด้วย หากคุณยังไม่มี ให้ใช้รูปที่ 4.4 (มีตารางเปล่าอยู่ในภาคผนวก ข) เก็บเอาไว้กับตัวเพื่อที่คุณจะสามารถจดบันทึกแรงกระตุ้นแต่ละชนิดก่อนที่จะลืม ในช่วงแรก ในหนึ่งวันคุณอาจจะต้องเขียนบ่อย ๆ
เมื่อคุณระบุแรงกระตุ้นในบางช่วงเวลา สถานที่ หรือสถานการณ์ที่คุณต้องพบเจอเป็นประจำ คุณสามารถวางแผนวิธีหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าเหล่านั้น หรือเบี่ยงเบนความสนใจให้ออกจากสิ่งเร้าจนกว่ามันจะผ่านไป
ดูรูปที่ 4.4 เป็นตัวอย่างของตารางบันทึกสิ่งเร้า
รูปที่ 4.4 ตารางบันทึกแรงกระตุ้นของฉัน | กิจกรรมทางเลือกหรือพฤติกรรมที่มาแทนที่ | หลีกเลี่ยงไม่ไปร้านนี้ | |||||||||
ฉันรับมืออย่างไรและความรู้สึกต่อ การรับมือนั้น | บอกเพื่อนที่ไปด้วย และลืมได้เร็วมาก | ||||||||||
ฉันอยู่ที่ไหนและกับใคร | ลิซ่า และ สเตฟานี | ||||||||||
อะไรเป็นสิ่งเร้า | ทานอาหาร กลางวันที่บาร์ไวน์ | ||||||||||
ระยะเวลาที่เกิดแรงกระตุ้น | 1 นาที | ||||||||||
คะแนน 1-10 | 8 | ||||||||||
เวลา | 1:15 | ||||||||||
วันที่ | 8/29 |
การเบี่ยงเบนความสนใจ
แม้ว่ามันอาจจะยากในช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงกระตุ้นที่รุนแรง การเบี่ยงเบนความสนใจนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผ่านแรงกระตุ้นไปให้ได้ เมื่อคุณกำลังตั้งใจทำอะไรบางอย่าง คุณจะคิดถึงแต่สิ่งนั้น ไม่คิดถึงแรงกระตุ้น
ยิ่งคุณปฏิเสธที่จะทำตามแรงกระตุ้นมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งเกิดห่างขึ้น ยิ่งผ่านไปเร็ว และรุนแรงน้อยลงด้วย
รูปที่ 4.5 การระบุสิ่งที่ใช้เบี่ยงเบนความสนใจ
ประเภท | กิจกรรม |
งานบ้าน | ทำความสะอาด ทำอาหาร ล้างจาน รีดผ้า ทำสวน ซักผ้า |
ออกกำลังกาย | เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ โยคะ พิลาทิส สกี ยกน้ำหนัก สเกต |
เกม | เกมคอมพิวเตอร์ บอร์ดเกม การ์ดเกม หมากรุก ปริศนา ปาลูกดอก |
ศิลปะ | วาดรูป ระบายสี เขียน ถ่ายภาพ ปั้น |
งานฝีมือ | ถักนิตติ้ง ร้อยลูกปัด งานเครื่องหนัง ตกแต่งสมุด งานไม้ |
ศิลปะการต่อสู้ | ไอกิโด ยูโด คาราเต้ ไท-ฉี เทควันโด จูจิสุ |
กิจกรรมกลางแจ้ง | ส่องนก เดิน ปีนเขา ขี่จักรยาน |
ศิลปะการแสดง ดนตรี | ร้องเพลง แสดงละคร เล่นดนตรี ละครใบ้ เต้น |
การพัฒนาตนเอง | อ่านหนังสือ เข้าร่วมงานสัมมนา พัฒนาอาชีพ |
การอ่าน การฟัง | อ่านนิยาย สารคดี ฟังการแสดงดนตรี |
กิจกรรมเข้าสังคม | ไปเที่ยวกับเพื่อน ไปงานพบปะสังสรรค์ เข้าร่วมกลุ่มหรือชมรม |
การรับชม | ดูหนัง ละครเวที ดูทีมี ดูหนังเก่า ๆ |
กีฬาที่เล่นเป็นทีม | เล่นปิงปอง ฮอกกี้ ฟุตบอล ซอฟต์บอล |
การศึกษา | ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ |
งานช่าง | ทาสี ก่อสร้าง ซ่อมรถ ซ่อมแซมเครื่องใช้ในโรงรถ |
