ไม่รู้ว่าค่านิยมของการดื่มสุราเพื่อสังสรรค์ฝังลึกในสังคมของประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่กลายเป็นว่าสำหรับบางคน การดื่มสุราไม่ได้เป็นเพื่อการสังสรรค์ เพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อการเข้าสังคมอีกต่อไป เพราะสำหรับพวกเขาเหล่านั้น การดื่มสุราคือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ขาดไม่ได้ ใช่แล้วบทความนี้เราจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) มาเข้าใจถึงความอันตรายของโรคนี้ให้มากขึ้น พร้อมแนวทางการรักษาให้หายขาด
โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือ ภาวะ Alcoholism คือ อาการของผู้ดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานานในปริมาณที่มากในแต่ละครั้ง จนทำให้เกิดอาการติดสุรา รู้สึกว่าขาดสุราไม่ได้ ต้องดื่มอยู่ตลอด และจะต้องดื่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากร่างกายเกิดอาการดื้อต่อฤทธิ์ของสุรา จนต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
การดื่มสุราเป็นประจำ ไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเสมอไป เนื่องจากการวินิจฉัยโรคจำเป็นจะต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มสุราตามปกติ กับ ผู้ที่มีปัญหาติดสุราเรื้อรัง มีดังต่อไปนี้
โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือ โรคแอลกอฮอล์ลิซึ่ม ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถอ้างอิงได้ว่าเป็นโรคในกลุ่ม NCDs (Non-Communicable Diseases) เนื่องจากมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมที่กระทำซ้ำเป็นประจำในระยะเวลานาน ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ก็จะมีดังต่อไปนี้
อาจจะดูเหมือนเหลือเชื่อไปสักหน่อย แต่โรคพิษสุราเรื้อรังเกิดจากพันธุกรรมได้จริง ๆ ซึ่งพบได้ว่าผู้ที่สืบทอดสายเลือดโดยตรงจากผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีการส่งต่อยีนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการดื่มสุรา ซึ่งอาจส่งผลในด้านของการเผาผลาญแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ เช่น ร่างกายทนทานต่อการดื่มสุรามากกว่าปกติ หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า คอแข็ง นั่นเอง
พบว่าผู้ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก มีความเครียด อาการซึมเศร้า และ อาการวิตกกังวล ส่วนหนึ่งจะอาศัยการดื่มสุราเพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ เนื่องจากความเมามายจากการดื่มสุราอาจทำให้ลืมความเครียดในช่วงเวลาหนึ่ง และเมื่อหายจากอาการมึนเมา ก็ต้องการดื่มอีกครั้งให้กลับไปอยู่ในจุดที่หลงลืมความเครียดอีกครั้ง เมื่อสถานการณ์วนเวียนกันอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โรคพิษสุราเรื้อรัง คือปลายทางที่รออยู่
จะกล่าวว่า โรคพิษสุราเรื้อรัง สาเหตุหลักมาจาก สภาพแวดล้อม และ พฤติกรรมทางสังคม ก็ไม่ผิดสักเท่าไหร่ เนื่องจากสถิติของผู้เสียชีวิตทั่วโลก พบว่า ประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการดื่มสุรามากที่สุดในทุก ๆ ปี มักจะเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ ส่วนประเทศที่มีรายได้สูงจะมีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำมาก ๆ รวมถึงค่านิยมผิด ๆ อย่างการดื่มสุราเพื่อได้รับการยอมรับในกลุ่มเพื่อน ก็มักจะเป็นก้าวแรกก่อนการเข้าสู่วังวนของการติดสุราในท้ายที่สุด
เรื่องที่น่ากังวลสำหรับโรคพิษสุราเรื้อรังคือ ส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักจะไม่ได้สังเกตเห็นอาการของตนเอง แต่กลับเป็นผู้คนโดยรอบ ที่มักจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น โดยอาการพิษสุราเรื้อรังนั้น มักจะส่งผลกระทบในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้
ผู้ที่มีอาการของโรคพิษสุรามักมาพร้อมกับโรคที่เกิดจากการดื่มสุรา เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการดื่มสุราเป็นประจำ อาทิเช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ ภาวะทางจิต นอกจากปัญหาด้านสุขภาพแล้ว อาการยังแสดงออกมาที่ภายนอกอย่างชัดเจนอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดก็คือ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผิวหนัง ดวงตาจะเริ่มมีสีเหลืองจากภาวะดีซ่าน มือไม้สั่น พุงป่อง และมีกลิ่นปาก
อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า อาการเบื้องต้นของการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง คือจะเกิดความหงุดหงิด กระวนกระวาย เมื่อไม่ได้ดื่มสุรา จึงต้องดื่มสุราให้หายจากอาการเหล่านั้น แต่ทว่าเมื่อดื่มสุราไปเรื่อย ๆ สุราที่ดื่มเข้าไปก็จะค่อย ๆ ทำลายระบบประสาทไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ผู้ที่มีอาการพิษสุราเรื้อรังระยะสุดท้าย แทบจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทได้เลย เพราะโทษของการดื่มสุราคือมักจะทำให้เกิดอาการหลอน บ้างก็คลุ้มคลั่ง ควบคุมตนเองไม่ได้ เห็นถูกเป็นผิด เห็นผิดเป็นถูก
ปัญหาของโรคพิษสุราเรื้อรัง อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเอง ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัวและคนใกล้ชิดอีกด้วย เพราะจากสถิติความรุนแรงในครอบครัว ส่วนมากเกิดขึ้นจากผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ซึ่งอาจจะส่งผลหนักถึงในระดับสังคมเลยทีเดียว เพราะโทษการดื่มสุราโดยขาดความยั้งคิด ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉพาะในประเทศไทย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเมาแล้วขับไม่ต่ำกว่าปีละหลายหมื่นคน
เมื่อรับรู้ถึงความน่ากลัวของโรคพิษสุราเรื้อรังกันไปแล้ว ต่อมาเราก็ต้องทำความเข้าใจถึงวิธีการบำบัดรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ยังอยากกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม ซึ่งข้อสงสัยที่ว่า โรคแอลกอฮอล์ลิซึ่มรักษายังไง? อาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยหลาย ๆ คนหรือครอบครัวของผู้ป่วยกำลังสงสัยอยู่ในเวลานี้ แน่นอนว่าเราได้นำเอาวิธีการบำบัดรักษามาฝาก โดยจะมีแนวทางดังต่อไปนี้
การเลิกสุราแบบหักดิบคือการงดดื่มสุราแบบฉับพลัน เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่ติดสุราเรื้อรังในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งจะต้องอยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมตนเองได้ เป็นวิธีที่ไม่แนะนำสักเท่าไหร่ เพราะอาการลงแดงจากการอยากดื่มสุราอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ และยังต้องใช้ความแน่วแน่สูงมาก โอกาสสำเร็จจึงมีค่อนข้างน้อย ทางที่ดีควรรักษาด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง การรักษาทางการแพทย์เป็นแนวทางที่ดีที่สุด ซึ่งในแต่ละเคสก็จะมีการรักษาที่แตกต่างกันไป ตามอาการความหนักเบาในแต่ละคน โดยจะมีการใช้ยาลดความอยากสุรา ร่วมกับการล้างพิษในร่างกาย และรักษาเยียวยาร่างกายที่เสียหายจากการดื่มสุราเป็นเวลานานไปพร้อม ๆ กัน สำหรับผู้ที่มีอาการหนัก อาจจะต้องได้รับการดูแลเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เนื่องจากผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังส่วนมาก มักจะมีปัญหาเรื่องสภาพจิตใจร่วมด้วย จนต้องพึ่งพาการดื่มสุราเพื่อบรรเทาความทุกข์ใจ หรืออาจเป็นอาการป่วยทางจิตที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ต้องมีการบำบัดทางจิตใจ รับคำปรึกษากับจิตแพทย์ กินยารักษาอาการ และการทำกิจกรรมบำบัด เพื่อคาดหวังให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการกลับไปดื่มสุราอีก
เคยมีคนกล่าวเอาไว้ว่า การเลิกดื่มสุราแบบเลิกขาดนั้นยากกว่าการเลิกยาเสพติดเสียอีก เพราะเราสามารถเห็นคนรอบข้างดื่มสุราได้ตามปกติ ตามสื่อบันเทิงก็มีการดื่มสุราให้เห็นอยู่บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่กำลังบำบัดจากภาวะพิษสุราเรื้อรัง กำลังใจจากคนใกล้ตัวจึงเปรียบเสมือนยาวิเศษและเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นแรงผลักดันจากครอบครัว การสนับสนุนกันในกลุ่มเพื่อน หรือผู้ที่อยู่ในชุมชนโดยรอบ
เมื่ออยู่ในช่วงเวลาของการบำบัดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง จะไม่สามารถกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ ในกิจกรรมบางอย่างได้อีกต่อไป เพราะอาจเป็นการเข้าใกล้สิ่งกระตุ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอยากสุราอีกครั้ง ทางที่ดีควรจะหางานอดิเรกที่ห่างไกลจากการดื่มสุรา ออกกำลังกายให้มากขึ้น เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวให้มากขึ้น นี่เป็นเคล็ดลับที่ผู้เลิกสุราสำเร็จหลาย ๆ คนพูดเป็นเสียงเดียวกัน
รู้หรือไม่? ในทุก ๆ ปี มีคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตจากการดื่มสุรามากกว่า 2 ล้านคนต่อปี และส่วนมากผู้เสียชีวิตมักจะเป็นเพศชาย โดยสถิติจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) เผยให้เห็นแล้วว่า การดื่มสุราทำให้คนเสียชีวิตมากกว่ายาเสพติดชนิดอื่น ๆ รวมกันกว่า 5 เท่า ถึงแม้จำนวนส่วนมาก จะไม่ได้เสียชีวิตจากการป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ในระยะสุดท้าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สุรา เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากเสียกว่า อาวุธชนิดใด ๆ บนโลกใบนี้เสียอีก
ที่น่าตกใจก็คือ ในประเทศไทยของเรา เคยมีการสำรวจจาก สสส. เมื่อช่วงปี 2024 พบว่าคนไทยกว่า 10% มีความเสี่ยงที่จะมีอาการติดสุรา คนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นการสังสรรค์เพื่อความสนุกสนาน แต่จากสถิตินั้นไม่ได้บ่งชี้เช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย เพราะในทุก ๆ ปี คนไทยกว่า 10,000 คน มีสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการดื่มสุรา และเรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือ ช่วงอายุของผู้ที่เสียชีวิตจากการดื่มสุรา ค่อย ๆ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ อย่างน่าใจหายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โรคพิษสุราเรื้อรัง แม้จะรักษาให้หายขาดได้ยาก แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญและได้รับกำลังใจเป็นแรงสนับสนุนจากคนใกล้ตัว สำหรับผู้ที่กำลังตามหาว่า คนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังรักษาที่ไหนดี? Lighthouse ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่คือ สถานบำบัดสุราเรื้อรังแบบกินนอนเอกชน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เราพร้อมให้บริการบำบัดรักษาอาการติดสุรา พร้อมรักษาด้วยเทคนิค Dual Diagnosis ดูแลสุขภาพร่างกาย ไปพร้อม ๆ กับการเยียวยาจิตใจ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในทุกแขนง พร้อมประสบการณ์มากกว่า 35 ปี และยังมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการบำบัด ติดต่อเรามาได้เลยทุกเมื่อทุกเวลา
โรคพิษสุราเรื้อรัง แม้จะรักษาให้หายขาดได้ยาก แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญและได้รับกำลังใจเป็นแรงสนับสนุนจากคนใกล้ตัว สำหรับผู้ที่กำลังตามหาว่า คนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังรักษาที่ไหนดี? Lighthouse ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่คือ สถานบำบัดสุราเรื้อรังแบบกินนอนเอกชน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เราพร้อมให้บริการบำบัดรักษาอาการติดสุรา พร้อมรักษาด้วยเทคนิค Dual Diagnosis ดูแลสุขภาพร่างกาย ไปพร้อม ๆ กับการเยียวยาจิตใจ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในทุกแขนง พร้อมประสบการณ์มากกว่า 35 ปี และยังมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการบำบัด ติดต่อเรามาได้เลยทุกเมื่อทุกเวลา
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand