บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์  หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร

มีการศึกษาและงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า  หนึ่งในสามของผู้ที่ใช้ยาเสพติด จะพบปัญหาเกี่ยวกับโรคทางจิต และยังระบุเพิ่มเติมอีกว่าผู้ที่ใช้ยาไอซ์บ่อยขึ้นและมากขึ้น จะมีแนวโน้มที่จะเป็นมากขึ้นเช่นกัน โรคทางจิตหรือโรคจิต หมายถึงอาการทางจิตต่างๆ รวมถึงความหวาดระแวง ความสงสัย เห็นภาพหลอน กระวนกระวายใจ หรือวิตกกังวล ซึ่งเขาเหล่านี้อาจจะไม่สามารถแยกแยะหรือเชื่อมโยงกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นได้ เป็นผลเนื่องมากจากฤทธิ์ของยาไอซ์ ที่จะออกฤทธิ์กระตุ้นต่อจิตประสาทซึ่งมีฤทธิ์ที่รุนแรง และอันตราย ผลข้างเคียงจากความสุขที่ได้รับก็คือ จะมีความหวาดระแวง, หงุดหงิดรุนแรง,อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจเกิดมาจากอาการประสาทหลอน หรือเห็นภาพลวงตา ที่อาจจะน่ากลัว ถึงแม้ว่าบางครั้งยาจะหมดฤทธิ์แล้วแต่อาการเหล่านี้ก็อาจจะยังคงอยู่

ยาไอซ์ติดได้อย่างไร? และติดได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้หรือไม่ ? 

ในสมองของคนเรา จะมีสารแห่งความสุขที่เรียกกันว่าโดปามีน โดยสารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาในระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการรับประทานอาหาร,การมีเพศสัมพันธ์,การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเล่นการพนัน เมื่อโดปามีนหลั่งออกมา จะกระตุ้นให้ร่างกายต้องการทำสิ่งนั้นมากขึ้น ด้วยความมั่นใจ และมีความสุขเพิ่มขึ้น  ทีนี้ในส่วนของยาไอซ์ ยาไอซ์จะเข้าไปทำงานในระบบของสมอง โดยการทำให้สมองปล่อยสารโดปามีนออกมามากขึ้น ทำให้ผู้เสพมีความรู้สึกเป็นสุข,สนุกสนานร่างกายจะรู้สึกโหยหาและมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับเหมือนเช่นเคย จะส่งผลให้ความสุขลดลง นำไปสู่ภาวะเซื่องซึม หดหู่ หมดความสนใจที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่น สมองจะเรียกร้องให้เกิดการหลั่งของสารโดปามีนแบบเดิมอีก โดปามีนที่เกิดจากการใช้ยาไอซ์นั้นสูงกว่าปริมาณโดปามีนตามธรรมชาติ ที่สมองผลิตขึ้นเอง ทำให้คนเลือกที่จะใช้ยาต่อไป เพราะเริ่มติดความรู้สึกพึงพอใจที่ได้รับจากยา จนผู้เสพต้องหันมาพึ่งพายาไอซ์อีกครั้ง เพื่อสร้างความสุขในรูปแบบเดิม โดปามีนจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ติดยาไอซ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ และในระยะยาว การใช้ยาไอซ์หรือสารที่กระตุ้นการหลั่งของโดปามีนเป็นประจำ จะทำให้โดปามีนในสมองถูกทำลาย จนผู้ที่ใช้ยาไม่รู้สึกปกติอีกต่อไป

จะเลิกเสพยาไอซ์ได้อย่างไร?

ถ้าหากคุณมีความต้องการที่จะเลิกเสพยาไอซ์คุณควรเริ่มจาก

  1. 1. การตั้งเป้าและบอกกับตัวเองว่าจะเลิกยาอย่างเด็ดขาด ซึ่งควรมีจิตใจที่เข้มแข็ง
  2. ทิ้งอุปกรณ์การเสพทั้งหมด
  3. ควรเลิกคบเพื่อนกลุ่มเดิมที่ชักชวนกันไปเสพยา
  4. หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่ทำให้นึกถึงการใช้ยา
  5. หากิจกรรมอย่างอื่นทำ เช่น การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองที่จะกลับไปใช้ยาอีกครั้ง
  6. หากไม่มีอาการถอนยาอย่างรุนแรงสามารถที่จะหยุดยา หรือที่เรียกว่าการหักดิบได้ด้วยตนเอง แต่ควรจะบอกให้คนใกล้ชิด หรือครอบครัวได้รู้ถึงแผนการ การเลิกยาของคุณ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจากการเลิกยากระทันหัน จะได้มีการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
  7. แต่หากมีอาการถอนยาที่รุนแรง แนะนำให้ติดต่อกับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือสถานบำบัดยาเสพติด เพื่อประเมินอาการ และเข้ารับโปรแกรมการบำบัดที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อตัวของคุณ และเพื่อลดความรุนแรง หรืออันตรายที่เกิดจากการหยุดใช้ยากระทันหัน

อะไรคืออาการจากการถอนยาไอซ์?

เนื่องจากการเสพยาไอซ์เป็นเวลาต่อเนื่องจะส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ในกรณีที่มีการถอนยา อาการที่แสดงออกอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้ยาที่ผ่านมา หรืออาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่เคยใช้ หรือปัจจัยอื่นๆแต่โดยส่วนมาก อาการจากการถอนยาไอซ์ที่แสดงให้เห็นก็จะมี

อาการถอนยาไอซ์อยู่ได้นานแค่ไหน?

โดยทั่วไปหากมีการหยุดเสพยาไอซ์กระทันหันร่างกายจะมีการถอนยา และต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้โดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยระยะเวลาอาจจะอยู่ที่ประมาณ2-3สัปดาห์

คุณจะช่วยคนที่ถอนยาไอซ์ได้อย่างไร?

เนื่องจากผู้ที่ใช้ยาเสพติด จะจดจำความสุขที่ได้รับจากการใช้ยา หากต้องการถอนยาเสพติดหรือเริ่มหยุดใช้ยาไอซ์ มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเขา เพราะเขาจะต้องต่อสู้กับปฏิกิริยาของร่างกายที่จะเกิดขึ้น หลังจากเริ่มถอนยา ที่ไม่ว่าจะเป็น อาการอ่อนเพลีย  ปวดหัว วิตกกังวล หรือหวาดระแวง รวมถึงอาการอยากยาที่จะรบกวนทั้งร่างกายและจิตใจ  การเอาชนะยาเสพติดเพียงคนเดียวจึงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเขา หากนั่นเป็นคนที่คุณรัก หรือคนรู้จักสำหรับคุณคุณควรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น ในช่วงเวลาที่เขากำลังจะถอนยาไอซ์ อาจเริ่มจากการทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาไอซ์ ,ดูแลตัวคุณเองให้มีความพร้อมเกี่ยวกับการรับมือกับผู้ติดยา ให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ หากเมื่อคุณพร้อมแล้ว คุณก็จะเริ่มดูแลผู้อื่นได้  หลังจากนั้นคุณควรให้กำลังใจผู้ที่ถอนยาให้มากๆ และต้องให้เขารู้ว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเลิกยา สิ่งที่คุณไม่ควรทำก็คือ การตำหนิ หรือต่อว่าให้เขารู้สึกละอาย เนื่องจาก หากเขารู้สึกว่ากำลังถูกทำร้ายไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือท่าทาง  เขาอาจจะเริ่มปลีกตัวหรือหนีห่างจากคุณ ซึ่งอาจจะให้การเลิกยาไม่ประสบความสำเร็จ แต่หากเขาให้ความร่วมมือ คุณอาจจะต้องสังเกตอาการการถอนยาของเขาเรื่อยๆ แต่หากเริ่มมีอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลอันตรายอย่างมากต่อร่างกาย แนะนำให้คุณติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสถานบำบัดยาเสพติด เพื่อที่จะรักษาอาการของเขาได้อยากถูกต้องและปลอดภัย

คุณสามารถเลิกยาไอซ์ด้วยตนเองได้มั้ย?

การเลิกยาเสพติดด้วยตัวเอง บางท่านที่มีจิตใจเข้มแข็ง อาจจะประสบความสำเร็จสามารถเลิกได้ แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากสารเสพติดที่ได้รับเข้าไปในร่างกายของแต่ละคน จะออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน และบางครั้งความรุนแรงของสารเสพติด จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้ยาที่ผ่านมาอีกด้วย หากมีการเลิกยาหรือหยุดยากระทันหัน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย แต่อาจจะส่งผลไปถึงจิตใจได้  นอกจากนี้บางท่านที่พยายามเลิกยาด้วยตนเอง จะต้องเผชิญกับความอยากยา ความทรมาน จนอาจถึงขั้นลงแดง  ซึ่งบางครั้งอาจจะทนไม่ไหวจนต้องหันกลับไปพึ่งยาอีกครั้ง วนซ้ำเป็นรูปแบบเดิม 

สถานบำบัดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการเลิกยาไอซ์ใช่มั้ย?

เนื่องจากการ บำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติดในแต่ละท่านจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน สถานบำบัดจึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่ท่านจะเข้ารับการบำบัดรักษากับทางสถานบำบัดโดยตรง เพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ,ประเมินผล และบำบัดตามโปรแกรมการรักษา ของแต่ละท่าน ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลให้การเลิกยามีประสิทธิภาพมากขึ้น และนอกจากนี้ ในระหว่างการถอนยาบางท่านอาจประสบปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ซึ่งอาจจะต้องได้รับการดูแลมากขึ้น รวมถึงการให้ยาจากแพทย์เพื่อลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น การได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้องถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บำบัดมีความปลอดภัย และลดอันตรายจากการเลิกยาได้มากกว่าการหักดิบด้วยตนเอง

บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์  หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากคุณเป็นผู้เสพยาอาจแบ่งได้เป็นในระยะสั้น และระยะยาว

ในระยะสั้น 

ในระยะยาว

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากสมาชิกในครอบครัวหรือคนที่คุณรักเสพยา

แน่นอนว่าจะมีความทุกข์เกิดขึ้นภายในครอบครัวของคุณ หากคนที่คุณรัก หรือคนรู้จักมีการใช้ยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม นอกจากจะเป็นความทุกข์จากความรัก ความห่วงใยแล้ว อาจมีปัญหาในเรื่องของการทะเลาะเบาะแว้งเพิ่มขึ้น มีปัญหาเรื่องการเงิน เกิดความแตกแยกในครอบครัว และมีผลสำรวจว่าผู้ติดยาเสพติดมีอัตราการหย่าร้างสูงมากกว่าบุคคลทั่วๆไปด้วย

ผลกระทบทางกายภาพของยาไอซ์คืออะไร?

ผลกระทบจากการใช้ยาไอซ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผู้เสพอาจจะมีผิวพรรณซีดเซียว, ผิวแห้ง ดำคล้ำหากเสพติดเป็นเวลานาน หรืออาจเป็นโรคผิวหนัง รวมถึงมีการติดเชื้อ, มีเหงื่อออกมา,ริมฝีปากแห้ง, น้ำหนักลด และมีปัญหาในช่องปาก 

ยาไอซ์จะอยู่ในร่างกายของคุณนานแค่ไหน?

หากมีการเสพยาไอซ์เข้าสู่ร่างกาย การออกฤทธิ์ของยาจะนานประมาณ8ถึง 24 ชั่วโมง และจะยังมีสารตกค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งหากทำการตรวจหาสารในร่างกายจะยังพบได้ใน1-3วัน หลังจากเสพ และถ้าหากว่ามีใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะตรวจพบได้นานสูงสุดถึง 3 สัปดาห์เลยทีเดียว

ยาไอซ์ก่อให้เกิดหัวใจวาย? สามารถที่ทำให้หัวใจเสียหายในระยะยาวได้หรือไม่? เกิดอาการชัก ? ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง? รวมถึงก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหรือไม่?

ยาไอซ์จะส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว ไม่เหนื่อย ไม่ง่วง นอนไม่หลับ เสมือนเป็นยาช่วยเพิ่มพลังให้แก่ผู้เสพ แต่การใช้ยาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะทนต่อยา ทำให้ผู้เสพพยายามเพิ่มปริมาณหรือความถี่ในการใช้ บางรายมีการเปลี่ยนวิธีการเสพที่รุนแรงขึ้น เพียงเพื่อต้องการให้ได้รับความสุขจากการเสพเท่าเดิม หรือเพียงเพื่อให้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่อาจเป็นการทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากยามากกว่าเดิม โดยที่ไม่รู้ตัว

การเสพยาไอซ์ต่อเนื่องมีผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดแน่นอน เพราะยาจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น เพิ่มความดันโลหิต และอาจส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดล้มเหลว นอกจากนี้อาจกระทบต่อระบบการเดินหายใจ มีอาการเจ็บหน้าอก และการได้รับยาในปริมาณที่มากขึ้น อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นตามไปด้วย อาจทำให้มีอาการชัก กล้ามเนื้อเกร็ง ก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก มีเลือดออกในสมอง และการเต้นผิดจังหวะของหัวใจอย่างรุนแรงอาจส่งผลถึงขั้นหัวใจวาย และทำให้เสียชีวิตลงได้ 

ยาไอซ์ทำลายฟันของคุณหรือไม่?

ผู้ที่เสพยาอย่างต่อเนื่องมักจะประสบปัญหาคล้ายๆกันคือ ปัญหาฟันผุอย่างถาวร หรือที่เรียกว่า อาการ “Meth Mouth “ซึ่งจะมีอาการหนักกว่าโรคฟันผุทั่วๆไป มีการลุกลามไปทั่วทั้งปาก มีการเปลี่ยนสีของฟัน จนอาจจะเป็นสีดำ มีอาการฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดร่วง

และคุณรู้หรือไม่ว่าสาเหตุหนึ่งก็มาจากฤทธิ์ของยาด้วยเช่นกัน? โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้การหลั่งของน้ำลายลดลง จะส่งผลให้ขาดตัวช่วยที่ลดความเป็นกรดที่ผิวฟัน ที่เกิดมาจากคราบจุลินทรีย์ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาฟันผุ และเนื่องจากผู้ที่เสพยาจะมีพฤติกรรมที่ละเลยเรื่องการทำความสะอาด จึงส่งผลให้โรคฟันผุลุกลามมากขึ้น และนอกจากนี้ผลของยาจะทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมกัดฟันแรงๆ หรือขบฟันอยู่ตลอดเวลา และหากผู้เสพเป็นโรคฟันผุอยู่แล้วก็จะทำให้ฟันแตกหักได้ง่าย 

ผลกระทบทางจิตจากการเสพยาไอซ์คืออะไร?

สารกระตุ้นประสาทจะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนกลาง ทำให้รู้สึกสดชื่น  ตื่นตัว กระฉับกระเฉง แต่การใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จะส่งให้มีการทำลายระบบสมอง มีความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เสพ และเมื่อสมองถูกทำลาย ก็จะมีการสั่งการบังคับกล้ามเนื้อและระบบอื่นๆในร่างกายให้ทำงานผิดปกติไปด้วย  ทีนี้แน่นอนว่า จะมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลนั้นๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนด้วย นอกจากนี้อาจเริ่มมีอาการทางจิตควบคู่ไปด้วย ยกตัวอย่างอาการ เช่น 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความรุนแรงของฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นด้วยเช่น วิธีการเสพ, ความถี่,และปริมาณของยาที่เสพ

ยาไอซ์ทำให้คุณเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่

ได้อย่างแน่นอน หากมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง   เนื่องจากยาไอซ์จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ที่จะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง และยาเสพติดจะไปเร่งการหลั่งสารแห่งความสุข โดปามีน (Dopamine) ออกมามากกว่าปกติ ทำให้มีความสุข ความพึงพอใจอย่างมาก และรวดเร็ว  แต่หากยาหมดฤทธิ์ลง ผู้เสพจะหงุดหงิด รู้สึกเป็นทุกข์ และต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งยาจะทำลายเซลล์สมอง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังจากที่มีการใช้ยา และเนื่องจากยาไอซ์เป็นยาเสพติดประเภทที่ออกฤทธิ์เร็วและแรง จึงก่อให้เกิดการเสพติดได้อย่างง่ายดาย ส่งผลเสียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจและอารมณ์ของผู้เสพ จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าต่อผู้ที่เสพยา

บทความนี้เป็นในส่วนของหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาไอซ์  หากต้องการกลับไปอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาให้คลิกที่นี่:
ยาไอซ์คืออะไร

หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวมีการใช้ยา ไอซ์หรือมีการติดยาเสพติดหรือไม่ คุณอาจเริ่มสังเกตได้จาก

  1. ลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โกหกมากขึ้น เกียจคร้าน หรือไม่มีความรับผิดชอบ
  2. อารมณ์ฉุนเฉียวขี้โมโหหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด
  3. อุปกรณ์การเสพ คุณอาจจะพบอุปกรณ์การเสพเช่น กระดาษฟรอยด์ หลอด หรือไฟแช็ค ในห้อง ให้สงสัยเบื้องต้นก่อนได้เลยว่าอาจมีการใช้ยาเสพติด
  4. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเช่นน้ำหนักลดลงซูบผอม ไม่ค่อยแข็งแรง ผิวหนังแห้งกร้าน
  5. กลิ่น ผู้ที่เสพยา จะมีกลิ่นตัวหรือกลิ่นลมหายใจแตกต่างไปจากเดิม
  6. ไม่ค่อยสุงสิงกับใครเก็บตัวมากขึ้น แต่อาจมีการพบปะคนแปลกหน้ามากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจเป็นกลุ่มเพื่อนใหม่ที่ใช้ยาเสพติด

ไอซ์มีลักษณะอย่างไร

ยาไอซ์จะไม่มีกลิ่น และมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง จึงเป็นที่มาของชื่อ ยาไอซ์  โดยจะมีความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูงกว่า ยาบ้าประมาณ4-5 เท่า ทำให้ติดง่ายและรุนแรงกว่ามาก ซึ่งยาไอซ์จะเป็นสารกระตุ้นประสาท จะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง

วิธีเสพยาไอซ์

สามารถทำได้หลายวิธีโดยทั่วไปจะใช้วิธีละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด บางคนนำไปเผาไฟแล้วสูตรดมควัน นอกจากนี้ยังสามารถเสพโดยการกลืน รวมถึงสอดใส่ทางทวารได้ด้วย สำหรับการเสพโดยใช้วิธีสูบหรือฉีดยาจะออกฤทธิ์ทันที แต่หากเป็นวิธีการกลืนหรือสูดดมเข้าไปจะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาที

อะไรคือสัญญาณทางกายภาพของการใช้ยาไอซ์?

แน่นอนว่าหากมีการใช้ยาเสพติด ตัวยาจะส่งผลต่อร่างกาย โดยยาเสพติดบางชนิดรวมถึงยาไอซ์ จะส่งผลต่อร่างกายที่ชัดเจนและเห็นได้ชัด เช่นผู้เสพจะซูบผอม น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ริมฝีปากแห้ง มือและนิ้วสั่น  มีปัญหาช่องปากและฟัน ผิวหนังดำกร้าน มีบาดแผลตามใบหน้าและร่างกายเนื่องจากผิวแห้งเสีย ไม่ได้ช่วยให้ผอม ขาวสวยอย่างที่หลายๆคนเข้าใจแต่อย่างใด

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากการใช้ยาไอซ์

เนื่องจากยาไอซ์เป็นสารที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท จึงแน่นอนว่าจะมีผลส่งต่อมาถึงพฤติกรรม การแสดงออกของผู้ที่ใช้ยาด้วยเช่นกัน เช่น

  1. มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น และไม่อยู่นิ่ง
  2. บางรายชอบกัดกราม
  3. ใส่แว่นกันแดด ไม่กล้าสู้แสง
  4. นิสัยเปลี่ยน อาจมีการตะโกนหรือแสดงความก้าวร้าวออกมามากขึ้น
  5. มีความมั่นใจ และมีพลังงานมาก
  6. มีความต้องการจะมีเพศสัมพันธ์มากข้ึน

จะทำอย่างไรหากคุณเชื่อว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาไอซ์?

หากคุณเชื่อว่าคนที่คนรู้จัก คนรัก หรือคนในครอบครัวของคุณกำลังใช้ยาไอซ์ หรือเริ่มมีอาการติดยา สิ่งที่ควรจะทำอันดับแรกๆก็คือ 

  1. ต้องมีสติไม่โกรธจนวู่วาม หรือใช้คำพูดด่าทอรุนแรง เพราะอาจเป็นการผลักไสให้เขาหนีห่างจากครอบครัว ไม่กล้าปรึกษาปัญหาหรือบอกสาเหตุที่ใช้ยากับเราได้
  2. รับฟัง สอบถาม และทำความเข้าใจ รวมถึงการพูดคุยอย่างจริงใจ ในเรื่องนี้จะสำคัญมากสำหรับตัวคุณ และสมาชิกในครอบครัวที่ติดยา เนื่องจากจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากทั้ง2 ฝ่ายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
  3. ควรพยายามยอมรับความจริงเพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือเขาอย่างถูกวิธี
  4. ให้กำลังบ่อยๆ เพราะกำลังใจจากคนที่รัก และคนที่เข้าใจ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยผลักดันให้เขาเลิกใช้ยา
  5. พาไปบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยบางท่านอาจจะไม่สามารถทำการเลิกยาด้วยตนเองได้ง่ายๆ เนื่องจากสมองมีอาการติดยาไปแล้ว และบางครั้งการหักดิบ หรือหยุดใช้ยากระทันหัน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยาไอซ์ หรือไอซ์ ( Ice) มีชื่อทางเคมีว่า เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine ) ซึ่งก็คือยาบ้าประเภทหนึ่งในรูปของสารบริสุทธิ์ แต่จะออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า  โดยส่งผลต่อระบบประสาท จะให้ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม สนุกสนาน ร่าเริง และไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และเนื่องจากยาไอซ์จะมีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายก้อนน้ำแข็ง อาจไม่มีสีถึงมีสีขาว จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อยาไอซ์ หรือน้ำแข็งนั่นเอง

ไอซ์ให้ผลเสพติดหรือไม่ ? 

แน่นอนว่ายาไอซ์ทำให้เกิดการเสพติด และติดอย่างง่ายดาย เพียงแค่มีการใช้ไม่กี่ครั้ง เนื่องจาก แอมเฟตามีนจะส่งผลต่อระบบจิตและประสาท มีฤทธิ์เสพติดที่รุนแรงและอันตรายกว่ายาบ้าทั่วๆไป โดยเมื่อเสพเข้าไปจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมองให้หลั่งสารสื่อประสาท โดพามีน(Dopamine) ออกมามากผิดปกติ สารนี้ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเคลิบเคลิ้ม แต่หากเมื่อยาหมดฤทธิ์ สมองจะต้องการให้เกิดการหลั่งของสารโดพามีนอีก ทำให้ผู้เสพต้องกลับมาใช้ยาอีกครั้งเพื่อสร้างความสุข ในรูปแบบเดิม

ยาไอซ์ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ระบุว่า ยาไอซ์ เมทแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดประเภทที่1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่นเดียวกับเฮโรอีนและยาบ้า

ผู้ที่กระทำความผิด โดยการครอบครองเพื่อเสพมี โทษตามกฎหมายคือโทษจำคุก1ปี ถึง10 ปี และโทษปรับสูงสุด 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่มีการครอบครองสารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า 20 กรัมกฎหมายให้ถือว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งโทษสูงสุดคือประหารชีวิต

ผลในระยะสั้น

อ่านต่อ: ยาไอซ์ส่งผลต่อคุณอย่างไร?

ผลในระยะยาว

อ่านต่อ: ยาไอซ์ส่งผลต่อคุณอย่างไร?

ทำไมคนถึงเสพยาไอซ์ ?

ยาไอซ์มักเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีฐานะ คนดัง นักร้อง รวมถึงคนทั่วไปที่มีกำลังในการซื้อเนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างแพงกว่ายาบ้า บางคนเริ่มต้นจากความอยากรู้อยากลอง จนมีการทดลองใช้ จนกระทั่งกลายเป็นเสพติด เพราะความสุขที่ได้รับ และความเพลินเพลินระหว่างการเสพเข้าไป ทำให้มีความต้องการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ และบางครั้งเป็นเสมือนแฟชั่นในกลุ่มผู้ใช้ยา นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ยาไอซ์จะช่วยให้สมองดี เรียนดี ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความต้องการทางเพศอีกด้วย 

วิธีเสพยา

ส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้วิธีสูดดมไอระเหยเข้าไป, การฉีดเข้าเส้นเลือด, และการกลืน 

อ่านต่อ: แฟนหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณเสพยาไอซ์หรือไม่

จะบอกได้อย่างไรเมื่อมีอาการเมายา

การแสดงออกทางพฤติกรรม อาจบ่งบอกถึงความผิดปกตินั้นได้ เช่น

อ่านต่อ: แฟนหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณเสพยาไอซ์หรือไม่

แอลเอสดี (LSD : lysergic acid diethylamide)

     แอลเอสดี หรือแสตมป์มรณะ หรืออีกชื่อที่ถูกเรียกคือกระดาษเมา เป็นสารที่สกัดได้จากกรดไลเซอจิก(Lysergic acid) ที่มีอยู่ในเชื้อรา ที่อยู่บนเมล็ดข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อยมักจะเสพด้วยการรับประทาน ถูกค้นพบว่าในระยะแรกผู้เสพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มศิลปิน นักดนตรี กลุ่มฮิปปี้และในระยะต่อมา เริ่มระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและทุกชนชั้น เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีขายทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาระดับชาติของสหรัฐอเมริกา 

     สำหรับประเทศไทยนั้น แอลเอสดีถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภทที่1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ผู้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกต้องระวังโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท ผู้เสพต้องระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปีหรือ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

     การเสพแอลเอสดีมักเสพโดยการรับประทาน สูดดม เคี้ยว หรืออม มีหลากหลายรูปแบบได้แก่ เม็ดกลมแบน แคปซูล แผ่นเจล ของเหลวบรรจุในหลอดแก้ว ส่วนใหญ่ที่พบจะนำเอาแอลเอสดีไปหยดลงบนกระดาษสี่เหลี่ยมที่มีคุณสมบัติดูดซับที่มีลวดลายและสีสันต่างๆแล้วแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆคล้ายแสตมป์นิยมเรียกกันในหมู่ผู้เสพว่าแสตมป์เมากระดาษเมา( Magic paper )จะออกฤทธิ์ภายใน 30 ถึง 90 นาทีและมีฤทธิ์อยู่ได้นานแปดถึง 12 ชั่วโมง 

     ยาเสพติดชนิดนี้ มีความรุนแรงในการออกฤทธิ์ต่อสมองสูง แต่จะมีการเสพติดทางจิตใจเท่านั้น ไม่มีการเสพติดทางร่างกาย และไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย ผู้ที่เสพในช่วงแรกจะมีอารมณ์ร่าเริง สนุกสนาน แต่หลังจากนั้นจะมีอาการเห็นภาพลวงตา กระวนกระวาย หูแว่ว เกิดอาการกลัวภาพหลอน การหายใจไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็วเดี๋ยวช้า จนกระทั่งอาจทำร้ายตัวเองหรือนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ 

     และนอกจากนี้หากใช้แอลเอสดีต่อเนื่องไปนานๆ อาจทำให้เป็นโรคจิตโดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจอยู่ก่อนแล้ว และแม้ว่าจะมีการหยุดใช้ยาไปแล้วก็ตาม แต่อาการโรคจิตอาจเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาอาการดังกล่าวจะทำได้ยากและอาจต้องใช้เวลานานเพื่อให้อาการทุเลาลง

          ไนตรัสออกไซด์  (Nitrous oxide)

      หากเอ่ยชื่อ ไนตรัสออกไซด์ หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร แต่หากพูดถึง” แก๊สหัวเราะ “อาจจะมีหลายท่านเคยรู้จักหรืออ่านข่าวกันมาบ้างแล้ว 

      ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide)  คือสารประกอบทางเคมี ที่ไม่มีสี และเป็นแก๊สไม่ติดไฟ มีกลิ่นหอมและมีรสหวานเล็กน้อย เป็น1 ในสารระเหยที่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดบ่อยๆ  โดยสมัยก่อนทางการแพทย์ใช้ ไนตรัสออกไซด์ ในการผ่าตัดและทันตกรรม เพื่อให้เกิดอาการชาและระงับความเจ็บปวด แต่ปัญหาคือยาจะหมดฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก และในปัจจุบันทางการแพทย์ก็มีการใช้น้อยลงมามากแล้ว เนื่องจากมียาสลบหรือยาชาที่มีประโยชน์และประสิทธิภาพมากกว่าให้เลือกใช้  นอกจากนี้ ไนตรัสออกไซด์ ยังถูกนำไปใช้ในเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย โดยให้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์ และยังใช้ทำถุงลมนิรภัยอีกด้วย

     ปัจจุบันมีการนำ ไนตรัสออกไซด์ ไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดกฏหมาย มีผู้นำมาใช้สูดดม หวังผลให้เคลิบเคลิ้ม อารมณ์ดี ถ้ามีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อาจส่งผลให้เซลล์ต่างๆในร่างกายตายได้ โดยเฉพาะเซลล์สมองอาจจะขาดออกซิเจน หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะเป็นโรคหัวใจได้ทันที นอกจากส่งผลต่อด้านร่างกายแล้ว การสูดดม ไนตรัสออกไซด์ ยังมีผลในด้านสุขภาพจิตด้วย ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน และมีอาการหูแว่ว ซึ่งส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆอย่างแน่นอน 

      นอกจากจะส่งผลต่อมนุษย์แล้ว  ไนตรัสออกไซด์ ยังเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย ถูกจัดเป็นแก๊สที่ทำร้ายชั้นบรรยากาศโอโซนของโลก มีส่วนในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  ในปัจจุบันจึงมีการควบคุมการใช้ก๊าซนี้มากขึ้น

          ยาเบนโซไดอะซีปีน

     ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) เป็นกลุ่มยาระงับประสาท โดยแพทย์จะสั่งยาให้ผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวล นอนไม่หลับ ถอนพิษสุรา คลายกล้ามเนื้อ และใช้ก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ก่อนการผ่าตัด และเนื่องจากเป็นยาที่ให้ผลดีในการรักษาอาการผู้ป่วยหลายด้านจึงเป็นยาที่แพทย์นิยมสั่งใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก

     ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนจะมีหลายชนิด แตกต่างกันไปตามศักยภาพ ,ความเร็วในการออกฤทธิ์ และการใช้รักษา โดยปกติยาเบนโซไดอะซีปีน จะช่วยลดอาการวิตกกังวลและบรรเทาอาการของโรคนอนไม่หลับ แต่เนื่องจากยาเบนโซไดอะซีปีน ออกฤทธิ์ทำให้มึนเมา ช่วยคลายเครียดและหาซื้อได้ค่อนข้างง่าย จึงทำให้บางครั้งมีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิด  และหากได้รับในปริมาณที่มาก หรือใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงอาจจะมีอาการตาพร่ามัว พูดไม่ชัด และหายใจลำบาก จนบางครั้งมีอาการโคม่าและเสียชีวิตจากการหยุดหายใจได้

     ในปัจจุบันมีการหันมาใช้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้น แต่ยานอนหลับชนิดเบนโซไดอะซีปีน เป็นยานอนหลับที่ค่อนข้างแรง หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้เกิดอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง มีอาการกระวนกระวาย รวมไปถึงอาการโรคจิตที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังได้ จึงขอแนะนำว่า หากท่านต้องการที่จะใช้ยาไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ควรมีการปรึกษาแพทย์เสียก่อน เพื่อให้ได้รับยาอย่างถูกต้องและมีความเหมาะสมกับอาการ และเพื่อทราบวิธีการหยุดฤทธิ์ยาหากเกิดผลกระทบในภายหลังร่วมด้วย

ยาอีคืออะไร?

     ยาอี มาจากคำว่า Ecstasy ที่แปลว่า สนุกสนานเบิกบานใจ มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกับยาบ้า คือ เมทแอมเฟตามีน แต่ออกฤทธิ์ร้ายแรงกว่า  คือนอกจากจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้ว ยังมีฤทธิ์หลอนประสาทอีกด้วย 

     ยาอีหรือ MDMA ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยชาวญี่ปุ่น สังเคราะห์เพื่อให้ออกฤทธิ์สร้างความสุข  สนุกสนาน เคลิบเคลิ้มกับทุกอย่างรอบตัวเกินความเป็นจริง มีคนให้ฉายาว่า เป็นยาแห่งความรัก  เพราะผู้เสพจะรู้สึกได้รับความรักและความอบอุ่นหลังจากที่มีการใช้ยา นอกจากนี้ก็มีบางท่านใช้ยาอีเพื่อให้เกิดความรู้สึกทางเพศมากขึ้นอีกด้วย  และเนื่องจากยาอีเป็นยาเสพติดราคาแพง ผู้ผลิตยาจึงอาจผสมสารเสพติดชนิดอื่นลงไปเพื่อลดต้นทุน เช่นเฮโรอีน หรือยาเค แต่นั่นจะส่งผลให้ยาออกฤทธิ์รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่ามีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

     ผลของยาอีต่อร่างกายนั้น มีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

     ผลในระยะสั้น  :  จะเริ่มออกฤทธิ์หลังเสพไปประมาณ20 นาที ถึง 1ชั่วโมง  อาการที่พบ ได้แก่ ความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้น ,สนุกสนานเป็นสุข  , ความยับยั้งชั่งใจน้อยลง ,เหงื่อออกมาก ,คลื่นไส้ , หัวใจเต้นเร็ว และเสี่ยงร่างกายขาดน้ำ 

     ผลในระยะยาว : เมื่อมีการใช้ยาอีอย่างต่อเนื่อง จะมีอาการที่พบได้แก่ อาการซึมเศร้า ,หดหู่ , วิตกกังวล ,ความจำเสื่อม ,ตับและไตถูกทำลาย และเสียงต่อโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน 

     เห็นได้ว่ายาอีส่งผลเสียเป็นอย่างมากต่อร่างกาย  แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากเช่นกัน ที่ยังคงใช้ยาอีในชีวิตประจำวัน บางครั้งในบางรายมีการใช้ยาเกินขนาด อาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว  มีอาการลมชัก และหมดสติ แนะนำให้ญาติหรือคนรู้จักรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาและบำบัดต่อไป มิเช่นนั้นวันนึงอาจส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตได้

          กระท่อม

     ในสมัยก่อนมีการนำกระท่อมหรือใบกระท่อมมาใช้ทำยาสมุนไพร แก้อาการไอ แก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ เช่น ท้องเสีย บิดปวดท้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อลดความดันโลหิต แต่ก็นิยมนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสามารถทำงานได้หนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน

     กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ10-15เมตรใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว ใบกระท่อมมีสารสำคัญ เรียกว่า ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับกลุ่มยาบ้า ตามภูมิปัญญาชาวบ้านจะนิยมนำใบของต้นกระท่อม เด็ดก้านออกและเคี้ยวใบสด หรือนำใบลงไปต้มชงกับน้ำร้อน จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ช่วยให้ผู้ที่เสพเข้าไปรู้สึกดี มึนเมา สามารถทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และทนต่อสภาวะอากาศร้อนได้ดียิ่งขึ้น แต่ว่าโทษจากการเสพใบกระท่อมทำให้มีสภาพผิวหนังที่แห้งดำ มีอาการมึนงง ปากแห้ง ท้องผูก นอนไม่หลับ และหนาวสั่น ส่วนทางด้านสภาพจิตใจ จะมีอาการสับสน และมีอาการประสาทหลอน นอกจากนี้ในทางการแพทย์จะนำกระท่อมมาใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสารเสพติดชนิดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น

    การเสพใบกระท่อมจะทำให้ผู้เสพมีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนอาจมีอาการขาดยาทางร่างกายเกิดขึ้น หากมีการหยุดใช้หรือลดปริมาณการใช้ลง ดังนั้นถ้าหากคุณกำลังประสบปัญหาระหว่างการพยายามเลิกใช้ แนะนำให้ติดต่อพบจิตแพทย์ หรือติดต่อกับทางศูนย์บำบัดเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น

การรับมือกับผู้ต้องการเลิกใช้ยาเสพติด ในแบบฉบับครอบครัว

 ยังคงเป็นปัญหาที่มีมานานต่อเนื่องในเรื่องของยาเสพติด ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหนก็ตาม ก็ยังไม่สามารถกวาดล้างให้หมดไปได้ เราจึงยังต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้ที่มีการใช้ยาเสพติด แต่ในที่นี้จะพูดถึงบทบาทของ ครอบครัว ญาติสนิท ที่ควรปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัวที่มีการติดยา และมีความต้องการที่จะเลิกหรือหยุดใช้

 สำหรับครอบครัวหรือญาติสนิท ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บางครั้งผู้ที่ใช้ยาเสพติดจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวหยาบคาย จะมีผลมาจากการที่สารเสพติด ที่มีการใช้อย่างต่อเนื่อง ไปเปลี่ยนแปลงการทำงานในสมองของเขา ทำให้มีพฤติกรรมหรือการแสดงออก ออกมาเช่นนั้น ซึ่งหากผู้ใช้ยาต้องการหรือตัดสินใจแล้วว่าจะเลิก กำลังใจจากทางญาติพี่น้องจะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยผลักดันให้เขาได้ทำมันได้สำเร็จ ดังนั้นการเข้าใจในตัวของเขา และสาเหตุที่เป็น จะช่วยให้ญาติมีความอดทนมากขึ้นในการรับมือและพร้อมที่จะให้กำลังใจต่อในการเลิกยาของเขา

 สิ่งที่ญาติหรือครอบครัวควรจะทำก็คือ คอยให้กำลังใจเขาอยู่เรื่อยๆ คอยย้ำเตือนถึงผลเสียของยาเสพติดที่มีต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพร่างกาย การงานหรือการเงิน เขาจะได้รู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญญาติต้องระวังคำพูด หรือน้ำเสียงในการพูดคุยกับเขา ไม่ควรมีการด่าทอ พูดจาจับผิด หรือเอาเรื่องที่ไม่ดีในอดีตมาพูดอีก เนื่องจากผู้ที่ต้องการเลิกยา หลังจากที่พยายามหยุดการใช้ จะมีอารมณ์อ่อนไหวได้ง่าย นอกจากนี้ญาติจะต้องดูแลเรื่องการรับประทานยาจากแพทย์ให้เขาเช่นกัน ให้มีการทานอย่างต่อเนื่อง และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ 

      นอกจากกำลังใจจากญาติแล้ว ผู้ที่ต้องการที่จะเลิก ก็ควรจะให้กำลังใจตนเองเช่นกัน ต้องมีเป้าหมาย และอดทนต่อความอยากกลับไปใช้ยาอีกครั้ง เริ่มจากการหลีกเลี่ยงการกลับไปอยู่ในสังคมที่มีการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนเดิมๆ หรือสถานที่ที่เคยเสพยา  ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่าการเสพยาเป็นแค่ความสุขแค่ชั่วคราว ที่ส่งผลเสียอย่างมากต่อร่างกายและการใช้ชีวิตในภายหลัง และนอกจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจากแทพย์แล้ว ควรหากิจกรรมที่ชอบอย่างอื่นทำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย วาดภาพ หรือฟังเพลง กิจกรรมที่ชอบต่างๆจะช่วยเบี่ยงเบนความรู้สึกอยากกลับไปใช้ยาอีกครั้งได้ 

 ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ที่ต้องการจะเลิกยาและทางครอบครัวด้วยเช่นกัน หากมีการร่วมมือกัน ใช้ความเข้าใจ และคอยเป็นกำลังใจให้กันและกัน เชื่อว่าอีกไม่นานทุกท่านจะสามารถเลิกใช้ยาและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและด้านสภาพจิตใจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์

เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพักฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรุงเทพ ศุนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบอเมริกัน ให้การรักษาติดยาเสพติดที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่เหมาะสมและเป็นการบำบัดแบบเฉพาะในประเทศไทยเพื่อให้การรักษาเป็นรายบุคคลกับผู้บำบัดรักษาทุกราย เราเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยทีมงานชาวอเมริกันและคนไทยที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมการรักษาการติดยาเสพติดและความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจากสหรัฐอเมริกา

บริการของเรา

ให้การรักษาอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์โดยมีวิธีการรักษาแบบเหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการติดยาเสพติดที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมที่สุด และบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนจบปริญญาโทหรือสูงกว่าโดยมีประสบการณ์หลายปีในการทำงานด้านสุขภาพจิตและการรักษาติดยาเสพติด ได้รับการฝึกอบรมในการรักษาการติดยาเสพติดและรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติด้านสุขภาพจิต

ติดต่อเรา

Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.

Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand

Email: [email protected]