การระบายอารมณ์ | พูดคุย เขียนบันทึก วาดรูป ร้องไห้ ปาไข่ลงบนพื้น |
ทำงานอาสา | โรงทาน บ้านพักฟื้น โบสถ์ สมาร์ท |
ลองใช้เวลาในการระบุสิ่งที่ใช้เบี่ยงเบนความสนใจที่อาจจะช่วยคุณได้
สิ่งที่ใช้เบี่ยงเบนความสนใจของฉัน | |
ลองใช้ตารางวางแผนกิจกรรมรายสัปดาห์ (รูปที่ 4.6) ในการบันทึกความสนใจและกิจกรรมของคุณ วางแผนกิจกรรมในเวลาที่คุณรู้ว่าจะเกิดแรงกระตุ้น ตรวจสอบตารางบันทึกแรงกระตุ้นหรือตารางบันทึกสิ่งเร้าของคุณบ่อย ๆ ในเวลาที่กำลังจะเกิดแรงกระตุ้น
กลยุทธ์ : การรับมือกับแรงกระตุ้น
ต่อไปนี้จะเป็นกลยุทธ์พื้นฐานและขั้นสูงที่ปรับมาจากหนังสือของ ดร. ทอม ฮอร์วาท ชื่อว่า Sex, Drugs, Gambling & Chocolate: A Workbook for Overcoming Addictions คุณสามารถฝึกสิ่งเหล่านี้เพื่อที่จะให้เหมาะสำหรับตัวคุณได้ โดย 14 ข้อแรกนั้นสามารถเรียนรู้และลงมือทำได้ง่ายที่สุด กลยุทธ์ขั้นสูงต้องใช้ความรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้งและการฝึกฝนที่มากขึ้น มันสำคัญที่จะค้นพบว่าข้อที่ได้ผลสำหรับคุณและฝึกฝนบ่อย ๆ สักระยะหนึ่ง คุณจะไม่ต้องฝึกสิ่งเหล่านี้อีกแล้วเพราะว่ามันจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คุณจะไม่ต้องแม้แต่คิดถึงมันด้วยซ้ำ
กลยุทธ์พื้นฐาน
รูปที่ 4.6 ตารางวางแผนกิจกรรมรายสัปดาห์ | วันอาทิตย์ | |||
วันเสาร์ | ||||
วันศุกร์ | ||||
วันพฤหัสบดี | ||||
วันพุธ | ||||
วันอังคาร | ||||
วันจันทร์ | ||||
เวลา | เช้า | กลางวัน | เย็น |
กลยุทธ์ขั้นสูง
มันอาจจะช่วยได้หากคุณมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ไปด้วยเพื่อให้กำลังใจและคอยชี้นำ
นึกถึงการเล่นสวมบทบาทโดยเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น งานปาร์ตี้ งานแต่งงาน และโอกาส
พิเศษอื่น ๆ
หากมีคนพยายามตื้อให้คุณใช้…
กลยุทธ์ : เอาชนะแรงกระตุ้นด้วยหลัก DEADS
คุณสามารถล้มแรงกระตุ้นได้ นี่เป็นวิธีที่ง่ายในการนึกถึงกลยุทธ์นี้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับแรงกระตุ้น แรงกระตุ้นสามารถเข้าครอบงำความสามารถในการคิดของคุณ ทำให้ยากที่จะคิดได้อย่างชัดเจน DEADS จะช่วยให้คุณคิดถึงการจัดการกับแรงกระตุ้นได้ชัดเจนขึ้นไม่ว่าแรงกระตุ้นนั้นจะรุนแรงแค่ไหน
รูปที่ 4.7 แบบฝึกหัด DEADS
ระบุกลยุทธ์ของคุณสำหรับใช้รับมือกับแรงกระตุ้นได้สำเร็จ
D = Deny / Delay (อย่ายอมทำตามแรงกระตุ้น)
อะไรง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยให้ไม่ยอมทำตามแรงกระตุ้น
E = Escape (หนีไปจากสิ่งเร้า)
A = Avoid, accept or attack (หลีกเลี่ยง ยอมรับ หรือสู้)
เหล่านี้ทำให้รู้สึกหรือคิดแตกต่างจากสิ่งที่จะคิดหรือรู้สึกเมื่อตอนที่ไม่มีแรงกระตุ้นอย่างไร
D = Distract yourself with an activity (เบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรม)
เพื่อทดแทนเวลาที่ปกติจะใช้ในกิจกรรมเสพติด
S = Substitute for addictive thinking (แทนที่ความคิดเสพติด)
กลยุทธ์สำหรับจัดการกับความคิด
เครื่องมือ : ภาพที่ทำให้เกิดโทษและการรับรู้ถึงคำพูดที่ใช้เตือนตัวเองและวิธีการปฏิเสธ (Destructive Images and Self-talk Awareness and Refusal Method : DISARM)
ในทางเดียวกันกับที่ว่าพฤติกรรมเสพติดของคุณเป็นแค่พฤติกรรมหนึ่งและมันไม่ใช่ “ตัวคุณ” แรงกระตุ้นนั้นก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกหรือแรงขับที่คุณรู้สึกได้ ไม่ใช่แก่นของตัวคุณ
บางคนพบว่ามันช่วยในการรับมือกับแรงกระตุ้นได้หากตั้งชื่อให้มัน เหมือนกับว่าแรงกระตุ้นเป็นสิ่งอีกสิ่งหนึ่งหรือสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวของพวกเขา
ตั้งชื่อให้แรงกระตุ้นและเสียงของมันที่อธิบายว่ามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อเกิดแรงกระตุ้น ผู้เข้าร่วมของสมาร์ทเคยตั้งชื่อแรงกระตุ้นไว้ว่า “ตัวแสบ” “ตัวล็อบบี้” “คร่ำครวญ” และชื่อง่ายๆ อย่าง “ศัตรู”
การตั้งชื่อให้กับแรงกระตุ้นอาจทำให้รับรู้มันได้เร็วขึ้น เวลาที่ได้ยินเสียงกระซิบแรกของมัน ให้พูดชื่อออกมา และปฏิเสธไปอย่างหนักแน่น บอกมันว่าไปให้พ้นหรือมันไม่เป็นที่ต้อนรับอีกต่อไปแล้ว หรือแม้แต่หัวเราะเยาะ จากนั้น ให้นึกภาพว่ามันหดเล็กลงและอ่อนกำลังลง และหายไปในที่สุด
การทำให้แรงกระตุ้นกลายมาเป็นคน ๆ หนึ่งจะช่วย 2 ทาง คือ มันเป็นเครื่องเตือนใจว่าคุณไม่ใช่พฤติกรรมของคุณ และมันเป็นการทำสิ่ง ๆ หนึ่งที่จนถึงตอนนี้อาจจะยังรู้สึกว่าไร้รูปร่างและคลุมเครือให้ชัดเจนขึ้น การตั้งชื่อจะทำให้คุณอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจเหนือแรงกระตุ้นและพฤติกรรมเสพติด
การรับมือกับความไม่สบาย
ความไม่สบายไม่ว่าจะในรูปแบบใด ทั้งทางอารมณ์หรือทางกายก็สามารถมาคู่กับแรงกระตุ้นได้ อย่างที่เราได้อธิบายไว้ในบทที่ 1 ว่ามันอยู่ที่ว่าเรามีความเชื่อต่อเหตุการณ์และความไม่สบายที่เป็นผลตามมาอย่างไรต่างหากที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสพติดของเรา
ความเชื่อของคุณอาจเป็นสาเหตุหลักของความไม่สบาย บางที คุณอาจจะเชื่อว่าคุณไม่สามารถรอดจากความไม่สบายได้หรือไม่ควรที่จะต้องมาทนกับมันเลย จริง ๆ แล้วการคิดในแง่นี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มันรุนแรงขึ้น
การหยุดใช้เป็นเรื่องยากหากคุณปฏิเสธที่จะยอมรับว่าความไม่สบายเล็กน้อยและชั่วคราวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากคุณใช้เวลาเป็นปี ๆ ในการหนีความไม่สบายโดยใช้พฤติกรรมเสพติด คุณได้สั่งสมการตอบสนองตามความเคยชินที่มีพลังมากให้กับมัน ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะยอมรับและจัดการกับความไม่สบายด้วยวิธีที่เหมาะสม จำไว้ว่า ก่อนที่จะมีพฤติกรรมเสพติด คุณก็รับมือกับความไม่สบายนี้โดยไม่ต้องใช้มัน คุณสามารถเรียนรู้ที่ทำแบบนั้นได้อีกครั้ง
บางสถานการณ์ก็ไม่เป็นไปตามที่คุณต้องการ ความไม่สบายอาจเป็นความรู้สึกที่มีประโยชน์ที่บอกเราว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้องและผลักดันให้เราเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือวิธีที่เรามองสถานการณ์นั้น ๆ ความไม่สบายอาจจะไม่ได้ “เลวร้าย” เสมอไป บางครั้งมันก็เป็นเพียงแค่เงื่อนไขหนึ่งของการเป็นมนุษย์
ความไม่สบายมีอะไรบ้าง
ความเครียดและความไม่สบายเกิดขึ้นในร่างกายของเราได้หลายทาง
เครื่องมือ : ABC เพื่อรับมือกับแรงกระตุ้น
ดร. อัลเบิร์ต แอลลิส (Dr. Albert Ellis) กล่าวถึงความเชื่อที่ก่อให้เกิดความไม่สบายข้างต้นในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า A Guide To Rational Living โดยกล่าวว่าคนเราจะรู้สึกตามสิ่งที่คิด เขาใช้โมเดล ABC ของการบำบัดด้วยแนวคิดการพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy : REBT) (รูปที่ 4.8) ในการเรียนรู้เทคนิคนี้ คุณสามารถพัฒนาทักษะชีวิตที่จะช่วยให้คุณคิดและรู้สึกได้ดีขึ้น และไปในแนวทางเดียวกันกับสิ่งที่คุณปรารถนาเพื่อตัวเองในระยะยาว
โมเดล ABC จะช่วยคุณระบุและทำงานกับความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความไม่สบาย การทำโมเดล ABC นั้นต้องใช้ความพยายามและอาจยากในตอนแรก คุณอาจจะลองทำครั้งแรกในการพบปะของสมาร์ทเพื่อให้เกิดความเคยชิน
รูปที่ 4.8 ABC ในการบำบัดด้วยแนวคิดการพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy : REBT)
เมื่อคุณเข้าใจว่าความคิดใหม่ที่ดีกว่านี้เป็นเรื่องจริง ความไม่สบายของคุณจะหายไปหรือลดลง ทำให้ความรุนแรงของแรงกระตุ้นลดลงด้วย
รูปที่ 4.9 ABC เพื่อรับมือกับแรงกระตุ้น (ตัวอย่าง)
A – Activating event (เหตุการณ์) | B – Belief about the event (ความเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์) | C – Consequences of your belief (ผลที่เกิดจากความเชื่อนั้น) | D – Dispute your beliefs (โต้แย้งความเชื่อ) | E – Effective new belief (ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า) |
เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น | สิ่งที่ฉันเชื่อเกี่ยวกับ A หาความต้องการที่ไม่สมเหตุสมผล หรือ คำว่า “ต้อง” | ความรู้สึกและการกระทำของฉันที่เป็นผลมาจาก B | ความเชื่อเกี่ยวกับ A ที่มีประโยชน์มากกว่าที่จะใช้ทดแทนความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล | ความรู้สึกและการกระทำที่เป็นผลจาก D หรือความเชื่อที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับ A |
