สายดื่มต้องระวัง! 7 โทษของสุรา ส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว

สุราเครื่องดื่มคู่ใจในงานปาร์ตี้อาจกลายเป็นศัตรูตัวร้ายทันทีเมื่อดื่มมากเกินไป เพราะข้อเสียของการดื่มสุรา นอกจากจะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ยังไปทำลายอวัยวะสำคัญในร่างกายทีละน้อย กว่าจะรู้ตัวก็อาจสายเกินที่จะรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงได้เหมือนเดิม การเลิกเหล้าจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงภัยร้ายที่มาพร้อมการดื่มสุรา บทความนี้จึงจะพาไปดูว่า การดื่มสุรามีผลต่อร่างกายอย่างไร และโทษของการดื่มสุรามีอะไรบ้าง

สุราหนึ่งขวดประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก่อนจะไปดูโทษของสุรา มาสำรวจกันดูสักหน่อยว่าส่วนประกอบของสุรามีอะไรบ้าง อันที่จริงแล้วส่วนประกอบหลักของสุราก็คือ แอลกอฮอล์ หรือที่เรียกว่า “เอทานอล” ได้มาจากการหมักพืชที่มีแป้งหรือน้ำตาลสูง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวสาล ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ จากนั้นจึงนำไปกลั่นเพื่อให้ได้เอทานอลที่บริสุทธิ์ มีความเข้มข้นสูง 

แต่เอทานอลบริสุทธิ์นั้นไม่สามารถดื่มได้ เพราะมีรสเผ็ดร้อนและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรง จึงต้องผสมสารปรุงแต่งอื่นๆ เช่น น้ำ น้ำตาล หรือคอนจีเนอร์ (Congeners) บนขวดสุรา ซึ่งมักจะมีการระบุ “ABV” หรือ Alcohol by Volume เอาไว้เพื่อบอกปริมาณแอลกอฮอล์ในขวด เช่น สุราที่มี ABV 40% หมายความว่า ในสุรา 100 มิลลิลิตร มีแอลกอฮอล์บริสุทธิ์อยู่ 40 มิลลิลิตร ยิ่ง ABV สูงก็ยิ่งแรง ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ก็จะยิ่งมาก ทำให้เมาง่าย และทำลายสุขภาพมากขึ้นด้วย 

7 โทษของการดื่มสุรา อันตรายที่นักดื่มไม่ควรมองข้าม

โทษของการดื่มสุรามีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงขั้นรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะเมื่อดื่มสุราเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

  1. สมองและระบบประสาท

สุรามีผลต่อระบบประสาทอย่างไร? ในระยะสั้น แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการมึนงง ขาดสติ หลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ควบคุมตัวเองไม่ได้ การตัดสินใจช้าลง จึงมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือทะเลาะวิวาทได้ ส่วนในระยะยาวจะทำให้การทำงานของสมองบกพร่อง เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ประสาทหลอน

  1. ตับ

โทษของแอลกอฮอล์ต่อตับคือทำให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้นในเซลล์ตับ ทำให้ตับอักเสบ มีอาการจุกแน่นที่บริเวณชายโครงด้านขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน หากยังดื่มหนักต่อไป ไม่บำบัดเลิกเหล้า จะนำไปสู่โรคตับแข็งและความดันในตับที่สูงขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดในทางเดินอาหารแตก มีเลือดออกในทางเดินอาหาร อาเจียนออกมาเป็นเลือด เสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับ ตับวาย ถึงขั้นเสียชีวิต 

  1. หัวใจและหลอดเลือด

ผลเสียของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อหัวใจคือ ทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น การบีบตัวของหัวใจผิดปกติ อีกทั้งยังทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตันง่าย หัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้การดื่มสุราหนักเป็นเวลานานยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและมีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

  1. ตับอ่อน

กระบวนการย่อยสลายแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดพิษต่อตับอ่อน เซลล์ตับอ่อนจะถูกทำลายกลายเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

  1. ระบบทางเดินอาหาร

แอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร? แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารคลายตัว กรดจากกระเพาะจึงไหลกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน (GERD) หากเป็นบ่อยๆ อาจนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น ภาวะเยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนสภาพ (Barrett’s esophagus) หรือมะเร็งหลอดอาหาร อีกทั้งปริมาณกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้น ยังทำให้เกิดการระคายเคือง ปวด แสบร้อนในช่องท้องด้วย

  1. ระบบภูมิคุ้มกัน

ผู้ที่ดื่มสุราบ่อยหรือดื่มทุกวันมักเป็นไข้หวัดหรือโรคติดเชื้ออื่นๆ บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายจึงไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้โทษของสุรายังไปทำลายความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง ลำไส้แปรปรวน 

  1. ระบบต่อมไร้ท่อ

โทษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังกระทบไปถึงระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ทำให้ระดับฮอร์โมนเสียสมดุล เช่น ในผู้ชายระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลง ทำให้อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย อ้วนง่าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส่วนผู้หญิงจะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีบุตรยาก อาการช่วงที่เป็นประจำเดือนรุนแรงขึ้น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ท้องอืด และปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากกว่าปกติ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งมดลูกอีกด้วย

4 โรคร้ายที่มาพร้อมการดื่มสุรา

หากถามว่าดื่มสุราจะเป็นโรคอะไร? คนส่วนใหญ่คงจะตอบว่าโรคตับ แต่อันที่จริงแล้วการกินเหล้ามากๆ ติดต่อกันนานๆ ไม่ได้เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นๆ อีกมากมาย ไปดูกันเลยว่าคนที่กินเหล้าเยอะเป็นโรคอะไรได้บ้าง

  • โรคตับแข็ง (Cirrhosis)

โรคตับแข็ง เกิดจากการที่ตับต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ปริมาณมากที่ดื่มเข้าไป บวกกับการสะสมของไขมันในตับ ทำให้เซลล์ตับได้รับความเสียหายและพยายามซ่อมแซมตัวเองด้วยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นมาทดแทน จนมีสภาพที่เรียกว่า “ตับแข็ง” เมื่อเป็นแล้วจะรักษาไม่หาย แต่หากเลิกเหล้าได้ก่อนที่อาการจะพัฒนามาถึงระยะสุดท้าย ก็มีโอกาสที่ตับจะฟื้นตัวเป็นปกติ

  • มะเร็งตับ (Liver Cancer)

โทษของการดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป เพราะในช่วงแรกที่ตับเริ่มผิดปกติจะไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำก็จะไม่รู้ จนเมื่อเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับในที่สุด โดยผลจากการติดตามผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้นของสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปี พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งตับอยู่ที่ 2.6 % ต่อปี แต่หากหยุดดื่มแอลกอฮอล์ โอกาสเป็นมะเร็งตับจะลดลง 6 – 7 %

  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic Pancreatitis)

อีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการดื่มสุราคือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ที่คล้ายกับโรคตับแข็ง คือเกิดจากการอักเสบซ้ำๆ จนมีการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดในตับอ่อน หากเคยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลันหลายครั้งและยังไม่หยุดดื่มเหล้า ความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคเรื้อรังก็จะสูงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง เป็นๆ หายๆ อุจจาระมีสีเทาหรือซีด และอาจพบไขมันปนออกมากับอุจจาระด้วย 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)

โทษของการดื่มสุราเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิด เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดอักเสบ เสื่อมสภาพ ตีบตัน เปราะแตก นำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตกะทันหัน บางคนอาจจะคิดว่าดื่มมานานแล้วคงแก้อะไรไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วการหยุดดื่มสุราแค่ 6 เดือน หัวใจก็จะทำงานดีขึ้น และถ้าทำต่อเนื่องหัวใจก็จะกลับมาแข็งแรงได้ใน 2 – 4 ปี เพราะฉะนั้นหยุดดื่มตั้งแต่วันนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดีที่สุด

รู้ถึงผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพแบบนี้แล้ว ใครที่ดื่มหนักจัดเต็มทุกวัน ก็คงต้องพยายามลดปริมาณและความถี่ในการดื่มลง แต่หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการติดสุราเรื้อรัง ควบคุมการดื่มไม่ได้ หยุดดื่มแล้วกระวนกระวาย มือสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน หรือพยายามเลิกเหล้าหลายครั้งแต่ไม่ได้ผล ศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ สถานบำบัดเหล้ากรุงเทพที่มีประสบการณ์มากกว่า 35 ปี จะพาคุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน สถานบำบัดสุราเรื้อรังของเรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงปรับวิธีการบำบัดให้เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและด้านสภาพจิตใจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เกี่ยวกับศูนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์

เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพักฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรุงเทพ ศุนย์ฟื้นฟูไลท์เฮ้าส์ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบอเมริกัน ให้การรักษาติดยาเสพติดที่มีคุณภาพสูงสุดในราคาที่เหมาะสมและเป็นการบำบัดแบบเฉพาะในประเทศไทยเพื่อให้การรักษาเป็นรายบุคคลกับผู้บำบัดรักษาทุกราย เราเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยทีมงานชาวอเมริกันและคนไทยที่มีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมการรักษาการติดยาเสพติดและความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจากสหรัฐอเมริกา

บริการของเรา

ให้การรักษาอาการของผู้ที่ติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์โดยมีวิธีการรักษาแบบเหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการติดยาเสพติดที่มีคุณสมบัติและความรู้เหมาะสมที่สุด และบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนจบปริญญาโทหรือสูงกว่าโดยมีประสบการณ์หลายปีในการทำงานด้านสุขภาพจิตและการรักษาติดยาเสพติด ได้รับการฝึกอบรมในการรักษาการติดยาเสพติดและรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติด้านสุขภาพจิต

ติดต่อเรา

Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.

Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand

Email: [email protected]