แม้ว่านักเคลื่อนไหวด้านกฎหมาย และผู้สูบกัญชาหลายคนเชื่อว่าการสูบกัญชาจะไม่มีผลเสีย แต่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสูบกัญชาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป
กัญชาจะเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แทบจะทันทีเมื่อเริ่มสูบ และสามารถอยู่ในร่างกายได้นานตั้งแต่ 1 ถึง 3 ชั่วโมง เมื่อนำกัญชามาผสมในอาหารเพื่อรับประทาน เช่น บราวนี่ และคุกกี้ จะใช้เวลายาวนานกว่าสูบเมื่อเริ่มรับประทาน และมักจะอยู่ในร่างกายได้ยาวนานกว่า
ผลเสียในระยะสั้นของกัญชา ประกอบไปด้วย:
บางครั้งการสูบกัญชาอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล กลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกได้
สารออกฤทธิ์ในกัญชา เดลต้า -9 เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือ THC ทำหน้าที่เป็นตัวรับแคนนาบินอยด์บนเซลล์ประสาท และมีอิทธิพลต่อการทำงานของเซลล์เหล่านั้น พื้นที่สมองบางส่วนมีตัวรับแคนนาบินอยด์จำนวนมาก แต่ส่วนอื่น ๆ ของสมองนั้นมีตัวรับน้อย หรือไม่มีตัวรับเลย ตัวรับแคนนาบินอยด์จำนวนมากพบได้ในส่วนของสมองที่มีผลต่อความสุข ความจำ ความคิด สมาธิ การรับรู้ทางประสาทสัมผัส เวลาของการรับรู้ และการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกัน
ผู้ใช้สามารถพบอาการต่อไปนี้เมื่อมีการใช้กัญชาในปริมาณสูงซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นกรณีของการผสมในอาหารเพื่อรับประทานแทนที่จะเป็นสูบ:
หัวใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตลดลงภายในไม่กี่นาทีหลังจากการสูบกัญชา กัญชาสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น 20 ถึง 100% และความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย
จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 ระบุว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้สูบกัญชามีช่วงตั้งแต่ 4 ถึง 5 เท่าในชั่วโมงแรกหลังจากสูบกัญชา เมื่อเทียบกับความเสี่ยงทั่วไปของภาวะหัวใจล้มเหลวเมื่อไม่สูบกัญชา
งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 พบว่าคนที่สูบกัญชาจำนวนมาก และเป็นประจำมีความหนาแน่นของกระดูกลดลงซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกแตกหัก
การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระใช้รังสีเอกซ์สแกน DEXA และพบว่าผู้สูบกัญชาจำนวนมากมีน้ำหนักตัวลดลง และดัชนีมวลกายลดลง (BMI) ซึ่งอาจทำให้สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก ผู้สูบกัญชาจำนวนมากถูกเปรียบเสมือนว่าเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 5,000 ครั้งในช่วงชีวิตของพวกเขา
อย่างไรก็ตามการศึกษาอื่น ๆ ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 จากการสำรวจ และข้อมูลด้านสุขภาพของวัยผู้ใหญ่จำนวนเกือบ 5,000 ราย และไม่พบข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่างความหนาแน่นของกระดูกลดลง กับการใช้กัญชา
การสูบกัญชา ถึงแม้ว่าจะสูบไม่บ่อยก็ตามอาจทำให้เกิดการเผาไหม้ แสบปาก และลำคอ รวมทั้งทำให้เกิดอาการไอรุนแรง จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2562 นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่สูบกัญชาเป็นประจำอาจประสบปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่:
ผู้สูบกัญชาส่วนใหญ่จะได้รับสารของกัญชาน้อยกว่าผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับสารนิโคติน อย่างไรก็ตามไม่ควรมองข้ามผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการกัญชา กัญชาประกอบไปด้วยสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งซึ่งใกล้เคียงกับควันบุหรี่ และเนื่องจากผู้สูบกัญชาโดยทั่วไปมักสูดดมเข้าไปลึก ๆ และเก็บควันไว้ในปอดของพวกเขาไว้ให้นานกว่าผู้สูบบุหรี่
จากบทวิจารณ์ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้สูบกัญชามีโอกาสเป็นมะเร็งที่ศีรษะ และลำคอได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบกัญชาถึงสามเท่า แต่จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมไม่สามารถยืนยันการศึกษาดังกล่าวได้
เนื่องจากควันของกัญชาประกอบไปด้วยน้ำมันดินในปริมาณที่พบในควันบุหรี่มากกว่าถึงสามเท่า
และมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งจำนวนหนึ่งจึงดูเหมือนมีเหตุผลที่จะเปรียบได้ว่าผู้สูบกัญชามีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงดังกล่าวได้แน่นอนเนื่องจากการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถปรับใช้กับการสูบบุหรี่
และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงได้
การศึกษาการเชื่อมโยงการสูบกัญชากับโรคมะเร็งปอดยังถูกจำกัด ดวยอคติการเลือก และขนาดของตัวอย่างทดสอบจำนวนน้อย ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมในการศึกษาเหล่านั้นอาจยังเด็กเกินไปที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งปอดได้ 7 แม้ว่านักวิจัยยังไม่ได้ “พิสูจน์” การเชื่อมโยงระหว่างการสูบกัญชา กับมะเร็งปอดได้ ผู้สูบทั่วไปก็ยังคงต้องการพิจารณาถึงความเสี่ยงด้วย
มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กที่เกิดจากมารดาที่สูบกัญชาในระหว่างตั้งครรภ์มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางระบบประสาท
จากบทวิจารณ์ของการศึกษาดังกล่าวในปี พ.ศ. 2561 พบว่าการได้รับสารของกัญชาก่อนคลอดอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิด:
ยาเสพติดมีพลังอำนาจ และทำให้เกิดอาการเสพติดได้ ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลืออาจหยุดสูบ หรือรับประทานกัญชาได้ในที่สุด เมื่อพวกเขาสามารถบำบัดฟื้นฟูได้แล้วมุมมองใหม่ ๆ ของชีวิตก็เปิดกว้างขึ้น ดังนั้นถึงเวลาเลิกใช้กัญชาแล้ว
Lighthouse Human Services & Consulting, Co., Ltd.
Head Office:
Ramkamheng 118
Saphan Sung, Bangkok 10240
Thailand