วันนี้เจ้านายต่อว่าฉันต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน | เขาไม่ควรต่อว่าฉัน! เขาไม่มีสิทธิ์ทำให้ฉันอับอายต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน! มันไม่ยุติธรรม! | ฉันโกรธมากและฉันจะต้องแวะที่บาร์เพื่อดื่มก่อนกลับบ้าน | ใครบอกว่าเจ้านายไม่ควรต่อว่าฉัน เขาต่อว่าเพื่อนร่วมงานของฉันบ่อยไป ใครบอกว่าชีวิตต้องยุติธรรมเสมอ | แม้ว่าฉันไม่ชอบที่ถูกต่อว่าและฉันรู้สึกแย่ แต่เขาก็ต่อว่าทุกคน เขาไม่มีค่าพอที่จะทำให้ฉันหยุดใช้ |
ในบทที่ 5 เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ABC มากขึ้น
ABC สำหรับการรับมือกับแรงกระตุ้นของฉัน | E – Effective new belief (ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า) | ความรู้สึกและการะกระทำที่เป็นผลจาก D หรือความเชื่อที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับ A | |
D – Dispute your beliefs (โต้แย้งความเชื่อ) | ความเชื่อเกี่ยวกับ A ที่มีประโยชน์มากกว่าที่จะใช้ทดแทนความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล | ||
C – Consequences of your belief (ผลที่เกิดจากความเชื่อนั้น) | ความรู้สึกและการกระทำของฉันที่เป็นผลมาจาก B | ||
B – Belief about the event (ความเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์) | สิ่งที่ฉันเชื่อเกี่ยวกับ A หาความต้องการที่ไม่สมเหตุสมผล หรือ คำว่า “ต้อง” | ||
A – Activating event (เหตุการณ์) | เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดแรงกระตุ้น |
สรุป
เราได้พูดถึงหลาย ๆ ประเด็นในบทนี้ อันดับแรก สำหรับคนทั่วไปแรงกระตุ้นเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู ในอดีต คุณอาจจะไม่ได้คิดว่าการกระทำตามแรงกระตุ้นนั้นสามารถเลือกได้ แต่ตอนนี้ คุณได้เรียนรู้แล้วว่าแรงกระตุ้นเป็นโอกาสที่จะได้เลือกว่าจะข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อให้ความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากแรงกระตุ้นหายไป หรือเลือกที่จะรับมือกับแรงกระตุ้นด้วยวิธีที่จะช่วยให้คุณได้ทำตามเป้าหมายในระยะยาวของคุณ
เราได้อธิบายความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับแรงกระตุ้นที่บังคับให้คุณเลือกผิด ๆ เพราะว่าคุณไม่มีข้อมูลที่ดีกว่า แต่ตอนนี้คุณมีแล้ว เรายังได้ศึกษาเครื่องมือบางอย่างที่สามารถช่วยให้คุณรับมือกับแรงกระตุ้นได้และสร้างแรงต้านโดยการลองเอาตัวเองไปพบกับแรงกระตุ้นที่ควบคุมได้ เหมือนกับการฉีดวัคซีนที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค
หากคุณฝึกฝนและฝึกซ้อมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ได้ผลกับคุณ ทั้งที่บ้านและที่งานเลี้ยง คุณก็จะประสบความสำเร็จในการที่ไม่ทำตามแรงกระตุ้น ลองทำให้หมดทุกอย่างและเลือกใช้อันที่ได้ผลที่สุดสำหรับคุณ
การตัดสินใจที่จะไม่ใช้เมื่อเกิดแรงกระตุ้นนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand